ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร: ประมง

ข่าวทั่วไป Tuesday July 17, 2012 13:39 —สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร

1. สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ

การผลิต

สหรัฐตั้งเงื่อนไขขวางผู้ผลิตทูน่าไทย

นายนิวัติ สุธีมีชัยกุล รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เปิดเผยว่า เมื่อเร็วนี้สหรัฐอเมริกาได้กำหนด

เงื่อนไขการละลายน้ำแข็งในทูน่าใหม่ โดยให้ละลายน้ำแข็งที่อุณหภูมิ 21 องศาเซลเซียส และต้องปฏิบัติการไม่เกิน 12 ชั่วโมง เพื่อป้องกันการเกิดขบวนการเน่าเสียหรือฮิสตามิน ซึ่งเงื่อนไขนี้จะประกาศใช้สิ้นปี 2555 อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยอยู่เขตร้อน อุณหภูมิทั่วไปสูงเกิน 28 องศาเซลเซียส จึงไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขของสหรัฐฯได้ โดยการละลายน้ำแข็งทูน่าในปัจจุบัน ใช้อุณหภูมิ 28 — 35 องศาเซลเซียส ภายใน 16 — 20 ชั่วโมง แต่สามารถป้องกันกระบวนการฮิสตามินได้ด้วย การควบคุมอุณหภูมิตลอดเส้นทางการขนส่งที่ 5 องศาเซลเซียส การเน่าเสียจึงเกิดขึ้นน้อยมาก ทั้งนี้กระทรวงเกษตรฯได้ทำหนังสือถึงสหรัฐฯ เพื่อจัดให้ไทยไปดูงานในโรงงานสหรัฐฯ ที่สามารถดำเนินการตามเงื่อนไขดังกล่าว แต่สหรัฐฯ ยังไม่ตอบกลับมา และขอชะลอเงื่อนไขดังกล่าวออกไปก่อน แสดงให้เห็นว่าโรงงาน ทูน่าของสหรัฐฯ ก็ไม่สามารถปฏิบัติได้เช่นกัน แต่หากสหรัฐฯ ประกาศใช้เงื่อนไขดังกล่าวจริง การแก้ไขปัญหาของผู้ประกอบการคือต้องย้ายไปตั้งโรงงานแปรรูปที่สหรัฐฯ เท่านั้น เพราะในไทยไม่สามารถละลายน้ำแข็งที่อุณหภูมิดังกล่าวได้ ปัญหาอุตสาหกรรมส่งออกทูน่ายังมีเรื่องวัตถุดิบที่หายากและราคาแพง ส่วนหนึ่งเป็นเพราะนโยบายการควบคุมการจับทูน่า แต่ปัญหายังไม่รุนแรงถึงขั้นต้องปิดโรงงาน เพราะการนำเข้าวัตถุดิบของไทยมาจากหลายประเทศ ผู้ประกอบการไทยจึงต้องพยายามขยายตลาดนำเข้า เพื่อให้วัตถุดิบเพียงพอ ผู้ประกอบการไทยต้องปรับกลยุทธ์ การผลิตจากการส่งออกทูน่าที่มีความหลากหลายมากขึ้น ซึ่งการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนถือเป็นโอกาสดี เพราะประเทศเพื่อนบ้านมีทรัพยากรมาก แต่ไม่มีความชำนาญในการทำประมง ผู้ประกอบการไทยจึงควรไปลงทุน เพื่อแก้ปัญหาขาดแคลนวัตถุดิบ และยังขยายตลาดส่งออกอีกด้วยระบวนการฮิสตามินได้ด้วยในปัจจุบัน ใช้อุณหภูมิ

นายวิมล จันทรโรทัย อธิบดีกรมประมงกล่าวว่า ปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจยุโรป ส่งผลให้การบริโภคอาหาร

สำเร็จรูปเพิ่มขึ้นและความความต้องการทูน่าสำเร็จรูปเพิ่มขึ้นตลอดเวลา เห็นได้จากการที่ตลาดอาหารสำเร็จรูปขยายตัวขึ้น หลายประเทศสร้างโรงงานผลิตอาหารสำเร็จรูปส่งออกมากขึ้น จึงเกิดการแย่งวัตถุดิบในการผลิต และ ทำให้วัตถุดิบมีราคาแพงขึ้นด้วยเช่นกัน

ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (30 เม.ย. — 6 พ.ค. 2555) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 1,032.68 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 450.79 ตัน สัตว์น้ำจืด 581.89 ตัน ประกอบด้วย สัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่

          1.1  ปลาดุก               ส่งเข้าประมูลจำหน่าย                  2.31      ตัน
          1.2  ปลาช่อน              ส่งเข้าประมูลจำหน่าย                  3.11      ตัน
          1.3  กุ้งทะเล              ส่งเข้าประมูลจำหน่าย                 51.53      ตัน
          1.4  ปลาทู                ส่งเข้าประมูลจำหน่าย                  4.03      ตัน
          1.5  ปลาหมึก              ส่งเข้าประมูลจำหน่าย                 85.68      ตัน

การตลาด

ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ

2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 40.38 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 43.13 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 2.75 บาท

สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา

2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 81.48 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 113.33 บาท

2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา

สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา

2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 117.98 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 118.05 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.07 บาท

สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 115.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน

2.5 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 39.88 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.83 บาท

2.6 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 96.67 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 97.67 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.00 บาท

สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 183.33 บาท

2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.24 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 7.22 บาท สัปดาห์ที่ผ่านมา 0.02 บาท

สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 7 — 13 ก.ค. 2555) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 22.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน

--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 9 - 15 กรกฎาคม 2555--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ