ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร: ปศุสัตว์

ข่าวทั่วไป Tuesday February 28, 2012 14:28 —สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร

สุกร

สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ

ภาวะตลาดสุกร สัปดาห์นี้ราคาสุกรที่เกษตรกรขายได้ลดลงเมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ ผ่านมา เนื่องจากปริมาณสุกรที่ออกสู่ตลาดมากขึ้น ขณะที่ความต้องการบริโภคค่อนข้างทรงตัว ทำให้มีปริมาณสุกรส่วนเกินเหลือสะสมเพิ่มขึ้น ส่งผลให้เกษตรกรผู้เลี้ยงประสบการขาดทุน สาเหตุหนึ่งที่ทำให้ความต้องการบริโภคเนื้อสุกรไม่เพิ่มขึ้น เนื่องจากราคาขายปลีกเนื้อสุกรลดลงไม่มากนักเมื่อเปรียบเทียบกับราคาสุกรมีชีวิต ปัจจุบันราคาขายปลีกเนื้อสุกรกิโลกรัมละ 110-120 บาท เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวกลุ่มผู้เลี้ยงสุกรได้ขอให้กระทรวงพาณิชย์ช่วยเหลือโดยการกระตุ้นให้มีการบริโภคเนื้อสุกรเพิ่มขึ้น และจะขอเงินจากกองทุนรวมเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรเก็บสต๊อกเนื้อสุกรเข้าห้องเย็นเพื่อลดปริมาณสุกร โดยต้องการเพิ่มการบริโภคประมาณ 1 แสนตัว และเก็บสต๊อกเนื้อสุกร 1 แสนตัว กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ จึงได้ขอความร่วมมือจากผู้ประกอบการห้างค้าปลีกและตลาดสด ให้เข้าร่วมโครงการจัดจำหน่ายเนื้อสุกรราคาพิเศษเพื่อกระตุ้นการบริโภค โดยตลาดสดจำหน่ายราคาไม่เกินกิโลกรัมละ 100 บาท และห้างค้าปลีกจำหน่ายราคาไม่เกินกิโลกรัมละ 105 บาท ระยะเวลา 1 เดือน โดยเน้นพื้นที่ภาคกลาง แนวโน้มคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย

ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 55.68 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 56.52 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.49 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 58.57 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 59.77 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 53.81 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 54.91 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 1,500 บาท (บวกลบ 52 บาท) ลดลงจากตัวละ 1,600 บาท (บวกลบ 52 บาท) ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 6.25

ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ

ราคาขายส่งสุกรมีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 49.50 บาท และราคาขายส่งสุกรชำแหละ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 62.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

ไก่เนื้อ

สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ

สถานการณ์ไก่เนื้อสัปดาห์นี้ ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้ลดลงเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากปริมาณไก่ใหญ่ออกสู่ตลาดยังคงมีมาก ขณะที่ความต้องการบริโภคยังคงมีทรงตัว แนวโน้มคาดว่าสัปดาห์หน้าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย

กรมปศุสัตว์ได้ประชุมความร่วมมือด้านสาธารณสุข ปศุสัตว์และสัตว์ป่า (One Health) ครั้งที่ 1 กับกรมควบคุมโรค และกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืชฯ ซึ่งเป็นภาคีเครือข่ายที่มีความสำคัญในการร่วมมือป้องกันควบคุมโรคและมีความร่วมมือกันมาตลอด นับตั้งแต่เกิดสถานการณ์โรคไข้หวัดนก เพื่อเป็นการประสานนโยบายการปฏิบัติงานและสานสัมพันธ์ระหว่าง 3 กรม โดยที่ประชุมได้สรุปผลการจัดการระบบฐานข้อมูลและแลกเปลี่ยนข้อมูลการป้องกัน และควบคุมโรค รวมทั้งร่วมกันพิจารณาในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์โรคติดต่ออุบัติใหม่แห่งชาติ การเฝ้าระวังโรคไข้หวัดนก การเฝ้าระวังโรคนิปาห์ การฝึกอบรมสัตวแพทย์ระบาดวิทยา (FETPV) เรื่อง บันทึกความเข้าใจในการพัฒนานักระบาดวิทยาภาคสนาม การสร้างพื้นที่ปลอดโรคพิษสุนัขบ้า เป็นต้น

ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 43.11 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 43.50 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.90 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 38.52 บาท ภาคะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 46.73 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 39.99 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 50.11 บาท ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 11.50 บาท ลดลงจากตัวละ 13.50 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 14.81

ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ

ราคาขายส่งไก่มีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.00 บาท บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 36.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 5.56 และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 51.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

ไข่ไก่

สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ

ภาวะตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากที่ผ่านมาเกษตรกรปลดแม่ไก่ไข่ยืนกรงเร็วขึ้น ประกอบกับแม่ไก่ไข่ยืนกรงรุ่นใหม่ยังให้ผลผลิต ไม่มาก ส่งผลให้ปริมาณผลผลิตไข่ไก่ออกสู่ตลาดเริ่มลดลง สัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย

ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 267 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 264 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.14 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือร้อยฟองละ 262 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 310 บาท ภาคกลางร้อยฟอง 248 บาท และภาคใต้ ร้อยฟองละ 297 บาท ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 10.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ

ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 295 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

ไข่เป็ด

ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 317 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 315 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.63 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ภาคเหนือร้อยฟองละ 326 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 313 บาท ภาคกลาง ร้อยฟองละ 311 บาท และภาคใต้ ร้อยฟองละ 346 บาท

ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ

ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 380 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

โคเนื้อ

ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคาโค (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 56.10 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 55.69 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.74 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 55.91 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 54.65 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 57.36 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 58.18 บาท

กระบือ

ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 47.83 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 47.24 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.25 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 60.51 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 45.29 บาท ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงานราคา

--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 20 - 26 กุมภาพันธ์ 2555--


แท็ก เกษตรกร   สุกร  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ