ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร: ข้าว

ข่าวทั่วไป Friday September 28, 2012 15:45 —สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ

1.1 การตลาด

  • โครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปี 2554/55

1) มติ กขช. เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2554 และมติ ครม. เมื่อวันที่ 13 กันยายน 54 รับทราบกรอบ ชนิด ราคา ปริมาณ ระยะเวลา วิธีการ หลักเกณฑ์ และเงื่อนไข การรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2554/55

2) ชนิดและราคารับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2554/55 ให้กำหนดชนิดและราคารับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2554/55 ณ ความชื้นไม่เกิน 15% ดังนี้

          (1) ข้าวเปลือกหอมมะลิ (42 กรัม)                         ตันละ 20,000 บาท
          (2) ข้าวเปลือกหอมจังหวัด (40 กรัม)                       ตันละ 18,000 บาท

(ข้าวหอมมะลินอกพื้นที่ 23 จังหวัด)

          (3)  ข้าวเปลือกปทุมธานี (42 กรัม)                        ตันละ 16,000 บาท

(4) ข้าวเปลือกเหนียว :-

          ข้าวเปลือกเหนียว 10% เมล็ดยาว                           ตันละ 16,000 บาท
          ข้าวเปลือกเหนียว 10% เมล็ดสั้น                            ตันละ 15,000  บาท

(5) ข้าวเปลือกเจ้า :-

          ข้าวเปลือกเจ้า 100%                                    ตันละ 15,000  บาท
          ข้าวเปลือกเจ้า 5%                                      ตันละ 14,800  บาท
          ข้าวเปลือกเจ้า 10%                                     ตันละ 14,600  บาท
          ข้าวเปลือกเจ้า 15%                                     ตันละ 14,200  บาท
          ข้าวเปลือกเจ้า 25%                                     ตันละ 13,800  บาท

ทั้งนี้ ราคารับจำนำข้างต้นให้ปรับเพิ่ม-ลดตามจำนวนกรัม ในอัตรากรัมละ 200 บาท

3) เป้าหมายการรับจำนำ ไม่จำกัดปริมาณข้าวเปลือกที่รับจำนำทั้งโครงการ ส่วนปริมาณข้าวเปลือกที่เกษตรกรแต่ละรายจะจำนำได้ไม่ จำกัดจำนวนเช่นกัน โดยต้องเป็นข้าวเปลือกที่เกษตรกรเพาะปลูกเองในปีการผลิต 2554/55 และต้องมีหนังสือรับรองเกษตรกรของกรมส่งเสริมการ เกษตร ซึ่งผ่านการทำประชาคม และเกษตรกรลงชื่อรับรองตัวเอง พร้อมทั้งเจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมการเกษตร และปลัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายลงชื่อรับรองด้วย

4) ระยะเวลาดำเนินการ

  • ระยะเวลาดำเนินการรับจำนำ 7 ตุลาคม 2554 — 29 กุมภาพันธ์ 2555

(ภาคใต้ 7 ตุลาคม 2554 — 31 กรกฎาคม 2555)

  • ระยะเวลาไถ่ถอน 4 เดือน นับถัดจากเดือนที่รับจำนำ
  • ระยะเวลาโครงการ 7 ตุลาคม 2554 — 30 กันยายน 2555

5) ผลการรับจำนำ

                                   ผลการดำเนินโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปี 2554/55
                                      (ตั้งแต่ วันที่ 7 ตุลาคม 2554 — 5 สิงหาคม 2555)
  รายการ          จุดรับจำนำ     จำนวน       จำนวน       -------    ปริมาณการรับจำนำข้าวเปลือก (ตัน)1/  --------------------
                              ใบประทวน     ยุ้งฉาง       ข้าว        ข้าว        ข้าว        ข้าว          ข้าว        รวม
                                                       เจ้า       ปทุมธานี     หอมมะลิ    หอมจังหวัด      เหนียว    ทุกชนิดข้าว
ภาคเหนือ               210      328,261      2,154   1,465,654     2,790     312,870    269,552     230,436   2,281,301
ภาคะวันออกเฉียงเหนือ     359      753,377     34,520     164,062        84   2,774,830          -     211,621   3,150,597
ภาคกลาง               283      154,816          -   1,266,425    12,368           -     65,872           -   1,344,665
ภาคใต้                  73       21,082          -     173,593         -           -          -           -     173,593
รวมทั้งประเทศ           925    1,257,536     36,674   3,069,734    15,242   3,087,700    335,424     442,057   6,950,156
                                   จำนวนเกษตรกรที่รับเงินกับ ธ.ก.ส. 2/
                            (ข้อมูลสะสมตั้งแต่ 7 ตุลาคม 2554 — 7 กันยายน 2555)
    รายการ               ราย             สัญญา              จำนวนตัน           จำนวนเงิน (ล้านบาท)
 จำนำยุ้งฉาง             36,672           36,782           176,940.28               3,470.56
 จำนำประทวน         1,105,912        1,152,316         6,772,167.04             115,105.27
     รวม            1,142,584        1,189,098         6,949,107.32             118,575.83

ที่มา: 1/ กรมการค้าภายใน กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์

2/ ธ.ก.ส.

  • โครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปรัง ปี 2555

มติ ครม. เมื่อวันที่ 22 ก.พ. 55 เห็นชอบกรอบ ชนิด ราคา ปริมาณ ระยะเวลา วิธีการ หลักเกณฑ์ และเงื่อนไข การรับจำนำ ข้าวเปลือกนาปรัง ปีการผลิต 2555 ดังนี้

1) เป้าหมายรับจำนำ ไม่จำกัดปริมาณข้าวเปลือกที่รับจำนำ

2) ชนิดข้าวที่รับจำนำ ได้แก่ ข้าวเปลือกเจ้า ข้าวเปลือกปทุมธานี และข้าวเปลือกเหนียว

3)ราคารับจำนำ ณ ความชื้นไม่เกิน 15% เช่นเดียวกับโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี

ปี 2554/55 ดังนี้

          - ข้าวเปลือกเจ้า 100%                               ตันละ 15,000  บาท
          - ข้าวเปลือกเจ้า 5%                                 ตันละ 14,800  บาท
          - ข้าวเปลือกเจ้า 10%                                ตันละ 14,600  บาท
          - ข้าวเปลือกเจ้า 15%                                ตันละ 14,200  บาท
          - ข้าวเปลือกเจ้า 25%                                ตันละ 13,800  บาท
          - ข้าวเปลือกปทุมธานี 1 (42 กรัม)                      ตันละ 16,000 บาท
          - ข้าวเปลือกเหนียว 10% เมล็ดยาว                      ตันละ 16,000 บาท
          - ข้าวเปลือกเหนียว 10% เมล็ดสั้น                       ตันละ 15,000  บาท

ทั้งนี้ราคารับจำนำข้าวเปลือกปทุมธานี 1 ให้ปรับเพิ่ม-ลดตามจำนวนกรัมในอัตรากรัมละ 200 บาท

4) ปริมาณจำนำของเกษตรกรแต่ละราย จะคำนวณตามพื้นที่เพาะปลูกผลผลิตเฉลี่ยรายจังหวัดและผลผลิตรวมของเกษตรกรตามหนังสือ รับรองที่กรมการส่งเสริมการเกษตรออกให้แก่เกษตรกรเป็นข้อมูลประกอบ กรณีผลผลิตของเกษตรกรสูงกว่าปริมาณผลผลิตเฉลี่ย ให้ปรับเพิ่มได้อีกไม่ เกิน 20% (ณ ความชื้น 15%) โดยให้เกษตรกรรับรองว่าข้าวเปลือกของเกษตรกรเองและแจ้งให้อนุกรรมการติดตามและกำกับดูแลการรับจำนำระดับ จังหวัดสุ่มตรวจสอบอย่างน้อย 20% ของเกษตรกรที่มีผลผลิตเกินกว่าผลผลิตเฉลี่ยที่กำหนด

5) การกำหนดพันธุ์ข้าวที่จะเข้าร่วมโครงการ ให้เป็นไปตามมติคณะอนุกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติด้านการผลิตเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2554 ที่เห็นชอบให้เกษตรกรสามารถนำข้าวทุกพันธุ์เข้าร่วมโครงการฯ ได้ รวมทั้งพันธุ์ข้าวที่ปลูกและให้ข้าวสารคุณภาพต่ำ จำนวน 18 พันธุ์ ซึ่งในโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปี 25554/55 ไม่ได้ให้เข้าร่วมโครงการ

6) ระยะเวลาดำเนินการ

  • ระยะเวลาการขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าว

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

                 กิจกรรม           ภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคตะวันตก                    ภาคใต้

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ

           การปลูก                1 พฤศจิกายน 2554 — 30 เมษายน 2555     1 มีนาคม 2555 — 15 มิถุนายน 2555
           การเก็บเกี่ยว            1 กุมภาพันธ์ 2555 — 31 สิงหาคม 2555      1 มิถุนายน 2555 — 15 ตุลาคม 2555
           การขึ้นทะเบียน           4 มกราคม 2555 — 31 พฤษภาคม 2555      1 เมษายน 2555 — 15 กรกฎาคม 2555
           การประชาคม            20 มกราคม 2555 — 15 มิถุนายน 2555      1 พฤษภาคม 2555 — 31 กรกฎาคม 2555
           การออกใบรับรอง         20 มกราคม 2555 — 30 มิถุนายน 2555      2 พฤษภาคม 2555 — 15 สิงหาคม 2555

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

  • ระยะเวลารับจำนำ 1 มีนาคม -15 กันยายน 2555 ภาคใต้ 1 กรกฎาคม — 31 ตุลาคม 2555
  • ระยะเวลาไถ่ถอน ภายใน 4 เดือนถัดจากเดือนที่รับจำนำ
  • ระยะเวลาโครงการ มีนาคม 2555 — มกราคม 2556

7)วิธีการรับจำนำ หลักเกณฑ์การรับจำนำ การเข้าร่วมโครงการของโรงสี การสีแปรสภาพ การเก็บรักษาข้าวสาร การระบายข้าว สาร และการกำกับดูแล เป็นไปเช่นเดียวกับโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2554/55

8) ผลการรับจำนำ

                              ผลการดำเนินโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปรัง ปี 2555
                                  (ตั้งแต่ วันที่ 1 มีนาคม — 6 กันยายน 2555)
     รายการ                จุดรับจำนำ            จำนวน         -----  ปริมาณการรับจำนำข้าวเปลือก (ตัน)1/ -------
                   อคส.     อ.ต.ก.    รวม    ใบประทวน        ข้าว           ข้าว         ข้าว          รวม
                                                             เจ้า          ปทุมธานี      เหนียว      ทุกชนิดข้าว
ภาคเหนือ            149        69      218     532,573     5,165,806        5,933     205,647     5,377,386
ภาคะวันออกเฉียงเหนือ  157        39      196     201,227       782,819            1      97,434       880,254
ภาคกลาง            320        91      411     483,074     6,033,539      129,080           -      6,162.62
ภาคใต้               32         6       38       3,903        29,245            -           -        29,245
รวมทั้งประเทศ        658       205      863    1,220,777   12,011,409      135,014     303,081    12,449,504
                                          จำนวนเกษตรกรที่รับเงินกับ ธ.ก.ส. 2/
                                     (ข้อมูลสะสมตั้งแต่ 1 มีนาคม — 7 กันยายน 2555)
                 รายการ             ราย         สัญญา          จำนวนตัน        จำนวนเงิน (ล้านบาท)
          จำนำประทวน อคส.         795,702      838,580     8,843,863.38         131,085.82
          จำนำประทวน อ.ต.ก.       224,703      238,456     2,626,826.89          38,915.38
                   รวม          1,020,405    1,077,036    11,470,690.27         170,001.20

ที่มา: 1/ กรมการค้าภายใน กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์

2/ ธ.ก.ส.

ภาวการณ์ซื้อขายข้าวในสัปดาห์นี้ ราคาข้าวโดยรวมลดลงจากสัปดาห์ก่อนเล็กน้อย เนื่องจากบางพื้นที่ประสบปัญหาอุทกภัย โรงสีชะลอ การรับซื้อข้าว ประกอบกับไม่มีคำสั่งซื้อจากต่างประเทศ

การส่งออก ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม — 14 กันยายน 2555 ประเทศไทยส่งออกข้าวทั้งหมด จำนวน 4.673 ล้านตันข้าวสาร ลดลงจาก 8.568 ล้านตันข้าวสาร ของการส่งออกข้าวในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาร้อยละ 45.46

(ที่มา : กรมการค้าภายใน)

1.2 ราคา

1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ

ราคาข้าวเปลือกเจ้าหอมมะลินาปี ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 15,498 บาท ราคาลดลงจากตันละ 15,620 บาท ของ สัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.79

ราคาข้าวเปลือกความชื้น 14-15% ที่เกษตรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 10,484 บาท ราคาลดลงจากตันละ 10,713 บาท ของสัปดาห์ ที่ผ่านมาร้อยละ 2.13

ราคาข้าวเปลือกเหนียวเมล็ดยาวนาปี ที่เกษตรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 13,086 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 12,930 บาท ของ สัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.21

2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ

ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 16,450 บาท ราคาลดลงจากตันละ 16,930 บาท ของ สัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.84

3) ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี.

ราคาข้าวหอมมะลิไทย ชั้น 1 (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 1,141 ดอลลาร์สหรัฐฯ (34,911 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจาก ตันละ 1,136 ดอลลาร์สหรัฐฯ (35,037 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.44 แต่ลดลงในรูปเงินบาทตันละ 126 บาท

ราคาข้าวปทุมธานี ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 992 ดอลลาร์สหรัฐฯ (30,352 บาท/ตัน)

ราคาสูงขึ้นจากตันละ 987 ดอลลาร์สหรัฐฯ (30,442 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.51 แต่ลดลงในรูปเงินบาทตันละ 90 บาท

ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 577 ดอลลาร์สหรัฐฯ (17,654 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 590 ดอลลาร์สหรัฐฯ (18,197 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.20 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 543 บาท

ราคาข้าวสารเจ้า 25% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 564 ดอลลาร์สหรัฐฯ (17,257 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 568 ดอลลาร์สหรัฐฯ (17,519 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.70 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 262 บาท

ราคาข้าวนึ่ง 5%ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 593 ดอลลาร์สหรัฐฯ (18,236 บาท/ตัน)

ราคาลดลงจากตันละ 603 ดอลลาร์สหรัฐฯ (18,598 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.66 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 362 บาท

หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 30.5968 บาท

2. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในต่างประเทศ

2.1 สถานการณ์ข้าวโลก

1) การผลิต

ผลผลิตข้าวโลก กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ได้คาดคะเนผลผลิตข้าวโลกปี 2555/56 ประจำเดือนกันยายน 2555 ว่าจะมี 464.196 ล้าน ตันข้าวสาร (692.0 ล้านตันข้าวเปลือก) ลดลงจาก 465.297 ล้านตันข้าวสาร (693.7 ล้านตันข้าวเปลือก) ของปี 2554/55 ร้อยละ 0.24 เนื่องจากการลดลงของผลผลิตของประเทศผู้บริโภคและผู้ส่งออกที่สำคัญของโลก เช่น อินเดีย ญี่ปุ่น และศรีลังกา

2) การค้าข้าวโลก

บัญชีสมดุลข้าวโลก กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ได้คาดคะเนบัญชีสมดุลข้าวโลกปี 2555/56 ณ เดือนกันยายน 2555 ว่าผลผลิต ปี 2555/56 จะมี 464.196 ล้านตันข้าวสาร ลดลงจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 0.24

การใช้ในประเทศจะมี 467.686 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา ร้อยละ 2.05 การส่งออก/นำเข้าจะมี 35.855 ล้านตันข้าว สาร ลดลงจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 0.05 และสต็อกปลายปีคงเหลือ 102.234 ล้านตันข้าวสาร ลดลงจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 3.30

โดยประเทศที่คาดว่าจะส่งออกเพิ่มขึ้นได้แก่ ออสเตรเลีย กัมพูชา จีน กายานา ปากีสถาน และ ไทย

ส่วนประเทศที่คาดว่าจะส่งออกลดลงได้แก่ อาร์เจนตินา บราซิล อียู อินเดีย และสหรัฐฯ

สำหรับประเทศที่คาดว่าจะนำเข้าเพิ่มขึ้น ได้แก่ บังคลาเทศ บราซิล คาเมรูน อียู ฮ่องกง อิหร่าน เม็กซิโก ซาอุดิอาระเบีย แอฟริกา ใต้ และสหรัฐอาหรับเอมิเรสต์ ส่วนประเทศที่คาดว่าจะนำเข้าลดลง ได้แก่ จีน อิยิปต์ อินโดนีเซีย เกาหลีใต้ มาเลเซีย และไนจีเรีย

ประเทศที่มีสต็อกคงเหลือปลายปีเพิ่มขึ้น ได้แก่ จีน และเวียดนาม ส่วนประเทศที่คาดว่าจะมีสต็อกคงเหลือปลายปีลดลง ได้แก่ อินเดีย อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ และสหรัฐอเมริกา

2.2 สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ

1) เวียดนาม

สมาคมอาหารเวียดนาม (VFA) รายงานว่า ในปี 2555 เวียดนามได้ส่งออกข้าวแล้วปริมาณ 5.28 ล้านตัน โดยในช่วงที่ 1 -13 กันยายน ส่งออกปริมาณ 179,500 ตัน ซี่งในปี 2554 ช่วงเดือนมกราคมถึงกันยายน เวียดนามส่งออกข้าวปริมาณ 5.68 ล้านตัน และในเดือน กันยายนปีเดียวกันส่งออกข้าวปริมาณ 560,000 ตัน โดยในปี 2555 ข้าวมีราคาเฉลี่ยอยู่ที่ตันละ 444 ดอลลาร์สหรัฐฯ (หรือ 13,585 บาท/ตัน) สูง ขึ้นร้อยละ 5 จากเดือนสิงหาคม เฉลี่ยตันละ 424 ดอลลาร์สหรัฐฯ (หรือ 13,226 บาท/ตัน) และสูงขึ้นร้อยละ 12.5 จากเดือนกรกฎาคม เฉลี่ยตัน ละ 395 ดอลลาร์สหรัฐฯ (หรือ 12,409 บาท/ตัน)

เวียดนามกำหนดเป้าหมายการส่งออกข้าวในปี 2555 ไว้ที่ 6-6.5 ล้านตัน แต่มีโอกาสที่จะส่งออกได้ถึง 7.1 ล้านตัน โดยในเดือน กรกฎาคมส่งออกไปยังประเทศในเอเชียปริมาณ 530,000 ตัน หรือร้อยละ 70 รองลงมาส่งออกไปยังแอฟริกาปริมาณ 151,595 ตัน หรือร้อยละ 20 ของปริมาณการส่งออกรวม 765,431 ตัน?

ที่มา : Oryza.com

2) อินโดนีเซีย

อินโดนีเซียและเวียดนามได้ขยายเวลาการทำบันทึกความเข้าใจ (Memorandum of Understanding: MoU) การส่งออกข้าว จาก วันที่ 1 มกราคม 2556 เป็นวันที่ 31 ธันวาคม 2560 ที่ปริมาณ 1.5 ล้านตัน โดยในปีที่ผ่านมา รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรของอินโดนีเซีย ได้คาดการณ์ว่า ผลผลิตข้าวในปี 2555 จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.3 ส่งผลให้ในปีนี้อินโดนีเซียอาจจะไม่นำเข้าข้าว อย่างไรก็ตาม การที่อินโดนีเซียขยาย เวลาการทำ MoU กับเวียดนาม นั้น เพื่อให้มั่นใจว่า อินโดนีเซียจะมีแหล่งนำเข้าข้าว หากจำเป็นที่จะต้องนำเข้าในอนาคต

ทั้งนี้ รัฐมนตรีกระทรวงการค้าของอินโดนีเซีย กล่าวว่า “การลงนามในบันทึกความเข้าใจจะสามารถสนับสนุนความมั่นคงทางด้านอาหาร แห่งชาติได้ คล้ายกับที่อินโดนีเซียทำ MoU กับประเทศผู้ผลิตข้าวในอาเซียน เช่น กัมพูชาและไทย เพื่อเป็นหลักประกันว่ามีข้าวบริโภคในยามที่จำเป็น”

ที่มา : Oryza.com

3) ปากีสถาน

สหภาพวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของปากีสถาน (Unisame) ได้กระตุ้นรัฐบาลให้จ่ายเงินอุดหนุนด้านการเกษตรและลดกำแพง ภาษีส่งออกข้าวเพื่อป้องกันการสูญเสียประเทศผู้นำเข้าข้าวบาสมาติให้กับอินเดีย

ประธาน Unisame กล่าวว่า ในปี 2554/55 การส่งออกข้าว basmati ลดลง เนื่องจากค่าใช้จ่ายด้านการนำเข้าและค่าขนส่งปรับ เพิ่มขึ้น ประกอบกับธนาคารพาณิชย์ปฏิเสธตราสารเครดิต (letters of credit) จากผู้ซื้อในประเทศโลกที่สาม ทำให้ประเทศดังกล่าวหันไปซื้อ ข้าวบาสมาติจากอินเดียมากขึ้น โดยได้กระตุ้นให้รัฐบาลลดภาษีส่งออกข้าวไว้ที่ร้อยละ 0.5 และลดภาษีนำเข้าบรรจุภัณฑ์ข้าว ซึ่งก่อนหน้านี้ ประธาน ของสมาคมเกษตรกรผู้ปลูกข้าว (BGA) รายงานว่า ในปี 2554/55 การผลิตข้าวบาสมาติลดลงอยู่ที่ประมาณ 2.4 ล้านตัน หรือลดลงร้อยละ 7 จาก เป้าหมาย 2.6 ล้านตัน

ทั้งนี้ ปี 2554/55 ปากีสถานส่งออกข้าว 3.290 ล้านตัน ลดลงจาก 3.67 ล้านตัน ในปี 2553/54 หรือลดลงร้อยละ 10.2 ขณะที่ สำนักงานสถิติปากีสถาน รายงานว่า ในปี 2554/55 ส่งออกข้าวบาสมาติปริมาณ 900,000 ตัน ลดลงจาก 1.17 ล้านตัน ในปี 2553/54 หรือลดลง ร้อยละ 23

ที่มา : Oryza.com

--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 17 - 23 กันยายน 2555--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ