ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร: ข้าว

ข่าวทั่วไป Tuesday January 24, 2012 15:05 —สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ

1.1 การตลาด

โครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปี 2554/55

1) มติ กขช. เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2554 และมติ ครม. เมื่อวันที่ 13 กันยายน 54 รับทราบกรอบ ชนิด ราคา ปริมาณ ระยะเวลา วิธีการ หลักเกณฑ์ และเงื่อนไข การรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2554/55 ดังนี้

2) ชนิดและราคารับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2554/55 ให้กำหนดชนิดและราคารับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2554/55 ณ ความชื้นไม่เกิน 15% ดังนี้

                    (1)  ข้าวเปลือกหอมมะลิ (42 กรัม)                       ตันละ 20,000 บาท
                    (2)  ข้าวเปลือกหอมจังหวัด (40 กรัม)                     ตันละ 18,000 บาท

(ข้าวหอมมะลินอกพื้นที่ 23 จังหวัด)

                    (3)  ข้าวเปลือกปทุมธานี (42 กรัม)                       ตันละ 16,000 บาท

(4) ข้าวเปลือกเหนียว :-

                         ข้าวเปลือกเหนียว 10% เมล็ดยาว                     ตันละ 16,000 บาท
                         ข้าวเปลือกเหนียว 10% เมล็ดสั้น                      ตันละ 15,000  บาท

(5) ข้าวเปลือกเจ้า :-

                         ข้าวเปลือกเจ้า 100%                              ตันละ 15,000  บาท
                         ข้าวเปลือกเจ้า 5%                                ตันละ 14,800  บาท
                         ข้าวเปลือกเจ้า 10%                               ตันละ 14,600  บาท
                         ข้าวเปลือกเจ้า 15%                               ตันละ 14,200  บาท
                         ข้าวเปลือกเจ้า 25%                               ตันละ 13,800  บาท

ทั้งนี้ ราคารับจำนำข้างต้นให้ปรับเพิ่ม-ลดตามจำนวนกรัม ในอัตรากรัมละ 200 บาท

3) เป้าหมายการรับจำนำ ไม่จำกัดปริมาณข้าวเปลือกที่รับจำนำทั้งโครงการ ส่วนปริมาณข้าวเปลือกที่เกษตรกรแต่ละรายจะจำนำได้ไม่ จำกัดจำนวนเช่นกัน โดยต้องเป็นข้าวเปลือกที่เกษตรกรเพาะปลูกเองในปีการผลิต 2554/55 และต้องมีหนังสือรับรองเกษตรกรของกรมส่งเสริมการ เกษตร ซึ่งผ่านการทำประชาคม และเกษตรกรลงชื่อรับรองตัวเอง พร้อมทั้งเจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมการเกษตร และปลัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายลงชื่อรับรองด้วย

4) ระยะเวลาดำเนินการ

  • ระยะเวลาดำเนินการรับจำนำ 7 ตุลาคม 2554 — 29 กุมภาพันธ์ 2555

(ภาคใต้ 7 ตุลาคม 2554 — 31 กรกฎาคม 2555)

  • ระยะเวลาไถ่ถอน 4 เดือน นับถัดจากเดือนที่รับจำนำ
  • ระยะเวลาโครงการ 7 ตุลาคม 2554 — 30 กันยายน 2555

5) ผลการรับจำนำ

ผลการดำเนินโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปี 2554/55

(ตั้งแต่ วันที่ 7 ตุลาคม 2554 — 18 มกราคม 2555)

 รายการ              จุด      จำนวน    จำนวน     ---------------- ปริมาณการรับจำนำข้าวเปลือก (ตัน) 1/ ------------------

รับจำนำ ใบประทวน ยุ้งฉาง ข้าวเจ้า ข้าวปทุมธานี ข้าวหอมมะลิ ข้าวหอมจังหวัด ข้าวเหนียว รวมทุกชนิดข้าว

 ภาคเหนือ              210    275,951     322   1,209,035      2,790     284,931      254,769   170,673    1,922,198
 ภาคะวันออกเฉียงเหนือ    353    571,539   8,263     103,801         90   2,069,123            -    92,877    2,265,891
 ภาคกลาง              277    142,581       -   1,166,109     12,267           -       62,296         -    1,240,671
 ภาคใต้                  5          -       -           -          -           -            -         -            -
 รวมทั้งประเทศ          845    990,071   8,585   2,478,945     15,147   2,354,053      317,065   263,550    5,428,760

ที่มา: กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์

จำนวนเกษตรกรที่รับเงินกับ ธ.ก.ส.

(ข้อมลสะสมตั้งแต่ 7 ตุลาคม 2554 — 13 มกราคม 2555) 2/

 รายการ         ราย           สัญญา           จำนวนตัน      จำนวนเงิน (ล้านบาท)
 จำนำยุ้งฉาง     10,010        10,017         47,243.34         917.950
 จำนำประทวน   817,929       833,455      5,081,535.56      83,917.103
 รวม          827,939       843,472      5,128,778.90      84,835.054

ที่มา: 1/ กรมการค้าภายใน กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์

2/ ธ.ก.ส.

ภาวะการณ์ซื้อขายข้าวในสัปดาห์นี้ ราคาข้าวเปลือกยังคงมีแนวโน้มลดลงในทุกตลาดเนื่องจากการซื้อขายมีปริมาณน้อยพ่อค้าส่งออกไม่ ออกมารับซื้อข้าวในตลาดเนื่องจากไม่มีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้นจากต่างประเทศเข้ามาเพราะผู้ซื้อในตลาดต่างประเทศบางส่วนได้ชะลอการสั่งซื้อข้าวไทยโดย หันไปซื้อข้าวจากอินเดียและเวียดนามที่มีราคาถูกประกอบกับเป็นช่วงหยุดเทศการตรุษจีนขณะนี้เกษตรกรยังคงมีข้าวออกจากตลาดและความชื้นสูงเพราะ กระทบฝนตกจึงถูกกดราคาต่ำ

การส่งออก ตั้งแต่วันที่ 1 — 12 มกราคม 2555 ประเทศไทยส่งออกข้าวทั้งหมด จำนวน 0.162 ล้านตันข้าวสาร ลดลงจาก 0.319 ล้านตันข้าวสาร ของการส่งออกข้าวในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาร้อยละ 49.22 (ที่มา : กรมการค้าภายใน)

1.2 ราคา

1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ

ราคาข้าวเปลือกเจ้าหอมมะลินาปี ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 15,203 บาท ราคาลดลงจากตันละ 15,305 บาท ของ สัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.66

ราคาข้าวเปลือกเจ้านาปี 5% ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 9,391 บาท ราคาลดลงจากตันละ 9,855 บาท ของสัปดาห์ที่ ผ่านมาร้อยละ 4.71

ราคาข้าวเปลือกเหนียวเมล็ดยาวนาปี ที่เกษตรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 13,357 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 13,346 บาท ของ สัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.08

2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ

ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 15,190 บาท ราคาลดลงจากตันละ 15,470 บาท ของ สัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.81

3) ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี.

ราคาข้าวหอมมะลิไทย ชั้น 1 (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 1,060 ดอลลาร์สหรัฐฯ (33,464 บาท/ตัน) ราคาลดลงจาก ตันละ 1,083 ดอลลาร์สหรัฐฯ (34,112 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.12 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 648 บาท

ราคาข้าวปทุมธานี ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 912 ดอลลาร์สหรัฐฯ (28,792 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 917 ดอลลาร์ สหรัฐฯ (28,883 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.55 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 91 บาท

ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 529 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,701 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 533 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,788 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.75 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 87 บาท

ราคาข้าวสารเจ้า 25% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 525 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,574 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 533 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,788 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.50 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 214 บาท

ราคาข้าวนึ่ง 5% ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 526 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,606 บาท/ตัน)

ราคาลดลงจากตันละ 529 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,662 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.57 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 56 บาท

หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 31.5703

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในต่างประเทศ

2.1 สถานการณ์ข้าวโลก

1) การผลิต

ผลผลิตข้าวโลก กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ได้คาดคะเนผลผลิตข้าวโลกปี 2554/55 ประจำเดือนมกราคม2555 ว่าจะมี 461.438ล้านตัน ข้าวสาร (691.2 ล้านตันข้าวเปลือก) เพิ่มขึ้นจาก 450.373ล้านตันข้าวสาร (675.3 ล้านตันข้าวเปลือก) ของปี 2553/54 ร้อยละ 2.46 เนื่อง จากการเพิ่มขึ้นของผลผลิตของประเทศผู้บริโภคและผู้ส่งออกที่สำคัญของโลก เช่น กัมพูชา จีน อียิปต์ อินเดีย อินโดนีเซีย ปากีสถาน และศรีลังกา

2) การค้าข้าวโลก

บัญชีสมดุลข้าวโลก กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ได้คาดคะเนบัญชีสมดุลข้าวโลกปี 2554/55 ณ เดือนมกราคม 2555ว่าผลผลิต ปี 2554/55 จะมี 461.438 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 2.46การใช้ในประเทศจะมี 458.543 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่าน มา ร้อยละ 2.50 การส่งออก/นำเข้าจะมี 31.880 ล้านตันข้าวสาร ลดลงจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 8.34 และสต็อกปลายปีคงเหลือ 100.074 ล้าน ตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 2.98

โดยประเทศที่คาดว่าจะส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่ อาร์เจนตินา ออสเตรเลีย พม่า จีน อียิปต์ อียู อินเดีย และปากีสถาน ส่วนประเทศที่คาด ว่าจะส่งออกลดลง ได้แก่ บราซิล กายานา ญี่ปุ่น อุรุกวัย เวียดนาม สหรัฐฯ และไทย

สำหรับประเทศที่คาดว่าจะนำเข้าเพิ่มขึ้น ได้แก่ บราซิล แคนาดา โกตดิวัวร์ ฮ่องกง อิหร่าน อิรัก มาเลเซีย ซาอุดิอาระเบีย สหรัฐ อาหรับเอมิเรสต์ และสหรัฐฯ ส่วนประเทศที่คาดว่าจะนำเข้าลดลง ได้แก่ บังคลาเทศ จีน คิวบา อียู กายนา อินโดนีเซีย เกาหลีใต้ เม็กซิโก โม แซมบิค ไนจีเรีย เซเนกัล แอฟริกาใต้ และเวียดนาม

ประเทศที่มีสต็อกคงเหลือปลายปีเพิ่มขึ้น ได้แก่ จีน อินเดีย และเวียดนาม ส่วนประเทศที่คาดว่าจะมีสต็อกคงเหลือปลายปีลดลง ได้แก่ อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ และสหรัฐอเมริกา

2.2 สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ

1) เวียดนาม

สมาคมอาหารของเวียดนาม (The VietNam Food Association; VFA) รายงานว่า การส่งออกข้าวนับตั้งแต่วันที่ 1-12 ม.ค. 2555 มีจำนวน 95,360 ตัน มูลค่า 52.791 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยปริมาณลดลง 53.6% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2554

ในปี 2555 กระทรวงเกษตรและการพัฒนาชนบทของเวียดนาม (The Ministry of Agriculture and RuralDevelopment) ได้ตั้งเป้าหมายการส่งออกข้าวในปีไว้ที่ 6.8-7.3 ล้านตัน รวมทั้งมีแผนส่งออกข้าวจากจังหวัดแถบลุ่มแม่น้ำโขงทางตอนใต้ของเวียดนาม ระหว่างปี 2555-2558 ในปริมาณปีละ 5.4 ล้านตัน ซึ่งส่วนใหญ่เวียดนามจะส่งออกข้าวไปยังภูมิภาคเอเชีย แอฟริกา และตะวันออกกลาง โดยแผนการดังกล่าว ให้มีการสร้างพื้นที่เพาะปลูกข้าวโดยเฉพาะและกำหนดให้มีการปรับปรุงคุณภาพข้าวให้ได้มาตรฐานเพื่อสร้างภาพลักษณ์ของการส่งออกข้าวเวียดนามให้มี เอกลักษณ์ อีกทั้งยังกำหนดให้เพิ่มการผลิตข้าวหอม และจัดการการผลิตและการบริโภคของตลาดให้ดีขึ้น

สถานการณ์ราคาข้าวของเวียดนามในสัปห์ดานี้ปรับตัวลดลงเพื่อให้แข่งขันกับข้าวจากอินเดียได้ โดยราคา เอฟ.โอ.บี.ข้าว 5% ราคาลด ลงมาอยู่ที่ 455 เหรียญสหรัฐต่อตัน(14,364 บาท/ตัน) จากเดิมเมื่อสัปดาห์ที่แล้วที่อยู่ที่ระดับ 460 เหรียญสหรัฐต่อตัน(14,522บาท/ตัน)หรือลดลง ร้อยละ1.09 โดยที่ผู้ส่งออกเวียดนามระบุว่าในขณะนี้มีการทำสัญญาขายข้าวที่ราคาต่ำลงมาก แต่ไม่มีการขายในล็อตใหญ่ๆ โดยในช่วงที่ผ่านมามีบริษัท เอกชนหลายรายจากฟิลิปปินส์ได้เข้ามาซื้อข้าวจากเวียดนาม และยังมีมาจากสิงคโปร์ จีนและฮ่องกงด้วย แต่เป็นการซื้อในปริมาณไม่มากจึงไม่มีผลต่อ ราคาข้าวในตลาดมากนัก

ที่มา Riceonline.com

2) อินเดีย

สถานการณ์ราคาข้าวของอินเดียปรับตัวสูงขึ้นจากที่มีความต้องการข้าวจากต่างประเทศเข้ามากระตุ้นประกอบกับการแข็งค่าของเงินรูปี โดยข้าวขาวราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี สัปดาห์อยู่ที่ 430-440 เหรียญสหรัฐต่อตัน(13,575-13,891บาท/ตัน) เพิ่มขึ้นจากระดับ415-435 เหรียญ สหรัฐต่อตัน(13,102-13,733บาท/ตัน)ร้อยละ ตั้งแต่อินเดียอนุญาตให้บริษัทเอกชนส่งออกข้าวขาวที่ไม่ใช่บาสมาติ ในขณะนี้ได้มีการส่งออกข้าวไปแล้ว ประมาณ 1.2 ล้านตัน

ที่มา Riceonline.com

3) กัมพูชา

สมาพันธ์โรงสีข้าวแห่งกัมพูชา (The Federation of Cambodian Rice Millers ;FCRMA) รายงานว่า ปริมาณส่งออกข้าวของ กัมพูชาไปยังตลาดในสหภาพยุโรปเพิ่มขึ้น จากที่เมื่อปี 2553 มีการส่งออกเพียง 40,000 ตัน แต่ในปีที่2554ส่งออกถึง 100,000 ตัน เพิ่มขึ้นคิดเป็น ร้อยละ 150 โดยราคาข้าวส่งออกที่ส่งไปสหภาพยุโรปสูงถึงตันละ 900-1,000 เหรียญสหรัฐ(28,413-31,570บาท/ตัน) สำหรับการส่งออกในปีนี้ สมาพันธ์โรงสีข้าวแห่งกัมพูชาคาดว่าจะส่งออกได้ประมาณ120,000-130,000 ตัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละประมาณ 20-30%

อนึ่ง สมาพันธ์โรงสีข้าวแห่งกัมพูชาได้เรียกร้องให้โรงสีข้าวปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต และรักษามาตรฐานการส่งออก พร้อมกับเรียก ร้องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้การสนับสนุนการพัฒนาโรงสีข้าวโดยการจัดหาแหล่งเงินทุนให้

ที่มา Riceonline.com

4) สหรัฐอเมริกา

กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ (The U.S. Department of Agriculture; USDA) รายงานสถานการณ์การค้าข้าวของโลกใน รายงาน “RICE: WORLD MARKETS AND TRADE” ประจำเดือนมกราคม 2555 โดยได้ประมาณการว่าผลผลิตข้าวของโลกปี 2554/55 ในเบื้องต้น ว่าจะมีจำนวน 461.44 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจาก 450.37 ล้านตันข้าวสาร ของปี 2553/54 เพราะคาดว่าผลผลิตข้าวของหลายประเทศจะเพิ่ม ขึ้น โดยเฉพาะที่อินเดียคาดว่าจะเพิ่มขึ้นมากหลังจากที่ปีการผลิตก่อนประสบภาวะภัยแล้ง ส่วนที่ประเทศจีน บังคลาเทศ ปากีสถาน อินโดนีเซีย อียิปต์ และไทย จะมีผลผลิตจะเพิ่มขึ้นเช่นกัน ซึ่งในส่วนของประเทศไทยนั้น ในปี 2554/55 คาดว่าจะมีผลผลิต 20.3 ล้านตันข้าวสาร ส่วนประเทศที่คาดว่า ผลผลิตจะลดลงคือ ประเทศสหรัฐฯ ฟิลิปปินส์ เวียดนาม พม่า กัมพูชา เกาหลีใต้ และบราซิล

ทางด้านการบริโภคข้าวนั้น คาดว่าในปี 2554/55 จะมีการบริโภคข้าวประมาณ 458.54 ล้านตันข้าวสารเพิ่มขึ้นจากปี 2553/54 ที่มี จำนวน 447.35 ล้านตันข้าวสาร ในขณะที่สต็อกข้าวคงเหลือปลายปีคาดว่าจะเพิ่มขึ้นจาก97.19 ล้านตันข้าวสาร ในปี 2553/54 เป็น 100.07 ล้าน ตันข้าวสาร ในปี 2554/55 โดยในส่วนของประเทศไทยนั้นคาดว่าสต็อกจะเพิ่มขึ้นเป็น 7.96 ล้านตันข้าวสาร จากประมาณการในปี 2553/54 ที่คาด ว่าจะมีจำนวน 5.56 ล้านตัน

ในปี 2555 กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ คาดการณ์ว่าการค้าข้าวของโลก (ส่งออก-นำเข้า) จะมีปริมาณ 31.88 ล้านตันข้าวสาร ลดลง จากจำนวน 34.78 ล้านตันข้าวสาร ในปี 2554 โดยคาดว่าอินโดนีเซียจะนำเข้าลดลงเหลือ 1.0 ล้านตัน จากปี 2554 ที่มีการนำเข้าสูงถึง 2.78 ล้านตัน ขณะที่ประเทศฟิลิปปินส์คาดว่าจะนำเข้า 1.5 ล้านตันเท่ากับปี 2554 ที่คาดว่านำเข้าประมาณ 1.5 ล้านตัน ส่วนไนจีเรียคาดว่าจะนำเข้า จำนวน 2.2 ล้านตัน ซาอุดิอาระเบียจำนวน 1.15 ล้านตัน อิหร่านจำนวน 1.5 ล้านตัน อิรักจำนวน 1.2 ล้านตัน มาเลเซียจำนวน 1.13ล้านตัน

สำหรับประเทศผู้ส่งออกนั้น คาดว่าในปี 2555 ประเทศไทยจะส่งออกลดลงเหลือเพียง 7 ล้านตัน จากปี2554 ที่ปริมาณส่งออกสูงเป็น ประวัติการณ์ถึง 10.5 ล้านตัน ในขณะที่คาดว่าเวียดนามจะส่งออก 6.7 ล้านตัน ลดลงจากปี 2554 ที่มีปริมาณส่งออก 7.0 ล้านตัน ซึ่งนับเป็นสถิติที่ สูงเป็นประวัติการณ์เช่นเดียวกับไทย ส่วนอินเดียคาดว่าจะส่งออกได้ถึง 4.5 ล้านตัน ขณะที่คาดว่าปากีสถานจะส่งออก 3.75 ล้านตัน สหรัฐอเมริกา คาดว่าจะส่งออก 3.0 ล้านตัน ในขณะเดียวกันก็คาดว่าประเทศกัมพูชาจะส่งออกสูงถึง 1.0 ล้านตัน พม่าคาดว่าจะส่งออก 0.75 ล้านตัน อุรุกวัยคาด ว่าจะส่งออก 0.85 ล้านตัน และบราซิลคาดว่าจะส่งออก 0.65 ล้านตัน

ที่มา USDA

--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 16 - 22 มกราคม 2555--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ