1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 การตลาด
- โครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปี 2554/55
1) มติ กขช. เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2554 และมติ ครม. เมื่อวันที่ 13 กันยายน 54 รับทราบกรอบ ชนิด ราคา ปริมาณ ระยะเวลา วิธีการ หลักเกณฑ์ และเงื่อนไข การรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2554/55
2) ชนิดและราคารับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2554/55 ให้กำหนดชนิดและราคารับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2554/55 ณ ความชื้นไม่เกิน 15% ดังนี้
(1) ข้าวเปลือกหอมมะลิ (42 กรัม) ตันละ 20,000 บาท (2) ข้าวเปลือกหอมจังหวัด (40 กรัม) ตันละ 18,000 บาท
(ข้าวหอมมะลินอกพื้นที่ 23 จังหวัด)
(3) ข้าวเปลือกปทุมธานี (42 กรัม) ตันละ 16,000 บาท
(4) ข้าวเปลือกเหนียว :-
ข้าวเปลือกเหนียว 10% เมล็ดยาว ตันละ 16,000 บาท ข้าวเปลือกเหนียว 10% เมล็ดสั้น ตันละ 15,000 บาท
(5) ข้าวเปลือกเจ้า :-
ข้าวเปลือกเจ้า 100% ตันละ 15,000 บาท ข้าวเปลือกเจ้า 5% ตันละ 14,800 บาท ข้าวเปลือกเจ้า 10% ตันละ 14,600 บาท ข้าวเปลือกเจ้า 15% ตันละ 14,200 บาท ข้าวเปลือกเจ้า 25% ตันละ 13,800 บาท
ทั้งนี้ ราคารับจำนำข้างต้นให้ปรับเพิ่ม-ลดตามจำนวนกรัม ในอัตรากรัมละ 200 บาท
3) เป้าหมายการรับจำนำ ไม่จำกัดปริมาณข้าวเปลือกที่รับจำนำทั้งโครงการ ส่วนปริมาณข้าวเปลือกที่เกษตรกรแต่ละรายจะจำนำได้ไม่จำกัดจำนวนเช่นกัน โดยต้องเป็นข้าวเปลือกที่เกษตรกรเพาะปลูกเองในปีการผลิต 2554/55 และต้องมีหนังสือรับรองเกษตรกรของกรมส่งเสริมการเกษตร ซึ่งผ่านการทำประชาคม และเกษตรกรลงชื่อรับรองตัวเอง พร้อมทั้งเจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมการเกษตร และปลัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายลงชื่อรับรองด้วย
4) ระยะเวลาดำเนินการ
- ระยะเวลาดำเนินการรับจำนำ 7 ตุลาคม 2554 — 29 กุมภาพันธ์ 2555
(ภาคใต้ 7 ตุลาคม 2554 — 31 กรกฎาคม 2555)
- ระยะเวลาไถ่ถอน 4 เดือน นับถัดจากเดือนที่รับจำนำ
- ระยะเวลาโครงการ 7 ตุลาคม 2554 — 30 กันยายน 2555
5) ผลการรับจำนำ
ผลการดำเนินโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปี 2554/55
(ตั้งแต่ วันที่ 7 ตุลาคม 2554 — 9 เมษายน 2555)
รายการ จุด จำนวน จำนวน -------------- ปริมาณการรับจำนำข้าวเปลือก (ตัน) 1/ ---------------- รับจำนำ ใบประทวน ยุ้งฉาง ข้าวเจ้า ข้าวปทุมธานี ข้าวหอมมะลิ ข้าวหอมจังหวัด ข้าวเหนียว รวมทุกชนิดข้าว ภาคเหนือ 210 328,261 2,154 1,465,654 2,790 312,852 269,552 230,461 2,281,309 ภาคะวันออกเฉียงเหนือ 359 753,313 34,511 164,062 84 2,774,757 - 211,626 3,150,529 ภาคกลาง 283 154,816 - 1,266,425 12,368 - 65,872 - 1,344,665 ภาคใต้ 44 4,345 - 22,780 - - - - 22,780 รวมทั้งประเทศ 896 1,240,735 36,665 2,918,921 15,242 3,087,610 335,424 442,087 6,799,284
จำนวนเกษตรกรที่รับเงินกับ ธ.ก.ส. 2/
(ข้อมลสะสมตั้งแต่ 7 ตุลาคม 2554 — 23 พฤษภาคม 2555)
รายการ ราย สัญญา จำนวนตัน จำนวนเงิน (ล้านบาท) จำนำยุ้งฉาง 36,673 36,783 176,955.77 3,470.870 จำนำประทวน 1,094,197 1,140,237 6,672,117.06 113,144.901 รวม 1,130,870 1,177,020 6,849,072.83 116,615.771
ที่มา: 1/ กรมการค้าภายใน กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์
2/ ธ.ก.ส.
-โครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปรัง ปี 2555
มติ ครม. เมื่อวันที่ 22 ก.พ. 55 เห็นชอบกรอบ ชนิด ราคา ปริมาณ ระยะเวลา วิธีการ หลักเกณฑ์ และเงื่อนไข การรับจำนำข้าวเปลือกนาปรัง ปีการผลิต 2555 ดังนี้
1) เป้าหมายรับจำนำ ไม่จำกัดปริมาณข้าวเปลือกที่รับจำนำ
2) ชนิดข้าวที่รับจำนำ ได้แก่ ข้าวเปลือกเจ้า ข้าวเปลือกปทุมธานี และข้าวเปลือกเหนียว
3)ราคารับจำนำ ณ ความชื้นไม่เกิน 15% เช่นเดียวกับโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปี 2554/55 ดังนี้
- ข้าวเปลือกเจ้า 100% ตันละ 15,000 บาท - ข้าวเปลือกเจ้า 5% ตันละ 14,800 บาท - ข้าวเปลือกเจ้า 10% ตันละ 14,600 บาท - ข้าวเปลือกเจ้า 15% ตันละ 14,200 บาท - ข้าวเปลือกเจ้า 25% ตันละ 13,800 บาท - ข้าวเปลือกปทุมธานี 1 (42 กรัม) ตันละ 16,000 บาท - ข้าวเปลือกเหนียว 10% เมล็ดยาว ตันละ 16,000 บาท - ข้าวเปลือกเหนียว 10% เมล็ดสั้น ตันละ 15,000 บาท
ทั้งนี้ราคารับจำนำข้าวเปลือกปทุมธานี 1 ให้ปรับเพิ่ม-ลดตามจำนวนกรัมในอัตรากรัมละ 200 บาท
4) ปริมาณจำนำของเกษตรกรแต่ละราย จะคำนวณตามพื้นที่เพาะปลูกผลผลิตเฉลี่ยรายจังหวัดและผลผลิตรวมของเกษตรกรตามหนังสือรับรองที่กรมการส่งเสริมการเกษตรออกให้แก่เกษตรกรเป็นข้อมูลประกอบ กรณีผลผลิตของเกษตรกรสูงกว่าปริมาณผลผลิตเฉลี่ย ให้ปรับเพิ่มได้อีกไม่เกิน 20% (ณ ความชื้น 15%) โดยให้เกษตรกรรับรองว่าข้าวเปลือกของเกษตรกรเองและแจ้งให้อนุกรรมการติดตามและกำกับดูแลการรับจำนำระดับจังหวัดสุ่มตรวจสอบอย่างน้อย 20% ของเกษตรกรที่มีผลผลิตเกินกว่าผลผลิตเฉลี่ยที่กำหนด
5) การกำหนดพันธุ์ข้าวที่จะเข้าร่วมโครงการ ให้เป็นไปตามมติคณะอนุกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติด้านการผลิตเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2554 ที่เห็นชอบให้เกษตรกรสามารถนำข้าวทุกพันธุ์เข้าร่วมโครงการฯ ได้ รวมทั้งพันธุ์ข้าวที่ปลูกและให้ข้าวสารคุณภาพต่ำ จำนวน 18 พันธุ์ ซึ่งในโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปี 25554/55 ไม่ได้ให้เข้าร่วมโครงการ
6) ระยะเวลาดำเนินการ
- ระยะเวลาการขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าว
กิจกรรม ภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคตะวันตก ภาคใต้
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ
การปลูก 1 พฤศจิกายน 2554 — 30 เมษายน 2555 1 มีนาคม 2555 — 15 มิถุนายน 2555 การเก็บเกี่ยว 1 กุมภาพันธ์ 2555 — 31 สิงหาคม 2555 1 มิถุนายน 2555 — 15 ตุลาคม 2555 การขึ้นทะเบียน 4 มกราคม 2555 — 31 พฤษภาคม 2555 1 เมษายน 2555 — 15 กรกฎาคม 2555 การประชาคม 20 มกราคม 2555 — 15 มิถุนายน 2555 1 พฤษภาคม 2555 — 31 กรกฎาคม 2555 การออกใบรับรอง 20 มกราคม 2555 — 30 มิถุนายน 2555 2 พฤษภาคม 2555 — 15 สิงหาคม 2555
- ระยะเวลารับจำนำ 1 มีนาคม -15 กันยายน 2555 ภาคใต้ 1 กรกฎาคม — 31 ตุลาคม 2555
- ระยะเวลาไถ่ถอน ภายใน 4 เดือนถัดจากเดือนที่รับจำนำ
- ระยะเวลาโครงการ มีนาคม 2555 — มกราคม 2556
7)วิธีการรับจำนำ หลักเกณฑ์การรับจำนำ การเข้าร่วมโครงการของโรงสี การสีแปรสภาพ การเก็บรักษาข้าวสาร การระบายข้าวสาร และการกำกับดูแล เป็นไปเช่นเดียวกับโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2554/55
8) ผลการรับจำนำ
ผลการดำเนินโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปรัง ปี 2555 (ตั้งแต่ วันที่ 1 มีนาคม — 23 พฤษภาคม 2555) รายการ จุดรับจำนำ จำนวน ปริมาณการรับจำนำข้าวเปลือก (ตัน) 1/ อคส. อ.ต.ก. รวม ใบประทวน ข้าวเจ้า ข้าวปทุมธานี ข้าวเหนียว รวมทุกชนิดข้าว ภาคเหนือ 139 67 203 319,572 3,257,269 1,107 76,437 3,334,813 ภาคะวันออกเฉียงเหนือ 132 37 169 134,399 500,037 - 71,560 571,597 ภาคกลาง 248 84 332 256,367 3,292,922 105,689 - 3,398,611 ภาคใต้ -------------------------------- ยังไม่ดำเนินการ--------------------------------- รวมทั้งประเทศ 516 188 704 710,338 7,050,228 106,796 147,997 7,305,021 จำนวนเกษตรกรที่รับเงินกับ ธ.ก.ส. 2/ (ข้อมลสะสมตั้งแต่ 1 มีนาคม — 23 พฤษภาคม 2555) รายการ ราย สัญญา จำนวนตัน จำนวนเงิน (ล้านบาท) จำนำประทวน อคส. 376,950 384,102 4,687,751.83 66,652.456 จำนำประทวน อ.ต.ก. 129,695 134,275 1,600,482.48 22,778.602 รวม 506,645 518,377 6,288,234.31 89,431.058
ที่มา: 1/ กรมการค้าภายใน กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์
2/ ธ.ก.ส.
ภาวการณ์ซื้อขายข้าวในสัปดาห์นี้ ราคาข้าวในทุกตลาดค่อนข้างทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากพ่อค้าส่วนใหญ่มีสต็อกข้าวเพียงพอส่งมอบแล้ว จึงชะลอการรับซื้อ
การส่งออก ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม — 15 พฤษภาคม 2555 ประเทศไทยส่งออกข้าวทั้งหมด จำนวน 2.554 ล้านตันข้าวสาร ลดลงจาก 4.491 ล้านตันข้าวสาร ของการส่งออกข้าวในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาร้อยละ 43.10
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ราคาข้าวเปลือกเจ้าหอมมะลินาปี ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 14,598 บาท ราคาลดลงจากตันละ 14,668 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.48
ราคาข้าวเปลือกนาปี 5% ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 10,226 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 10,224 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.02
ราคาข้าวเปลือกเหนียวเมล็ดยาวนาปี ที่เกษตรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 12,517 บาท ราคาลดลงจากตันละ 12,746 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.80
ราคาข้าวเปลือกนาปรังความชื้น 14-15% ที่เกษตรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 10,226 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 10,224 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.02
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 17,850 บาท ราคาลดลงจากตันละ 17,970 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.67
3) ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี.
ราคาข้าวหอมมะลิไทย ชั้น 1 (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 1,067 ดอลลาร์สหรัฐฯ (33,272 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 1,056 ดอลลาร์สหรัฐฯ (32,825 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.04 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 447 บาท
ราคาข้าวปทุมธานี ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 905 ดอลลาร์สหรัฐฯ (28,221 บาท/ตัน)
ราคาสูงขึ้นจากตันละ 893 ดอลลาร์สหรัฐฯ (27,758 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.34 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 463 บาท
ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 612 ดอลลาร์สหรัฐฯ (19,084 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 615 ดอลลาร์สหรัฐฯ (19,117 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.49 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 33 บาท
ราคาข้าวสารเจ้า 25% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 581 ดอลลาร์สหรัฐฯ (18,117 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 584 ดอลลาร์สหรัฐฯ (18,153 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.51 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 36 บาท
ราคาข้าวนึ่ง 5% ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 625 ดอลลาร์สหรัฐฯ (19,489 บาท/ตัน)
ราคาสูงขึ้นจากตันละ 621 ดอลลาร์สหรัฐฯ (19,303 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.64 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 186 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 31.1829 บาท
2. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในต่างประเทศ
สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
1) เวียดนาม
สมาคมอาหารของเวียดนาม (The VietNam Food Association; VFA) รายงานการส?งออกข?วช?วงวันที่ 1-17 พ.ค. 2555 มีจำนวน 409,521 ตัน มูลค? 177.812 ล?นดอลลาร์สหรัฐฯ และนับตั้งแต?วันที่ 1 ม.ค.-17 พ.ค. 2555 มีจำนวนรวม 2.167 ล?นตัน มูลค? 997.639 ล?นดอลลาร์สหรัฐฯ โดยทั้งปริมาณและมูลค่าลดลงร้อยละ 24 และร้อยละ 26 เมื่อเทียบกับช?วงเดียวกันของป? 2554 ที่ส?งออกได? 2.869 ล?นตัน มูลค? 1,356 ล?นดอลลาร์สหรัฐฯ
สถานการณ?ราคาข?วส?งออกของเวียดนามอ?อนตัวลง เนื่องจากมีการส?งมอบลดลงในช?วงนี้ ประกอบกับยังไม?มีคำสั่งซื้อใหม?เข?มา โดยราคา เอฟ.โอ.บี.ข?วขาว 5% ตันละ 430 ดอลลาร์สหรัฐฯ (หรือ 13,409 บาท/ตัน) ลดลงจากตันละ 440-445 ดอลลาร์สหรัฐฯ (หรือ 13,798 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.82 สำหรับราคา เอฟ.โอ.บี.ข?วขาว 25% ตันละ 390 ดอลลาร์สหรัฐฯ (หรือ 12,161 บาท/ตัน) ลดลงจากตันละ 395-400 ดอลลาร์สหรัฐฯ (หรือ 12,395 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.89
ที่มา Riceonline.com, สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
2) อินเดีย
ปีการผลิต 2555/56 อินเดียตั้งเป้าผลิตข้าวจำนวน 104 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจากปี 2554/55 ที่คาดว่าจะผลิตได้จำนวน 103.41 ล้านตันข้าวสาร หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.57 ส่งผลให้ผลผลิตธัญพืชของอินเดียรวมเป็น 250 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา 5 ล้านตัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.04 สำหรับข้าวสาลีอินเดียตั้งเป้าไว้ที่ 86 ล้านตัน ลดลงจากปี 2554/55 ที่คาดว่าจะผลิตได้จำนวน 90.23 ล้านตัน หรือลดลงร้อยละ 4.69 ผลผลิตที่ลดลงดังกล่าวจะช่วยทำให้รัฐบาลลดภาระในการจัดหาข้าวสาลีจากเกษตรกร รวมถึงการเก็บรักษาในคลังสินค้าด้วย
ที่มา Riceonline.com, สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 21 - 27 พฤษภาคม 2555--