ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร: ข้าว

ข่าวทั่วไป Wednesday August 8, 2012 14:41 —สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ

1.1 การตลาด

  • โครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปี 2554/55

1) มติ กขช. เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2554 และมติ ครม. เมื่อวันที่ 13 กันยายน 54 รับทราบกรอบ ชนิด ราคา ปริมาณ ระยะเวลา วิธีการ หลักเกณฑ์ และเงื่อนไข การรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2554/55

2) ชนิดและราคารับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2554/55 ให้กำหนดชนิดและราคารับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2554/55 ณ ความชื้นไม่เกิน 15% ดังนี้

                    (1) ข้าวเปลือกหอมมะลิ (42 กรัม)                         ตันละ 20,000 บาท
                    (2) ข้าวเปลือกหอมจังหวัด (40 กรัม)                       ตันละ 18,000 บาท

(ข้าวหอมมะลินอกพื้นที่ 23 จังหวัด)

                    (3) ข้าวเปลือกปทุมธานี (42 กรัม)                         ตันละ 16,000 บาท

(4) ข้าวเปลือกเหนียว :-

                        ข้าวเปลือกเหนียว 10% เมล็ดยาว                       ตันละ 16,000 บาท
                        ข้าวเปลือกเหนียว 10% เมล็ดสั้น                        ตันละ 15,000  บาท

(5) ข้าวเปลือกเจ้า :-

                        ข้าวเปลือกเจ้า 100%                                ตันละ 15,000  บาท
                        ข้าวเปลือกเจ้า 5%                                  ตันละ 14,800  บาท
                        ข้าวเปลือกเจ้า 10%                                 ตันละ 14,600  บาท
                        ข้าวเปลือกเจ้า 15%                                 ตันละ 14,200  บาท
                        ข้าวเปลือกเจ้า 25%                                 ตันละ 13,800  บาท

ทั้งนี้ ราคารับจำนำข้างต้นให้ปรับเพิ่ม-ลดตามจำนวนกรัม ในอัตรากรัมละ 200 บาท

3) เป้าหมายการรับจำนำ ไม่จำกัดปริมาณข้าวเปลือกที่รับจำนำทั้งโครงการ ส่วนปริมาณข้าวเปลือกที่เกษตรกรแต่ละรายจะจำนำได้ไม่จำกัดจำนวนเช่นกัน โดยต้องเป็นข้าวเปลือกที่เกษตรกรเพาะปลูกเองในปีการผลิต 2554/55 และต้องมีหนังสือรับรองเกษตรกรของกรมส่งเสริมการเกษตร ซึ่งผ่านการทำประชาคม และเกษตรกรลงชื่อรับรองตัวเอง พร้อมทั้งเจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมการเกษตร และปลัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายลงชื่อรับรองด้วย

4) ระยะเวลาดำเนินการ

  • ระยะเวลาดำเนินการรับจำนำ 7 ตุลาคม 2554 — 29 กุมภาพันธ์ 2555

(ภาคใต้ 7 ตุลาคม 2554 — 31 กรกฎาคม 2555)

  • ระยะเวลาไถ่ถอน 4 เดือน นับถัดจากเดือนที่รับจำนำ
  • ระยะเวลาโครงการ 7 ตุลาคม 2554 — 30 กันยายน 2555

5) ผลการรับจำนำ

ผลการดำเนินโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปี 2554/55

(ตั้งแต่ วันที่ 7 ตุลาคม 2554 — 31 กรกฎาคม 2555)

รายการ            บจำนำ      จำนวน    จำนวน     --------------ปริมาณการรับจำนำข้าวเปลือก (ตัน) 1/------------
                          ใบประทวน    ยุ้งฉาง         ข้าว     ข้าว        ข้าว       ข้าว      ข้าว        รวม
                                                    เจ้า   ปทุมธานี     หอมมะลิ  หอมจังหวัด     เหนียว   ทุกชนิดข้าว
ภาคเหนือ             210    328,261    2,154   1,465,654    2,790    312,870   269,552   230,436  2,281,301
ภาคะวันออกเฉียงเหนือ   359    753,377   34,520     164,062       84  2,774,830         -   211,621  3,150,597
ภาคกลาง             283    154,816        -   1,266,425   12,368          -    65,872         -  1,344,665
ภาคใต้                73     21,082        -     173,601        -          -         -         -    173,601
รวมทั้งประเทศ         925  1,257,536   36,674   3,069,740   15,242  3,087,700   335,424   442,057  6,950,164

จำนวนเกษตรกรที่รับเงินกับ ธ.ก.ส. 2/

(ข้อมลสะสมตั้งแต่ 7 ตุลาคม 2554 — 20 กรกฎาคม 2555)

รายการ                  ราย              สัญญา          จำนวนตัน             จำนวนเงิน (ล้านบาท)
จำนำยุ้งฉาง              36,673            36,783       176,951.62                  3,470.79
จำนำประทวน          1,105,688         1,152,003     6,802,729.99                115,064.45
รวม                 1,142,361         1,188,786     6,979,681.61                118,535.24

ที่มา: 1/ กรมการค้าภายใน กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์

2/ ธ.ก.ส.

  • โครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปรัง ปี 2555

มติ ครม. เมื่อวันที่ 22 ก.พ. 55 เห็นชอบกรอบ ชนิด ราคา ปริมาณ ระยะเวลา วิธีการ หลักเกณฑ์ และเงื่อนไข การรับจำนำข้าวเปลือกนาปรัง ปีการผลิต 2555 ดังนี้

1) เป้าหมายรับจำนำ ไม่จำกัดปริมาณข้าวเปลือกที่รับจำนำ

2) ชนิดข้าวที่รับจำนำ ได้แก่ ข้าวเปลือกเจ้า ข้าวเปลือกปทุมธานี และข้าวเปลือกเหนียว

3)ราคารับจำนำ ณ ความชื้นไม่เกิน 15% เช่นเดียวกับโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี

ปี 2554/55 ดังนี้

          - ข้าวเปลือกเจ้า 100%                              ตันละ 15,000  บาท
          - ข้าวเปลือกเจ้า 5%                                  ตันละ 14,800  บาท
          - ข้าวเปลือกเจ้า 10%                                ตันละ 14,600  บาท
          - ข้าวเปลือกเจ้า 15%                                ตันละ 14,200  บาท
          - ข้าวเปลือกเจ้า 25%                                ตันละ 13,800  บาท
          - ข้าวเปลือกปทุมธานี 1 (42 กรัม)                ตันละ 16,000 บาท
          - ข้าวเปลือกเหนียว 10% เมล็ดยาว             ตันละ 16,000 บาท
          - ข้าวเปลือกเหนียว 10% เมล็ดสั้น              ตันละ 15,000  บาท

ทั้งนี้ราคารับจำนำข้าวเปลือกปทุมธานี 1 ให้ปรับเพิ่ม-ลดตามจำนวนกรัมในอัตรากรัมละ 200 บาท

4) ปริมาณจำนำของเกษตรกรแต่ละราย จะคำนวณตามพื้นที่เพาะปลูกผลผลิตเฉลี่ยรายจังหวัดและผลผลิตรวมของเกษตรกรตามหนังสือรับรองที่กรมการส่งเสริมการเกษตรออกให้แก่เกษตรกรเป็นข้อมูลประกอบ กรณีผลผลิตของเกษตรกรสูงกว่าปริมาณผลผลิตเฉลี่ย ให้ปรับเพิ่มได้อีกไม่เกิน 20% (ณ ความชื้น 15%) โดยให้เกษตรกรรับรองว่าข้าวเปลือกของเกษตรกรเองและแจ้งให้อนุกรรมการติดตามและกำกับดูแลการรับจำนำระดับจังหวัดสุ่มตรวจสอบอย่างน้อย 20% ของเกษตรกรที่มีผลผลิตเกินกว่าผลผลิตเฉลี่ยที่กำหนด

5) การกำหนดพันธุ์ข้าวที่จะเข้าร่วมโครงการ ให้เป็นไปตามมติคณะอนุกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติด้านการผลิตเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2554 ที่เห็นชอบให้เกษตรกรสามารถนำข้าวทุกพันธุ์เข้าร่วมโครงการฯ ได้ รวมทั้งพันธุ์ข้าวที่ปลูกและให้ข้าวสารคุณภาพต่ำ จำนวน 18 พันธุ์ ซึ่งในโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปี 25554/55 ไม่ได้ให้เข้าร่วมโครงการ

6) ระยะเวลาดำเนินการ

  • ระยะเวลาการขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าว
                กิจกรรม           ภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคตะวันตก                     ภาคใต้

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ

          การปลูก               1 พฤศจิกายน 2554 — 30 เมษายน 2555       1 มีนาคม 2555 — 15 มิถุนายน 2555
          การเก็บเกี่ยว            1 กุมภาพันธ์ 2555 — 31 สิงหาคม 2555       1 มิถุนายน 2555 — 15 ตุลาคม 2555
          การขึ้นทะเบียน           4 มกราคม 2555 — 31 พฤษภาคม 2555      1 เมษายน 2555 — 15 กรกฎาคม 2555
          การประชาคม            20 มกราคม 2555 — 15 มิถุนายน 2555      1 พฤษภาคม 2555 — 31 กรกฎาคม 2555
          การออกใบรับรอง         20 มกราคม 2555 — 30 มิถุนายน 2555      2 พฤษภาคม 2555 — 15 สิงหาคม 2555
  • ระยะเวลารับจำนำ 1 มีนาคม -15 กันยายน 2555 ภาคใต้ 1 กรกฎาคม — 31 ตุลาคม 2555
  • ระยะเวลาไถ่ถอน ภายใน 4 เดือนถัดจากเดือนที่รับจำนำ
  • ระยะเวลาโครงการ มีนาคม 2555 — มกราคม 2556

7)วิธีการรับจำนำ หลักเกณฑ์การรับจำนำ การเข้าร่วมโครงการของโรงสี การสีแปรสภาพ การเก็บรักษาข้าวสาร การระบายข้าวสาร และการกำกับดูแล เป็นไปเช่นเดียวกับโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2554/55

8) ผลการรับจำนำ

ผลการดำเนินโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปรัง ปี 2555

(ตั้งแต่ วันที่ 1 มีนาคม — 31 กรกฎาคม 2555)

รายการ                        จุดรับจำนำ           จำนวน      -----ปริมาณการรับจำนำข้าวเปลือก (ตัน) 1/-------
                        อคส.    อ.ต.ก.  รวม    ใบประทวน     ข้าวเจ้า   ข้าวปทุมธานี   ข้าวเหนียว  รวมทุกชนิดข้าว
ภาคเหนือ                 146       69    215     444,091    4,060,105     5,745    203,588    4,269,438
ภาคะวันออกเฉียงเหนือ       157       39    196     193,420      747,886         1     95,604      843,491
ภาคกลาง                 303       87    390     387,714    4,631,011   118,421          -    4,749,432
ภาคใต้                     9        -      9         369        2,901         -          -        2,901
รวมทั้งประเทศ             615      195    810   1,025,594    9,441,903   124,167    299,192    9,865,262

จำนวนเกษตรกรที่รับเงินกับ ธ.ก.ส. 2/

(ข้อมลสะสมตั้งแต่ 1 มีนาคม — 20 กรกฎาคม 2555)

                 รายการ            ราย       สัญญา        จำนวนตัน        จำนวนเงิน (ล้านบาท)
          จำนำประทวน อคส.        716,742    732,277    7,541,391.67        111,425.32
          จำนำประทวน อ.ต.ก.      198,951    204,995    2,193,981.84         32,402.62
                   รวม           915,693    937,272    9,735,373.51        143,827.94

ที่มา: 1/ กรมการค้าภายใน กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์

2/ ธ.ก.ส.

ภาวการณ์ซื้อขายข้าวในสัปดาห์นี้ ราคาข้าวโดยรวมปรับตัวลดลงเล็กน้อย เนื่องจากคำสั่งซื้อจากต่างประเทศมีไม่มากนัก ประกอบกับผู้ประกอบการรอดูสถานการณ์การระบายข้าวของภาครัฐ การซื้อขายจึงชะลอตัว

การส่งออก ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม — 23 กรกฎาคม 2555 ประเทศไทยส่งออกข้าวทั้งหมด จำนวน 3.781 ล้านตันข้าวสาร ลดลงจาก 7.109 ล้านตันข้าวสาร ของการส่งออกข้าวในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาร้อยละ 46.81 (ที่มา:กรมการค้าภายใน)

1.2 ราคา

1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ

ราคาข้าวเปลือกเจ้าหอมมะลินาปี ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 14,908 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 14,883 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.17

ราคาข้าวเปลือกนาปี 5% ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 9,986 บาท ราคาลดลงจากตันละ 10,315 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 3.19

ราคาข้าวเปลือกเหนียวเมล็ดยาวนาปี ที่เกษตรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 12,617 บาท ราคาลดลงจากตันละ 12,742 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.98

ราคาข้าวเปลือกนาปรังความชื้น 14-15% ที่เกษตรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 9,986 บาท ราคาลดลงจากตันละ 10,315 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 3.19

2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ

ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 16,350 บาท ราคาลดลงจากตันละ 16,390 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.24

3) ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี.

ราคาข้าวหอมมะลิไทย ชั้น 1 (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 1,073 ดอลลาร์สหรัฐฯ (33,620 บาท/ตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา แต่มูลค่าในรูปเงินบาทลดลงตันละ 169 บาท

ราคาข้าวปทุมธานี ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 928 ดอลลาร์สหรัฐฯ (29,077 บาท/ตัน)

ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา แต่มูลค่าในรูปเงินบาทลดลงตันละ 146 บาท

ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 559 ดอลลาร์สหรัฐฯ (17,515 บาท/ตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา แต่มูลค่าในรูปเงินบาทลดลงตันละ 88 บาท

ราคาข้าวสารเจ้า 25% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 545 ดอลลาร์สหรัฐฯ (17,076 บาท/ตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา แต่มูลค่าในรูปเงินบาทลดลงตันละ 86 บาท

ราคาข้าวนึ่ง 5% ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 559 ดอลลาร์สหรัฐฯ (17,515 บาท/ตัน)

ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา แต่มูลค่าในรูปเงินบาทลดลงตันละ 88 บาท

หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 31.3330 บาท

2. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในต่างประเทศ

สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ

1) อินโดนีเซีย

โบกอร์ สถาบันวิทยาศาสตร์การเกษตรของอินโดนีเซียได้พัฒนา "ข้าวเทียม" เป็นผลิตภัณฑ์อาหารใหม่ที่มีลักษณะคล้ายข้าว ซึ่งใช้วัตถุดิบจากข้าวโพด มันสำปะหลัง พืชตระกูลหัวและต้นสาคู มีรสชาติเหมือนข้าว

นักวิทยาศาสตร์กล่าวว่าข้าวเทียมสามารถช่วยลดการบริโภคข้าวต่อคนของอินโดนีเซีย และยังช่วยให้รัฐบาลลดภาวะการเผชิญโรคต่างๆที่เกิดจากการขาดสารอาหารของประชาชน ประกอบกับข้าวเทียมเป็นอาหารกึ่งสำเร็จรูปที่ใช้เวลาและเชื้อเพลิงในการปรุงอาหารน้อยกว่าข้าวธรรมชาติ

ขณะนี้รัฐบาลอินโดนีเซียพยายามที่จะลดการบริโภคข้าวต่อหัวของประชากร โดยรณรงค์ให้ประชาชนหันไปบริโภคอาหารอื่นทดแทนและรณรงค์ "วันงดกินข้าวแห่งชาติ" แต่ชาวอินโดนีเซียมีการต่อต้านการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว

ที่มา : Oryza.com

2) ไนจีเรีย

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ของไนจีเรีย กล่าวว่า รัฐบาลมีแผนจะเพิ่มอัตราภาษีนำเข้าข้าว 100% ในปี 2558 ซึ่งรัฐบาลตั้งเป้าหมายผลิตข้าวให้เพียงพอต่อความต้องการภายในปี 2558

ไนจีเรียเป็นผู้นำเข้าข้าวรายใหญ่สุดในแอฟริกา มีการนำเข้ามากกว่า 2 ล้านตันต่อปี รัฐบาลไนจีเรีย ได้ส่งเสริมการผลิตข้าวในประเทศเพื่อลดต้นทุนการนำเข้า และเป็นการสร้างการจ้างงานสำหรับเด็กและเยาวชนของประเทศ ปีที่ผ่านมารัฐบาลไนจีเรียกำหนดภาษีนำเข้าข้าวประมาณ 9% โดยการเพิ่มอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงจากฐานภาษีนำเข้าเกือบร้อยละ 50

รัฐบาลจะส่งเสริมให้บริษัทเอกชนขายเมล็ดพันธุ์และปุ๋ยให้แก่เกษตรกรโดยตรง เพื่อลดการคอรัปชั่นจากช่องทางการจำหน่ายของรัฐบาล รวมทั้งจะมีการปรับปรุงฐานข้อมูลเกษตรกรเพื่อกำหนดเป้าหมายในการจัดสวัสดิการต่างๆ ได้อย่างถูกต้อง โดยจะรับขึ้นทะเบียนเกษตรกรปีละ 5 ล้านคน เพื่อให้มีฐานข้อมูลเกษตรกร 20 ล้านคน ภายในปี 2558

ที่มา : Oryza.com

--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 30 - 5 กรกฎาคม 2555--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ