ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร: ข้าว

ข่าวทั่วไป Thursday April 5, 2012 13:33 —สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ

1.1 การตลาด

  • โครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปี 2554/55

1) มติ กขช. เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2554 และมติ ครม. เมื่อวันที่ 13 กันยายน 54 รับทราบกรอบ ชนิด ราคา ปริมาณ ระยะเวลา วิธีการ หลักเกณฑ์ และเงื่อนไข การรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2554/55

2) ชนิดและราคารับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2554/55 ให้กำหนดชนิดและราคารับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2554/55 ณ ความชื้นไม่เกิน 15% ดังนี้

                    (1) ข้าวเปลือกหอมมะลิ (42 กรัม)                         ตันละ 20,000 บาท
                    (2) ข้าวเปลือกหอมจังหวัด (40 กรัม)                       ตันละ 18,000 บาท

(ข้าวหอมมะลินอกพื้นที่ 23 จังหวัด)

                    (3) ข้าวเปลือกปทุมธานี (42 กรัม)                         ตันละ 16,000 บาท

(4) ข้าวเปลือกเหนียว :-

                        ข้าวเปลือกเหนียว 10% เมล็ดยาว                       ตันละ 16,000 บาท
                        ข้าวเปลือกเหนียว 10% เมล็ดสั้น                        ตันละ 15,000  บาท

(5) ข้าวเปลือกเจ้า :-

                        ข้าวเปลือกเจ้า 100%                                ตันละ 15,000  บาท
                        ข้าวเปลือกเจ้า 5%                                  ตันละ 14,800  บาท
                        ข้าวเปลือกเจ้า 10%                                 ตันละ 14,600  บาท
                        ข้าวเปลือกเจ้า 15%                                 ตันละ 14,200  บาท
                        ข้าวเปลือกเจ้า 25%                                 ตันละ 13,800  บาท

ทั้งนี้ ราคารับจำนำข้างต้นให้ปรับเพิ่ม-ลดตามจำนวนกรัม ในอัตรากรัมละ 200 บาท

3) เป้าหมายการรับจำนำ ไม่จำกัดปริมาณข้าวเปลือกที่รับจำนำทั้งโครงการ ส่วนปริมาณข้าวเปลือกที่เกษตรกรแต่ละรายจะจำนำได้ไม่จำกัดจำนวนเช่นกัน โดยต้องเป็นข้าวเปลือกที่เกษตรกรเพาะปลูกเองในปีการผลิต 2554/55 และต้องมีหนังสือรับรองเกษตรกรของกรมส่งเสริมการเกษตร ซึ่งผ่านการทำประชาคม และเกษตรกรลงชื่อรับรองตัวเอง พร้อมทั้งเจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมการเกษตร และปลัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายลงชื่อรับรองด้วย

4) ระยะเวลาดำเนินการ

  • ระยะเวลาดำเนินการรับจำนำ 7 ตุลาคม 2554 — 29 กุมภาพันธ์ 2555

(ภาคใต้ 7 ตุลาคม 2554 — 31 กรกฎาคม 2555)

  • ระยะเวลาไถ่ถอน 4 เดือน นับถัดจากเดือนที่รับจำนำ
  • ระยะเวลาโครงการ 7 ตุลาคม 2554 — 30 กันยายน 2555

5) ผลการรับจำนำ

ผลการดำเนินโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปี 2554/55

(ตั้งแต่ วันที่ 7 ตุลาคม 2554 — 25 มีนาคม 2555)

  รายการ     จุดรับจำนำ    จำนวน    จำนวน     -------------- ปริมาณการรับจำนำข้าวเปลือก (ตัน) 1/-------------------

ใบประทวน ยุ้งฉาง ข้าวเจ้า ข้าวปทุมธานี ข้าวหอมมะลิ ข้าวหอมจังหวัด ข้าวเหนียว รวมทุกชนิดข้าว

ภาคเหนือ           210   328,261   2,153  1,465,654      2,790    312,841      269,552   230,475    2,281,312
ภาคะวันออกเฉียงเหนือ 359   753,313  34,428    164,062         84  2,774,434            -   211,554    3,150,134
ภาคกลาง           283   154,819       -  1,266,486     12,368          -       65,872         -    1,344,726
ภาคใต้              41     3,938       -     20,087          -          -            -         -       20,087
รวมทั้งประเทศ       893 1,240,331  36,581  2,916,289     15,242  3,087,275      335,424   442,029    6,796,260

จำนวนเกษตรกรที่รับเงินกับ ธ.ก.ส.

(ข้อมลสะสมตั้งแต่ 7 ตุลาคม 2554 — 26 มีนาคม 2555)

   รายการ        ราย              สัญญา             จำนวนตัน        จำนวนเงิน(ล้านบาท)
 จำนำยุ้งฉาง      36,604           36,714           176,594.81           3,463.794
 จำนำประทวน  1,108,422        1,133,902         6,627,617.52         112,431.431
 รวม         1,145,026        1,170,616         6,804,212.33         115,895.225

ที่มา: 1/ กรมการค้าภายใน กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์

2/ ธ.ก.ส.

  • โครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปรัง ปี 2555

มติ ครม. เมื่อวันที่ 22 ก.พ. 55 เห็นชอบกรอบ ชนิด ราคา ปริมาณ ระยะเวลา วิธีการ หลักเกณฑ์ และเงื่อนไข การรับจำนำข้าวเปลือกนาปรัง ปีการผลิต 2555 ดังนี้

1) เป้าหมายรับจำนำ ไม่จำกัดปริมาณข้าวเปลือกที่รับจำนำ

2) ชนิดข้าวที่รับจำนำ ได้แก่ ข้าวเปลือกเจ้า ข้าวเปลือกปทุมธานี และข้าวเปลือกเหนียว

3)ราคารับจำนำ ณ ความชื้นไม่เกิน 15% เช่นเดียวกับโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปี 2554/55 ดังนี้

          - ข้าวเปลือกเจ้า 100%                         ตันละ 15,000  บาท
          - ข้าวเปลือกเจ้า 5%                           ตันละ 14,800  บาท
          - ข้าวเปลือกเจ้า 10%                          ตันละ 14,600  บาท
          - ข้าวเปลือกเจ้า 15%                          ตันละ 14,200  บาท
          - ข้าวเปลือกเจ้า 25%                          ตันละ 13,800  บาท
          - ข้าวเปลือกปทุมธานี 1 (42 กรัม)                ตันละ 16,000  บาท
          - ข้าวเปลือกเหนียว 10% เมล็ดยาว                ตันละ 16,000  บาท
          - ข้าวเปลือกเหนียว 10% เมล็ดสั้น                 ตันละ 15,000  บาท

ทั้งนี้ราคารับจำนำข้าวเปลือกปทุมธานี 1 ให้ปรับเพิ่ม-ลดตามจำนวนกรัมในอัตรากรัมละ 200 บาท

4) ปริมาณจำนำของเกษตรกรแต่ละราย จะคำนวณตามพื้นที่เพาะปลูกผลผลิตเฉลี่ยรายจังหวัดและผลผลิตรวมของเกษตรกรตามหนังสือรับรองที่กรมการส่งเสริมการเกษตรออกให้แก่เกษตรกรเป็นข้อมูลประกอบ กรณีผลผลิตของเกษตรกรสูงกว่าปริมาณผลผลิตเฉลี่ย ให้ปรับเพิ่มได้อีกไม่เกิน 20% (ณ ความชื้น 15%) โดยให้เกษตรกรรับรองว่าข้าวเปลือกของเกษตรกรเองและแจ้งให้อนุกรรมการติดตามและกำกับดูแลการรับจำนำระดับจังหวัดสุ่มตรวจสอบอย่างน้อย 20% ของเกษตรกรที่มีผลผลิตเกินกว่าผลผลิตเฉลี่ยที่กำหนด

5) การกำหนดพันธุ์ข้าวที่จะเข้าร่วมโครงการ ให้เป็นไปตามมติคณะอนุกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติด้านการผลิตเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2554 ที่เห็นชอบให้เกษตรกรสามารถนำข้าวทุกพันธุ์เข้าร่วมโครงการฯ ได้ รวมทั้งพันธุ์ข้าวที่ปลูกและให้ข้าวสารคุณภาพต่ำ จำนวน 18 พันธุ์ ซึ่งในโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปี 25554/55 ไม่ได้ให้เข้าร่วมโครงการ

6) ระยะเวลาดำเนินการ

  • ระยะเวลาการขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าว
  กิจกรรม                   ภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคตะวันตก                      ภาคใต้

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ

การปลูก                   1 พฤศจิกายน 2554 — 30 เมษายน 2555          1 มีนาคม 2555   — 15 มิถุนายน 2555
การเก็บเกี่ยว               1 กุมภาพันธ์ 2555 — 31 สิงหาคม 2555           1 มิถุนายน 2555  — 15 ตุลาคม 2555
การขึ้นทะเบียน              4 มกราคม 2555 — 31 พฤษภาคม 2555           1 เมษายน 2555  — 15 กรกฎาคม 2555
การประชาคม              20 มกราคม 2555 — 15 มิถุนายน 2555            1 พฤษภาคม 2555 — 31 กรกฎาคม 2555
การออกใบรับรอง           20 มกราคม 2555 — 30 มิถุนายน 2555            2 พฤษภาคม 2555 — 15 สิงหาคม 2555
  • ระยะเวลารับจำนำ 1 มีนาคม -15 กันยายน 2555 ภาคใต้ 1 กรกฎาคม — 31 ตุลาคม 2555
  • ระยะเวลาไถ่ถอน ภายใน 4 เดือนถัดจากเดือนที่รับจำนำ
  • ระยะเวลาโครงการ มีนาคม 2555 — มกราคม 2556

7)วิธีการรับจำนำ หลักเกณฑ์การรับจำนำ การเข้าร่วมโครงการของโรงสี การสีแปรสภาพ การเก็บรักษาข้าวสาร การระบายข้าวสาร และการกำกับดูแล เป็นไปเช่นเดียวกับโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2554/55

8) ผลการรับจำนำ

ผลการดำเนินโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปรัง ปี 2555

(ตั้งแต่ วันที่ 1 มีนาคม — 28 มีนาคม 2555)

  รายการ                จุดรับจำนำ           จำนวน   จำนวน  --------ปริมาณการรับจำนำข้าวเปลือก (ตัน) 1/-------
                   อคส.  อ.ต.ก.   รวม   ใบประทวน   ยุ้งฉาง    ข้าวเจ้า   ข้าวปทุมธานี    ข้าวเหนียว  รวมทุกชนิดข้าว
ภาคเหนือ             83    51      134     90,385     -   1,105,225          38           4    1,105,267
ภาคะวันออกเฉียงเหนือ    5     1        6        650     -       3,543           -           -        3,543
ภาคกลาง            191    68      259     72,040     -     826,238      41,384           -      867,622
ภาคใต้              --------------------ยังไม่ดำเนินการ------------------------------
รวมทั้งประเทศ        279   120      399    163,075     -   1,935,006      41,422           4    1,976,432

ที่มา: 1/ กรมการค้าภายใน กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์

ภาวการณ์ซื้อขายข้าวในสัปดาห์นี้ ราคาข้าวขาวสูงขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่านมาเพียงเล็กน้อยเนื่องจาก การซื้อขายมีปริมาณน้อย ส่งผลให้ตลาดชะลอตัว

การส่งออก ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม — 26 มีนาคม 2555 ประเทศไทยส่งออกข้าวทั้งหมด จำนวน 1.445 ล้านตันข้าวสาร ลดลงจาก 2.846 ล้านตันข้าวสาร ของการส่งออกข้าวในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาร้อยละ 49.22

1.2 ราคา

1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ

ราคาข้าวเปลือกเจ้าหอมมะลินาปี ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 14,664 บาท ราคาลดลงจากตันละ 14,750 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.58

ราคาข้าวเปลือกเจ้านาปี 5% ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 10,008 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 9,946 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.62

ราคาข้าวเปลือกเหนียวเมล็ดยาวนาปี ที่เกษตรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 12,743 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 12,632 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.88

2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ

ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 15,450 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน

3) ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี.

ราคาข้าวหอมมะลิไทย ชั้น 1 (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 1,097 ดอลลาร์สหรัฐฯ (33,481 บาท/ตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 26 บาท

ราคาข้าวปทุมธานี ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 962 ดอลลาร์สหรัฐฯ (29,361 บาท/ตัน)

ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 23 บาท

ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 549 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,756 บาท/ตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 13 บาท

ราคาข้าวสารเจ้า 25% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 554 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,908 บาท/ตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 13 บาท

ราคาข้าวนึ่ง 5% ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 622 ดอลลาร์สหรัฐฯ (18,984 บาท/ตัน)

ราคาลดลงจากตันละ 628 ดอลลาร์สหรัฐฯ (19,152 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.95 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 168 บาท

หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 30.5206

2. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในต่างประเทศ

สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ

1) อินเดีย

รัฐบาลอินเดียประกาศผลักดันร่างกฎหมายความมั่นคงด้านอาหาร (Food Security Bill) หลังคณะรัฐมนตรีเห็นชอบแล้ว โครงการต่างๆ ของรัฐบาลจะทำให้รัฐสามารถอุดหนุนให้ประชาชนซื้ออาหารประเภทธัญพืชในราคาที่ถูกลง มากกว่าการเก็บสต็อกสำรองของรัฐบาล โดยกำหนดกลุ่มเป้าหมายเป็นประชาชนในเขตพื้นที่ชนบท 75% และในเขตพื้นที่เมือง 50% โดยแบ่งเป็นกลุ่มที่มีความจำเป็นเร่งด่วน ซึ่งรัฐบาลจะจัดอาหารประเภทธัญพืชให้คนละ 7 ก.ก.ต่อเดือน และสามารถซื้อธัญพืชอื่นในราคาพิเศษ เช่น ข้าว ก.ก.ละ 3 รูปี (ตันละ 57 USD หรือตันละ 1,740 บาท) ข้าวสาลี ก.ก.ละ 2 รูปี (ตันละ 40 USD หรือตันละ 1,221 บาท) ส่วนกลุ่มทั่วไปสามารถซื้ออาหารประเภทธัญพืชได้คนละ 3 ก.ก.ต่อเดือน ในราคาครึ่งหนึ่งของราคารับซื้อขั้นต่ำจากเกษตรกร (MSP) เช่น ข้าว 5,400 รูปีต่อตัน (ตันละ 102 USD หรือตันละ 3,113 บาท) ทั้งนี้ รัฐบาลจะต้องเตรียมจัดหาธัญพืชสำหรับแจกจ่ายให้แก่ประชาชนกลุ่มเป้าหมายเฉลี่ยปีละ 62.50 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปัจจุบันที่ประมาณ 57.50 ล้านตัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.69

องค์การอาหารแห่งชาติ (Food Corporation of India; FCI) รายงานว่า โครงการจัดหาข้าวของรัฐบาลในปีงบประมาณปัจจุบัน ซึ่งเริ่มตั้งแต่ ต.ค. - 22 ธ.ค. 2554 สามารถจัดหาข้าวได้ 20.32 ล้านตัน ซึ่งมากกว่าช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาร้อยละ 12.6 และคาดว่าในปีนี้จะจัดหาได้ตามเป้าที่ 35.31 ล้านตัน เนื่องจากคาดว่าผลผลิตข้าวจะเพิ่มขึ้นเป็น 103 ล้านตัน

ข้อมูล ณ วันที่ 1 ธ.ค. 2554 อินเดียมีสต็อกข้าวในคลังรัฐบาลประมาณ 27 ล้านตัน ซึ่งมากกว่าความต้องการที่รัฐบาลกำหนดไว้ที่ 7.2 ล้านตัน และขณะนี้รัฐบาลมีสต็อกธัญพืช (ข้าวและข้าวสาลี) รวม 54.12 ล้านตัน จากที่มีสามารถเก็บได้ทั้งหมด 63 ล้านตัน คาดว่าภายในสิ้นปีนี้รัฐบาลจะสามารถสร้างที่เก็บธัญพืชได้เพิ่มขึ้นอีก 4 ล้านตัน จากแผนการเพิ่มความสามารถในการเก็บธัญพืชขึ้นอีก 15 ล้านตัน

ที่มา : Riceonline.com, สมาคมส่งออกข้าวไทย

2) อินโดนีเซีย

รัฐมนตรีประสานงานเศรษฐกิจของอินโดนีเซีย (Coordinating Economic Minister) รายงานว่า ในปี 2555 อินโดนีเซียจะต้องจัดหาข้าวประมาณ 3.5-4 ล้านตัน เพื่อรักษาเสถียรภาพของราคาข้าว ซึ่งคาดว่าจะมาจากผลผลิตในประเทศและการนำเข้า ทั้งนี้ สต็อกข้าวในคลังของสำนักงานพลาธิการแห่งชาติ (Bulog) ซึ่งเป็นหน่วยงานสำรองข้าวของอินโดนีเซีย ควรมีสต็อกข้าวจำนวน 1.5 ล้านตัน เป็นอย่างน้อย และควรเพิ่มสต็อกข้าวขึ้นทีละน้อย

ผู้บริหารของบูล็อค รายงานว่า การนำเข้าข้าวจากไทยต้องล่าช้ากว่ากำหนด จากเดิมภายในปี 2555 เป็น เดือน ก.พ. 2556 เพราะรัฐบาลไทยต้องการเจรจาเรื่องราคาใหม่ ขณะที่อินโดนีเซียจะซื้อข้าวในราคาที่ดีที่สุดและคุณภาพดีที่สุด ทั้งนี้ รัฐบาลไทยมีกำหนดส่งมอบข้าวให้อินโดนีเซียจำนวน 300,000 ตัน ภายในเดือน ธ.ค. 2555 ขณะเดียวกันอินเดียก็จะส่งมอบข้าวจำนวน 250,000 ตัน ให้แก่อินโดนีเซียเช่นกัน นอกจากนี้เวียดนามก็จะต้องส่งมอบข้าวจำนวน 1.2 ล้านตัน แก่อินโดนีเซียให้ครบในเดือนมีนาคม 2555 ด้วย

ที่มา : Riceonline.com, สมาคมส่งออกข้าวไทย

3) สิงคโปร์

เครือข่ายซูเปอร์มาร์เก็ตในสิงคโปร์ (FairPrice) ซึ่งบริหารงานโดยสภาสหภาพการค้าแห่งสิงคโปร์ (NTUC) ประกาศไม่ขึ้นราคาข้าวนำเข้าจากไทยไปจนถึงสิ้นปีนี้ ขณะที่ผู้บริโภคชาวสิงคโปร์กังวลว่าสถานการณ์น้ำท่วมในไทยจะทำให้ราคาข้าวปรับตัวสูงขึ้น โดยปัจจุบันแฟร์ไพรซ์จำหน่ายข้าวไทย 9 ชนิด ตั้งแต่ข้าวธรรมดาไปจนถึงข้าวหอมมะลิชั้นดี ซึ่งในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา ราคาส่วนใหญ่ไม่เปลี่ยนแปลง และตั้งแต่เดือนมกราคม 2555 บางยี่ห้อยังมีราคาลดลงด้วย เช่น ข้าวขาวหอมขนาด 5 กิโลกรัมจำหน่ายถุงละ 7.45 ดอลลาร์สิงคโปร์ (ประมาณ 186.25 บาท) เมื่อปี 2552 ลดลงเหลือ 6.90 ดอลลาร์สิงคโปร์ (ประมาณ 172.50 บาท)

ผู้บริหารของแฟร์ไพรซ์ รายงานว่า ลูกค้าส่วนใหญ่ยังคงชื่นชอบข้าวไทยจึงพยายามคงราคาไว้จนกว่าจะผ่านพ้นการเฉลิมฉลองเทศกาลตรุษจีน นอกจากข้าวไทยแล้วแฟร์ไพรซ์ยังนำเข้าข้าวจากเวียดนาม กัมพูชา อินเดีย ปากีสถาน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และสหรัฐ ซึ่งยอดจำหน่ายข้าวจากเวียดนามเพิ่มขึ้นมากกว่า 10 เท่าตั้งแต่เดือน ก.พ. 2555 หลังจากประกาศคงราคาไปจนถึงสิ้นเดือนกุมภาพันธ์

ที่มา : สำนักข่าวไทย, สมาคมส่งออกข้าวไทย

--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 26 มีนาคม - 1 เมษายน 2555--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ