1.1 การตลาด
- โครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปี 2554/55
1) มติ กขช. เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2554 และมติ ครม. เมื่อวันที่ 13 กันยายน 54 รับทราบกรอบ ชนิด ราคา ปริมาณ ระยะเวลา วิธีการ หลักเกณฑ์ และเงื่อนไข การรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2554/55
2) ชนิดและราคารับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2554/55 ให้กำหนดชนิดและราคารับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2554/55 ณ ความชื้นไม่เกิน 15% ดังนี้
(1) ข้าวเปลือกหอมมะลิ (42 กรัม) ตันละ 20,000 บาท (2) ข้าวเปลือกหอมจังหวัด (40 กรัม) ตันละ 18,000 บาท
(ข้าวหอมมะลินอกพื้นที่ 23 จังหวัด)
(3) ข้าวเปลือกปทุมธานี (42 กรัม) ตันละ 16,000 บาท
(4) ข้าวเปลือกเหนียว :-
ข้าวเปลือกเหนียว 10% เมล็ดยาว ตันละ 16,000 บาท ข้าวเปลือกเหนียว 10% เมล็ดสั้น ตันละ 15,000 บาท
(5) ข้าวเปลือกเจ้า :-
ข้าวเปลือกเจ้า 100% ตันละ 15,000 บาท ข้าวเปลือกเจ้า 5% ตันละ 14,800 บาท ข้าวเปลือกเจ้า 10% ตันละ 14,600 บาท ข้าวเปลือกเจ้า 15% ตันละ 14,200 บาท ข้าวเปลือกเจ้า 25% ตันละ 13,800 บาท
ทั้งนี้ ราคารับจำนำข้างต้นให้ปรับเพิ่ม-ลดตามจำนวนกรัม ในอัตรากรัมละ 200 บาท
3) เป้าหมายการรับจำนำ ไม่จำกัดปริมาณข้าวเปลือกที่รับจำนำทั้งโครงการ ส่วนปริมาณข้าวเปลือกที่เกษตรกรแต่ละรายจะจำนำได้ไม่จำกัดจำนวนเช่นกัน โดยต้องเป็นข้าวเปลือกที่เกษตรกรเพาะปลูกเองในปีการผลิต 2554/55 และต้องมีหนังสือรับรองเกษตรกรของกรมส่งเสริมการเกษตร ซึ่งผ่านการทำประชาคม และเกษตรกรลงชื่อรับรองตัวเอง พร้อมทั้งเจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมการเกษตร และปลัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายลงชื่อรับรองด้วย
4) ระยะเวลาดำเนินการ
- ระยะเวลาดำเนินการรับจำนำ 7 ตุลาคม 2554 — 29 กุมภาพันธ์ 2555
(ภาคใต้ 7 ตุลาคม 2554 — 31 กรกฎาคม 2555)
- ระยะเวลาไถ่ถอน 4 เดือน นับถัดจากเดือนที่รับจำนำ
- ระยะเวลาโครงการ 7 ตุลาคม 2554 — 30 กันยายน 2555
5) ผลการรับจำนำ
ผลการดำเนินโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปี 2554/55
(ตั้งแต่ วันที่ 7 ตุลาคม 2554 — 18 มีนาคม 2555)
รายการ จุดรับ จำนวน จำนวน -------------- ปริมาณการรับจำนำข้าวเปลือก (ตัน) 1/------------------
จำนำ ใบประทวน ยุ้งฉาง ข้าวเจ้า ข้าวปทุมธานี ข้าวหอมมะลิ ข้าวหอมจังหวัด ข้าวเหนียว รวมทุกชนิดข้าว
ภาคเหนือ 210 328,263 2,153 1,465,694 2,790 312,841 269,612 230,475 2,281,411 ภาคะวันออกเฉียงเหนือ 359 753,163 34,398 164,062 84 2,777,037 - 211,876 3,153,059 ภาคกลาง 283 154,819 - 1,266,486 12,368 - 65,872 - 1,344,726 ภาคใต้ 40 3,753 - 18,889 - - - - 18,889 รวมทั้งประเทศ 892 1,239,998 36,551 2,915,131 15,242 3,089,878 335,484 442,351 6,798,085
จำนวนเกษตรกรที่รับเงินกับ ธ.ก.ส.
(ข้อมลสะสมตั้งแต่ 7 ตุลาคม 2554 — 20 มีนาคม 2555)
รายการ ราย สัญญา จำนวนตัน จำนวนเงิน(ล้านบาท) จำนำยุ้งฉาง 36,581 36,691 176,514.11 3,462.174 จำนำประทวน 1,107,542 1,132,837 6,623,916.33 112,360.094 รวม 1,144,123 1,169,528 6,800,430.45 115,822.268
ที่มา: 1/ กรมการค้าภายใน กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์
2/ ธ.ก.ส.
- โครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปรัง ปี 2555
มติ ครม. เมื่อวันที่ 22 ก.พ. 55 เห็นชอบกรอบ ชนิด ราคา ปริมาณ ระยะเวลา วิธีการ หลักเกณฑ์ และเงื่อนไข การรับจำนำข้าวเปลือกนาปรัง ปีการผลิต 2555 ดังนี้
1) เป้าหมายรับจำนำ ไม่จำกัดปริมาณข้าวเปลือกที่รับจำนำ
2) ชนิดข้าวที่รับจำนำ ได้แก่ ข้าวเปลือกเจ้า ข้าวเปลือกปทุมธานี และข้าวเปลือกเหนียว
3)ราคารับจำนำ ณ ความชื้นไม่เกิน 15% เช่นเดียวกับโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปี 2554/55 ดังนี้
- ข้าวเปลือกเจ้า 100% ตันละ 15,000 บาท - ข้าวเปลือกเจ้า 5% ตันละ 14,800 บาท - ข้าวเปลือกเจ้า 10% ตันละ 14,600 บาท - ข้าวเปลือกเจ้า 15% ตันละ 14,200 บาท - ข้าวเปลือกเจ้า 25% ตันละ 13,800 บาท - ข้าวเปลือกปทุมธานี 1 (42 กรัม) ตันละ 16,000 บาท - ข้าวเปลือกเหนียว 10% เมล็ดยาว ตันละ 16,000 บาท - ข้าวเปลือกเหนียว 10% เมล็ดสั้น ตันละ 15,000 บาท
ทั้งนี้ราคารับจำนำข้าวเปลือกปทุมธานี 1 ให้ปรับเพิ่ม-ลดตามจำนวนกรัมในอัตรากรัมละ 200 บาท
4) ปริมาณจำนำของเกษตรกรแต่ละราย จะคำนวณตามพื้นที่เพาะปลูกผลผลิตเฉลี่ยรายจังหวัดและผลผลิตรวมของเกษตรกรตามหนังสือรับรองที่กรมการส่งเสริมการเกษตรออกให้แก่เกษตรกรเป็นข้อมูลประกอบ กรณีผลผลิตของเกษตรกรสูงกว่าปริมาณผลผลิตเฉลี่ย ให้ปรับเพิ่มได้อีกไม่เกิน 20% (ณ ความชื้น 15%) โดยให้เกษตรกรรับรองว่าข้าวเปลือกของเกษตรกรเองและแจ้งให้อนุกรรมการติดตามและกำกับดูแลการรับจำนำระดับจังหวัดสุ่มตรวจสอบอย่างน้อย 20% ของเกษตรกรที่มีผลผลิตเกินกว่าผลผลิตเฉลี่ยที่กำหนด
5) การกำหนดพันธุ์ข้าวที่จะเข้าร่วมโครงการ ให้เป็นไปตามมติคณะอนุกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติด้านการผลิตเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2554 ที่เห็นชอบให้เกษตรกรสามารถนำข้าวทุกพันธุ์เข้าร่วมโครงการฯ ได้ รวมทั้งพันธุ์ข้าวที่ปลูกและให้ข้าวสารคุณภาพต่ำ จำนวน 18 พันธุ์ ซึ่งในโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปี 25554/55 ไม่ได้ให้เข้าร่วมโครงการ
6) ระยะเวลาดำเนินการ
- ระยะเวลาการขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าว
กิจกรรม ภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคตะวันตก ภาคใต้
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ
การปลูก 1 พฤศจิกายน 2554 — 30 เมษายน 2555 1 มีนาคม 2555 — 15 มิถุนายน 2555 การเก็บเกี่ยว 1 กุมภาพันธ์ 2555 — 31 สิงหาคม 2555 1 มิถุนายน 2555 — 15 ตุลาคม 2555 การขึ้นทะเบียน 4 มกราคม 2555 — 31 พฤษภาคม 2555 1 เมษายน 2555 — 15 กรกฎาคม 2555 การประชาคม 20 มกราคม 2555 — 15 มิถุนายน 2555 1 พฤษภาคม 2555 — 31 กรกฎาคม 2555 การออกใบรับรอง 20 มกราคม 2555 — 30 มิถุนายน 2555 2 พฤษภาคม 2555 — 15 สิงหาคม 2555
- ระยะเวลารับจำนำ 1 มีนาคม -15 กันยายน 2555 ภาคใต้ 1 กรกฎาคม — 31 ตุลาคม 2555
- ระยะเวลาไถ่ถอน ภายใน 4 เดือนถัดจากเดือนที่รับจำนำ
- ระยะเวลาโครงการ มีนาคม 2555 — มกราคม 2556
7) วิธีการรับจำนำ หลักเกณฑ์การรับจำนำ การเข้าร่วมโครงการของโรงสี การสีแปรสภาพการเก็บรักษาข้าวสาร การระบายข้าวสาร และการกำกับดูแล เป็นไปเช่นเดียวกับโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2554/55
8) ผลการรับจำนำ
ผลการดำเนินโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปรัง ปี 25555
(ตั้งแต่ วันที่ 1 มีนาคม — 21 มีนาคม 2555)
รายการ จุดรับจำนำ จำนวน จำนวน ------ปริมาณการรับจำนำข้าวเปลือก (ตัน) 1/----- อคส. อ.ต.ก. รวม ใบประทวน ยุ้งฉาง ข้าวเจ้า ข้าวปทุมธานี ข้าวเหนียว รวมทุกชนิดข้าว ภาคเหนือ 77 49 126 53,093 - 653,715 38 653,753 ภาคะวันออกเฉียงเหนือ - 1 1 - - - - - - ภาคกลาง 172 63 235 46,116 - 532,202 25,567 - 557,769 ภาคใต้ ------------------------------------- ยังไม่ดำเนินการ------------------------------------ รวมทั้งประเทศ 249 113 362 99,203 - 1,185,917 25,605 - 1,211,522
ที่มา: 1/ กรมการค้าภายใน กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์
ภาวการณ์ซื้อขายข้าวในสัปดาห์นี้ ราคาข้าวขาวสูงขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่านมาเพียงเล็กน้อยเนื่องจาก การซื้อขายมีปริมาณน้อย ส่งผลให้ตลาดชะลอตัว
การส่งออก ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม — 19 มีนาคม 2555 ประเทศไทยส่งออกข้าวทั้งหมด จำนวน 1.307 ล้านตันข้าวสาร ลดลงจาก 2.616 ล้านตันข้าวสาร ของการส่งออกข้าวในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาร้อยละ 50.03
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ราคาข้าวเปลือกเจ้าหอมมะลินาปี ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 14,750 บาท ราคาลดลงจากตันละ 14,800 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.34
ราคาข้าวเปลือกเจ้านาปี 5% ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 9,946 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 9,912 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.34
ราคาข้าวเปลือกเหนียวเมล็ดยาวนาปี ที่เกษตรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 12,632 บาท ราคาลดลงจากตันละ 12,655 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.18
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 15,450 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 15,410 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.25
3) ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี.
ราคาข้าวหอมมะลิไทย ชั้น 1 (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 1,097 ดอลลาร์สหรัฐฯ (33,455 บาท/ตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 160 บาท
ราคาข้าวปทุมธานี ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 962 ดอลลาร์สหรัฐฯ (29,338 บาท/ตัน)
ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 140 บาท
ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 549 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,743 บาท/ตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 80 บาท
ราคาข้าวสารเจ้า 25% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 554 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,895 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 544 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,511 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.80 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 384 บาท
ราคาข้าวนึ่ง 5% ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 628 ดอลลาร์สหรัฐฯ (19,152 บาท/ตัน)
ราคาสูงขึ้นจากตันละ 612 ดอลลาร์สหรัฐฯ (18,575 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.61 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 577 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 30.4964
สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
ฟิลิปปินส์
ฟิลิปปินส์ต้องการซื้อในปีนี้ 500,000 ตัน โดยจะเป็นการซื้อแบบข้อตกลงระหว่างรัฐต่อรัฐ จากเวียดนามหรือไทย ประมาณ 120,000 ตัน ในเดือนเม.ย.นี้ และเป็นการนำเข้าโดยภาคเอกชน 380,000 ตัน ซึ่ง NFA ได้จัดการประมูลเมื่อวันที่ 19 มี.ค. 2555 ได้จำนวน 190,000 ตัน ซึ่งกำหนดส่งมอบล็อตแรกในเดือน พ.ค. และส่วนที่เหลือจะต้องส่งมอบภายในวันที่ 30 มิ.ย. 2555
อนึ่ง การนำเข้าข้าวของฟิลิปปินส์ส่วนใหญ่จะนำเข้า 3 ใน 4 จากเวียดนาม และนำเข้าจากไทยในปริมาณน้อย และฟิลิปปินส์มีข้อตกลงที่จะนำเข้าข้าวจากเวียดนามไปจนถึงปี 2556 และคาดว่าปีนี้ฟิลิปปินส์จะสามารถผลิตข้าวได้เพียงพอต่อการบริโภค ขณะเดียวกันกัมพูชาก็สนใจที่จะขายข้าวให้ฟิลิปปินส์แต่ยังไม่มีข้อตกลงระหว่างกัน
ที่มา : Riceonline.com
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 19 - 25 มีนาคม 2555--