1.1 การตลาด
โครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปี 2554/55
1) มติ กขช. เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2554 และมติ ครม. เมื่อวันที่ 13 กันยายน 54 รับทราบกรอบ ชนิด ราคา ปริมาณ ระยะเวลา วิธีการ หลักเกณฑ์ และเงื่อนไข การรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2554/55
2) ชนิดและราคารับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2554/55 ให้กำหนดชนิดและราคารับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2554/55 ณ ความชื้นไม่เกิน 15% ดังนี้
(1) ข้าวเปลือกหอมมะลิ (42 กรัม) ตันละ 20,000 บาท (2) ข้าวเปลือกหอมจังหวัด (40 กรัม) ตันละ 18,000 บาท
(ข้าวหอมมะลินอกพื้นที่ 23 จังหวัด)
(3) ข้าวเปลือกปทุมธานี (42 กรัม) ตันละ 16,000 บาท
(4) ข้าวเปลือกเหนียว :-
ข้าวเปลือกเหนียว 10% เมล็ดยาว ตันละ 16,000 บาท ข้าวเปลือกเหนียว 10% เมล็ดสั้น ตันละ 15,000 บาท
(5) ข้าวเปลือกเจ้า :-
ข้าวเปลือกเจ้า 100% ตันละ 15,000 บาท ข้าวเปลือกเจ้า 5% ตันละ 14,800 บาท ข้าวเปลือกเจ้า 10% ตันละ 14,600 บาท ข้าวเปลือกเจ้า 15% ตันละ 14,200 บาท ข้าวเปลือกเจ้า 25% ตันละ 13,800 บาท
ทั้งนี้ ราคารับจำนำข้างต้นให้ปรับเพิ่ม-ลดตามจำนวนกรัม ในอัตรากรัมละ 200 บาท
3) เป้าหมายการรับจำนำ ไม่จำกัดปริมาณข้าวเปลือกที่รับจำนำทั้งโครงการ ส่วนปริมาณข้าวเปลือกที่เกษตรกรแต่ละรายจะจำนำได้ไม่จำกัดจำนวนเช่นกัน โดยต้องเป็นข้าวเปลือกที่เกษตรกรเพาะปลูกเองในปีการผลิต 2554/55 และต้องมีหนังสือรับรองเกษตรกรของกรมส่งเสริมการเกษตร ซึ่งผ่านการทำประชาคม และเกษตรกรลงชื่อรับรองตัวเอง พร้อมทั้งเจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมการเกษตร และปลัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายลงชื่อรับรองด้วย
4) ระยะเวลาดำเนินการ
- ระยะเวลาดำเนินการรับจำนำ 7 ตุลาคม 2554 — 29 กุมภาพันธ์ 2555
(ภาคใต้ 7 ตุลาคม 2554 — 31 กรกฎาคม 2555)
- ระยะเวลาไถ่ถอน 4 เดือน นับถัดจากเดือนที่รับจำนำ
- ระยะเวลาโครงการ 7 ตุลาคม 2554 — 30 กันยายน 2555
- ระยะเวลาดำเนินการรับจำนำ 7 ตุลาคม 2554 — 29 กุมภาพันธ์ 2555
(ภาคใต้ 7 ตุลาคม 2554 — 31 กรกฎาคม 2555)
- ระยะเวลาไถ่ถอน 4 เดือน นับถัดจากเดือนที่รับจำนำ
- ระยะเวลาโครงการ 7 ตุลาคม 2554 — 30 กันยายน 2555
5) ผลการรับจำนำ
ผลการดำเนินโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปี 2554/55 (ตั้งแต่ วันที่ 7 ตุลาคม 2554 — 9 เมษายน 2555) รายการ จุดรับจำนำ จำนวน จำนวน ปริมาณการรับจำนำข้าวเปลือก (ตัน) 1/ ใบประทวน ยุ้งฉาง ข้าวเจ้า ข้าวปทุมธานี ข้าวหอมมะลิ ข้าวหอมจังหวัด ข้าวเหนียว รวมทุกชนิดข้าว ภาคเหนือ 210 328,261 2,154 1,465,654 2,790 312,852 269,552 230,461 2,281,309 ภาคะวันออกเฉียงเหนือ 359 753,313 34,511 164,062 84 2,774,757 - 211,626 3,150,529 ภาคกลาง 283 154,816 - 1,266,425 12,368 - 65,872 - 1,344,665 ภาคใต้ 44 4,345 - 22,780 - - - - 22,780 รวมทั้งประเทศ 893 1,240,735 36,665 2,918,921 15,242 3,087,610 335,424 442,087 6,799,284
จำนวนเกษตรกรที่รับเงินกับ ธ.ก.ส. 2/
(ข้อมลสะสมตั้งแต่ 7 ตุลาคม 2554 — 24 เมษายน 2555)
รายการ ราย สัญญา จำนวนตัน จำนวนเงิน (ล้านบาท) จำนำยุ้งฉาง 36,671 36,781 176,931.68 3,470.396 จำนำประทวน 1,091,227 1,137,219 6,647,928.03 112,775.349 รวม 1,127,898 1,174,000 6,824,859.70 116,245.745
ที่มา: 1/ กรมการค้าภายใน กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์
2/ ธ.ก.ส.
โครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปรัง ปี 2555
มติ ครม. เมื่อวันที่ 22 ก.พ. 55 เห็นชอบกรอบ ชนิด ราคา ปริมาณ ระยะเวลา วิธีการ หลักเกณฑ์ และเงื่อนไข การรับจำนำข้าวเปลือกนาปรัง ปีการผลิต 2555 ดังนี้
1) เป้าหมายรับจำนำ ไม่จำกัดปริมาณข้าวเปลือกที่รับจำนำ
2) ชนิดข้าวที่รับจำนำ ได้แก่ ข้าวเปลือกเจ้า ข้าวเปลือกปทุมธานี และข้าวเปลือกเหนียว
3)ราคารับจำนำ ณ ความชื้นไม่เกิน 15% เช่นเดียวกับโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปี 2554/55 ดังนี้
- ข้าวเปลือกเจ้า 100% ตันละ 15,000 บาท - ข้าวเปลือกเจ้า 5% ตันละ 14,800 บาท - ข้าวเปลือกเจ้า 10% ตันละ 14,600 บาท - ข้าวเปลือกเจ้า 15% ตันละ 14,200 บาท - ข้าวเปลือกเจ้า 25% ตันละ 13,800 บาท - ข้าวเปลือกปทุมธานี 1 (42 กรัม) ตันละ 16,000 บาท - ข้าวเปลือกเหนียว 10% เมล็ดยาว ตันละ 16,000 บาท - ข้าวเปลือกเหนียว 10% เมล็ดสั้น ตันละ 15,000 บาท
ทั้งนี้ราคารับจำนำข้าวเปลือกปทุมธานี 1 ให้ปรับเพิ่ม-ลดตามจำนวนกรัมในอัตรากรัมละ 200 บาท
4) ปริมาณจำนำของเกษตรกรแต่ละราย จะคำนวณตามพื้นที่เพาะปลูกผลผลิตเฉลี่ยรายจังหวัดและผลผลิตรวมของเกษตรกรตามหนังสือรับรองที่กรมการส่งเสริมการเกษตรออกให้แก่เกษตรกรเป็นข้อมูลประกอบ กรณีผลผลิตของเกษตรกรสูงกว่าปริมาณผลผลิตเฉลี่ย ให้ปรับเพิ่มได้อีกไม่เกิน 20% (ณ ความชื้น 15%) โดยให้เกษตรกรรับรองว่าข้าวเปลือกของเกษตรกรเองและแจ้งให้อนุกรรมการติดตามและกำกับดูแลการรับจำนำระดับจังหวัดสุ่มตรวจสอบอย่างน้อย 20% ของเกษตรกรที่มีผลผลิตเกินกว่าผลผลิตเฉลี่ยที่กำหนด
5) การกำหนดพันธุ์ข้าวที่จะเข้าร่วมโครงการ ให้เป็นไปตามมติคณะอนุกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติด้านการผลิตเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2554 ที่เห็นชอบให้เกษตรกรสามารถนำข้าวทุกพันธุ์เข้าร่วมโครงการฯ ได้ รวมทั้งพันธุ์ข้าวที่ปลูกและให้ข้าวสารคุณภาพต่ำ จำนวน 18 พันธุ์ ซึ่งในโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปี 25554/55 ไม่ได้ให้เข้าร่วมโครงการ
6) ระยะเวลาดำเนินการ
- ระยะเวลาการขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าว
กิจกรรม ภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคตะวันตก ภาคใต้
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ
การปลูก 1 พฤศจิกายน 2554 — 30 เมษายน 2555 1 มีนาคม 2555 — 15 มิถุนายน 2555 การเก็บเกี่ยว 1 กุมภาพันธ์ 2555 — 31 สิงหาคม 2555 1 มิถุนายน 2555 — 15 ตุลาคม 2555 การขึ้นทะเบียน 4 มกราคม 2555 — 31 พฤษภาคม 2555 1 เมษายน 2555 — 15 กรกฎาคม 2555 การประชาคม 20 มกราคม 2555 — 15 มิถุนายน 2555 1 พฤษภาคม 2555 — 31 กรกฎาคม 2555 การออกใบรับรอง 20 มกราคม 2555 — 30 มิถุนายน 2555 2 พฤษภาคม 2555 — 15 สิงหาคม 2555
- ระยะเวลารับจำนำ 1 มีนาคม -15 กันยายน 2555 ภาคใต้ 1 กรกฎาคม — 31 ตุลาคม 2555
- ระยะเวลาไถ่ถอน ภายใน 4 เดือนถัดจากเดือนที่รับจำนำ
- ระยะเวลาโครงการ มีนาคม 2555 — มกราคม 2556
7)วิธีการรับจำนำ หลักเกณฑ์การรับจำนำ การเข้าร่วมโครงการของโรงสี การสีแปรสภาพ การเก็บรักษาข้าวสาร การระบายข้าวสาร และการกำกับดูแล เป็นไปเช่นเดียวกับโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2554/55
8) ผลการรับจำนำ
ผลการดำเนินโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปรัง ปี 2555 (ตั้งแต่ วันที่ 1 มีนาคม — 25 เมษายน 2555) รายการ จุดรับจำนำ จำนวน จำนวน ปริมาณการรับจำนำข้าวเปลือก (ตัน) 1/ อคส. อ.ต.ก. รวม ใบประทวน ยุ้งฉาง ข้าวเจ้า ข้าวปทุมธานี ข้าวเหนียว รวมทุกชนิดข้าว ภาคเหนือ 97 62 159 206,460 - 2,371,243 211 5,969 2,377,423 ภาคะวันออกเฉียงเหนือ 67 13 80 26,420 - 103,273 - 16,431 119,704 ภาคกลาง 228 72 300 164,397 - 1,922,280 82,387 - 2,074,667 ภาคใต้ --------------------------------- ยังไม่ดำเนินการ----------------------------------- รวมทั้งประเทศ 392 147 539 397,277 - 4,466,796 82,598 22,400 4,571,794
จำนวนเกษตรกรที่รับเงินกับ ธ.ก.ส. 2/ (ข้อมลสะสมตั้งแต่ 1 มีนาคม — 24 เมษายน 2555) รายการ ราย สัญญา จำนวนตัน จำนวนเงิน (ล้านบาท) จำนำประทวน อคส. 172,126 174,582 2,289,576.30 33,465.297 จำนำประทวน อ.ต.ก. 67,922 70,941 900,858.10 13,200.585 รวม 240,523 245,523 3,190,434.40 46,665.882 ที่มา: 1/ กรมการค้าภายใน กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ 2/ ธ.ก.ส.
ภาวการณ์ซื้อขายข้าวในสัปดาห์นี้ ราคาข้าวที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากโรงสีที่ไม่ได้เข้าร่วมโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาลแต่มีความต้องการข้าว ต้องออกมารับซื้อข้าวจากเกษตรกรในราคาที่สูงขึ้น อย่างไรก็ตาม การซื้อขายข้าวยังมีปริมาณไม่มากนัก และข้าวนาปรังได้ทะยอยออกสู่ตลาดมากขึ้น
การส่งออก ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม — 20 เมษายน 2555 ประเทศไทยส่งออกข้าวทั้งหมด จำนวน 1.963 ล้านตันข้าวสาร ลดลงจาก 3.583 ล้านตันข้าวสาร ของการส่งออกข้าวในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาร้อยละ 45.21
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ราคาข้าวเปลือกเจ้าหอมมะลินาปี ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 14,828 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 14,759 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.47
ราคาข้าวเปลือกนาปี 5% ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 10,016 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 9,939 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.78
ราคาข้าวเปลือกเหนียวเมล็ดยาวนาปี ที่เกษตรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 12,979 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 12,827 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.19
ราคาข้าวเปลือกนาปรังความชื้น 14-15% ที่เกษตรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 10,016 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 9,939 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.78
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 15,877 บาท ราคาลดลงจากตันละ 15,917 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.25
3) ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี.
ราคาข้าวหอมมะลิไทย ชั้น 1 (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 1,070 ดอลลาร์สหรัฐฯ (32,853 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 1,073 ดอลลาร์สหรัฐฯ (32,827 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.27 แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 26 บาท
ราคาข้าวปทุมธานี ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 905 ดอลลาร์สหรัฐฯ (27,787 บาท/ตัน)
ราคาลดลงจากตันละ 924 ดอลลาร์สหรัฐฯ (28,268 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.05 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 481 บาท
ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 564 ดอลลาร์สหรัฐฯ (17,317 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 549 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,796 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.73 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 521 บาท
ราคาข้าวสารเจ้า 25% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 565 ดอลลาร์สหรัฐฯ (17,347 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 550 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,826 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.72 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 521 บาท
ราคาข้าวนึ่ง 5% ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 603 ดอลลาร์สหรัฐฯ (18,514 บาท/ตัน)
ราคาลดลงจากตันละ 605 ดอลลาร์สหรัฐฯ (18,509 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.33 แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 5 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 30.7034
2. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในต่างประเทศ
สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
1) บังคลาเทศ : ผลิต NERICA ข้าวทนแล้งจากแอฟริกา
บังคลาเทศได้ประกาศว่าจะพยายามผลิตข้าวทนแล้งจากแอฟริกา พันธุ์ NERICA ที่เหมาะสำหรับการเพาะปลูกในพื้นที่สูงของประเทศ เพื่อเพิ่มการผลิตข้าวให้ตอบสนองความต้องการภายในประเทศที่เพิ่มขึ้น ซึ่งนับแป็นครั้งแรกที่รัฐบาลพิจารณาปลูกข้าวพันธุ์แอฟริกาที่มีความหลากหลายเพื่อเพิ่มผลผลิต โดยกรมส่งเสริมการเกษตร (DAE) ได้แจกข้าวพันธุ์ NERICA ให้แก่เกษตรกรรายละประมาณ 8 กิโลกรัม สำหรับการผลิตช่วงฤดูร้อนที่มีพื้นที่ปลูกทั้งประเทศประมาณ 18,500 เอเคอร์ (หรือประมาณ 46,250 ไร่)
ผู้อำนวยการทั่วไปของ DAE รายงานว่าพันธุ์ข้าว NERICA เป็นพันธุ์ข้าวที่พัฒนาขึ้นโดยศูนย์ข้าวแอฟริกา (AfricaRice) โดยสามารถอยู่รอดได้โดยไม่ต้องใช้น้ำใน 3 สัปดาห์ ซึ่งเหมาะสมกับพื้นที่สูงและแห้งแล้ง ไม่มีระบบชลประทาน รวมทั้งยังเป็นพันธุ์ที่ใช้แรงงานในการเก็บเกี่ยวน้อย มีอายุการเก็บเกี่ยวประมาณ 3 เดือน ซึ่งอายุสั้นกว่าพันธุ์ข้าวในแถบเอเชีย และให้ผลผลิตประมาณ 4.5-6.5 ตันต่อเฮกเตอร์ (หรือประมาณ 720-1,040 กก./ไร่)
ที่มา: Oryza.com
2) ศรีลังกา : ปี 2554/55 ผลผลิตข้าวเพิ่มขึ้น 32%
กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ (USDA) รายงานว่า การผลิตข้าวของศรีลังกาเพิ่มขึ้นอันเนื่องมาจากเสถียรภาพทางการเมืองดีขึ้น หลังจากสิ้นสุดสงครามที่ยาวนานหลายทศวรรษในทางตอนเหนือของประเทศ ทำให้คาดว่าพื้นที่ปลูกข้าวเพิ่มขึ้นจากประมาณ 1.1 เฮกเตอร์ (6.875 ล้านไร่) ในปี 2553/54 เป็น 1.3 ล้านเฮกเตอร์ (8.125 ล้านไร่) ในปี 2554/55 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.18 และคาดว่าการบริโภคข้าวของศรีลังกาจะเพิ่มขึ้นจาก 2.5 ล้านตัน ในปี 2553/54 เป็น 2.8 ล้านตัน ในปี 2554/55 หรือเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 12 อย่างไรก็ตาม คาดว่าปีนี้ผลผลิตยังคงเพียงพอต่อความต้องการบริโภคที่เพิ่มขึ้น
ทั้งนี้ ผลผลิตข้าวที่เพิ่มขึ้นทำให้ศรีลังกากลายเป็นผู้บริจาคข้าวในปี 2554 จากที่เคยเป็นผู้รับความช่วยเหลือด้านอาหารเมื่อปี 2551 โดยบริจาคข้าวจำนวน 7,500 ตัน ให้ประเทศในแถบแอฟริกาผ่านโครงการอาหารโลก (World Food Program: WFP) อย่างไรก็ตามศรีลังกายังคงส่งออกข้าวในปริมาณน้อย เนื่องจากข้าวที่ผลิตได้ส่วนใหญ่ยังไม่ได้มาตรฐานและไม่เป็นที่ต้องการของตลาดต่างประเทศ โดยปี 2554/55 คาดว่า ศรีลังกาจะส่งออกข้าวได้ประมาณ 10,000 ตัน ลดลงจาก 17,000 ตัน ในปี 2553/54 หรือลดลงร้อยละ 41.17 สำหรับการนำเข้าส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าข้าวบาสมาติกจากอินเดียและปากีสถาน โดย ปี 2553/54 ศรีลังกานำเข้าปริมาณ 20,000 ตัน และ
ในปี 2554/55 การนำเข้ามีแนวโน้มในระดับเดียวกัน สำหรับปี 2555/56 คาดว่า พื้นที่ปลูกข้าวจะลดลงเหลือประมาณ 1.2 ล้านเฮกเตอร์ (7.50 ล้านไร่) เนื่องจากคาดว่าปี 2554/55 จะมีผลผลิตเพียงพอ และราคาเกษตรกรจะลดลง และการส่งออกปี 2555/56 คาดว่าจะส่งออกได้ประมาณ 10,000 ตัน
ที่มา: Oryza.com
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 23 - 29 เมษายน 2555--