ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร: ข้าว

ข่าวทั่วไป Friday March 9, 2012 14:19 —สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ

1.1 การตลาด

โครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปี 2554/55

1) มติ กขช. เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2554 และมติ ครม. เมื่อวันที่ 13 กันยายน 54 รับทราบกรอบ ชนิด ราคา ปริมาณ ระยะเวลา วิธีการ หลักเกณฑ์ และเงื่อนไข การรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2554/55

2) ชนิดและราคารับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2554/55 ให้กำหนดชนิดและราคารับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปีการ ผลิต 2554/55 ณ ความชื้นไม่เกิน 15% ดังนี้

                              (1) ข้าวเปลือกหอมมะลิ (42 กรัม)                         ตันละ 20,000 บาท
                              (2) ข้าวเปลือกหอมจังหวัด (40 กรัม)                       ตันละ 18,000 บาท

(ข้าวหอมมะลินอกพื้นที่ 23 จังหวัด)

                              (3)  ข้าวเปลือกปทุมธานี (42 กรัม)                        ตันละ 16,000 บาท

(4) ข้าวเปลือกเหนียว :-

                                   ข้าวเปลือกเหนียว 10% เมล็ดยาว                      ตันละ 16,000 บาท
                                   ข้าวเปลือกเหนียว 10% เมล็ดสั้น                       ตันละ 15,000  บาท

(5) ข้าวเปลือกเจ้า :-

                                   ข้าวเปลือกเจ้า 100%                               ตันละ 15,000  บาท
                                   ข้าวเปลือกเจ้า 5%                                 ตันละ 14,800  บาท
                                   ข้าวเปลือกเจ้า 10%                                ตันละ 14,600  บาท
                                   ข้าวเปลือกเจ้า 15%                                ตันละ 14,200  บาท
                                   ข้าวเปลือกเจ้า 25%                                ตันละ 13,800  บาท

ทั้งนี้ ราคารับจำนำข้างต้นให้ปรับเพิ่ม-ลดตามจำนวนกรัม ในอัตรากรัมละ 200 บาท

3)เป้าหมายการรับจำนำ ไม่จำกัดปริมาณข้าวเปลือกที่รับจำนำทั้งโครงการ ส่วนปริมาณข้าวเปลือกที่เกษตรกรแต่ละรายจะ จำนำได้ไม่จำกัดจำนวนเช่นกัน โดยต้องเป็นข้าวเปลือกที่เกษตรกรเพาะปลูกเองในปีการผลิต 2554/55 และต้องมีหนังสือรับรองเกษตรกรของกรมส่ง เสริมการเกษตร ซึ่งผ่านการทำประชาคม และเกษตรกรลงชื่อรับรองตัวเอง พร้อมทั้งเจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมการเกษตร และปลัดองค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่น หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายลงชื่อรับรองด้วย

4) ระยะเวลาดำเนินการ

  • ระยะเวลาดำเนินการรับจำนำ 7 ตุลาคม 2554 — 29 กุมภาพันธ์ 2555

(ภาคใต้ 7 ตุลาคม 2554 — 31 กรกฎาคม 2555)

  • ระยะเวลาไถ่ถอน 4 เดือน นับถัดจากเดือนที่รับจำนำ
  • ระยะเวลาโครงการ 7 ตุลาคม 2554 — 30 กันยายน 2555

5) ผลการรับจำนำ

ผลการดำเนินโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปี 2554/55

(ตั้งแต่ วันที่ 7 ตุลาคม 2554 — 29 กุมภาพันธ์ 2555)

 รายการ       จุดรับจำนำ    จำนวน     จำนวน                ปริมาณการรับจำนำข้าวเปลือก (ตัน) 1/

ใบประทวน ยุ้งฉาง ข้าวเจ้า ข้าวปทุมธานี ข้าวหอมมะลิ ข้าวหอมจังหวัด ข้าวเหนียว รวมทุกชนิดข้าว

ภาคเหนือ           210    328,386    1,845  1,465,770     2,790      312,889       269,587    229,521  2,280,557
ภาคะวันออกเฉียงเหนือ 359    750,126   32,970    163,344        84    2,757,615          -       210,309  3,131,352
ภาคกลาง           283    154,824      -    1,266,548    12,368         -           65,872       -     1,344,788
ภาคใต้              39      2,826      -       13,609       -           -             -          -        13,609
รวมทั้งประเทศ       891  1,236,162   34,815  2,909,272    15,242    3,070,504       335,459    439,829  6,770,306

จำนวนเกษตรกรที่รับเงินกับ ธ.ก.ส.

(ข้อมลสะสมตั้งแต่ 7 ตุลาคม 2554 — 23 กุมภาพันธ์ 2555)

  รายการ              ราย             สัญญา             จำนวนตัน         จำนวนเงิน (ล้านบาท)
จำนำยุ้งฉาง           34,815           34,905           168,536.11           3,309.462
จำนำประทวน       1,056,818        1,077,727         6,428,897.42         107,326.798
รวม              1,091,633        1,112,632         6,597,433.53         110,636.260

ที่มา: 1/ กรมการค้าภายใน กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์

2/ ธ.ก.ส.

โครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปรัง ปี 2555

มติ กขช. เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 55 เห็นชอบกรอบ ชนิด ราคา ปริมาณ ระยะเวลา วิธีการ หลักเกณฑ์ และเงื่อนไข การรับจำนำข้าว เปลือกนาปรัง ปีการผลิต 2555 ดังนี้

1) เป้าหมายรับจำนำ ไม่จำกัดปริมาณข้าวเปลือกที่รับจำนำ

2) ชนิดข้าวที่รับจำนำ ได้แก่ ข้าวเปลือกเจ้า ข้าวเปลือกปทุมธานี และข้าวเปลือกเหนียว

3) ราคารับจำนำ ณ ความชื้นไม่เกิน 15% เช่นเดียวกับโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปี 2554/55 ดังนี้

                    - ข้าวเปลือกเจ้า 100%                      ตันละ 15,000  บาท
                    - ข้าวเปลือกเจ้า 5%                        ตันละ 14,800  บาท
                    - ข้าวเปลือกเจ้า 10%                       ตันละ 14,600  บาท
                    - ข้าวเปลือกเจ้า 15%                       ตันละ 14,200  บาท
                    - ข้าวเปลือกเจ้า 25%                       ตันละ 13,800  บาท
                    - ข้าวเปลือกปทุมธานี 1 (42 กรัม)             ตันละ 16,000  บาท
                    - ข้าวเปลือกเหนียว 10% เมล็ดยาว             ตันละ 16,000  บาท
                    - ข้าวเปลือกเหนียว 10% เมล็ดสั้น              ตันละ 15,000  บาท

ทั้งนี้ราคารับจำนำข้าวเปลือกปทุมธานี 1 ให้ปรับเพิ่ม-ลดตามจำนวนกรัมในอัตรากรัมละ 200 บาท

4) ปริมาณรับจำนำของเกษตรกรแต่ละราย จะคำนวณตามพื้นที่ปลูก ผลผลิตต่อไร่ และผลผลิตของเกษตรกรตามหนังสือรับรองที่กรมส่ง เสริมการเกษตรออกให้เป็นข้อมูลประกอบ กรณีผลผลิตของเกษตรกรสูงกว่าปริมาณผลผลิตเฉลี่ย ให้ปรับเพิ่มได้ไม่เกินอีก 20% และไม่เกินวงเงินราย ละ 500,000 บาท โดยให้เกษตรกรรับรองว่าเป็นข้าวเปลือกของเกษตรกรเอง

5) ชนิดพันธุ์ข้าวที่รับจำนำ ให้เป็นไปตามมติ อนุ กขช. ด้านการผลิต เมื่อวันที่ 23 ธ.ค 54 ที่เห็นชอบให้เกษตรกรทุกพันธุ์ไปเข้าร่วม โครงการได้ รวมทั้งพันธุ์ข้าวที่ปลูกแล้วให้ข้าวสารคุณภาพต่ำ 18 พันธุ์

6) ระยะเวลาดำเนินการ

  • ระยะเวลาการขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าว

กิจกรรม

ภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคตะวันตก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ ภาคใต้

การปลูก

1 พฤศจิกายน 2554 — 30 เมษายน 2555

1 มีนาคม 2555 — 15 มิถุนายน 2555

การเก็บเกี่ยว

1 กุมภาพันธ์ 2555 — 31 สิงหาคม 2555

1 มิถุนายน 2555 — 15 ตุลาคม 2555

การขึ้นทะเบียน

4 มกราคม 2555 — 31 พฤษภาคม 2555

1 เมษายน 2555 — 15 กรกฎาคม 2555

การประชาคม

20 มกราคม 2555 — 15 มิถุนายน 2555

1 พฤษภาคม 2555 — 31 กรกฎาคม 2555

การออกใบรับรอง

20 มกราคม 2555 — 30 มิถุนายน 2555

2 พฤษภาคม 2555 — 15 สิงหาคม 2555

  • ระยะเวลารับจำนำ 1 มีนาคม -15 กันยายน 2555 ภาคใต้ 1 กรกฎาคม — 31 ตุลาคม 2555
  • ระยะเวลาไถ่ถอน ภายใน 4 เดือนถัดจากเดือนที่รับจำนำ
  • ระยะเวลาโครงการ มีนาคม 2555 — มกราคม 2556

7) วิธีการรับจำนำ หลักเกณฑ์การรับจำนำ การเข้าร่วมโครงการของโรงสี การสีแปรสภาพ การเก็บรักษาข้าวสาร การระบายข้าว สาร และการกำกับดูแล เป็นไปเช่นเดียวกับโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2554/55

ภาวการณ์ซื้อขายข้าวในสัปดาห์นี้ ราคาข้าวที่เกษตรกรขายได้ค่อนข้างทรงตัวต่อเนื่องจากสัปดาห์ที่ผ่านมา แม้ว่าผลผลิตข้าวในท้องตลาด เหลือน้อย เพราะใกล้สิ้นสุดการเก็บเกี่ยว ปี 2554/55 แต่เนื่องจากไม่มีคำสั่งซื้อเพิ่ม พ่อค้าชะลอการรับซื้อ ทำให้ปริมาณการซื้อขายมีไม่มาก

การส่งออก ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม — 27 กุมภาพันธ์ 2555 ประเทศไทยส่งออกข้าวทั้งหมด จำนวน 0.905 ล้านตันข้าวสาร ลดลงจาก 1.846 ล้านตันข้าวสาร ของการส่งออกข้าวในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาร้อยละ 50.97

1.2 ราคา

1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ

ราคาข้าวเปลือกเจ้าหอมมะลินาปี ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 14,867 บาท ราคาลดลงจากตันละ 14,963 บาท ของสัปดาห์ ที่ผ่านมาร้อยละ 0.64

ราคาข้าวเปลือกเจ้านาปี 5% ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 9,677 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 9,642 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่าน มาร้อยละ 0.36

ราคาข้าวเปลือกเหนียวเมล็ดยาวนาปี ที่เกษตรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 12,814 บาท ราคาลดลงจากตันละ 12,881 บาท ของ สัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.52

2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ

ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 15,050 บาท ราคาลดลงจากตันละ 15,130 บาท ของ สัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.52

3) ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี.

ราคาข้าวหอมมะลิไทย ชั้น 1 (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 1,116 ดอลลาร์สหรัฐฯ (33,634 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจาก ตันละ 1,097 ดอลลาร์สหรัฐฯ (33,410 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.73 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 224 บาท

ราคาข้าวปทุมธานี ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 978 ดอลลาร์สหรัฐฯ (29,475 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 962 ดอลลาร์ สหรัฐฯ (29,298 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.66 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 177 บาท

ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 558 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,817 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 549 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,720 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.63 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 97 บาท

ราคาข้าวสารเจ้า 25% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 553 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,666 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 544 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,568 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.65 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 98 บาท

ราคาข้าวนึ่ง 5%ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 581 ดอลลาร์สหรัฐฯ (17,510 บาท/ตัน)

ราคาสูงขึ้นจากตันละ 572 ดอลลาร์สหรัฐฯ (17,421 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.57 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ89บาท

หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 30.1383

2. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในต่างประเทศ

สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ

1) เวียดนาม

สมาคมอาหารของเวียดนาม(The VietNam Food Association; VFA) รายงานว่า การส่งออกข้าวช่วงวันที่ 1-23 ก.พ. 2555 มี จำนวน 194,527 ตัน มูลค่า 93.485 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และนับตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.- 23 ก.พ. 2555 มีจำนวน รวม 473,802 ตัน มูลค่า 247.238 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยปริมาณลดลงร้อยละ 49.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2554 ในขณะที่สำนักงานสถิติแห่งชาติ (The General Statistics Office) รายงานว่า เดือน ก.พ. นี้ เวียดนามอาจจะส่งออกข้าวได้ถึง 300,000 ตัน ลดลงจาก 495,000 ตัน ในช่วง เดียวกันของปีที่ผ่านมา หรือลดลงร้อยละ 39 และคาดว่าในช่วง 2 เดือนแรกของปีจะมีการส่งออกข้าว 556,000 ตัน ลดลงร้อยละ 46 เมื่อเทียบกับ ช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ ในเดือน ม.ค. 2555 เวียดนามส่งออกข้าวจำนวน 256,000 ตัน

อนึ่ง วงการค้าข้าวคาดว่า ปี 2555 เวียดนามจะยังคงเป็นผู้จัดหาข้าวรายใหญ่ให้แก่อินโดนีเซีย หลังจากรัฐบาลอินโดนีเซียประกาศว่าจะ นำเข้าข้าวในปีนี้ประมาณ 2 ล้านตัน

สำหรับสถานการณ์ราคาข้าวส่งออกปรับตัวลดลงเล็กน้อย เนื่องจากความต้องการข้าวจากต่างประเทศลดลง ในขณะที่ผลผลิตข้าวฤดูใหม่ ออกสู่ตลาดมากขึ้น และคาดว่าราคาข้าวยังคงมีแนวโน้มปรับลดลงต่อเนื่องไปจนถึงเดือนมีนาคม โดยราคา เอฟ.โอ.บี.ข้าว 5% ตันละ 430 ดอลลาร์ สหรัฐฯ (12,959 บาท/ตัน) ลดลงจากตันละ 433 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,050 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ0.69 และยังคงต่ำกว่าราคา เอฟ. โอ.บี.ข้าว 5% ของอินเดีย ที่ราคาตันละ 450 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,562 บาท/ตัน) ส่วนราคา เอฟ.โอ.บี.ข้าว 25% ตันละ 378 ดอลลาร์สหรัฐฯ (11,392 บาท/ตัน) ลดลงจากตันละ 413 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,447 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 8.47 และยังต่ำกว่าราคาส่งออกขั้นต่ำที่ สมาคมอาหารกำหนดไว้ที่ตันละ 420 ดอลลาร์สหรัฐฯ

ที่มา Riceonline.com, สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย

2) อินโดนีเซีย

เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา รัฐมนตรีกระทรวงการค้าของอินโดนีเซียประกาศว่าจะนำเข้าข้าวในปีนี้ประมาณ 2 ล้านตัน เนื่องจากคาดว่าผลผลิต จะลดลง ทั้งนี้คาดว่าการนำเข้าข้าวจะดำเนินการในลักษณะรัฐบาลต่อรัฐบาล (Government-to-government deals)

ปี 2555 คาดว่าผลผลิตข้าวเปลือกของอินโดนีเซียจะมีจำนวน 68 ล้านตัน ซึ่งต่ำกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ก่อนหน้านี้ที่ 72 ล้านตัน หรือลดลง ร้อยละ 5.55 เนื่องจากได้รับผลกระทบจากสภาพอากาศที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการเพาะปลูกและปัญหาการระบาดของโรคและศัตรูพืช

องค์กรสำรองข้าวประเทศอินโดนีเซีย (Bulog) ระบุว่าจะไม่นำเข้าข้าวในปี 2555 แต่จะรับซื้อข้าวจากเกษตรกรในประเทศ ประมาณ 4 ล้านตัน แต่เนื่องจากราคาข้าวในประเทศปรับตัวสูงขึ้น Bulog จึงต้องหันกลับมาใช้วิธีนำเข้าข้าวแทน

ที่มา Riceonline.com, สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย

3) ฟิลิปปินส์

กระทรวงเกษตรของฟิลิปปินส์ คาดว่าในไตรมาสแรกของปี 2555 ผลผลิตข้าวเปลือกจะมีปริมาณ 4.13 ล้านตัน เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 2.5 ซึ่งมากกว่าที่สำนักงานสถิติการเกษตร (The Bureau of Agricultural Statistics) เคยคาดการณ์ไว้เมื่อเดือน ม.ค. ว่าจะมีปริมาณ 4.035 ล้านตัน สำหรับ ปี 2555 คาดว่าฟิลิปปินส์จะมีผลผลิตประมาณ 18.5 ล้านตัน และคาดว่าในช่วงครึ่งแรกของปีจะมีประมาณ 9 ล้านตัน

องค์การอาหารแห่งชาติ (The National Food Authority; NFA) รายงานว่า ในปีนี้องค์การอาหารแห่งชาติอาจจะซื้อข้าวเปลือก จากเกษตรกรได้เพียง 600,000 ตัน จากที่ตั้งเป้าไว้ 1.248 ล้านตัน เพราะขณะนี้ราคาข้าวเปลือกในประเทศอยู่ในระดับสูง ประมาณ 18-18.5 เป โซ/.ก.ก ในขณะที่องค์การอาหารแห่งชาติได้กำหนดราคารับซื้อไว้ที่ 17.7 เปโซ/ก.ก. (ประมาณ 412 ดอลลาร์สหรัฐ/ตัน หรือประมาณ 12,417 บาท/ตัน) ปี 2554 องค์การอาหารแห่งชาติจัดซื้อข้าวจากเกษตรได้ 280,000 ตัน คิดเป็นมูลค่า 111.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

ที่มา Riceonline.com, สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย

--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 27 กุมภาพันธ์ - 4 มีนาคม 2555--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ