1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 การตลาด
โครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปี 2554/55
1) มติ กขช. เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2554 และมติ ครม. เมื่อวันที่ 13 กันยายน 54 รับทราบกรอบ ชนิด ราคา ปริมาณ ระยะเวลา วิธีการ หลักเกณฑ์ และเงื่อนไข การรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2554/55
2) ชนิดและราคารับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2554/55 ให้กำหนดชนิดและราคารับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2554/55 ณ ความชื้นไม่เกิน 15% ดังนี้
(1) ข้าวเปลือกหอมมะลิ (42 กรัม) ตันละ 20,000 บาท (2) ข้าวเปลือกหอมจังหวัด (40 กรัม) ตันละ 18,000 บาท
(ข้าวหอมมะลินอกพื้นที่ 23 จังหวัด)
(3) ข้าวเปลือกปทุมธานี (42 กรัม) ตันละ 16,000 บาท
(4) ข้าวเปลือกเหนียว :-
ข้าวเปลือกเหนียว 10% เมล็ดยาว ตันละ 16,000 บาท ข้าวเปลือกเหนียว 10% เมล็ดสั้น ตันละ 15,000 บาท
(5) ข้าวเปลือกเจ้า :-
ข้าวเปลือกเจ้า 100% ตันละ 15,000 บาท ข้าวเปลือกเจ้า 5% ตันละ 14,800 บาท ข้าวเปลือกเจ้า 10% ตันละ 14,600 บาท ข้าวเปลือกเจ้า 15% ตันละ 14,200 บาท ข้าวเปลือกเจ้า 25% ตันละ 13,800 บาท
ทั้งนี้ ราคารับจำนำข้างต้นให้ปรับเพิ่ม-ลดตามจำนวนกรัม ในอัตรากรัมละ 200 บาท
3) เป้าหมายการรับจำนำ ไม่จำกัดปริมาณข้าวเปลือกที่รับจำนำทั้งโครงการ ส่วนปริมาณข้าวเปลือกที่เกษตรกรแต่ละรายจะจำนำได้ไม่จำกัดจำนวนเช่นกัน โดยต้องเป็นข้าวเปลือกที่เกษตรกรเพาะปลูกเองในปีการผลิต 2554/55 และต้องมีหนังสือรับรองเกษตรกรของกรมส่งเสริมการเกษตร ซึ่งผ่านการทำประชาคม และเกษตรกรลงชื่อรับรองตัวเอง พร้อมทั้งเจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมการเกษตร และปลัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายลงชื่อรับรองด้วย
4) ระยะเวลาดำเนินการ
- ระยะเวลาดำเนินการรับจำนำ 7 ตุลาคม 2554 — 29 กุมภาพันธ์ 2555
(ภาคใต้ 7 ตุลาคม 2554 — 31 กรกฎาคม 2555)
- ระยะเวลาไถ่ถอน 4 เดือน นับถัดจากเดือนที่รับจำนำ
- ระยะเวลาโครงการ 7 ตุลาคม 2554 — 30 กันยายน 2555
5) ผลการรับจำนำ
ผลการดำเนินโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปี 2554/55
(ตั้งแต่ วันที่ 7 ตุลาคม 2554 — 9 เมษายน 2555)
รายการ จุดรับจำนำ จำนวน จำนวน ปริมาณการรับจำนำข้าวเปลือก (ตัน) 1/
ใบประทวน ยุ้งฉาง ข้าวเจ้า ข้าวปทุมธานี ข้าวหอมมะลิ ข้าวหอมจังหวัด ข้าวเหนียว รวมทุกชนิดข้าว
ภาคเหนือ 210 328,261 2,154 1,465,654 2,790 312,852 269,552 230,461 2,281,309 ภาคะวันออกเฉียงเหนือ 359 753,313 34,511 164,062 84 2,774,757 - 211,626 3,150,529 ภาคกลาง 283 154,816 - 1,266,425 12,368 - 65,872 - 1,344,665 ภาคใต้ 44 4,345 - 22,780 - - - - 22,780 รวมทั้งประเทศ 896 1,240,735 36,665 2,918,921 15,242 3,087,610 335,424 442,087 6,799,284
จำนวนเกษตรกรที่รับเงินกับ ธ.ก.ส. 2/
(ข้อมลสะสมตั้งแต่ 7 ตุลาคม 2554 — 30 เมษายน 2555)
รายการ ราย สัญญา จำนวนตัน จำนวนเงิน (ล้านบาท) จำนำยุ้งฉาง 36,671 36,781 176,931.68 3,470.396 จำนำประทวน 1,091,650 1,137,644 6,650,515.69 112,816.340 รวม 1,128,321 1,174,425 6,827,447.37 116,286.736
ที่มา: 1/ กรมการค้าภายใน กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์
2/ ธ.ก.ส.
โครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปรัง ปี 2555
มติ ครม. เมื่อวันที่ 22 ก.พ. 55 เห็นชอบกรอบ ชนิด ราคา ปริมาณ ระยะเวลา วิธีการ หลักเกณฑ์ และเงื่อนไข การรับจำนำข้าวเปลือกนาปรัง ปีการผลิต 2555 ดังนี้
1) เป้าหมายรับจำนำ ไม่จำกัดปริมาณข้าวเปลือกที่รับจำนำ
2) ชนิดข้าวที่รับจำนำ ได้แก่ ข้าวเปลือกเจ้า ข้าวเปลือกปทุมธานี และข้าวเปลือกเหนียว
3)ราคารับจำนำ ณ ความชื้นไม่เกิน 15% เช่นเดียวกับโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี
ปี 2554/55 ดังนี้
- ข้าวเปลือกเจ้า 100% ตันละ 15,000 บาท - ข้าวเปลือกเจ้า 5% ตันละ 14,800 บาท - ข้าวเปลือกเจ้า 10% ตันละ 14,600 บาท - ข้าวเปลือกเจ้า 15% ตันละ 14,200 บาท - ข้าวเปลือกเจ้า 25% ตันละ 13,800 บาท - ข้าวเปลือกปทุมธานี 1 (42 กรัม) ตันละ 16,000 บาท - ข้าวเปลือกเหนียว 10% เมล็ดยาว ตันละ 16,000 บาท - ข้าวเปลือกเหนียว 10% เมล็ดสั้น ตันละ 15,000 บาท
ทั้งนี้ราคารับจำนำข้าวเปลือกปทุมธานี 1 ให้ปรับเพิ่ม-ลดตามจำนวนกรัมในอัตรากรัมละ 200 บาท
4) ปริมาณจำนำของเกษตรกรแต่ละราย จะคำนวณตามพื้นที่เพาะปลูกผลผลิตเฉลี่ยรายจังหวัดและผลผลิตรวมของเกษตรกรตามหนังสือรับรองที่กรมการส่งเสริมการเกษตรออกให้แก่เกษตรกรเป็นข้อมูลประกอบ กรณีผลผลิตของเกษตรกรสูงกว่าปริมาณผลผลิตเฉลี่ย ให้ปรับเพิ่มได้อีกไม่เกิน 20% (ณ ความชื้น 15%) โดยให้เกษตรกรรับรองว่าข้าวเปลือกของเกษตรกรเองและแจ้งให้อนุกรรมการติดตามและกำกับดูแลการรับจำนำระดับจังหวัดสุ่มตรวจสอบอย่างน้อย 20% ของเกษตรกรที่มีผลผลิตเกินกว่าผลผลิตเฉลี่ยที่กำหนด
5) การกำหนดพันธุ์ข้าวที่จะเข้าร่วมโครงการ ให้เป็นไปตามมติคณะอนุกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติด้านการผลิตเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2554 ที่เห็นชอบให้เกษตรกรสามารถนำข้าวทุกพันธุ์เข้าร่วมโครงการฯ ได้ รวมทั้งพันธุ์ข้าวที่ปลูกและให้ข้าวสารคุณภาพต่ำ จำนวน 18 พันธุ์ ซึ่งในโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปี 25554/55 ไม่ได้ให้เข้าร่วมโครงการ
6) ระยะเวลาดำเนินการ
- ระยะเวลาการขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าว
กิจกรรม ภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคตะวันตก ภาคใต้
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ
การปลูก 1 พฤศจิกายน 2554 — 30 เมษายน 2555 1 มีนาคม 2555 — 15 มิถุนายน 2555 การเก็บเกี่ยว 1 กุมภาพันธ์ 2555 — 31 สิงหาคม 2555 1 มิถุนายน 2555 — 15 ตุลาคม 2555 การขึ้นทะเบียน 4 มกราคม 2555 — 31 พฤษภาคม 2555 1 เมษายน 2555 — 15 กรกฎาคม 2555 การประชาคม 20 มกราคม 2555 — 15 มิถุนายน 2555 1 พฤษภาคม 2555 — 31 กรกฎาคม 2555 การออกใบรับรอง 20 มกราคม 2555 — 30 มิถุนายน 2555 2 พฤษภาคม 2555 — 15 สิงหาคม 2555
- ระยะเวลารับจำนำ 1 มีนาคม -15 กันยายน 2555 ภาคใต้ 1 กรกฎาคม — 31 ตุลาคม 2555
- ระยะเวลาไถ่ถอน ภายใน 4 เดือนถัดจากเดือนที่รับจำนำ
- ระยะเวลาโครงการ มีนาคม 2555 — มกราคม 2556
7) วิธีการรับจำนำ หลักเกณฑ์การรับจำนำ การเข้าร่วมโครงการของโรงสี การสีแปรสภาพ การเก็บรักษาข้าวสาร การระบายข้าวสาร และการกำกับดูแล เป็นไปเช่นเดียวกับโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี
ปีการผลิต 2554/55
8) ผลการรับจำนำ
ผลการดำเนินโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปรัง ปี 2555
(ตั้งแต่ วันที่ 1 มีนาคม — 2 พฤษภาคม 2555)
รายการ จุดรับจำนำ จำนวน ปริมาณการรับจำนำข้าวเปลือก (ตัน) 1/
อคส. อ.ต.ก. รวม ใบประทวน ข้าวเจ้า ข้าวปทุมธานี ข้าวเหนียว รวมทุกชนิดข้าว
ภาคเหนือ 110 63 173 242,699 2,714,734 369 17,152 2,732,255 ภาคะวันออกเฉียงเหนือ 91 22 113 51,004 192,045 - 30,259 222,304 ภาคกลาง 235 75 310 188,697 2,344,184 96,248 - 2,430,432 ภาคใต้ -------------------------------ยังไม่ดำเนินการ--------------------------------- รวมทั้งประเทศ 436 160 596 482,400 5,240,963 96,617 47,411 5,384,991
จำนวนเกษตรกรที่รับเงินกับ ธ.ก.ส. 2/
(ข้อมลสะสมตั้งแต่ 1 มีนาคม — 27 เมษายน 2555)
รายการ ราย สัญญา จำนวนตัน จำนวนเงิน (ล้านบาท) จำนำประทวน อคส. 193,112 195,999 2,546,488.54 37,213.105 จำนำประทวน อ.ต.ก. 75,453 78,839 990,811.82 14,519.255 รวม 268,565 274,838 3,537,300.36 51,732.361
ที่มา: 1/ กรมการค้าภายใน กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์
2/ ธ.ก.ส.
ภาวการณ์ซื้อขายข้าวในสัปดาห์นี้ ราคาข้าวปรับตัวสูงขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากโรงสีที่ไม่ได้เข้าร่วมโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาลแต่มีความต้องการข้าว ต้องออกมารับซื้อข้าวจากเกษตรกรในราคาที่สูงขึ้น รวมทั้งผู้ส่งออกที่มีความต้องการข้าวเพื่อส่งมอบจึงเร่งรับซื้อและส่งมอบให้ทันตามกำหนด
การส่งออก ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม — 27 เมษายน 2555 ประเทศไทยส่งออกข้าวทั้งหมด จำนวน 2.107 ล้านตันข้าวสาร ลดลงจาก 3.830 ล้านตันข้าวสาร ของการส่งออกข้าวในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาร้อยละ 44.99
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ราคาข้าวเปลือกเจ้าหอมมะลินาปี ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 14,654 บาท ราคาลดลงจากตันละ 14,828 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.17
ราคาข้าวเปลือกนาปี 5% ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 10,168 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 10,016 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.52
ราคาข้าวเปลือกเหนียวเมล็ดยาวนาปี ที่เกษตรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 12,834 บาท ราคาลดลงจากตันละ 12,979 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.12
ราคาข้าวเปลือกนาปรังความชื้น 14-15% ที่เกษตรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 10,168 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 10,016 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.52
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 16,950 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 16,270 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 4.18
3) ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี.
ราคาข้าวหอมมะลิไทย ชั้น 1 (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 1,075 ดอลลาร์สหรัฐฯ (32,861 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 1,070 ดอลลาร์สหรัฐฯ (32,853 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.47 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 8 บาท
ราคาข้าวปทุมธานี ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 909 ดอลลาร์สหรัฐฯ (27,787 บาท/ตัน)
ราคาสูงขึ้นจากตันละ 905 ดอลลาร์สหรัฐฯ (27,787 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.44 แต่ทรงตัวในรูปเงินบาท
ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 577 ดอลลาร์สหรัฐฯ (17,638 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 564 ดอลลาร์สหรัฐฯ (17,317 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.30 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 321 บาท
ราคาข้าวสารเจ้า 25% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 572 ดอลลาร์สหรัฐฯ (17,485 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 565 ดอลลาร์สหรัฐฯ (17,347 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.24 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 138 บาท
ราคาข้าวนึ่ง 5% ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 613 ดอลลาร์สหรัฐฯ (18,738 บาท/ตัน)
ราคาสูงขึ้นจากตันละ 603 ดอลลาร์สหรัฐฯ (18,514 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.66 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 224 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 30.5684 บาท
2. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในต่างประเทศ
สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
เวียดนาม
สมาคมอาหารของเวียดนาม (The VietNam Food Association : VFA) รายงานว่า การส่งออกข้าวช่วงวันที่ 1-26 เม.ย. 2555 มีจำนวน 575,578 ตัน มูลค่า 249 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (7,612 ล้านบาท) และนับตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.- 26 เม.ย. 2555 มีจำนวน 1.662 ล้านตัน มูลค่า 778 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (23,782 ล้านบาท) ลดลงจาก 2.509 ล้านตัน มูลค่า 1,191 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (36,407 ล้านบาท) เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2554 หรือลดลงร้อยละ 33.75 และร้อยละ 34.68 ตามลำดับ
ทั้งนี้กระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบท (Ministry of Agriculture and Rural Development) รายงานว่า ขณะนี้ผู้ส่งออกได้ทำสัญญาขายข้าวในปีนี้ไปแล้วประมาณ 4.2 ล้านตัน โดยในเดือน มี.ค. เพียงเดือนเดียวผู้ส่งออกได้ทำสัญญาขายข้าวได้ถึง 1.83 ล้านตัน ซึ่งนับว่าสูงเป็นประวัติการณ์ของเวียดนามที่เดือนเดียวสามารถขายข้าวได้มากขนาดนี้ โดยผู้ซื้อที่สำคัญได้แก่ ประเทศในแถบแอฟริกา ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย และอินโดนีเซีย
นอกจากนี้ มีรายงานว่าเวียดนามได้ยกเลิกประกาศราคาส่งออกขั้นต่ำ (Minimum Rice Export Price) ของข้าว 25% ที่ 425 ดอลลาร์สหรัฐฯ/ตัน (12,992 บาท/ตัน) และ ข้าว 5% ที่ 450 ดอลลาร์สหรัฐ/ตัน (13,756 บาท/ตัน) (ซึ่งมีผลตั้งแต่วันที่ 9 เม.ย. ที่ผ่านมา โดยราคาดังกล่าวเป็นราคาสำหรับข้าวบรรจุถุง 50 ก.ก.) และได้ประกาศราคาส่งออกขั้นต่ำ FOB ของข้าว 35% ที่ 390 ดอลลาร์สหรัฐ/ตัน (11,922 บาท/ตัน) แทน ส่วนสถานการณ์ราคาข้าวส่งออกของเวียดนามนั้น หลังจากที่สิ้นสุดฤดูเก็บเกี่ยวแล้ว สมาคมอาหารได้เรียกร้องให้ผู้ส่งออกเสนอราคาขายข้าวสูงขึ้น โดย FOB ข้าวขาว 5% ราคาอยู่ที่ระดับ 430-440 ดอลลาร์สหรัฐ/ตัน (13,144-13,450 บาท/ตัน) เพิ่มขึ้นจาก 425-455 ดอลลาร์สหรัฐ/ตัน (12,992-13,909 บาท/ตัน) เมื่อสัปดาห์ก่อน ขณะที่ FOB ข้าวขาว 25% ราคาอยู่ที่ระดับ 400-410 ดอลลาร์สหรัฐ/ตัน (12,227-12,533 บาท/ตัน) เพิ่มขึ้นจาก 370-380 ดอลลาร์สหรัฐ/ตัน (11,310-11,616 บาท/ตัน) เมื่อสัปดาห์ก่อน ทั้งนี้เกษตรกรในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงใกล้เสร็จสิ้นการเก็บเกี่ยวข้าวแล้ว โดยคาดว่าจะมีพื้นที่เก็บเกี่ยวข้าวในฤดูนี้ประมาณ 10 ล้านไร่ และการเก็บเกี่ยวรอบต่อไปจะเริ่มขึ้นในเดือน ก.ค. 2555
ที่มา : สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย และ Riceonline.com
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 30.5684 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 30 เมษายน - 6 พฤษภาคม 2555--