1. สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมาไม่มีรายงานปริมาณราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
การตลาด
ตลาดกุ้งไทยยังสดใส
นายเอกพจน์ ยอดพินิจ ประธานชมรมผู้เลี้ยงกุ้งสุราษฎร์ธานี เปิดเผยถึงตลาดกุ้งไทยในปีนี้ว่ายังมีแนวโน้มสดใส แม้ว่าราคาผลผลิตในประเทศจะผันผวนอยู่บ้าง สำหรับตลาดหลักยังคงเป็นสหรัฐอเมริกา โดยในปี 2554 ไทยส่งออกกุ้งไปสหรัฐฯ ถึงร้อยละ 46 รองลงมาตลาดญี่ปุ่นร้อยละ 20 ตลาดยุโรปร้อยละ 20 และตลาดอื่นๆ อีกร้อยละ 20 ซึ่งเป็นโครงสร้างตลาด 3 ขาที่ค่อนข้างแข็งแรง แต่หากจะให้ตลาดมีความมั่นคงมากขึ้น ควรลดสัดส่วนตลาดสหรัฐฯ ลง และไปเพิ่มตลาดญี่ปุ่น ส่วนตลาดยุโรปสามารถเพิ่มได้อีกน้อยในบางประเทศ เพราะยุโรปกำลังเผชิญกับวิกฤติเศรษฐกิจ ส่วนตลาดจีนอาจจะลดลงบ้าง เพราะจีนมีการนำเข้ากุ้งจากเวียดนาม แต่ยังไม่ได้เข้าไปแข่งกับกุ้งไทยในตลาดญี่ปุ่น ยังมีขาที่ 4 ที่ขยับขึ้นมาอย่างเงียบๆ คือ ตลาดภายในประเทศ เนื่องจากราคาเนื้อหมูและเนื้อไก่ปรับตัวสูงขึ้นมาใกล้เคียงกับราคากุ้ง ประกอบกับความเปลี่ยนแปลงในการบริโภคจากที่เคยซื้อกุ้งจากตลาดสดมาแกะเปลือกก็เป็นมาซื้อกุ้งแช่แข็งพร้อมปรุง ซึ่งไม่ต่างจากสหรัฐฯ หรือญี่ปุ่น ตัวเลขการบริโภคกุ้งในประเทศเคยประมาณไว้ที่ 2 หมื่นตันหรือร้อยละ 5 แต่วันนี้น่าจะอยู่ที่ 6 หมื่นตัน สำหรับการส่งออกกุ้งของ จ.สุราษฎร์ธานีปีนี้คาดว่าใกล้เคียงกับปีก่อน ส่วนของมูลค่าอาจจะไม่แตกต่างกัน ปีนี้มองไว้ที่ 4 พันล้านบาทลดลงจากปีก่อนไม่เกินร้อยละ 5 โดยปีก่อนผลผลิตกุ้งลดลงเหลือ 6 แสนตัน หรือลดลงร้อยละ 8 แต่มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 10 หรือคิดเป็น 1.1 แสนล้านบาท นอกจากปัญหาเรื่องโรคระบาดที่เสี่ยงสูงสุดแล้วความเสี่ยงใหม่ด้านภัยธรรมชาติเป็นสิ่งที่อุตสาหกรรมกุ้งต้องหันมาสนใจมากขึ้น ประเทศคู่แข่งของไทย ทั้งมาเลเซีย อินโดนีเซีย อินเดีย และเวียดนาม ล้วนมีศักยภาพเชิงพื้นที่สูงกว่าประเทศของเรา เนื่องจากมีพื้นที่ชายฝั่งทะเลจำนวนมาก ถ้าเกิด AEC ก็จะมีนักลงทุนเข้าไปลงทุนมากขึ้น ทำให้ 4 ประเทศนี้จะกลายเป็นคู่แข่งที่สำคัญชองไทยอย่างแน่นอน
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 43.13 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 43.23 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.10 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 81.48 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 80.55 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.93 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 118.05 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 119.21 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.16 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 115.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 120.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 5.00 บาท
2.5 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 39.88 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 37.69 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 2.19 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.6 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 97.67 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 96.67 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.00 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.22 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 7.58 บาท สัปดาห์ที่ผ่านมา 0.36 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 30 มิ.ย. — 6 ก.ค. 2555) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 22.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 2 - 8 กรกฎาคม 2555--