ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร: ข้าว

ข่าวทั่วไป Tuesday May 22, 2012 13:51 —สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ

1.1 การตลาด

-โครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปี 2554/55

1) มติ กขช. เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2554 และมติ ครม. เมื่อวันที่ 13 กันยายน 54 รับทราบกรอบ ชนิด ราคา ปริมาณ ระยะเวลา วิธีการ หลักเกณฑ์ และเงื่อนไข การรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2554/55

2) ชนิดและราคารับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2554/55 ให้กำหนดชนิดและราคารับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2554/55 ณ ความชื้นไม่เกิน 15% ดังนี้

                    (1) ข้าวเปลือกหอมมะลิ (42 กรัม)                        ตันละ 20,000 บาท
                    (2) ข้าวเปลือกหอมจังหวัด (40 กรัม)                      ตันละ 18,000 บาท

(ข้าวหอมมะลินอกพื้นที่ 23 จังหวัด)

                    (3) ข้าวเปลือกปทุมธานี (42 กรัม)                        ตันละ 16,000 บาท

(4) ข้าวเปลือกเหนียว :-

                        ข้าวเปลือกเหนียว 10% เมล็ดยาว                      ตันละ 16,000 บาท
                        ข้าวเปลือกเหนียว 10% เมล็ดสั้น                       ตันละ 15,000  บาท

(5) ข้าวเปลือกเจ้า :-

                        ข้าวเปลือกเจ้า 100%                               ตันละ 15,000  บาท
                        ข้าวเปลือกเจ้า 5%                                 ตันละ 14,800  บาท
                        ข้าวเปลือกเจ้า 10%                                ตันละ 14,600  บาท
                        ข้าวเปลือกเจ้า 15%                                ตันละ 14,200  บาท
                        ข้าวเปลือกเจ้า 25%                                ตันละ 13,800  บาท

ทั้งนี้ ราคารับจำนำข้างต้นให้ปรับเพิ่ม-ลดตามจำนวนกรัม ในอัตรากรัมละ 200 บาท

3) เป้าหมายการรับจำนำ ไม่จำกัดปริมาณข้าวเปลือกที่รับจำนำทั้งโครงการ ส่วนปริมาณข้าวเปลือกที่เกษตรกรแต่ละรายจะจำนำได้ไม่จำกัดจำนวนเช่นกัน โดยต้องเป็นข้าวเปลือกที่เกษตรกรเพาะปลูกเองในปีการผลิต 2554/55 และต้องมีหนังสือรับรองเกษตรกรของกรมส่งเสริมการเกษตร ซึ่งผ่านการทำประชาคม และเกษตรกรลงชื่อรับรองตัวเอง พร้อมทั้งเจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมการเกษตร และปลัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายลงชื่อรับรองด้วย

4) ระยะเวลาดำเนินการ

  • ระยะเวลาดำเนินการรับจำนำ 7 ตุลาคม 2554 — 29 กุมภาพันธ์ 2555

(ภาคใต้ 7 ตุลาคม 2554 — 31 กรกฎาคม 2555)

  • ระยะเวลาไถ่ถอน 4 เดือน นับถัดจากเดือนที่รับจำนำ
  • ระยะเวลาโครงการ 7 ตุลาคม 2554 — 30 กันยายน 2555

5) ผลการรับจำนำ

ผลการดำเนินโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปี 2554/55

(ตั้งแต่ วันที่ 7 ตุลาคม 2554 — 9 เมษายน 2555)

รายการ       จุดรับจำนำ    จำนวน   จำนวน     ----------------ปริมาณการรับจำนำข้าวเปลือก (ตัน) 1/-----------------

ใบประทวน ยุ้งฉาง ข้าวเจ้า ข้าวปทุมธานี ข้าวหอมมะลิ ข้าวหอมจังหวัด ข้าวเหนียว รวมทุกชนิดข้าว

ภาคเหนือ           210   328,261  2,154  1,465,654      2,790    312,852      269,552   230,461    2,281,309
ภาคะวันออกเฉียงเหนือ 359   753,313 34,511    164,062         84  2,774,757            -   211,626    3,150,529
ภาคกลาง           283   154,816      -  1,266,425     12,368          -       65,872         -    1,344,665
ภาคใต้              44     4,345      -     22,780          -          -            -         -       22,780
รวมทั้งประเทศ       896 1,240,735 36,665  2,918,921     15,242  3,087,610      335,424   442,087    6,799,284

จำนวนเกษตรกรที่รับเงินกับ ธ.ก.ส. 2/

(ข้อมลสะสมตั้งแต่ 7 ตุลาคม 2554 — 16 พฤษภาคม 2555)

รายการ            ราย           สัญญา           จำนวนตัน           จำนวนเงิน (ล้านบาท)
จำนำยุ้งฉาง      36,673           36,783           176,955.77           3,470.870
จำนำประทวน  1,092,583        1,138,589         6,658,460.86         112,942.660
รวม         1,129,256        1,175,372         6,835,416.63         116,413.530

ที่มา: 1/ กรมการค้าภายใน กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์

2/ ธ.ก.ส.

-โครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปรัง ปี 2555

มติ ครม. เมื่อวันที่ 22 ก.พ. 55 เห็นชอบกรอบ ชนิด ราคา ปริมาณ ระยะเวลา วิธีการ หลักเกณฑ์ และเงื่อนไข การรับจำนำข้าวเปลือกนาปรัง ปีการผลิต 2555 ดังนี้

1) เป้าหมายรับจำนำ ไม่จำกัดปริมาณข้าวเปลือกที่รับจำนำ

2) ชนิดข้าวที่รับจำนำ ได้แก่ ข้าวเปลือกเจ้า ข้าวเปลือกปทุมธานี และข้าวเปลือกเหนียว

3)ราคารับจำนำ ณ ความชื้นไม่เกิน 15% เช่นเดียวกับโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี

ปี 2554/55 ดังนี้

          - ข้าวเปลือกเจ้า 100%                              ตันละ 15,000  บาท
          - ข้าวเปลือกเจ้า 5%                                ตันละ 14,800  บาท
          - ข้าวเปลือกเจ้า 10%                               ตันละ 14,600  บาท
          - ข้าวเปลือกเจ้า 15%                               ตันละ 14,200  บาท
          - ข้าวเปลือกเจ้า 25%                               ตันละ 13,800  บาท
          - ข้าวเปลือกปทุมธานี 1 (42 กรัม)                     ตันละ 16,000 บาท
          - ข้าวเปลือกเหนียว 10% เมล็ดยาว                     ตันละ 16,000 บาท
          - ข้าวเปลือกเหนียว 10% เมล็ดสั้น              ตันละ 15,000  บาท

ทั้งนี้ราคารับจำนำข้าวเปลือกปทุมธานี 1 ให้ปรับเพิ่ม-ลดตามจำนวนกรัมในอัตรากรัมละ 200 บาท

4) ปริมาณจำนำของเกษตรกรแต่ละราย จะคำนวณตามพื้นที่เพาะปลูกผลผลิตเฉลี่ยรายจังหวัดและผลผลิตรวมของเกษตรกรตามหนังสือรับรองที่กรมการส่งเสริมการเกษตรออกให้แก่เกษตรกรเป็นข้อมูลประกอบ กรณีผลผลิตของเกษตรกรสูงกว่าปริมาณผลผลิตเฉลี่ย ให้ปรับเพิ่มได้อีกไม่เกิน 20% (ณ ความชื้น 15%) โดยให้เกษตรกรรับรองว่าข้าวเปลือกของเกษตรกรเองและแจ้งให้อนุกรรมการติดตามและกำกับดูแลการรับจำนำระดับจังหวัดสุ่มตรวจสอบอย่างน้อย 20% ของเกษตรกรที่มีผลผลิตเกินกว่าผลผลิตเฉลี่ยที่กำหนด

5) การกำหนดพันธุ์ข้าวที่จะเข้าร่วมโครงการ ให้เป็นไปตามมติคณะอนุกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติด้านการผลิตเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2554 ที่เห็นชอบให้เกษตรกรสามารถนำข้าวทุกพันธุ์เข้าร่วมโครงการฯ ได้ รวมทั้งพันธุ์ข้าวที่ปลูกและให้ข้าวสารคุณภาพต่ำ จำนวน 18 พันธุ์ ซึ่งในโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปี 25554/55 ไม่ได้ให้เข้าร่วมโครงการ

6) ระยะเวลาดำเนินการ

  • ระยะเวลาการขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าว
 กิจกรรม                     ภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคตะวันตก                        ภาคใต้

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ

 การปลูก                     1 พฤศจิกายน 2554 — 30 เมษายน 2555           1 มีนาคม 2555 — 15 มิถุนายน 2555
 การเก็บเกี่ยว                 1 กุมภาพันธ์ 2555 — 31 สิงหาคม 2555            1 มิถุนายน 2555 — 15 ตุลาคม 2555
 การขึ้นทะเบียน                4 มกราคม 2555 — 31 พฤษภาคม 2555            1 เมษายน 2555 — 15 กรกฎาคม 2555
 การประชาคม                20 มกราคม 2555 — 15 มิถุนายน 2555             1 พฤษภาคม 2555 — 31 กรกฎาคม 2555
 การออกใบรับรอง             20 มกราคม 2555 — 30 มิถุนายน 2555             2 พฤษภาคม 2555 — 15 สิงหาคม 2555
  • ระยะเวลารับจำนำ 1 มีนาคม -15 กันยายน 2555 ภาคใต้ 1 กรกฎาคม — 31 ตุลาคม 2555
  • ระยะเวลาไถ่ถอน ภายใน 4 เดือนถัดจากเดือนที่รับจำนำ
  • ระยะเวลาโครงการ มีนาคม 2555 — มกราคม 2556

7)วิธีการรับจำนำ หลักเกณฑ์การรับจำนำ การเข้าร่วมโครงการของโรงสี การสีแปรสภาพ การเก็บรักษาข้าวสาร การระบายข้าวสาร และการกำกับดูแล เป็นไปเช่นเดียวกับโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2554/55

8) ผลการรับจำนำ

ผลการดำเนินโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปรัง ปี 2555

(ตั้งแต่ วันที่ 1 มีนาคม — 16 พฤษภาคม 2555)

รายการ                 จุดรับจำนำ        จำนวน          ------ ปริมาณการรับจำนำข้าวเปลือก (ตัน) 1/------
                   อคส. อ.ต.ก.  รวม   ใบประทวน        ข้าวเจ้า    ข้าวปทุมธานี   ข้าวเหนียว   รวมทุกชนิดข้าว
ภาคเหนือ            127     67   194    294,596     3,102,327          733     50,024     3,153,084
ภาคะวันออกเฉียงเหนือ  126     34   160    107,948       383,441            -     62,222       445,663
ภาคกลาง            248     83   331    236,849     3,038,651      102,861          -     3,141,512
ภาคใต้              ------------------------------ ยังไม่ดำเนินการ------------------------------------
รวมทั้งประเทศ        501    184   685    639,393     6,524,419      103,594    112,246     6,740,259

จำนวนเกษตรกรที่รับเงินกับ ธ.ก.ส. 2/

(ข้อมลสะสมตั้งแต่ 1 มีนาคม — 16 พฤษภาคม 2555)

 รายการ                      ราย              สัญญา               จำนวนตัน          จำนวนเงิน (ล้านบาท)
 จำนำประทวน อคส.           315,191           320,598           4,025,896.03           57,228.378
 จำนำประทวน อ.ต.ก.         112,072           116,226           1,432,474.72           20,381.693
 รวม                       427,263           436,824           5,458,370.75           77,610.071

ที่มา: 1/ กรมการค้าภายใน กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์

2/ ธ.ก.ส.

ภาวการณ์ซื้อขายข้าวในสัปดาห์นี้ ราคาข้าวที่เกษตรกรขายได้ค่อนข้างทรงตัวต่อเนื่องจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากช่วงที่ผ่านมาพ่อค้าได้ออกมารับซื้อในปริมาณที่เพียงพอสำหรับส่งมอบแล้ว จึงรอดูสถานการณ์และชะลอการเสนอซื้อ

การส่งออก ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม — 10 พฤษภาคม 2555 ประเทศไทยส่งออกข้าวทั้งหมด จำนวน 2.447 ล้านตันข้าวสาร ลดลงจาก 4.336 ล้านตันข้าวสาร ของการส่งออกข้าวในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาร้อยละ 43.56

1.2 ราคา

1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ

ราคาข้าวเปลือกเจ้าหอมมะลินาปี ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 14,668 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 14,629 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.27

ราคาข้าวเปลือกนาปี 5% ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 10,224 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 10,186 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.37

ราคาข้าวเปลือกเหนียวเมล็ดยาวนาปี ที่เกษตรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 12,746 บาท ราคาลดลงจากตันละ 12,755 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.07

ราคาข้าวเปลือกนาปรังความชื้น 14-15% ที่เกษตรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 10,224 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 10,186 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.37

2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ

ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 17,970 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 17,383 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 3.38

3) ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี.

ราคาข้าวหอมมะลิไทย ชั้น 1 (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 1,056 ดอลลาร์สหรัฐฯ (32,825 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 1,068 ดอลลาร์สหรัฐฯ (32,869 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.12 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 44 บาท

ราคาข้าวปทุมธานี ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 893 ดอลลาร์สหรัฐฯ (27,758 บาท/ตัน)

ราคาลดลงจากตันละ 903 ดอลลาร์สหรัฐฯ (27,791 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.11 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 33 บาท

ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 615 ดอลลาร์สหรัฐฯ (19,117 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 606 ดอลลาร์สหรัฐฯ (18,651 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.49 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 466 บาท

ราคาข้าวสารเจ้า 25% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 584 ดอลลาร์สหรัฐฯ (18,153 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 583 ดอลลาร์สหรัฐฯ (17,943 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.17 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 210 บาท

ราคาข้าวนึ่ง 5% ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 621 ดอลลาร์สหรัฐฯ (19,303 บาท/ตัน)

ราคาสูงขึ้นจากตันละ 618 ดอลลาร์สหรัฐฯ (19,020 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.11 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 283 บาท

หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 31.0839 บาท

2. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในต่างประเทศ

2.1 สถานการณ์ข้าวโลก

1) การผลิต

ผลผลิตข้าวโลก กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ได้คาดคะเนผลผลิตข้าวโลกปี 2555/56 ประจำเดือนพฤษภาคม 2555 ว่าจะมี 466.449 ล้านตันข้าวสาร (695.6 ล้านตันข้าวเปลือก) เพิ่มขึ้นจาก 463.310 ล้านตันข้าวสาร (690.7 ล้านตันข้าวเปลือก) ของปี 2554/55 ร้อยละ 0.68 เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของผลผลิตของประเทศผู้บริโภคและผู้ส่งออกที่สำคัญของโลก เช่น บราซิล พม่า กัมพูชา จีน อินโดนีเซีย ปากีสถาน ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม

2) การค้าข้าวโลก

บัญชีสมดุลข้าวโลก กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ได้คาดคะเนบัญชีสมดุลข้าวโลกปี 2555/56 ณ เดือนพฤษภาคม 2555 ว่าผลผลิต ปี 2555/56 จะมี 466.449 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 0.68 การใช้ในประเทศจะมี 465.725 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา ร้อยละ 4.47 การส่งออก/นำเข้าจะมี 35.230 ล้านตันข้าวสาร ลดลงจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 1.98 และสต็อกปลายปีคงเหลือ 104.878 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 6.26

โดยประเทศที่คาดว่าจะส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่ ออสเตรเลีย บราซิล พม่า กัมพูชา จีน กายานา ปากีสถาน และไทย ส่วนประเทศที่คาดว่าจะส่งออกลดลง ได้แก่ อาร์เจนตินา อียู อินเดีย และสหรัฐฯ

สำหรับประเทศที่คาดว่าจะนำเข้าเพิ่มขึ้น ได้แก่ คาเมรูน อียิปต์ อียู ฮ่องกง อิหร่าน เม็กซิโก ซาอุดิอาระเบีย แอฟริกาใต้ สหรัฐอาหรับเอมิเรสต์ และสหรัฐฯ ส่วนประเทศที่คาดว่าจะนำเข้าลดลง ได้แก่ บังคลาเทศ บราซิล อินโดนีเซีย เกาหลีใต้ มาเลเซีย และไนจีเรีย

ประเทศที่มีสต็อกคงเหลือปลายปีเพิ่มขึ้น ได้แก่ จีน และอินเดีย ส่วนประเทศที่คาดว่าจะมีสต็อกคงเหลือปลายปีลดลง ได้แก่ บังคลาเทศ อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น เวียดนาม และสหรัฐอเมริกา

2.2 สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ

ฟิลิปปินส์

สำนักงานสถิติการเกษตร (The Bureau of Agricultural Statistics; BAS) รายงานว่า ฟิลิปปินส์มีสต็อกข้าว ณ วันที่ 1 เม.ย. 2555 จำนวน 2.64 ล้านตัน ลดลงจาก 3.05 ล้านตัน ในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ร้อยละ 14.4 แต่สต๊อกข้าวเพิ่มขึ้นจากจำนวน 2.01 ล้านตัน ของเดือน มี.ค. 2555 ร้อยละ 31 โดยภาคครัวเรือนมีสต็อกข้าวอยู่ประมาณ 1.06 ล้านตัน คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 40.15% ขณะที่สต็อกข้าวในคลังขององค์การอาหารแห่งชาติ (The National Food Authority ; NFA) มีจำนวน 1.05 ล้านตัน คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 39.77% ส่วนที่เหลือประมาณ 530,000 ตัน อยู่ในคลังของเอกชน (commercial warehouses)

ผู้อำนวยการองค์การอาหารแห่งชาติ รายงานว่าผลผลิตข้าวเปลือกในไตรมาสแรกมีจำนวน 4.035 ล้านตัน ลดลง จาก 4.037 ล้านตัน ของปีก่อนร้อยละ 0.1 แต่คาดว่า สต็อกข้าวจะเพิ่มขึ้นในช่วงไตรมาสที่ 2 ขณะที่สต็อกข้าวในส่วนของ NFA นั้น คาดว่ามีแนวโน้มลดลง เพราะไม่สามารถจัดหาข้าวจากเกษตรได้เนื่องจากราคาข้าวที่ NFA กำหนดรับซื้อจากเกษตรกรที่ ก.ก. ละ 17 เปโซ (ประมาณ 400 ดอลลาร์สหรัฐฯ/ตัน หรือประมาณ 12,434 บาท/ตัน) ต่ำกว่าราคาที่เอกชนรับซื้อที่ ก.ก. ละ 18-19 เปโซ (ประมาณ 423-447 ดอลลาร์สหรัฐฯ/ตัน หรือประมาณ 13,148-13,895 บาท/ตัน)

รัฐมนตรีช่วยกระทรวงเกษตรของฟิลิปปินส์ เปิดเผยว่า ในปีนี้ฟิลิปปินส์ จะไม่นำเข้าข้าวเกินเป้าหมายที่กำหนดไว้ ซึ่งทางการฟิลิปปินส์ จะนำเข้าข้าว 500,000 ตัน ลดลงจากที่นำเข้า 860,000 ตันในปีที่ผ่านมา และลดลงจากปี 2553 ที่นำเข้ามากสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 2.45 ล้านตัน

อนึ่ง ฟิลิปปินส์วางแผนที่จะพึ่งพาตนเองให้ได้ภายในสิ้นปีหน้า เห็นได้จากการเก็บเกี่ยวข้าวในประเทศยังคงเก็บเกี่ยวได้เพิ่มขึ้น ทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ระดับ 18 ล้านตันสำหรับผลผลิตข้าวเปลือก ซึ่งผลการเก็บเกี่ยวในไตรมาสแรกแทบจะไม่แตกต่างจากปีที่แล้ว ที่เก็บเกี่ยวได้ 4.037 ล้านตัน แต่คาดว่าผลผลิตข้าวในไตรมาส 2 และ 3 จะเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2554 ขณะที่เกษตรกรในประเทศได้ทำตามข้อเรียกร้องของรัฐบาล ที่ให้เร่งปลูกข้าวนาปีเร็วขึ้น 2 เดือนเพื่อหลีกเลี่ยงพายุไต้ฝุ่นที่จะพัดเข้าสู่ฟิลิปปินส์

ที่มา Riceonline.com, สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย

--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 14 - 20 พฤษภาคม 2555--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ