1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 การตลาด
โครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปี 2554/55
1) มติ กขช. เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2554 และมติ ครม. เมื่อวันที่ 13 กันยายน 54 รับทราบกรอบ ชนิด ราคา ปริมาณ ระยะเวลา วิธีการ หลักเกณฑ์ และเงื่อนไข การรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2554/55
2) ชนิดและราคารับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2554/55 ให้กำหนดชนิดและราคารับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2554/55 ณ ความชื้นไม่เกิน 15% ดังนี้
(1) ข้าวเปลือกหอมมะลิ (42 กรัม) ตันละ 20,000 บาท (2) ข้าวเปลือกหอมจังหวัด (40 กรัม) ตันละ 18,000 บาท
(ข้าวหอมมะลินอกพื้นที่ 23 จังหวัด)
(3) ข้าวเปลือกปทุมธานี (42 กรัม) ตันละ 16,000 บาท
(4) ข้าวเปลือกเหนียว :-
ข้าวเปลือกเหนียว 10% เมล็ดยาว ตันละ 16,000 บาท ข้าวเปลือกเหนียว 10% เมล็ดสั้น ตันละ 15,000 บาท
(5) ข้าวเปลือกเจ้า :-
ข้าวเปลือกเจ้า 100% ตันละ 15,000 บาท ข้าวเปลือกเจ้า 5% ตันละ 14,800 บาท ข้าวเปลือกเจ้า 10% ตันละ 14,600 บาท ข้าวเปลือกเจ้า 15% ตันละ 14,200 บาท ข้าวเปลือกเจ้า 25% ตันละ 13,800 บาท
ทั้งนี้ ราคารับจำนำข้างต้นให้ปรับเพิ่ม-ลดตามจำนวนกรัม ในอัตรากรัมละ 200 บาท
3) เป้าหมายการรับจำนำ ไม่จำกัดปริมาณข้าวเปลือกที่รับจำนำทั้งโครงการ ส่วนปริมาณข้าวเปลือกที่เกษตรกรแต่ละรายจะจำนำได้ไม่จำกัดจำนวนเช่นกัน โดยต้องเป็นข้าวเปลือกที่เกษตรกรเพาะปลูกเองในปีการผลิต 2554/55 และต้องมีหนังสือรับรองเกษตรกรของกรมส่งเสริมการเกษตร ซึ่งผ่านการทำประชาคม และเกษตรกรลงชื่อรับรองตัวเอง พร้อมทั้งเจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมการเกษตร และปลัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายลงชื่อรับรองด้วย
4) ระยะเวลาดำเนินการ
- ระยะเวลาดำเนินการรับจำนำ 7 ตุลาคม 2554 — 29 กุมภาพันธ์ 2555
(ภาคใต้ 7 ตุลาคม 2554 — 31 กรกฎาคม 2555)
- ระยะเวลาไถ่ถอน 4 เดือน นับถัดจากเดือนที่รับจำนำ
- ระยะเวลาโครงการ 7 ตุลาคม 2554 — 30 กันยายน 2555
5) ผลการรับจำนำ
ผลการดำเนินโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปี 2554/55
(ตั้งแต่ วันที่ 7 ตุลาคม 2554 — 9 เมษายน 2555)
รายการ จุดรับจำนำ จำนวน จำนวน ---------------- ปริมาณการรับจำนำข้าวเปลือก (ตัน) 1/---------------
ใบประทวน ยุ้งฉาง ข้าวเจ้า ข้าวปทุมธานี ข้าวหอมมะลิ ข้าวหอมจังหวัด ข้าวเหนียว รวมทุกชนิดข้าว
ภาคเหนือ 210 328,261 2,154 1,465,654 2,790 312,852 269,552 230,461 2,281,309 ภาคะวันออกเฉียงเหนือ 359 753,313 34,511 164,062 84 2,774,757 - 211,626 3,150,529 ภาคกลาง 283 154,816 - 1,266,425 12,368 - 65,872 - 1,344,665 ภาคใต้ 44 4,345 - 22,780 - - - - 22,780 รวมทั้งประเทศ 896 1,240,735 36,665 2,918,921 15,242 3,087,610 335,424 442,087 6,799,284
จำนวนเกษตรกรที่รับเงินกับ ธ.ก.ส. 2/
(ข้อมลสะสมตั้งแต่ 7 ตุลาคม 2554 — 8 พฤษภาคม 2555)
รายการ ราย สัญญา จำนวนตัน จำนวนเงิน (ล้านบาท) จำนำยุ้งฉาง 36,673 36,783 176,955.77 3,470.870 จำนำประทวน 1,092,030 1,138,025 6,653,138.17 112,855.751 รวม 1,128,703 1,174,808 6,830,093.94 116,326.621
ที่มา: 1/ กรมการค้าภายใน กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์
2/ ธ.ก.ส.
โครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปรัง ปี 2555
มติ ครม. เมื่อวันที่ 22 ก.พ. 55 เห็นชอบกรอบ ชนิด ราคา ปริมาณ ระยะเวลา วิธีการ หลักเกณฑ์ และเงื่อนไข การรับจำนำข้าวเปลือกนาปรัง ปีการผลิต 2555 ดังนี้
1) เป้าหมายรับจำนำ ไม่จำกัดปริมาณข้าวเปลือกที่รับจำนำ
2) ชนิดข้าวที่รับจำนำ ได้แก่ ข้าวเปลือกเจ้า ข้าวเปลือกปทุมธานี และข้าวเปลือกเหนียว
3)ราคารับจำนำ ณ ความชื้นไม่เกิน 15% เช่นเดียวกับโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี
ปี 2554/55 ดังนี้
- ข้าวเปลือกเจ้า 100% ตันละ 15,000 บาท - ข้าวเปลือกเจ้า 5% ตันละ 14,800 บาท - ข้าวเปลือกเจ้า 10% ตันละ 14,600 บาท - ข้าวเปลือกเจ้า 15% ตันละ 14,200 บาท - ข้าวเปลือกเจ้า 25% ตันละ 13,800 บาท - ข้าวเปลือกปทุมธานี 1 (42 กรัม) ตันละ 16,000 บาท - ข้าวเปลือกเหนียว 10% เมล็ดยาว ตันละ 16,000 บาท - ข้าวเปลือกเหนียว 10% เมล็ดสั้น ตันละ 15,000 บาท
ทั้งนี้ราคารับจำนำข้าวเปลือกปทุมธานี 1 ให้ปรับเพิ่ม-ลดตามจำนวนกรัมในอัตรากรัมละ 200 บาท
4) ปริมาณจำนำของเกษตรกรแต่ละราย จะคำนวณตามพื้นที่เพาะปลูกผลผลิตเฉลี่ยรายจังหวัดและผลผลิตรวมของเกษตรกรตามหนังสือรับรองที่กรมการส่งเสริมการเกษตรออกให้แก่เกษตรกรเป็นข้อมูลประกอบ กรณีผลผลิตของเกษตรกรสูงกว่าปริมาณผลผลิตเฉลี่ย ให้ปรับเพิ่มได้อีกไม่เกิน 20% (ณ ความชื้น 15%) โดยให้เกษตรกรรับรองว่าข้าวเปลือกของเกษตรกรเองและแจ้งให้อนุกรรมการติดตามและกำกับดูแลการรับจำนำระดับจังหวัดสุ่มตรวจสอบอย่างน้อย 20% ของเกษตรกรที่มีผลผลิตเกินกว่าผลผลิตเฉลี่ยที่กำหนด
5) การกำหนดพันธุ์ข้าวที่จะเข้าร่วมโครงการ ให้เป็นไปตามมติคณะอนุกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติด้านการผลิตเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2554 ที่เห็นชอบให้เกษตรกรสามารถนำข้าวทุกพันธุ์เข้าร่วมโครงการฯ ได้ รวมทั้งพันธุ์ข้าวที่ปลูกและให้ข้าวสารคุณภาพต่ำ จำนวน 18 พันธุ์ ซึ่งในโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปี 25554/55 ไม่ได้ให้เข้าร่วมโครงการ
6) ระยะเวลาดำเนินการ
- ระยะเวลาการขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าว
กิจกรรม ภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคตะวันตก ภาคใต้
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ
การปลูก 1 พฤศจิกายน 2554 — 30 เมษายน 2555 1 มีนาคม 2555 — 15 มิถุนายน 2555 การเก็บเกี่ยว 1 กุมภาพันธ์ 2555 — 31 สิงหาคม 2555 1 มิถุนายน 2555 — 15 ตุลาคม 2555 การขึ้นทะเบียน 4 มกราคม 2555 — 31 พฤษภาคม 2555 1 เมษายน 2555 — 15 กรกฎาคม 2555 การประชาคม 20 มกราคม 2555 — 15 มิถุนายน 2555 1 พฤษภาคม 2555 — 31 กรกฎาคม 2555 การออกใบรับรอง 20 มกราคม 2555 — 30 มิถุนายน 2555 2 พฤษภาคม 2555 — 15 สิงหาคม 2555
- ระยะเวลารับจำนำ 1 มีนาคม -15 กันยายน 2555 ภาคใต้ 1 กรกฎาคม — 31 ตุลาคม 2555
- ระยะเวลาไถ่ถอน ภายใน 4 เดือนถัดจากเดือนที่รับจำนำ
- ระยะเวลาโครงการ มีนาคม 2555 — มกราคม 2556
7)วิธีการรับจำนำ หลักเกณฑ์การรับจำนำ การเข้าร่วมโครงการของโรงสี การสีแปรสภาพ การเก็บรักษาข้าวสาร การระบายข้าวสาร และการกำกับดูแล เป็นไปเช่นเดียวกับโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2554/55
8) ผลการรับจำนำ
ผลการดำเนินโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปรัง ปี 2555
(ตั้งแต่ วันที่ 1 มีนาคม — 9 พฤษภาคม 2555)
รายการ จุดรับจำนำ จำนวน ----- ปริมาณการรับจำนำข้าวเปลือก (ตัน) 1/------- อคส. อ.ต.ก. รวม ใบประทวน ข้าวเจ้า ข้าวปทุมธานี ข้าวเหนียว รวมทุกชนิดข้าว ภาคเหนือ 121 65 186 266,524 2,907,970 482 31,609 2,940,061 ภาคะวันออกเฉียงเหนือ 104 26 130 73,393 265,765 - 44,582 310,347 ภาคกลาง 245 81 326 212,544 2,696,971 102,766 - 2,799,737 ภาคใต้ ----------------------------------ยังไม่ดำเนินการ--------------------------------- รวมทั้งประเทศ 470 172 642 552,461 5,807,706 103,248 76,191 6,050,145
จำนวนเกษตรกรที่รับเงินกับ ธ.ก.ส. 2/
(ข้อมลสะสมตั้งแต่ 1 มีนาคม — 8 พฤษภาคม 2555)
รายการ ราย สัญญา จำนวนตัน จำนวนเงิน (ล้านบาท) จำนำประทวน อคส. 267,639 271,990 3,493,235.41 49,648.294 จำนำประทวน อ.ต.ก. 98,024 101,851 1,278,120.05 18,183.918 รวม 365,663 373,841 4,771,355.47 67,832.212
ที่มา: 1/ กรมการค้าภายใน กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์
2/ ธ.ก.ส.
ภาวการณ์ซื้อขายข้าวในสัปดาห์นี้ ราคาข้าวปรับตัวสูงขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากโรงสีที่ไม่ได้เข้าร่วมโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาลแต่มีความต้องการข้าว ต้องออกมารับซื้อข้าวจากเกษตรกรในราคาที่สูงขึ้น รวมทั้งผู้ส่งออกที่มีความต้องการข้าวเพื่อส่งมอบจึงเร่งรับซื้อและส่งมอบให้ทันตามกำหนด เนื่องจากมีคำสั่งซื้อจากต่างประเทศเพิ่มขึ้น
การส่งออก ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม — 3 พฤษภาคม 2555 ประเทศไทยส่งออกข้าวทั้งหมด จำนวน 2.313 ล้านตันข้าวสาร ลดลงจาก 4.052 ล้านตันข้าวสาร ของการส่งออกข้าวในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาร้อยละ 42.91
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ราคาข้าวเปลือกเจ้าหอมมะลินาปี ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 14,629 บาท ราคาลดลงจากตันละ 14,654 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.17
ราคาข้าวเปลือกนาปี 5% ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 10,186 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 10,168 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.18
ราคาข้าวเปลือกเหนียวเมล็ดยาวนาปี ที่เกษตรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 12,755 บาท ราคาลดลงจากตันละ 12,834 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.62
ราคาข้าวเปลือกนาปรังความชื้น 14-15% ที่เกษตรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 10,186 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 10,168 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.18
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 17,883 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 16,950 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 5.50
3) ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี.
ราคาข้าวหอมมะลิไทย ชั้น 1 (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 1,068 ดอลลาร์สหรัฐฯ (32,869 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 1,075 ดอลลาร์สหรัฐฯ (32,861 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.65 แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 8 บาท
ราคาข้าวปทุมธานี ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 903 ดอลลาร์สหรัฐฯ (27,791 บาท/ตัน)
ราคาลดลงจากตันละ 909 ดอลลาร์สหรัฐฯ (27,787 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.66 แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 4 บาท
ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 606 ดอลลาร์สหรัฐฯ (18,651 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 577 ดอลลาร์สหรัฐฯ (17,638 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 5.02 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 1,013 บาท
ราคาข้าวสารเจ้า 25% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 583 ดอลลาร์สหรัฐฯ (17,943 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 572 ดอลลาร์สหรัฐฯ (17,485 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.92 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 458 บาท
ราคาข้าวนึ่ง 5% ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 618 ดอลลาร์สหรัฐฯ (19,020 บาท/ตัน)
ราคาสูงขึ้นจากตันละ 613 ดอลลาร์สหรัฐฯ (18,738 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.81 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 282 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 30.7765 บาท
สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
อินเดีย
แหล่งข่าวจากกระทรวงการอาหาร รายงานว่า อินเดียคาดว่าจะส่งออกข้าวขาวที่ไม่ใช่บาสมาติอีกประมาณ 2 ล้านตัน ภายในเดือน มิ.ย. 2555 เพื่อเตรียมพื้นที่คลังเก็บสินค้าไว้สำหรับธัญพืชในฤดูการผลิตใหม่ ซึ่งจะทำให้ยอดการส่งออกข้าวขาวที่ไม่ใช่บาสมาติรวมเป็น 6 ล้านตัน นับตั้งแต่รัฐบาลอนุญาตให้ส่งออกได้ตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว
อินเดียกำลังเผชิญกับภาวะสต็อกธัญพืชล้นโกดัง ทำให้รัฐบาลจะต้องจัดเตรียมคลังเก็บสินค้าไว้รองรับผลผลิตใหม่ที่จะออกสู่ตลาดเป็นจำนวนมากในช่วงเดือน มิ.ย. 2555 ซึ่งคาดว่าจะมีธัญพืชประมาณ 75 ล้านตัน ขณะที่ความสามารถในการเก็บสินค้ามีเพียง 50 ล้านตันเท่านั้น ทั้งนี้ องค์การอาหารแห่งชาติ (The Food Corporation of India; FCI) รายงานว่า ในเดือนพฤษภาคมนี้ สต็อกธัญพืชของรัฐบาลและของรัฐบาลท้องถิ่นแคว้นต่างๆ คาดว่าจะมีจำนวนรวมกันถึง 71 ล้านตัน โดยเมื่อช่วงต้นเดือนอินเดียมีสต็อกธัญพืชประมาณ 63 ล้านตัน (เป็นข้าวประมาณ 33 ล้านตัน และข้าวสาลีประมาณ 30 ล้านตัน) เพิ่มขึ้นจาก 53.3 ล้านตัน ในช่วงต้นเดือน เม.ย. 2555 ร้อยละ 18.19
อนึ่ง เว็บไซต์บิซิเนส สแตนด์ดาร์ด รายงานคำให้สัมภาษณ์ของกรรมการผู้จัดการ ศรีลาล มาฮาล ซึ่งเป็นผู้ส่งออกข้าวชั้นนำของอินเดีย เมื่อวันที่ 5 พ.ค. 2555 ว่าอินเดียอาจต้องเสียแชมป์ประเทศผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่ที่สุดของโลก เนื่องจากความต้องการนำเข้าข้าวที่ลดลงหลังจากคาดว่าไนจีเรียอาจไม่สั่งซื้อข้าวในปริมาณเท่ากับช่วงปลายปี 2554/55 และราคาข้าวของอินเดียที่ปรับตัวสูงขึ้น เพราะปริมาณข้าวในคลังเริ่มลดลงหลังจากรัฐบาลประกาศอนุญาตส่งออกข้าวเมื่อปลายปี 2554 และอาจส่งผลให้ยอดส่งออกข้าวทั้งหมดในช่วงปีงบประมาณ 2555/56 ลดปริมาณลงอยู่ที่ประมาณ 4-5 ล้านตัน หรือลดลงจากปี 2554/55 ร้อยละ 29
ทั้งนี้ ในช่วงต้นปี 2555 อินเดียสามารถแซงหน้าเวียดนามและไทย ทำให้อินเดียกลายเป็นประเทศที่ส่งออกข้าวรายใหญ่ที่สุดของโลก โดยคาดว่า ในช่วงปีงบประมาณ 2554/55 อินเดียจะสามารถส่งออกข้าวได้ทั้งหมด 6.5-7 ล้านตัน ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 7 ของจำนวนข้าวที่ผลิตได้ทั้งหมด ขณะที่เวียดนามและไทยคาดว่าส่งออกข้าวได้ 6-6.5 ล้านตัน หลังรัฐบาลอินเดียอนุมัติส่งออกข้าวที่ไม่ใช่ข้าวบาสมาติซึ่งเป็นข้าวราคาถูก อย่างไรก็ตาม แม้อินเดียจะเสียแชมป์ส่งออกข้าวในอนาคต แต่อินเดียจะยังเป็นประเทศส่งออกข้าวที่มีบทบาทสำคัญที่สุดของโลกต่อเนื่องจนถึงเดือน มิ.ย. 2556 เพราะผลผลิตข้าวที่อุดมสมบูรณ์มากกว่า 100 ล้านตัน ในช่วงปีงบประมาณ 2554/55 และปริมาณข้าวในคลังของรัฐบาลที่มีปริมาณสูงสุดมากกว่า 34 ล้านตัน
ที่มา : สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย Riceonline.com และโพสต์ทูเดย์
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 7 - 13 พฤษภาคม 2555--