1. สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (28 พ.ย. — 4 ธ.ค. 2554) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 1,014.73 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 462.24 ตัน สัตว์น้ำจืด 552.49 ตัน
ประกอบด้วย สัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 2.57 ตัน 1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 4.21 ตัน 1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 72.55 ตัน 1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 11.40 ตัน 1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 75.86 ตัน
การตลาด
ตลาดกุ้งสดใสคาดปีนี้ผลผลิตเพิ่ม 10%
ดร.สมศักดิ์ ปณีตัธยาศัย นายกสมาคมกุ้งไทยเปิดเผยว่าในปี 2554 ที่ผ่านมา ผลผลิตกุ้งทั่วโลกลดลง เนื่องจากหลายประเทศประสบปัญหาเรื่องโรคและสภาพอากาศที่แปรปรวน ส่งผลให้ราคากุ้งอยู่ในระดับพอใช้ และมีเสถียรภาพ ในขณะที่ประเทศไทยประสบปัญหาตั้งแต่ช่วงต้นปีทั้งเกิดอุทกภัยในพื้นที่ภาคใต้ สภาพอากาศแปรปรวน และปัญหาโรคขี้ขาว ทำให้ผลผลิตกุ้งลดลงเล็กน้อย ประมาณการผลิตกุ้งปี 2554 จากการเลี้ยงอยู่ที่ 600,000 ตัน สำหรับการส่งออกในช่วงเดือนมกราคม — พฤศจิกายน 2554 อยู่ที่ 361,460 ตัน หรือมูลค่า 101,138 ล้านบาท เทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ปริมาณลดลงร้อยละ 8 แต่มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 10 เนื่องจากอัตราแลกเปลี่ยนและราคาที่ปรับตัวขึ้น ส่วนแนวโน้มกุ้งไทยในปี 2555 คาดว่าจะเป็นปีที่ดี หากไม่มีปัจจัยลบด้านสภาพอากาศเหมือนปีที่ผ่านมา อีกทั้งเกษตรกรยังมีแผนการเลี้ยงที่ดี ไม่ประมาท ทำให้ในปีนี้เกษตรกรมีโอกาสจะทำกำไรได้มาก และอุตสาหกรรมกุ้งไทยจะเติบโตร้อยละ 10 ในแง่การส่งออกก็มีแนวโน้มที่ดี แต่สิ่งที่ภาครัฐต้องให้ความสำคัญ คือ ปัญหาการใช้มาตรการการค้าที่ไม่เป็นธรรมของตลาดหลัก โดยเฉพาะมาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดของสหรัฐอเมริกา และมาตรการจีเอสพีของสหภาพยุโรป ปัจจุบันสินค้ากุ้งไทยที่เข้าสหรัฐอเมริกาถูกเก็บภาษีนำเข้าที่ไม่เป็นธรรม ขณะที่ประเทศอื่นๆ พยายามทยอยหลุดออกจากมาตรการดังกล่าวนี้ สินค้ากุ้งไทยสามารถทำรายได้เข้าประเทศปีละกว่า
แสนล้านบาท แต่ต้องเผชิญกับความเสี่ยง ความไม่แน่นอนเรื่องภาษีนี้มาก เพราะเป็นเรื่องที่จะส่งผลร้ายแรงต่อความอยู่รอดของอุตสาหกรรมกุ้งไทย
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 41.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 42.46 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.46 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ไม่มีรายงานราคา
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 77.53 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 76.47 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.06 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 121.43 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 118.57 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.86 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 143.20 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 143.77 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.57 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 147.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 150.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.50 บาท
2.5 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 42.61 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 39.60 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 3.01 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 66.43 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 65.71 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.72 บาท
2.6 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 90.67 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 94.33 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 3.66 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 151.43 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 161.43 บาท ของสัปดาห์ก่อน 10.00 บาท
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.22 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 8.15 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.07 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 14 — 20 ม.ค. 2555) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 24.60 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 16 - 22 มกราคม 2555--