ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร: ข้าว

ข่าวทั่วไป Wednesday June 6, 2012 11:43 —สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ

1.1 การตลาด

  • โครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปี 2554/55

1) มติ กขช. เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2554 และมติ ครม. เมื่อวันที่ 13 กันยายน 54 รับทราบกรอบ ชนิด ราคา ปริมาณ ระยะเวลา วิธีการ หลักเกณฑ์ และเงื่อนไข การรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2554/55

2) ชนิดและราคารับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2554/55 ให้กำหนดชนิดและราคารับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2554/55 ณ ความชื้นไม่เกิน 15% ดังนี้

                    (1) ข้าวเปลือกหอมมะลิ (42 กรัม)                         ตันละ 20,000 บาท
                    (2) ข้าวเปลือกหอมจังหวัด (40 กรัม)                       ตันละ 18,000 บาท

(ข้าวหอมมะลินอกพื้นที่ 23 จังหวัด)

                    (3) ข้าวเปลือกปทุมธานี (42 กรัม)                         ตันละ 16,000 บาท

(4) ข้าวเปลือกเหนียว :-

                        ข้าวเปลือกเหนียว 10% เมล็ดยาว                       ตันละ 16,000 บาท
                        ข้าวเปลือกเหนียว 10% เมล็ดสั้น                        ตันละ 15,000  บาท

(5) ข้าวเปลือกเจ้า :-

                        ข้าวเปลือกเจ้า 100%                                ตันละ 15,000  บาท
                        ข้าวเปลือกเจ้า 5%                                  ตันละ 14,800  บาท
                        ข้าวเปลือกเจ้า 10%                                 ตันละ 14,600  บาท
                        ข้าวเปลือกเจ้า 15%                                 ตันละ 14,200  บาท
                        ข้าวเปลือกเจ้า 25%                                 ตันละ 13,800  บาท

ทั้งนี้ ราคารับจำนำข้างต้นให้ปรับเพิ่ม-ลดตามจำนวนกรัม ในอัตรากรัมละ 200 บาท

3) เป้าหมายการรับจำนำ ไม่จำกัดปริมาณข้าวเปลือกที่รับจำนำทั้งโครงการ ส่วนปริมาณข้าวเปลือกที่เกษตรกรแต่ละรายจะจำนำได้ไม่จำกัดจำนวนเช่นกัน โดยต้องเป็นข้าวเปลือกที่เกษตรกรเพาะปลูกเองในปีการผลิต 2554/55 และต้องมีหนังสือรับรองเกษตรกรของกรมส่งเสริมการเกษตร ซึ่งผ่านการทำประชาคม และเกษตรกรลงชื่อรับรองตัวเอง พร้อมทั้งเจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมการเกษตร และปลัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายลงชื่อรับรองด้วย

4) ระยะเวลาดำเนินการ

  • ระยะเวลาดำเนินการรับจำนำ 7 ตุลาคม 2554 — 29 กุมภาพันธ์ 2555

(ภาคใต้ 7 ตุลาคม 2554 — 31 กรกฎาคม 2555)

  • ระยะเวลาไถ่ถอน 4 เดือน นับถัดจากเดือนที่รับจำนำ
  • ระยะเวลาโครงการ 7 ตุลาคม 2554 — 30 กันยายน 2555

5) ผลการรับจำนำ

  • โครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปรัง ปี 2555

มติ ครม. เมื่อวันที่ 22 ก.พ. 55 เห็นชอบกรอบ ชนิด ราคา ปริมาณ ระยะเวลา วิธีการ หลักเกณฑ์ และเงื่อนไข การรับจำนำข้าวเปลือกนาปรัง ปีการผลิต 2555 ดังนี้

1) เป้าหมายรับจำนำ ไม่จำกัดปริมาณข้าวเปลือกที่รับจำนำ

2) ชนิดข้าวที่รับจำนำ ได้แก่ ข้าวเปลือกเจ้า ข้าวเปลือกปทุมธานี และข้าวเปลือกเหนียว

3)ราคารับจำนำ ณ ความชื้นไม่เกิน 15% เช่นเดียวกับโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี

ปี 2554/55 ดังนี้

          - ข้าวเปลือกเจ้า 100%                                ตันละ 15,000  บาท
          - ข้าวเปลือกเจ้า 5%                                  ตันละ 14,800  บาท
          - ข้าวเปลือกเจ้า 10%                                 ตันละ 14,600  บาท
          - ข้าวเปลือกเจ้า 15%                                 ตันละ 14,200  บาท
          - ข้าวเปลือกเจ้า 25%                                 ตันละ 13,800  บาท
          - ข้าวเปลือกปทุมธานี 1 (42 กรัม)                       ตันละ 16,000  บาท
          - ข้าวเปลือกเหนียว 10% เมล็ดยาว                       ตันละ 16,000  บาท
          - ข้าวเปลือกเหนียว 10% เมล็ดสั้น                        ตันละ 15,000  บาท

ทั้งนี้ราคารับจำนำข้าวเปลือกปทุมธานี 1 ให้ปรับเพิ่ม-ลดตามจำนวนกรัมในอัตรากรัมละ 200 บาท

4) ปริมาณจำนำของเกษตรกรแต่ละราย จะคำนวณตามพื้นที่เพาะปลูกผลผลิตเฉลี่ยรายจังหวัดและผลผลิตรวมของเกษตรกรตามหนังสือรับรองที่กรมการส่งเสริมการเกษตรออกให้แก่เกษตรกรเป็นข้อมูลประกอบ กรณีผลผลิตของเกษตรกรสูงกว่าปริมาณผลผลิตเฉลี่ย ให้ปรับเพิ่มได้อีกไม่เกิน 20% (ณ ความชื้น 15%) โดยให้เกษตรกรรับรองว่าข้าวเปลือกของเกษตรกรเองและแจ้งให้อนุกรรมการติดตามและกำกับดูแลการรับจำนำระดับจังหวัดสุ่มตรวจสอบอย่างน้อย 20% ของเกษตรกรที่มีผลผลิตเกินกว่าผลผลิตเฉลี่ยที่กำหนด

5) การกำหนดพันธุ์ข้าวที่จะเข้าร่วมโครงการ ให้เป็นไปตามมติคณะอนุกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติด้านการผลิตเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2554 ที่เห็นชอบให้เกษตรกรสามารถนำข้าวทุกพันธุ์เข้าร่วมโครงการฯ ได้ รวมทั้งพันธุ์ข้าวที่ปลูกและให้ข้าวสารคุณภาพต่ำ จำนวน 18 พันธุ์ ซึ่งในโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปี 25554/55 ไม่ได้ให้เข้าร่วมโครงการ

6) ระยะเวลาดำเนินการ

  • ระยะเวลาการขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าว
          กิจกรรม           ภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคตะวันตก                      ภาคใต้

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ

          การปลูก           1 พฤศจิกายน 2554 — 30 เมษายน 2555          1 มีนาคม 2555 — 15 มิถุนายน 2555
          การเก็บเกี่ยว       1 กุมภาพันธ์ 2555 — 31 สิงหาคม 2555           1 มิถุนายน 2555 — 15 ตุลาคม 2555
          การขึ้นทะเบียน      4 มกราคม 2555 — 31 พฤษภาคม 2555           1 เมษายน 2555 — 15 กรกฎาคม 2555
          การประชาคม      20 มกราคม 2555 — 15 มิถุนายน 2555            1 พฤษภาคม 2555 — 31 กรกฎาคม 2555
          การออกใบรับรอง   20 มกราคม 2555 — 30 มิถุนายน 2555            2 พฤษภาคม 2555 — 15 สิงหาคม 2555
  • ระยะเวลารับจำนำ 1 มีนาคม -15 กันยายน 2555 ภาคใต้ 1 กรกฎาคม — 31 ตุลาคม 2555
  • ระยะเวลาไถ่ถอน ภายใน 4 เดือนถัดจากเดือนที่รับจำนำ
  • ระยะเวลาโครงการ มีนาคม 2555 — มกราคม 2556

7) วิธีการรับจำนำ หลักเกณฑ์การรับจำนำ การเข้าร่วมโครงการของโรงสี การสีแปรสภาพ การเก็บรักษาข้าวสาร การระบายข้าวสาร และการกำกับดูแล เป็นไปเช่นเดียวกับโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2554/55

8) ผลการรับจำนำ

ผลการดำเนินโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปรัง ปี 2555

(ตั้งแต่ วันที่ 1 มีนาคม — 30 พฤษภาคม 2555)

 รายการ               จุดรับจำนำ          จำนวน             ปริมาณการรับจำนำข้าวเปลือก (ตัน) 1/

อคส. อ.ต.ก. รวม ใบประทวน ข้าวเจ้า ข้าวปทุมธานี ข้าวเหนียว รวมทุกชนิดข้าว

ภาคเหนือ           139     67    206    346,502    3,392,864      1,865   118,905     3,513,634
ภาคะวันออกเฉียงเหนือ 137     39    176    149,300      560,383          -    77,333       637,716
ภาคกลาง           268     84    352    274,558    3,503,184    108,109         -     3,611,293
ภาคใต้             ------------------------------ ยังไม่ดำเนินการ---------------------------------
รวมทั้งประเทศ       544    190    734    770,360    7,456,431    109,974   196,238     7,762,643

จำนวนเกษตรกรที่รับเงินกับ ธ.ก.ส. 2/

(ข้อมลสะสมตั้งแต่ 1 มีนาคม — 29 พฤษภาคม 2555)

 รายการ               ราย              สัญญา                จำนวนตัน         จำนวนเงิน (ล้านบาท)
 จำนำประทวน อคส.    436,501           445,054           5,279,128.29           75,073.572
 จำนำประทวน อ.ต.ก.  144,388           149,274           1,737,245.52           24,730.812
 รวม                580,889           594,328           7,016,373.80           99,804.384

ที่มา: 1/ กรมการค้าภายใน กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์

2/ ธ.ก.ส.

ภาวการณ์ซื้อขายข้าวในสัปดาห์นี้ ราคาข้าวเปลือกเจ้า ข้าวหอมมะลิ ข้าวเปลือกเหนียวที่เกษตรกรขายได้ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องจากสัปดาห์ก่อน เนื่องจากมีความต้องการซื้อเพื่อการส่งออกและใช้ภายในประเทศมากขึ้น ขณะที่ผลผลิตออกสู่ตลาดน้อย ส่งผลให้ราคาส่งออกของข้าวทุกชนิดปรับตัวสูงขึ้นตามไปด้วย

การส่งออก ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม — 25 พฤษภาคม 2555 ประเทศไทยส่งออกข้าวทั้งหมด จำนวน 2.836 ล้านตันข้าวสาร ลดลงจาก 4.887 ล้านตันข้าวสาร ของการส่งออกข้าวในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาร้อยละ 41.97 (ที่มา : กรมการค้าภายใน)

1.2 ราคา

1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ

ราคาข้าวเปลือกเจ้าหอมมะลินาปี ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 14,617 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 14,598 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.13

ราคาข้าวเปลือกนาปี 5% ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 10,331 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 10,226 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.03

ราคาข้าวเปลือกเหนียวเมล็ดยาวนาปี ที่เกษตรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 12,717 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 12,517 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.60

ราคาข้าวเปลือกนาปรังความชื้น 14-15% ที่เกษตรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 10,331 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 10,226 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.03

2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ

ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 17,850 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

3) ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี.

ราคาข้าวหอมมะลิไทย ชั้น 1 (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 1,073 ดอลลาร์สหรัฐฯ (33,796 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 1,067 ดอลลาร์สหรัฐฯ (33,272 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.56 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 6 บาท

ราคาข้าวปทุมธานี ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 913 ดอลลาร์สหรัฐฯ (28,757 บาท/ตัน)

ราคาสูงขึ้นจากตันละ 905 ดอลลาร์สหรัฐฯ (28,221 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.88 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 536 บาท

ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 606 ดอลลาร์สหรัฐฯ (19,087 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 612 ดอลลาร์สหรัฐฯ (19,084 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.98 แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 3 บาท

ราคาข้าวสารเจ้า 25% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 576 ดอลลาร์สหรัฐฯ (18,142 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 581 ดอลลาร์สหรัฐฯ (18,117 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.86 แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 25 บาท

ราคาข้าวนึ่ง 5% ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 619 ดอลลาร์สหรัฐฯ (19,497 บาท/ตัน)

ราคาลดลงจากตันละ 625 ดอลลาร์สหรัฐฯ (19,489 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.96 แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 8 บาท

หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 31.4969 บาท

2. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในต่างประเทศ

สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ

ศรีลังกา

หลังจากประสบความสำเร็จในการผลิตข้าวเพียงพอใช้ภายในประเทศ ปี 2555 ทำให้ศรีลังกาเริ่มมีการผลิตข้าวเพื่อการส่งออก โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ของศรีลังกา รายงานว่า ศรีลังกาได้ขยายพื้นที่เพาะปลูกข้าวเพื่อเพิ่มการส่งออกของประเทศ มีเป้าหมายที่จะส่งออกข้าวอย่างน้อย 20,000 ตัน ภายในปี 2558 อย่างไรก็ตาม การส่งออกข้าวของศรีลังกามีข้อจำกัดในเรื่องมาตรฐานต่างๆ และความหลากหลายของพันธุ์ข้าวมีน้อย โดยการผลิตข้าวส่วนใหญ่เป็นข้าวแดงซึ่งมีการบริโภคเพียงไม่กี่ประเทศในทวีปแอฟริกา แต่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศศรีลังกา รายงานว่า ได้มีการปรับปรุงสายพันธุ์ข้าวใหม่แล้ว

อนึ่ง เลขานุการกระทรวงเกษตร รายงานว่า มีการปลูกข้าว 4 สายพันธุ์ใน 4 พื้นที่แตกต่างกันเพื่อการส่งออกโดยเฉพาะ นอกจาดนี้ศรีลังกายังมีเป้าหมายที่จะเพิ่มผลผลิตต่อไร่จากปัจจุบันที่ผลิตได้ 4.3 ตัน/เฮกเตอร์ (ประมาณ 688 กก./ไร่) เป็น 5 ตัน/เฮกเตอร์ (ประมาณ 800 กก./ไร่) ในปี 2559

ที่มา : Oryza.com

--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 28 พฤษภาคม -3 มิถุนายน 2555 --


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ