1.1 การตลาด
- โครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปี 2554/55
1) มติ กขช. เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2554 และมติ ครม. เมื่อวันที่ 13 กันยายน 54 รับทราบกรอบ ชนิด ราคา ปริมาณ ระยะเวลา วิธีการ หลักเกณฑ์ และเงื่อนไข การรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2554/55
2) ชนิดและราคารับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2554/55 ให้กำหนดชนิดและราคารับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2554/55 ณ ความชื้นไม่เกิน 15% ดังนี้
(1) ข้าวเปลือกหอมมะลิ (42 กรัม) ตันละ 20,000 บาท (2) ข้าวเปลือกหอมจังหวัด (40 กรัม) ตันละ 18,000 บาท
(ข้าวหอมมะลินอกพื้นที่ 23 จังหวัด)
(3) ข้าวเปลือกปทุมธานี (42 กรัม) ตันละ 16,000 บาท
(4) ข้าวเปลือกเหนียว :-
ข้าวเปลือกเหนียว 10% เมล็ดยาว ตันละ 16,000 บาท ข้าวเปลือกเหนียว 10% เมล็ดสั้น ตันละ 15,000 บาท
(5) ข้าวเปลือกเจ้า :-
ข้าวเปลือกเจ้า 100% ตันละ 15,000 บาท ข้าวเปลือกเจ้า 5% ตันละ 14,800 บาท ข้าวเปลือกเจ้า 10% ตันละ 14,600 บาท ข้าวเปลือกเจ้า 15% ตันละ 14,200 บาท ข้าวเปลือกเจ้า 25% ตันละ 13,800 บาท
ทั้งนี้ ราคารับจำนำข้างต้นให้ปรับเพิ่ม-ลดตามจำนวนกรัม ในอัตรากรัมละ 200 บาท
3) เป้าหมายการรับจำนำ ไม่จำกัดปริมาณข้าวเปลือกที่รับจำนำทั้งโครงการ ส่วนปริมาณข้าวเปลือกที่เกษตรกรแต่ละรายจะจำนำได้ไม่จำกัดจำนวนเช่นกัน โดยต้องเป็นข้าวเปลือกที่เกษตรกรเพาะปลูกเองในปีการผลิต 2554/55 และต้องมีหนังสือรับรองเกษตรกรของกรมส่งเสริมการเกษตร ซึ่งผ่านการทำประชาคม และเกษตรกรลงชื่อรับรองตัวเอง พร้อมทั้งเจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมการเกษตร และปลัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายลงชื่อรับรองด้วย
4) ระยะเวลาดำเนินการ
- ระยะเวลาดำเนินการรับจำนำ 7 ตุลาคม 2554 — 29 กุมภาพันธ์ 2555
(ภาคใต้ 7 ตุลาคม 2554 — 31 กรกฎาคม 2555)
- ระยะเวลาไถ่ถอน 4 เดือน นับถัดจากเดือนที่รับจำนำ
- ระยะเวลาโครงการ 7 ตุลาคม 2554 — 30 กันยายน 2555
5) ผลการรับจำนำ
ผลการดำเนินโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปี 2554/55 (ตั้งแต่ วันที่ 7 ตุลาคม 2554 — 5 สิงหาคม 2555) รายการ จุดรับจำนำ จำนวน จำนวน ปริมาณการรับจำนำข้าวเปลือก (ตัน) 1/ ใบประทวน ยุ้งฉาง ข้าว ข้าว ข้าว ข้าว ข้าว รวม เจ้า ปทุมธานี หอมมะลิ หอมจังหวัด เหนียว ทุกชนิดข้าว ภาคเหนือ 210 328,261 2,154 1,465,654 2,790 312,870 269,552 230,436 2,281,301 ภาคะวันออกเฉียงเหนือ 359 753,377 34,520 164,062 84 2,774,830 - 211,621 3,150,597 ภาคกลาง 283 154,816 - 1,266,425 12,368 - 65,872 - 1,344,665 ภาคใต้ 73 21,082 - 173,593 - - - - 173,593 รวมทั้งประเทศ 925 1,257,536 36,674 3,069,740 15,242 3,087,700 335,424 442,057 6,950,156
จำนวนเกษตรกรที่รับเงินกับ ธ.ก.ส. 2/ (ข้อมลสะสมตั้งแต่ 7 ตุลาคม 2554 — 17 สิงหาคม 2555) รายการ ราย สัญญา จำนวนตัน จำนวนเงิน (ล้านบาท) จำนำยุ้งฉาง 36,673 36,783 176,944.28 3,470.64 จำนำประทวน 1,105,825 1,152,150 6,771,210.82 115,091.12 รวม 1,142,498 1,188,933 6,948,155.10 118,561.76 ที่มา: 1/ กรมการค้าภายใน กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ 2/ ธ.ก.ส. - โครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปรัง ปี 2555 มติ ครม. เมื่อวันที่ 22 ก.พ. 55 เห็นชอบกรอบ ชนิด ราคา ปริมาณ ระยะเวลา วิธีการ หลักเกณฑ์ และเงื่อนไข การรับจำนำข้าวเปลือกนาปรัง ปีการผลิต 2555 ดังนี้ 1) เป้าหมายรับจำนำ ไม่จำกัดปริมาณข้าวเปลือกที่รับจำนำ 2) ชนิดข้าวที่รับจำนำ ได้แก่ ข้าวเปลือกเจ้า ข้าวเปลือกปทุมธานี และข้าวเปลือกเหนียว 3)ราคารับจำนำ ณ ความชื้นไม่เกิน 15% เช่นเดียวกับโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปี 2554/55 ดังนี้ - ข้าวเปลือกเจ้า 100% ตันละ 15,000 บาท - ข้าวเปลือกเจ้า 5% ตันละ 14,800 บาท - ข้าวเปลือกเจ้า 10% ตันละ 14,600 บาท - ข้าวเปลือกเจ้า 15% ตันละ 14,200 บาท - ข้าวเปลือกเจ้า 25% ตันละ 13,800 บาท - ข้าวเปลือกปทุมธานี 1 (42 กรัม) ตันละ 16,000 บาท - ข้าวเปลือกเหนียว 10% เมล็ดยาว ตันละ 16,000 บาท - ข้าวเปลือกเหนียว 10% เมล็ดสั้น ตันละ 15,000 บาท ทั้งนี้ราคารับจำนำข้าวเปลือกปทุมธานี 1 ให้ปรับเพิ่ม-ลดตามจำนวนกรัมในอัตรากรัมละ 200 บาท 4) ปริมาณจำนำของเกษตรกรแต่ละราย จะคำนวณตามพื้นที่เพาะปลูกผลผลิตเฉลี่ยรายจังหวัดและผลผลิตรวมของเกษตรกรตามหนังสือรับรองที่กรมการส่งเสริมการเกษตรออกให้แก่เกษตรกรเป็นข้อมูลประกอบ กรณีผลผลิตของเกษตรกรสูงกว่าปริมาณผลผลิตเฉลี่ย ให้ปรับเพิ่มได้อีกไม่เกิน 20% (ณ ความชื้น 15%) โดยให้เกษตรกรรับรองว่าข้าวเปลือกของเกษตรกรเองและแจ้งให้อนุกรรมการติดตามและกำกับดูแลการรับจำนำระดับจังหวัดสุ่มตรวจสอบอย่างน้อย 20% ของเกษตรกรที่มีผลผลิตเกินกว่าผลผลิตเฉลี่ยที่กำหนด 5) การกำหนดพันธุ์ข้าวที่จะเข้าร่วมโครงการ ให้เป็นไปตามมติคณะอนุกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติด้านการผลิตเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2554 ที่เห็นชอบให้เกษตรกรสามารถนำข้าวทุกพันธุ์เข้าร่วมโครงการฯ ได้ รวมทั้งพันธุ์ข้าวที่ปลูกและให้ข้าวสารคุณภาพต่ำ จำนวน 18 พันธุ์ ซึ่งในโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปี 25554/55 ไม่ได้ให้เข้าร่วมโครงการ 6) ระยะเวลาดำเนินการ - ระยะเวลาการขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าว กิจกรรม ภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคตะวันตก ภาคใต้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ การปลูก 1 พฤศจิกายน 2554 — 30 เมษายน 2555 1 มีนาคม 2555 — 15 มิถุนายน 2555 การเก็บเกี่ยว 1 กุมภาพันธ์ 2555 — 31 สิงหาคม 2555 1 มิถุนายน 2555 — 15 ตุลาคม 2555 การขึ้นทะเบียน 4 มกราคม 2555 — 31 พฤษภาคม 2555 1 เมษายน 2555 — 15 กรกฎาคม 2555 การประชาคม 20 มกราคม 2555 — 15 มิถุนายน 2555 1 พฤษภาคม 2555 — 31 กรกฎาคม 2555 การออกใบรับรอง 20 มกราคม 2555 — 30 มิถุนายน 2555 2 พฤษภาคม 2555 — 15 สิงหาคม 2555 - ระยะเวลารับจำนำ 1 มีนาคม -15 กันยายน 2555 ภาคใต้ 1 กรกฎาคม — 31 ตุลาคม 2555 - ระยะเวลาไถ่ถอน ภายใน 4 เดือนถัดจากเดือนที่รับจำนำ - ระยะเวลาโครงการ มีนาคม 2555 — มกราคม 2556 7) วิธีการรับจำนำ หลักเกณฑ์การรับจำนำ การเข้าร่วมโครงการของโรงสี การสีแปรสภาพ การเก็บรักษาข้าวสาร การระบายข้าวสาร และการกำกับดูแล เป็นไปเช่นเดียวกับโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2554/55 8) ผลการรับจำนำ ผลการดำเนินโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปรัง ปี 2555 (ตั้งแต่ วันที่ 1 มีนาคม — 23 สิงหาคม 2555) รายการ จุดรับจำนำ จำนวน ปริมาณการรับจำนำข้าวเปลือก (ตัน) 1/ อคส. อ.ต.ก. รวม ใบประทวน ข้าว ข้าว ข้าว รวม เจ้า ปทุมธานี เหนียว ทุกชนิดข้าว ภาคเหนือ 148 69 217 488,930 4,617,543 5,926 205,467 4,828,936 ภาคะวันออกเฉียงเหนือ 157 39 196 198,210 769,043 1 96,710 865,754 ภาคกลาง 307 87 394 420,448 5,095,762 121,781 - 5,217,543 ภาคใต้ 28 - 28 2,814 21,275 - - 21,275 รวมทั้งประเทศ 640 195 835 1,110,402 10,503,623 127,708 302,177 10,933,508
จำนวนเกษตรกรที่รับเงินกับ ธ.ก.ส. 2/ (ข้อมลสะสมตั้งแต่ 1 มีนาคม — 17 สิงหาคม 2555) รายการ ราย สัญญา จำนวนตัน จำนวนเงิน (ล้านบาท) จำนำประทวน อคส. 739,963 758,634 7,732,147.92 114,631.17 จำนำประทวน อ.ต.ก. 205,318 212,650 2,268,713.82 33,615.65 รวม 945,281 971,284 10,000,861.74 148,246.82 ที่มา: 1/ กรมการค้าภายใน กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ 2/ ธ.ก.ส.
ภาวการณ์ซื้อขายข้าวในสัปดาห์นี้ ราคาข้าวโดยรวมทรงตัวต่อเนื่องจากสัปดาห์ก่อน เนื่องจากมีคำสั่งซื้อจากต่างประเทศ แต่ปริมาณไม่มากนัก
การส่งออก ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม — 17 สิงหาคม 2555 ประเทศไทยส่งออกข้าวทั้งหมด จำนวน 4.217 ล้านตันข้าวสาร ลดลงจาก 7.800 ล้านตันข้าวสาร ของการส่งออกข้าวในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาร้อยละ 45.93
(ที่มา : กรมการค้าภายใน)
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ราคาข้าวเปลือกเจ้าหอมมะลินาปี ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 15,382 บาท ราคาลดลงจากตันละ 15,392 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.06
ราคาข้าวเปลือกความชื้น 14-15% ที่เกษตรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 9,943 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 9,923 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.20
ราคาข้าวเปลือกเหนียวเมล็ดยาวนาปี ที่เกษตรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 12,874 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 12,829 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.35
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 17,350 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 16,450 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 5.47
3) ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี.
ราคาข้าวหอมมะลิไทย ชั้น 1 (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 1,104 ดอลลาร์สหรัฐฯ (34,445 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 1,100 ดอลลาร์สหรัฐฯ (34,377 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.36 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 73 บาท
ราคาข้าวปทุมธานี ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 951 ดอลลาร์สหรัฐฯ (29,672 บาท/ตัน)
ราคาสูงขึ้นจากตันละ 948 ดอลลาร์สหรัฐฯ (29,627 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.32 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 45 บาท
ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 566 ดอลลาร์สหรัฐฯ (17,660 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 564 ดอลลาร์สหรัฐฯ (17,626 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.35 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 34 บาท
ราคาข้าวสารเจ้า 25% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 552 ดอลลาร์สหรัฐฯ (17,223 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 550 ดอลลาร์สหรัฐฯ (17,189 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.36 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 34 บาท
ราคาข้าวนึ่ง 5% ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 617 ดอลลาร์สหรัฐฯ (19,251 บาท/ตัน)
ราคาสูงขึ้นจากตันละ 609 ดอลลาร์สหรัฐฯ (19,033 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.31 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 218 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 31.2006 บาท
2. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในต่างประเทศ
สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
เวียดนาม
สมาคมอาหารของเวียดนาม (The VietNam Food Association; VFA) รายงานว่า การส่งออกข้าวช่วง วันที่ 1 - 15 ส.ค. 2555 มีจำนวน 348,140 ตัน มูลค่า 146.427 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (FOB) และนับตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. - 15 ส.ค. 2555 มีจำนวนรวม 4.523 ล้านตัน มูลค่า 2.014 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยปริมาณลดลง 7.3 % และมูลค่าลดลง 12.8 % เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2554 ที่ส่งออกได้ 4.878 ล้านตัน มูลค่า 2.309 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ (FOB) นับจนถึงสิ้นเดือน ก.ค. ผู้ส่งออกทำสัญญาขายข้าวไปแล้วรวม 6 ล้านตัน เพิ่มขึ้นประมาณ 20 % จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา
ทางด้านสถานการณ์ราคาข้าวส่งออกของเวียดนามปรับตัวสูงขึ้นจากการคาดการณ์ว่าจะมีความต้องการข้าวจากอินโดนีเซียเข้ามา ผู้ค้าข้าวและผู้ส่งออกจึงได้ซื้อข้าวเก็บสต็อกเพื่อเตรียมไว้ ขณะที่การเก็บเกี่ยวข้าวในฤดูนี้ใกล้เสร็จสิ้นแล้ว โดยข้าวขาว 5 % ราคาอยู่ที่ระดับ 425 - 435 เหรียญสหรัฐต่อตัน FOB (Saigon Port) ปรับขึ้นจาก 425 - 430 เหรียญสหรัฐต่อตันเมื่อสัปดาห์ก่อน ขณะที่ข้าวขาว 25% ราคาอยู่ที่ระดับ 405 เหรียญสหรัฐต่อตัน FOB เพิ่มขึ้นจากระดับ 395 - 405 เหรียญสหรัฐต่อตัน FOB เมื่อสัปดาห์ก่อน
ที่มา Riceonline.com
อินโดนีเซีย
ทางการอินโดนีเซีย เปิดเผยว่า อินโดนีเซียได้เตรียมหาทางแก้ปัญหาในกรณีที่เกิดภาวะราคาพืชอาหารปรับตัวสูงขึ้น หลังจากที่มีข่าวเกี่ยวกับภาวะภัยแล้งในสหรัฐ ซึ่งอาจจะผลักดันให้ราคาธัญพืชปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งหากอินโดนีเซียมีความต้องการที่จะนำเข้าข้าว ก็จะนำเข้าจากเวียดนาม ประมาณ 500,000 ตันในช่วงเดือน ก.ย. เป็นต้นไป
ที่มา Riceonline.com, สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
อินเดีย
สำนักงานอุตุนิยมวิทยาอินเดีย (The India Meteorological Department; IMD) รายงานว่า เมื่อสัปดาห์ ที่ผ่านมาปริมาณน้ำฝนที่ตกในช่วงฤดูมรสุมปีนี้ (ซึ่งอยู่ระหว่างเดือนมิถุนายนถึงเดือนกันยายน) มีปริมาณน้อยกว่าระดับปกติประมาณ 15 % ซึ่งดีขึ้นจากสัปดาห์ก่อนที่มีปริมาณน้อยกว่าระดับปกติ 17 %
ขณะที่ความคืบหน้าของการเพาะปลูกข้าวเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา มีพื้นที่เพาะปลูกแล้ว 192 ล้านไร่ เพิ่มขึ้น 6 % จากระดับปกติเมื่อปีที่ผ่านมาที่มีพื้นที่เพาะปลูก 182 ล้านไร่ และเพิ่มขึ้นถึง 16 % จากสัปดาห์ที่ผ่านมา
ทางการอินเดียได้อนุมัติแผนการสร้างคลังเก็บสต็อกธัญพืชเพื่อให้สามารถเก็บสต็อกธัญพืชได้อีก 18 ล้านตัน ซึ่งจะกระจายอยู่ในรัฐต่างๆ 19 รัฐทั่วประเทศ โดยจะเป็นทั้งของภาครัฐและเอกชน
ที่มา Riceonline.com
ฟิลิปปินส์
รัฐมนตรีกระทรวงเกษตรของฟิลิปปินส์ (นายโพรเซโซ อัลคาลา) เปิดเผยว่า ฟิลิปปินส์ไม่มีความจำเป็นใดๆ ที่จะต้องเพิ่มปริมาณการนำเข้าข้าวในปีนี้ แม้ปริมาณฝนจากมรสุมจะทำให้เกิดน้ำท่วมพื้นที่เพาะปลูกและสร้างความเสียหายแก่ผลผลิตข้าวไปแล้ว 20,000 ตัน เนื่องจากมีปริมาณข้าวเพียงพอ โดยระบุว่าในช่วงครึ่งปีแรก สามารถเก็บเกี่ยวข้าวเปลือกได้ถึง 7.89 ล้านตัน สูงกว่าปริมาณ 7.58 ล้านตันของปีที่แล้วอยู่ถึง 4.2% และคาดว่าผลผลิตข้าวเปลือก ในปีนี้จะเพิ่มเป็น 17.8 ล้านตัน มากกว่าปีที่แล้ว 6.7%
ที่มา Riceonline.com
อิรัก
คณะกรรมการธัญพืชอิรัก (The Iraqi Grain Board) ประกาศผลการประมูลซื้อข้าวขาวที่ไม่ใช่บาสมาติจำนวนอย่างน้อย 30,000 ตัน เมื่อวันที่ 12 ส.ค. ที่ผ่านมา โดยอิรักได้ตกลงซื้อจำนวน 100,000 ตัน ประกอบด้วยข้าวจากประเทศไทย 70,000 ตัน ราคาประมาณ 612 เหรียญสหรัฐต่อตัน c&f และข้าวจากประเทศอุรุกวัย 30,000 ตัน ราคาประมาณ 682 เหรียญสหรัฐต่อตัน c&f ทั้งนี้ เมื่อรวมการประมูลในครั้งนี้ ปรากฎว่าในปีนี้อิรักซื้อข้าวจากไทยรวม 650,000 ตัน แล้ว
ที่มา The Iraqi Grain Board
สหรัฐอเมริกา
กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ (The U.S. Department of Agriculture; USDA) รายงานสถานการณ์การค้าข้าวของโลกในรายงาน “RICE: WORLD MARKETS AND TRADE” ประจำเดือนสิงหาคม 2555 โดยได้ประมาณการว่า ผลผลิตข้าวของโลกปี 2555/56 ในเบื้องต้นว่าจะมีจำนวน 463.21 ล้านตันข้าวสาร ลดลงจาก 465.04 ล้านตันข้าวสาร ของปี 2554/55 เพราะคาดว่าผลผลิตข้าวของอินเดียจะมีเพียง 98 ล้านตันข้าวสาร ลดลงจากปี 2554/55 ที่คาดว่าจะมีผลผลิต 104.3 ล้านตัน ส่วนที่ประเทศจีนนั้น ในปี 2555/56 คาดว่าจะเพิ่มเป็น 142.0 ล้านตันข้าวสาร ในขณะเดียวกันก็คาดว่าประเทศบังคลาเทศ ปากีสถาน บราซิล สหรัฐฯ อียิปต์ อินโดนีเซีย พม่า กัมพูชา เวียดนาม ฟิลิปปินส์ และไทย จะมีผลผลิตจะเพิ่มขึ้นเช่นกัน ซึ่งในส่วนของประเทศไทยนั้น ในปี 2555/56 คาดว่าจะมีผลผลิต 21.05 ล้านตันข้าวสาร ส่วนประเทศที่คาดว่าผลผลิตจะลดลงคือ ประเทศญี่ปุ่น
ทางด้านการบริโภคข้าวนั้น คาดว่าในปี 2555/56 จะมีการบริโภคข้าวประมาณ 466.4 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจากปี 2554/55 ที่มีจำนวน 458.62 ล้านตันข้าวสาร ในขณะที่สต็อกข้าวคงเหลือปลายปีคาดว่าจะลดลงจาก 105.0 ล้านตันข้าวสาร ในปี 2554/55 เป็น 101.8 ล้านตันข้าวสาร ในปี 2555/56 โดยในส่วนของประเทศไทยนั้นคาดว่าสต็อกจะเพิ่มขึ้นเป็น 12.13 ล้านตันข้าวสาร จากประมาณการในปี 2554/55 ที่คาดว่าจะมีจำนวน 9.38 ล้านตัน
กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ คาดการณ์ว่าการค้าข้าวของโลก (ส่งออก-นำเข้า) ในปี 2556 จะมีปริมาณ 35.5 ล้านตันข้าวสาร ลดลงจากจำนวน 35.6 ล้านตันข้าวสาร ในปี 2555 โดยคาดว่าอินโดนีเซียจะนำเข้าลดลงเหลือ 1.45 ล้านตัน จากที่ในปี 2555 คาดว่ามีการนำเข้า 1.25 ล้านตัน ขณะที่ประเทศฟิลิปปินส์คาดว่าจะนำเข้า 1.5 ล้านตัน เท่ากับ ปี 2555 ที่คาดว่านำเข้าประมาณ 1.5 ล้านตัน ส่วนไนจีเรียคาดว่าจะนำเข้าจำนวน 2.25 ล้านตัน ลดลงจากปีก่อนหน้าที่คาดว่านำเข้า 2.45 ล้านตัน ซาอุดิอาระเบียคาดว่ามีการนำเข้าจำนวน 1.18 ล้านตัน อิหร่านคาดว่ามีการนำเข้าจำนวน 1.95 ล้านตัน อิรักคาดว่ามีการนำเข้าจำนวน 1.2 ล้านตัน และมาเลเซียคาดว่ามีการนำเข้าจำนวน 1.05 ล้านตัน
สำหรับประเทศผู้ส่งออกนั้น คาดว่าในปี 2556 ประเทศไทยจะส่งออก 8 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปี 2555 ที่คาดว่าจะส่งออกเพียง 6.5 ล้านตัน ในขณะที่คาดว่าเวียดนามจะส่งออก 7 ล้านตัน เท่ากับปี 2555 ที่คาดว่ามีการส่งออก 7 ล้านตัน ส่วนอินเดียคาดว่าในปี 2556 จะส่งออกได้ 6.5 ล้านตัน ลดลงจากปี 2555 ที่คาดว่าจะส่งออกถึง 8 ล้านตัน ขณะที่คาดว่าปากีสถานจะส่งออก 4 ล้านตัน สหรัฐอเมริกาคาดว่าจะส่งออก 3.1 ล้านตัน ในขณะเดียวกันก็คาดว่าประเทศกัมพูชาจะส่งออก 0.95 ล้านตัน พม่าคาดว่าจะส่งออก 0.75 ล้านตัน อุรุกวัยคาดว่าจะส่งออก 0.85 ล้านตัน และบราซิลคาดว่าจะส่งออก 0.6 ล้านตัน
ที่มา USDA
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 20 - 26 สิงหาคม 2555--