1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 การตลาด
- โครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปี 2554/55
1) มติ กขช. เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2554 และมติ ครม. เมื่อวันที่ 13 กันยายน 54 รับทราบกรอบ ชนิด ราคา ปริมาณ ระยะเวลา วิธีการ หลักเกณฑ์ และเงื่อนไข การรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2554/55
2) ชนิดและราคารับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2554/55 ให้กำหนดชนิดและราคารับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2554/55 ณ ความชื้นไม่เกิน 15% ดังนี้
(1) ข้าวเปลือกหอมมะลิ (42 กรัม) ตันละ 20,000 บาท (2) ข้าวเปลือกหอมจังหวัด (40 กรัม) ตันละ 18,000 บาท
(ข้าวหอมมะลินอกพื้นที่ 23 จังหวัด)
(3) ข้าวเปลือกปทุมธานี (42 กรัม) ตันละ 16,000 บาท
(4) ข้าวเปลือกเหนียว :-
ข้าวเปลือกเหนียว 10% เมล็ดยาว ตันละ 16,000 บาท ข้าวเปลือกเหนียว 10% เมล็ดสั้น ตันละ 15,000 บาท
(5) ข้าวเปลือกเจ้า :-
ข้าวเปลือกเจ้า 100% ตันละ 15,000 บาท ข้าวเปลือกเจ้า 5% ตันละ 14,800 บาท ข้าวเปลือกเจ้า 10% ตันละ 14,600 บาท ข้าวเปลือกเจ้า 15% ตันละ 14,200 บาท ข้าวเปลือกเจ้า 25% ตันละ 13,800 บาท
ทั้งนี้ ราคารับจำนำข้างต้นให้ปรับเพิ่ม-ลดตามจำนวนกรัม ในอัตรากรัมละ 200 บาท
3) เป้าหมายการรับจำนำ ไม่จำกัดปริมาณข้าวเปลือกที่รับจำนำทั้งโครงการ ส่วนปริมาณข้าวเปลือกที่เกษตรกรแต่ละรายจะจำนำได้ไม่จำกัดจำนวนเช่นกัน โดยต้องเป็นข้าวเปลือกที่เกษตรกรเพาะปลูกเองในปีการผลิต 2554/55 และต้องมีหนังสือรับรองเกษตรกรของกรมส่งเสริมการเกษตร ซึ่งผ่านการทำประชาคม และเกษตรกรลงชื่อรับรองตัวเอง พร้อมทั้งเจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมการเกษตร และปลัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายลงชื่อรับรองด้วย
4) ระยะเวลาดำเนินการ
- ระยะเวลาดำเนินการรับจำนำ 7 ตุลาคม 2554 — 29 กุมภาพันธ์ 2555
(ภาคใต้ 7 ตุลาคม 2554 — 31 กรกฎาคม 2555)
- ระยะเวลาไถ่ถอน 4 เดือน นับถัดจากเดือนที่รับจำนำ
- ระยะเวลาโครงการ 7 ตุลาคม 2554 — 30 กันยายน 2555
5) ผลการรับจำนำ
ผลการดำเนินโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปี 2554/55 (ตั้งแต่ วันที่ 7 ตุลาคม 2554 — 9 เมษายน 2555) รายการ จุดรับ จำนวน จำนวน -------------ปริมาณการรับจำนำข้าวเปลือก (ตัน) 1/--------------- จำนำ ใบประทวน ยุ้งฉาง ข้าว ข้าว ข้าว ข้าว ข้าว รวม เจ้า ปทุมธานี หอมมะลิ หอมจังหวัด เหนียว ทุกชนิดข้าว ภาคเหนือ 210 328,261 2,154 1,465,654 2,790 312,852 269,552 230,461 2,281,309 ภาคะวันออกเฉียงเหนือ 359 753,313 34,511 164,062 84 2,774,757 - 211,626 3,150,529 ภาคกลาง 283 154,816 - 1,266,425 12,368 - 65,872 - 1,344,665 ภาคใต้ 44 4,345 - 22,780 - - - - 22,780 รวมทั้งประเทศ 896 1,240,735 36,665 2,918,921 15,242 3,087,610 335,424 442,087 6,799,284
จำนวนเกษตรกรที่รับเงินกับ ธ.ก.ส. 2/ (ข้อมลสะสมตั้งแต่ 7 ตุลาคม 2554 — 21 มิถุนายน 2555) รายการ ราย สัญญา จำนวนตัน จำนวนเงิน (ล้านบาท) จำนำยุ้งฉาง 36,674 36,784 176,959.97 3,470.95 จำนำประทวน 1,101,760 1,147,948 6,760,892.99 114,444.84 รวม 1,138,434 1,184,732 6,937,852.96 117,915.79 ที่มา: 1/ กรมการค้าภายใน กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ 2/ ธ.ก.ส.
- โครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปรัง ปี 2555
มติ ครม. เมื่อวันที่ 22 ก.พ. 55 เห็นชอบกรอบ ชนิด ราคา ปริมาณ ระยะเวลา วิธีการ หลักเกณฑ์ และเงื่อนไข การรับจำนำข้าวเปลือกนาปรัง ปีการผลิต 2555 ดังนี้
1) เป้าหมายรับจำนำ ไม่จำกัดปริมาณข้าวเปลือกที่รับจำนำ
2) ชนิดข้าวที่รับจำนำ ได้แก่ ข้าวเปลือกเจ้า ข้าวเปลือกปทุมธานี และข้าวเปลือกเหนียว
3)ราคารับจำนำ ณ ความชื้นไม่เกิน 15% เช่นเดียวกับโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี
ปี 2554/55 ดังนี้
- ข้าวเปลือกเจ้า 100% ตันละ 15,000 บาท - ข้าวเปลือกเจ้า 5% ตันละ 14,800 บาท - ข้าวเปลือกเจ้า 10% ตันละ 14,600 บาท - ข้าวเปลือกเจ้า 15% ตันละ 14,200 บาท - ข้าวเปลือกเจ้า 25% ตันละ 13,800 บาท - ข้าวเปลือกปทุมธานี 1 (42 กรัม) ตันละ 16,000 บาท - ข้าวเปลือกเหนียว 10% เมล็ดยาว ตันละ 16,000 บาท - ข้าวเปลือกเหนียว 10% เมล็ดสั้น ตันละ 15,000 บาท
ทั้งนี้ราคารับจำนำข้าวเปลือกปทุมธานี 1 ให้ปรับเพิ่ม-ลดตามจำนวนกรัมในอัตรากรัมละ 200 บาท
4) ปริมาณจำนำของเกษตรกรแต่ละราย จะคำนวณตามพื้นที่เพาะปลูกผลผลิตเฉลี่ยรายจังหวัดและผลผลิตรวมของเกษตรกรตามหนังสือรับรองที่กรมการส่งเสริมการเกษตรออกให้แก่เกษตรกรเป็นข้อมูลประกอบ กรณีผลผลิตของเกษตรกรสูงกว่าปริมาณผลผลิตเฉลี่ย ให้ปรับเพิ่มได้อีกไม่เกิน 20% (ณ ความชื้น 15%) โดยให้เกษตรกรรับรองว่าข้าวเปลือกของเกษตรกรเองและแจ้งให้อนุกรรมการติดตามและกำกับดูแลการรับจำนำระดับจังหวัดสุ่มตรวจสอบอย่างน้อย 20% ของเกษตรกรที่มีผลผลิตเกินกว่าผลผลิตเฉลี่ยที่กำหนด
5) การกำหนดพันธุ์ข้าวที่จะเข้าร่วมโครงการ ให้เป็นไปตามมติคณะอนุกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติด้านการผลิตเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2554 ที่เห็นชอบให้เกษตรกรสามารถนำข้าวทุกพันธุ์เข้าร่วมโครงการฯ ได้ รวมทั้งพันธุ์ข้าวที่ปลูกและให้ข้าวสารคุณภาพต่ำ จำนวน 18 พันธุ์ ซึ่งในโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปี 25554/55 ไม่ได้ให้เข้าร่วมโครงการ
6) ระยะเวลาดำเนินการ
- ระยะเวลาการขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าว
กิจกรรม ภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคตะวันตก ภาคใต้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ การปลูก 1 พฤศจิกายน 2554 — 30 เมษายน 2555 1 มีนาคม 2555 — 15 มิถุนายน 2555 การเก็บเกี่ยว 1 กุมภาพันธ์ 2555 — 31 สิงหาคม 2555 1 มิถุนายน 2555 — 15 ตุลาคม 2555 การขึ้นทะเบียน 4 มกราคม 2555 — 31 พฤษภาคม 2555 1 เมษายน 2555 — 15 กรกฎาคม 2555 การประชาคม 20 มกราคม 2555 — 15 มิถุนายน 2555 1 พฤษภาคม 2555 — 31 กรกฎาคม 2555 การออกใบรับรอง 20 มกราคม 2555 — 30 มิถุนายน 2555 2 พฤษภาคม 2555 — 15 สิงหาคม 2555
- ระยะเวลารับจำนำ 1 มีนาคม -15 กันยายน 2555 ภาคใต้ 1 กรกฎาคม — 31 ตุลาคม 2555
- ระยะเวลาไถ่ถอน ภายใน 4 เดือนถัดจากเดือนที่รับจำนำ
- ระยะเวลาโครงการ มีนาคม 2555 — มกราคม 2556
7) วิธีการรับจำนำ หลักเกณฑ์การรับจำนำ การเข้าร่วมโครงการของโรงสี การสีแปรสภาพ การเก็บรักษาข้าวสาร การระบายข้าวสาร และการกำกับดูแล เป็นไปเช่นเดียวกับโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2554/55
8) ผลการรับจำนำ
ผลการดำเนินโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปรัง ปี 2555 (ตั้งแต่ วันที่ 1 มีนาคม — 21 มิถุนายน 2555) รายการ จุดรับจำนำ จำนวน --------ปริมาณการรับจำนำข้าวเปลือก (ตัน) 1/---- อคส. อ.ต.ก. รวม ใบประทวน ข้าวเจ้า ข้าวปทุมธานี ข้าวเหนียว รวมทุกชนิดข้าว ภาคเหนือ 145 67 212 412,036 3,799,579 5,079 192,300 3,996,958 ภาคะวันออกเฉียงเหนือ 155 39 194 180,812 690,203 - 92,459 782,662 ภาคกลาง 294 85 379 334,756 4,120,494 113,860 - 4,234,354 ภาคใต้ --------------------------- ยังไม่ดำเนินการ ------------------------------ รวมทั้งประเทศ 594 191 785 927,604 8,610,276 118,939 284,759 9,013,974
จำนวนเกษตรกรที่รับเงินกับ ธ.ก.ส. 2/ (ข้อมลสะสมตั้งแต่ 1 มีนาคม — 21 มิถุนายน 2555) รายการ ราย สัญญา จำนวนตัน จำนวนเงิน (ล้านบาท) จำนำประทวน อคส. 612,514 625,136 6,969,247.83 97,493.718 จำนำประทวน อ.ต.ก. 177,680 183,180 2,077,180.51 29,136.045 รวม 790,194 808,316 9,046,428.34 126,629.763
ที่มา: 1/ กรมการค้าภายใน กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์
2/ ธ.ก.ส.
ภาวการณ์ซื้อขายข้าวในสัปดาห์นี้ ราคาทุกตลาดค่อนข้างทรงตัว เนื่องจากพ่อค้าส่วนใหญ่รอดูนโยบายการระบายข้าวของภาครัฐ ประกอบกับไม่มีคำสั่งซื้อเพิ่มจากต่างประเทศ
การส่งออก ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม — 26 มิถุนายน 2555 ประเทศไทยส่งออกข้าวทั้งหมด จำนวน 3.370 ล้านตันข้าวสาร ลดลงจาก 6.182 ล้านตันข้าวสาร ของการส่งออกข้าวในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาร้อยละ 45.49 (ที่มา : กรมการค้าภายใน)
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ราคาข้าวเปลือกเจ้าหอมมะลินาปี ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 14,593 บาท ราคาลดลงจากตันละ 14,623 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.21
ราคาข้าวเปลือกนาปี 5% ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 10,460 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 10,447 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.12
ราคาข้าวเปลือกเหนียวเมล็ดยาวนาปี ที่เกษตรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 12,931 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 12,804 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.99
ราคาข้าวเปลือกนาปรังความชื้น 14-15% ที่เกษตรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 10,460 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 10,447 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.12
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 18,070 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 18,030 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.22
3) ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี.
ราคาข้าวหอมมะลิไทย ชั้น 1 (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 1,073 ดอลลาร์สหรัฐฯ (33,914 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 1,083 ดอลลาร์สหรัฐฯ (33,854 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.92 แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 60 บาท
ราคาข้าวปทุมธานี ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 913 ดอลลาร์สหรัฐฯ (28,857 บาท/ตัน)
ราคาลดลงจากตันละ 921 ดอลลาร์สหรัฐฯ (28,790 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.87 แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 67 บาท
ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 606 ดอลลาร์สหรัฐฯ (19,153 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 612 ดอลลาร์สหรัฐฯ (19,131 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.98 แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 22 บาท
ราคาข้าวสารเจ้า 25% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 576 ดอลลาร์สหรัฐฯ (18,205 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 581 ดอลลาร์สหรัฐฯ (18,162 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.86 แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 43 บาท
ราคาข้าวนึ่ง 5%ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 600 ดอลลาร์สหรัฐฯ (18,964 บาท/ตัน)
ราคาลดลงจากตันละ 609 ดอลลาร์สหรัฐฯ (19,037 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.48 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 343 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 31.6063 บาท
2. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในต่างประเทศ
สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
1) เวียดนาม
สมาคมอาหารของเวียดนาม (The VietNam Food Association; VFA) เปิดเผยข้อมูลการสงออกข้าวตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.-20 มิ.ย 2555 มีจำนวนรวม 2.953 ล้านตัน มูลค่า 1,366 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2554 ที่ส่งออกได้ 3.63 ล้านตัน มูลค่า 1,712 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ทั้งปริมาณและมูลค่าลดลงร้อยละ 19 และร้อยละ 20 ตามลำดับ ขณะที่รองประธานสมาคมอาหารเวียดนาม กล่าวระหว่างเข้าร่วมการประชุมในหัวข้อการบริโภคข้าว ที่นครโฮจิมินห์ซิตี้ ว่า ณ วันที่ 20 มิ.ย. 2555 ได้มีการหารือเกี่ยวกับมาตรการด้านการซื้อข่าวในพื้นที่เขตราบลุ่มแม่น้ำโขงทางตอนใต้ของเวียดนามในช่วงการเพาะปลูกฤดูร้อนถึงฤดูใบไม้ผลิปีนี้ (The summer -autumn crop) โดยกระทรวงเกษตรเวียดนามแนะนำให้ผู้สูงออกรับซื้อข่าวเพื่อเก็บสำรอง 1 ล้านตัน เป็นเวลา 3 เดือน เพื่อเป็นการรักษาเสถียรภาพของราคาข้าว และให้ชาวนาสามารถขายข่าวได้ ทั้งนี้ ผู้ประกอบการที่จะเข้าร่วมโครงการรับซื้อข่าวตั้งแต่ปลายเดือน ก.ค. จนถึงสิ้นเดือน ก.ย. นี้จะได้รับสิทธิให้กู้ยืมโดยได้รับอัตราดอกเบี้ยบุริมสิทธิจากรัฐบาล
สำหรับการส่งออกข่าวหอม (fragrant rice) สมาคมอาหาร คาดว่าปี 2555 จะมีปริมาณมากกว่า 600,000 ตัน เพิ่มขึ้นกว่า 3 เท่าจากจำนวน 216,000 ตัน เมื่อปี 2553 และเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 30 เมื่อเทียบกับจำนวน 460,000 ตัน เมื่อปี 2554 โดยในช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้ เวียดนาส่งออกข้าวหอมแล้วประมาณ 260,000ตัน ผู้ซื้อรายใหญ่ คือ ฮ่องกง และไต้หวัน พร้อมทั้งกล่าวว่า เกษตรกรและบริษัทด้านการเกษตรได้หันไปเพาะปลูกข่าวคุณภาพสูงมากขึ้น ซึ่งเป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลที่จะยกระดับคุณภาพข่าวเวียดนามในการสร้างตราสินค้าข่าว โดยในปีนี้รัฐบาลตั้งเป็นพื้นที่เพาะปลูกข้าวคุณภาพสูง 60-70% ข้าวหอม 20% และข้าวคุณภาพต่ำ 10% ซึ่งกระทรวงการค้าและอุตสาหกรรมและสมาคมอาหารมีข้อเสนอให้การรับประกันการเพาะปลูกข้าวคุณภาพสูง 100% นอกเหนือจากสิทธิพิเศษอื่นๆ
สถานการณ์ราคาข้าวส่งออกของเวียดนามยังคงอ่อนตัวลง เพราะในช่วงนี้มีการส่งมอบลดลง ประกอบกับยังไม่มีคำสั่งซื้อใหม่เข้ามากระตุ้นตลาด เพราะผู้ซื้อจากต่างประเทศคาดว่าราคาข้าวของเวียดนามจะอ่อนตัวลงอีก ขณะเดียวกันผลผลิตข้าวในฤดูใหม่ (the summer-autumn crop) เริ่มออกสู่ตลาดซึ่งเป็นปัจจัยกดดันให้ราคาข้าวลดลงด้วย โดยราคา เอฟ.โอ.บี.ข้าวขาว 5% ตันละ 405-415 ดอลลาร์สหรัฐฯ (หรือประมาณ 12,959 บาท/ตัน) ลดลงจากตันละ 410-415 ดอลลาร์สหรัฐฯ (หรือประมาณ 13,038 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ0.49 และ ราคา เอฟ.โอ.บี.ข้าวขาว 25% ตันละ 365-375 ดอลลาร์สหรัฐฯ (หรือประมาณ 11,324 บาท/ตัน) สูงขึ้นจากตันละ 360-370 ดอลลาร์สหรัฐฯ (หรือ 11,171 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.37
ที่มา : Riceonline.com, สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
2) จีน
สำนักงานศุลกากรของจีนเปิดเผยข้อมูลว่า จีนนำเข้าข้าว 427,518 ตัน ในเดือน พ.ค. เพิ่มขึ้นร้อยละ 392% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2554 และในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2555 ที่ผ่านมา จีนมีการนำเข้าข้าวจำนวนทั้งสิ้น 965,789 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 233 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2554
ทั้งนี้จากการประชุมระหว่างผู้นำระดับสูงของจีนและอินเดียในการประชุม The Rio+20 Environment Summit ที่ประเทศบราซิล โดยทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องต้องกันที่จะลดอุปสรรคทางการคั้นระหว่างกัน ซึ่งทางการจีนได้บรรลุข้อตกลงในการกำหนดมาตรการนำเข้าข้าวจากอินเดียเพื่อแลกเปลี่ยนกับการเข้าไปลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานในประเทศอินเดีย โดยเมื่อเดือนที่ผ่านมาจีนได้อนุญาตให้มีการนำเขาขาวจากอินเดียแล้วแต่ยังติดปัญหาบางประการในเรื่องของเอกสาร
ที่มา : Riceonline.com, สำนักข่าวซินหัว และสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 25 มิถุนายน - 1 กรกฎาคม 2555--