สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สัปดาห์นี้ราคาสุกรที่เกษตรกรขายได้ลดลงเมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากสุกรที่ออกสู่ตลาดมีปริมาณเพิ่มขึ้น โดยรวมปริมาณสุกรเกินความต้องการไม่มากนัก แต่ในภาคใต้มีการขยายการเลี้ยงจนมีปริมาณสุกรเกินความต้องการมาก ราคาจึงต่ำกว่าภาคอื่น โดยเฉพาะผู้เลี้ยงรายเล็กในจังหวัดพัทลุง ส่งผลให้ราคาสุกรในภาคกลางลดลงด้วย เพราะพ่อค้าภาคกลางสามารถซื้อสุกรจากภาคใต้ได้จึงกดราคารับซื้อในภาคกลาง แนวโน้มคาดว่าราคาจะลดลง
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 57.70 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 58.95 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 2.12 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 58.04 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 55.86 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 58.70 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 55.29 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 1,500 บาท (บวกลบ 59 บาท) ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 54.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 56.50 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 3.54 และราคาขายส่งสุกรชำแหละ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 66.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 68.50 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 2.92
ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากปริมาณความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้นซึ่งสอดคล้องกับปริมาณการผลิตไก่เนื้อที่ออกสู่ตลาด แนวโน้มคาดว่าราคาจะทรงตัว
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 42.30 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 42.26 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.09 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 36.52 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 45.24 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 42.10 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 46.15 บาท ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 12.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 35.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 36.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 2.78 และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 49.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สัปดาห์นี้ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ลดลงเมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากมีผลผลิตไข่ไก่ที่ออกสู่ตลาดมาก และผู้บริโภคหันไปบริโภคอาหารและสัตว์น้ำตามธรรมชาติเพิ่มขึ้น แนวโน้มคาดว่าราคาจะทรงตัว
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 248 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 259 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 4.25 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือร้อยฟองละ 254 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 293 บาท ภาคกลางร้อยฟอง 222 บาท และภาคใต้ ร้อยฟองละ 291 บาท ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 6.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 245 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 309 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ภาคเหนือร้อยฟองละ 302 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 320 บาท ภาคกลาง ร้อยฟองละ 301 บาท และภาคใต้ ร้อยฟองละ 313 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 360 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโค (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 57.27 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 57.36 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.16 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 56.20 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 54.66 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 61.24 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 59.52 บาท
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 45.91 บาท บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 46.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.20 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 60.51 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 42.99 บาท ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงานราคา
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 16 - 22 กรกฎาคม 2555--