1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 การตลาด
-โครงการรับจำนำข้าวเปลือก ปี 2555/56
1) ครม. มีมติเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2555 เห็นชอบให้คงปริมาณและวงเงินโครงการจำนำข้าวเปลือกปีการผลิต 2555/56 ตามมติ กขช. เมื่อวันที่ 3 กันยายน 2555 ที่อนุมัติวงเงินเพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนรับจำนำข้าวเปลือก จำนวน 26 ล้านตัน (นาปี 15 ล้านตัน นาปรัง 11 ล้านตัน) เป็นจำนวนเงิน 405,000 ล้านบาท แยกเป็น นาปี จำนวน 240,000 ล้านบาท นาปรัง จำนวน 165,000 ล้านบาท โดยขอให้รัฐบาล โดยกระทรวงการคลังพิจารณาจัดหาเงินทุนให้แก่ ธ.ก.ส. และรัฐบาลรับภาระชำระคืนต้นเงินและดอกเบี้ยจากการกู้เงินและค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่เกิดขึ้น จริง รวมทั้งผลขาดทุนที่เกิดขึ้นจากโครงการทั้งหมด เพื่อใช้ในการรับจำนำ และในระหว่างการจัดหาเงินทุนดังกล่าว กรณีที่มีความจำเป็นให้ใช้เงิน ทุน
2) ชนิดและราคารับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2554/55 ให้กำหนดชนิดและราคารับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2554/55 ณ ความชื้นไม่เกิน 15% ดังนี้
(1) ข้าวเปลือกหอมมะลิ (42 กรัม) ตันละ 20,000 บาท (2) ข้าวเปลือกหอมจังหวัด (40 กรัม) ตันละ 18,000 บาท
(ข้าวหอมมะลินอกพื้นที่ 23 จังหวัด)
(3) ข้าวเปลือกปทุมธานี (42 กรัม) ตันละ 16,000 บาท
(4) ข้าวเปลือกเหนียว :-
ข้าวเปลือกเหนียว 10% เมล็ดยาว ตันละ 16,000 บาท ข้าวเปลือกเหนียว 10% เมล็ดสั้น ตันละ 15,000 บาท
(5) ข้าวเปลือกเจ้า :-
ข้าวเปลือกเจ้า 100% ตันละ 15,000 บาท ข้าวเปลือกเจ้า 5% ตันละ 14,800 บาท ข้าวเปลือกเจ้า 10% ตันละ 14,600 บาท ข้าวเปลือกเจ้า 15% ตันละ 14,200 บาท ข้าวเปลือกเจ้า 25% ตันละ 13,800 บาท
ทั้งนี้ ราคารับจำนำข้างต้นให้ปรับเพิ่ม-ลดตามจำนวนกรัม ในอัตรากรัมละ 200 บาท
3) เป้าหมายการรับจำนำ ไม่จำกัดปริมาณข้าวเปลือกที่รับจำนำทั้งโครงการ ส่วนปริมาณข้าวเปลือกที่เกษตรกรแต่ละรายจะจำนำได้ไม่ จำกัดจำนวนเช่นกัน โดยต้องเป็นข้าวเปลือกที่เกษตรกรเพาะปลูกเองในปีการผลิต 2554/55 และต้องมีหนังสือรับรองเกษตรกรของกรมส่งเสริมการ เกษตร ซึ่งผ่านการทำประชาคม และเกษตรกรลงชื่อรับรองตัวเอง พร้อมทั้งเจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมการเกษตร และปลัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายลงชื่อรับรองด้วย
4) ระยะเวลา
(1) ระยะเวลารับจำนำ 1 ตุลาคม 2555 — 15 กันยายน 2556
(2) ระยะเวลาไถ่ถอน 4 เดือน นับถัดจากเดือนที่รับจำนำ
(3) ระยะเวลาโครงการ 1 ตุลาคม 2555 — 31 มกราคม 2557
- โครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปี 2554/55
ระยะเวลาดำเนินการ สิ้นสุดแล้วเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2555
ผลการรับจำนำ
ผลการดำเนินโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปี 2554/55
(ตั้งแต่ วันที่ 7 ตุลาคม 2554 — 5 สิงหาคม 2555)
รายการ จุดรับจำนำ จำนวน จำนวน ----------------- ปริมาณการรับจำนำข้าวเปลือก (ตัน) 1/ ------------------ ใบประทวน ยุ้งฉาง ข้าว ข้าว ข้าว ข้าว ข้าว รวม เจ้า ปทุมธานี หอมมะลิ หอมจังหวัด เหนียว ทุกชนิดข้าว ภาคเหนือ 210 328,261 2,154 1,465,654 2,790 312,870 269,552 230,436 2,281,301 ภาคะวันออกเฉียงเหนือ 359 753,377 34,520 164,062 84 2,774,830 - 211,621 3,150,597 ภาคกลาง 283 154,816 - 1,266,425 12,368 - 65,872 - 1,344,665 ภาคใต้ 73 21,082 - 173,593 - - - - 173,593 รวมทั้งประเทศ 925 1,257,536 36,674 3,069,734 15,242 3,087,700 335,424 442,057 6,950,156
จำนวนเกษตรกรที่รับเงินกับ ธ.ก.ส. 2/
(ข้อมูลสะสมตั้งแต่ 7 ตุลาคม 2554 — 7 กันยายน 2555)
รายการ ราย สัญญา จำนวนตัน จำนวนเงิน (ล้านบาท) จำนำยุ้งฉาง 36,672 36,782 176,940.28 3,470.56 จำนำประทวน 1,105,912 1,152,316 6,772,167.04 115,105.27 รวม 1,142,584 1,189,098 6,949,107.32 118,575.83
ที่มา: 1/ กรมการค้าภายใน กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์
2/ ธ.ก.ส.
- โครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปรัง ปี 2555
มติ ครม. เมื่อวันที่ 22 ก.พ. 55 เห็นชอบกรอบ ชนิด ราคา ปริมาณ ระยะเวลา วิธีการ หลักเกณฑ์ และเงื่อนไข การรับจำนำ ข้าวเปลือกนาปรัง ปีการผลิต 2555 ดังนี้
1) เป้าหมายรับจำนำ ไม่จำกัดปริมาณข้าวเปลือกที่รับจำนำ
2) ชนิดข้าวที่รับจำนำ ได้แก่ ข้าวเปลือกเจ้า ข้าวเปลือกปทุมธานี และข้าวเปลือกเหนียว
3)ราคารับจำนำ ณ ความชื้นไม่เกิน 15% เช่นเดียวกับโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี
ปี 2554/55 ดังนี้
- ข้าวเปลือกเจ้า 100% ตันละ 15,000 บาท - ข้าวเปลือกเจ้า 5% ตันละ 14,800 บาท - ข้าวเปลือกเจ้า 10% ตันละ 14,600 บาท - ข้าวเปลือกเจ้า 15% ตันละ 14,200 บาท - ข้าวเปลือกเจ้า 25% ตันละ 13,800 บาท - ข้าวเปลือกปทุมธานี 1 (42 กรัม) ตันละ 16,000 บาท - ข้าวเปลือกเหนียว 10% เมล็ดยาว ตันละ 16,000 บาท - ข้าวเปลือกเหนียว 10% เมล็ดสั้น ตันละ 15,000 บาท
ทั้งนี้ราคารับจำนำข้าวเปลือกปทุมธานี 1 ให้ปรับเพิ่ม-ลดตามจำนวนกรัมในอัตรากรัมละ 200 บาท
4) ปริมาณจำนำของเกษตรกรแต่ละราย จะคำนวณตามพื้นที่เพาะปลูกผลผลิตเฉลี่ยรายจังหวัดและผลผลิตรวมของเกษตรกรตามหนังสือ รับรองที่กรมการส่งเสริมการเกษตรออกให้แก่เกษตรกรเป็นข้อมูลประกอบ กรณีผลผลิตของเกษตรกรสูงกว่าปริมาณผลผลิตเฉลี่ย ให้ปรับเพิ่มได้อีกไม่ เกิน 20% (ณ ความชื้น 15%) โดยให้เกษตรกรรับรองว่าข้าวเปลือกของเกษตรกรเองและแจ้งให้อนุกรรมการติดตามและกำกับดูแลการรับจำนำระดับ จังหวัดสุ่มตรวจสอบอย่างน้อย 20% ของเกษตรกรที่มีผลผลิตเกินกว่าผลผลิตเฉลี่ยที่กำหนด
5) การกำหนดพันธุ์ข้าวที่จะเข้าร่วมโครงการ ให้เป็นไปตามมติคณะอนุกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติด้านการผลิตเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2554 ที่เห็นชอบให้เกษตรกรสามารถนำข้าวทุกพันธุ์เข้าร่วมโครงการฯ ได้ รวมทั้งพันธุ์ข้าวที่ปลูกและให้ข้าวสารคุณภาพต่ำ จำนวน 18 พันธุ์ ซึ่งในโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปี 25554/55 ไม่ได้ให้เข้าร่วมโครงการ
6) ระยะเวลาดำเนินการ
- ระยะเวลาการขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าว
กิจกรรม ภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคตะวันตก ภาคใต้
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ
การปลูก 1 พฤศจิกายน 2554 — 30 เมษายน 2555 1 มีนาคม 2555 — 15 มิถุนายน 2555 การเก็บเกี่ยว 1 กุมภาพันธ์ 2555 — 31 สิงหาคม 2555 1 มิถุนายน 2555 — 15 ตุลาคม 2555 การขึ้นทะเบียน 4 มกราคม 2555 — 31 พฤษภาคม 2555 1 เมษายน 2555 — 15 กรกฎาคม 2555 การประชาคม 20 มกราคม 2555 — 15 มิถุนายน 2555 1 พฤษภาคม 2555 — 31 กรกฎาคม 2555 การออกใบรับรอง 20 มกราคม 2555 — 30 มิถุนายน 2555 2 พฤษภาคม 2555 — 15 สิงหาคม 2555
- ระยะเวลารับจำนำ 1 มีนาคม -15 กันยายน 2555 ภาคใต้ 1 กรกฎาคม — 31 ตุลาคม 2555
- ระยะเวลาไถ่ถอน ภายใน 4 เดือนถัดจากเดือนที่รับจำนำ
- ระยะเวลาโครงการ มีนาคม 2555 — มกราคม 2556
7) วิธีการรับจำนำ หลักเกณฑ์การรับจำนำ การเข้าร่วมโครงการของโรงสี การสีแปรสภาพ
การเก็บรักษาข้าวสาร การระบายข้าวสาร และการกำกับดูแล เป็นไปเช่นเดียวกับโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี
ปีการผลิต 2554/55
8) ผลการรับจำนำ
ผลการดำเนินโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปรัง ปี 2555
(ตั้งแต่ วันที่ 1 มีนาคม — 6 กันยายน 2555)
รายการ จุดรับจำนำ จำนวน -----ปริมาณการรับจำนำข้าวเปลือก (ตัน) 1/----- อคส. อ.ต.ก. รวม ใบประทวน ข้าว ข้าว ข้าว รวม เจ้า ปทุมธานี เหนียว ทุกชนิดข้าว ภาคเหนือ 149 69 218 532,573 5,165,806 5,933 205,647 5,377,386 ภาคะวันออกเฉียงเหนือ 157 39 196 201,227 782,819 1 97,434 880,254 ภาคกลาง 320 91 411 483,074 6,033,539 129,080 - 6,162.62 ภาคใต้ 32 6 38 3,903 29,245 - - 29,245 รวมทั้งประเทศ 658 205 863 1,220,777 12,011,409 135,014 303,081 12,449,504
ที่มา: 1/ กรมการค้าภายใน กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์
2/ ธ.ก.ส.
จำนวนเกษตรกรที่รับเงินกับ ธ.ก.ส. 2/
(ข้อมูลสะสมตั้งแต่ 1 มีนาคม — 3 ตุลาคม 2555)
รายการ ราย สัญญา จำนวนตัน จำนวนเงิน (ล้านบาท) รวมทุกประเภทจำนำ 1,021,018 1,172,287 12,822,920.58 190,013.21
ภาวการณ์ซื้อขายข้าวในสัปดาห์นี้ ราคาข้าวที่เกษตรกรขายได้ลดลงจากสัปดาห์ก่อน เนื่องจากมีฝนตกในบางพื้นที่ ส่งผลให้ข้าวมีความชื้นสูง ยกเว้นข้าวหอมมะลิมีราคาสูงขึ้น เพราะเป็นที่ต้องการของตลาด และมีผลผลิตออกสู่ตลาดในปริมาณน้อย
การส่งออก ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม — 27 กันยายน 2555 ประเทศไทยส่งออกข้าวทั้งหมด จำนวน 4.942 ล้านตันข้าวสาร ลดลงจาก 8.921 ล้านตันข้าวสาร ของการส่งออกข้าวในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาร้อยละ 44.60
(ที่มา : กรมการค้าภายใน)
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ราคาข้าวเปลือกเจ้าหอมมะลินาปี ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 15,989 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 15,506 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 3.11
ราคาข้าวเปลือกความชื้น 14-15% ที่เกษตรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 10,099 บาท ราคาลดลงจากตันละ 10,484 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 3.68
ราคาข้าวเปลือกเหนียวเมล็ดยาวนาปี ที่เกษตรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 12,558 บาท ราคาลดลงจากตันละ 13,050 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 3.77
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 16,450 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
3) ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี.
ราคาข้าวหอมมะลิไทย ชั้น 1 (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 1,143 ดอลลาร์สหรัฐฯ (34,883 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 1,136 ดอลลาร์สหรัฐฯ (34,866 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.62 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 17 บาท
ราคาข้าวปทุมธานี ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 993 ดอลลาร์สหรัฐฯ (30,305 บาท/ตัน)
ราคาสูงขึ้นจากตันละ 987 ดอลลาร์สหรัฐฯ (30,293 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.61 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 12 บาท
ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 578 ดอลลาร์สหรัฐฯ (17,640 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 574 ดอลลาร์สหรัฐฯ (17,617 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.70 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 23 บาท
ราคาข้าวสารเจ้า 25% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 564 ดอลลาร์สหรัฐฯ (17,212 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 561 ดอลลาร์สหรัฐฯ (17,218 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.53 แต่ลดลงในรูปเงินบาทตันละ 6 บาท
ราคาข้าวนึ่ง 5% ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 591 ดอลลาร์สหรัฐฯ (18,036 บาท/ตัน)
ราคาสูงขึ้นจากตันละ 587 ดอลลาร์สหรัฐฯ (18,016 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.68 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 20 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 30.5185 บาท
2. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในต่างประเทศ
สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
1) พม่า
สมาคมอุตสาหกรรมข้าวพม่า (Myanmar's Rice Industry Association) ระบุว่าทางการพม่าไดปรับลดเป้าหมายการส่งออกข้าวในปีนี้ โดยจะปรับเพิ่มในปีหน้าแทน เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมาพม่าประสบกับภาวะสภาพอากาศเลวร้ายส่งผลกระทบต่อผลผลิตข้าวในประเทศ ขณะที่หลายประเทศมีผลผลิตข้าวเพิ่มขึ้นและเร่งการส่งออกข้าว
ปีงบประมาณ 2555/56 (เม.ย. 2555-มี.ค. 2556) พม่าส่งออกข้าวแล้วประมาณ 500,000 ตัน และคาดว่าสิ้นปีงบประมาณจะส่งออกได 700,000 ตัน ลดลงจากป?2554/54 ที่มีการส่งออก 778,400 ตัน หรือลดลงร้อยละ 10.07 และลดลงร้อยละ 53.33 จากที่คาดการณ?ก่อนหน้านี้ว่าจะส่งออกได?1.5 ล้านตัน โดยส่งออกไปจีนกว่าร้อยละ 50 ของการส่งออกข้าวทั้งหมด (ประมาณ 250,000 ตัน) ซึ่งส่วนใหญเป็นข้าวคุณภาพต่ำที่ใช้ในอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ ส่วนที่เหลือส่งออกไปยังประเทศในแถบแอฟริกา อินโดนีเซีย บังคลาเทศ และฟิลิปปินส?
สำหรับปีงบประมาณ 2556/57 นั้น พม่าตั้งเปาจะส่งออก 1 ล้านตัน ลดลงร้อยละ 50 จากที่คาดการณ?ก่อนหน้านี้ว่าจะส่งออกได้ 2 ล้านตัน
ที่มา : Riceonline.com, สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
2) อินเดีย
แหล่งข่าวทางการระบุว่า รัฐบาลอินเดียอาจมีการทบทวนนโยบายส่งออกข้าว ข้าวสาลี น้ำตาล และฝ้าย เร็วๆนี้ ซึ่งในขณะนี้การส่งออกสินค้าเหล่านี้ดำเนินการได่โดยเสรีไม่มีการควบคุม (Open General Licence)
ทั้งนี้ จากการที่ราคาข่าวในประเทศในปีนี้ได้ปรับตัวสูงขึ้นถึงร้อยละ 30 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว จึงมีความเห็นจากผู้เกี่ยวข้องบางส่วนว่า ควรมีการควบคุมการส่งออกในช่วงเวลาที่เหลือของปีงบประมาณนี้
สถานการณ์ราคาข่าวส่งออกของอินเดียทรงตัวอยู่ที่ระดับ 395-445 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน (หรือประมาณ 12,818 บาทต่อตัน) เนื่องจากในช่วงนี้ยังไม่มีคำสั่งซื้อจากต่างประเทศที่จะเข้ามากระตุ้นตลาด ขณะที่ฤดูลมมรสุมใกล้จะสิ้นสุดในเดือนนี้ ซึ่งจะทำให้การเก็บเกี่ยวผลผลิตสะดวกยิ่งขึ้น โดยมีรายงานว่าหลายพื้นที่เริ่มมีปริมาณฝนลดลงแล้ว ทั้งนี้การเก็บเกี่ยวผลผลิตข้าวจะเริ่มในเดือน ต.ค. ของทุกปี หลังจากที่สิ้นสุดฤดูมรสุมแล้ว
กระทรวงเกษตร (The Ministry of Agriculture) รายงานความคืบหน้าของการเพาะปลูกข้าวในฤดูการผลิตหลักโดยขณะนี้มีการเพาะปลูกข่าวแล้ว 230 ล้านไร่ (ณ วันที่ 28 ก.ย.) ซึ่งมากกว่พื้นที่เพาะปลูกในระดับปกติประมาณร้อยละ 2 (ระดับปกติคือในช่วงเวลานี้ของทุกปีจะมีพื้นที่เพาะปลูกแล้วประมาณ 225 ล้านไร่) อย่างไรก็ตามหากเทียบกับพื้นที่เพาะปลูกในช่วงเดียวกันของปีที่แล้วซึ่งมีการเพาะปลูก 235 ล้านไร่พื้นที่เพาะปลูกในปีนี้จะต่ำกว่าปีก่อนประมาณร้อยละ 2
ในการประชุม The World Rice Trade Conference 2012 ที่บาหลี ผู้ส่งออกข่าวของอินเดียระบุว่า ในปีนี้อินเดียนจะส่งออกข้าวได้ประมาณ 8.5-9 ล้านตัน (รวมข้าวบาสมาติอีกประมาณ 2.5 ล้านตัน) โดยในช่วง 8 เดือนแรกอินเดียส่งออกข้าวแล้วประมาณ 5.5 ล้านตัน (รวมข้าวบาสมาติประมาณ 2 ล้านตัน) ขณะเดียวกันปัญหาที่กระทบต่อการส่งออกของอินเดียในช่วงนี้คือการส่งมอบที่ล่าช้า โดยขณะนี้มีเรือเข้ามารอบรับมอบข้าวประมาณ 600,000 ตัน ซึ่งคาดว่าจะต้องใช้เวลาถึง 40 วัน จึงจะส่งมอบแล้วเสร็จ โดยเฉพาะที่ท่าเรือ Kakinada port สามารถโหลดสินค้าได้ประมาณวันละ 15,000-20,000 ตัน เท่านั้น
รัฐบาลได้วางแผนที่จะจัดหาข้าวให้ได้ถึง 40 ล้านตัน ในปีงบประมาณ 2555/56 เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 14 จากเป้าหมายในปีงบประมาณปัจจุบัน (2554/55) ที่ 35 ล้านตัน โดยในปีงบประมาณนี้รัฐบาลจัดหาข้าวได้แล้วประมาณ 32.3 ล้านตัน ทั้งนี้ โครงการจัดหาข้าวในปีงบประมาณใหม่จะเริ่มขึ้นในวันที่ 1 ต.ค.นี้
ที่มา : Riceonline.com, สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 1-7 ตุลาคม 2555--