ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร: ข้าว

ข่าวทั่วไป Wednesday October 17, 2012 15:24 —สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ

1.1 การตลาด

โครงการรับจำนำข้าวเปลือก ปี 2555/56

1) ครม. มีมติเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2555 เห็นชอบให้คงปริมาณและวงเงินโครงการจำนำข้าวเปลือกปีการผลิต 2555/56 ตามมติ กขช. เมื่อวันที่ 3 กันยายน 2555 ที่อนุมัติวงเงินเพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนรับจำนำข้าวเปลือก จำนวน 26 ล้านตัน (นาปี 15 ล้านตัน นาปรัง 11 ล้านตัน) เป็นจำนวนเงิน 405,000 ล้านบาท แยกเป็น นาปี จำนวน 240,000 ล้านบาท นาปรัง จำนวน 165,000 ล้านบาท โดยขอให้รัฐบาล โดยกระทรวงการคลังพิจารณาจัดหาเงินทุนให้แก่ ธ.ก.ส. และรัฐบาลรับภาระชำระคืนต้นเงินและดอกเบี้ยจากการกู้เงินและค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่เกิดขึ้น จริง รวมทั้งผลขาดทุนที่เกิดขึ้นจากโครงการทั้งหมด เพื่อใช้ในการรับจำนำ และในระหว่างการจัดหาเงินทุนดังกล่าว กรณีที่มีความจำเป็นให้ใช้เงินทุน

2) ชนิดและราคารับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2555/56 ให้กำหนดชนิดและราคารับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2555/56 ณ ความชื้นไม่เกิน 15% ดังนี้

(1) ข้าวเปลือกหอมมะลิ (42 กรัม) ตันละ 20,000 บาท

(2) ข้าวเปลือกหอมจังหวัด (40 กรัม) ตันละ 18,000 บาท

(ข้าวหอมมะลินอกพื้นที่ 23 จังหวัด)

(3) ข้าวเปลือกปทุมธานี (42 กรัม) ตันละ 16,000 บาท

(4) ข้าวเปลือกเหนียว :-

ข้าวเปลือกเหนียว 10% เมล็ดยาว ตันละ 16,000 บาท

ข้าวเปลือกเหนียว 10% เมล็ดสั้น ตันละ 15,000 บาท

(5) ข้าวเปลือกเจ้า :-

ข้าวเปลือกเจ้า 100% ตันละ 15,000 บาท

ข้าวเปลือกเจ้า 5% ตันละ 14,800 บาท

ข้าวเปลือกเจ้า 10% ตันละ 14,600 บาท

ข้าวเปลือกเจ้า 15% ตันละ 14,200 บาท

ข้าวเปลือกเจ้า 25% ตันละ 13,800 บาท

ทั้งนี้ ราคารับจำนำข้างต้นให้ปรับเพิ่ม-ลดตามจำนวนกรัม ในอัตรากรัมละ 200 บาท

3) เป้าหมายการรับจำนำ ไม่จำกัดปริมาณข้าวเปลือกที่รับจำนำทั้งโครงการ ส่วนปริมาณข้าวเปลือกที่เกษตรกรแต่ละรายจะจำนำได้ ไม่จำกัดจำนวนเช่นกัน โดยต้องเป็นข้าวเปลือกที่เกษตรกรเพาะปลูกเองในปีการผลิต 2555/56 และต้องมีหนังสือรับรองเกษตรกรของกรมส่งเสริม การเกษตร ซึ่งผ่านการทำประชาคม และเกษตรกรลงชื่อรับรองตัวเอง พร้อมทั้งเจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมการเกษตร และปลัดองค์กรปกครองส่วนท้อง ถิ่น หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายลงชื่อรับรองด้วย ทั้งนี้ ผลผลิตที่ปรับเพิ่มเกินกว่า 20% รวมทั้งเกษตรกรที่มีวงเงินรับจำนำเกิน 500,000 บาท ให้คณะ อนุฯ จังหวัดตรวจสอบทุกราย

4) ระยะเวลา

(1) ระยะเวลารับจำนำ 1 ตุลาคม 2555 — 15 กันยายน 2556

(2) ระยะเวลาไถ่ถอน 4 เดือน นับถัดจากเดือนที่รับจำนำ

(3) ระยะเวลาโครงการ 1 ตุลาคม 2555 — 31 มกราคม 2557

  • โครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปี 2554/55

ระยะเวลาดำเนินการ สิ้นสุดแล้วเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2555

ผลการรับจำนำ

ผลการดำเนินโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปี 2554/55

(ตั้งแต่ วันที่ 7 ตุลาคม 2554 — 5 สิงหาคม 2555)

รายการ              จุดรับจำนำ       จำนวน        จำนวน        -------------------ปริมาณการรับจำนำข้าวเปลือก (ตัน) 1/ ---------------
                                 ใบประทวน       ยุ้งฉาง        ข้าว        ข้าว          ข้าว         ข้าว         ข้าว        รวม
                                                             เจ้า       ปทุมธานี       หอมมะลิ     หอมจังหวัด     เหนียว    ทุกชนิดข้าว
ภาคเหนือ                210        328,261       2,154     1,465,654     2,790      312,870      269,552    230,436   2,281,301
ภาคะวันออกเฉียงเหนือ      359        753,377      34,520       164,062        84    2,774,830            -    211,621   3,150,597
ภาคกลาง                283        154,816           -     1,266,425    12,368            -       65,872          -   1,344,665
ภาคใต้                   73         21,082           -       173,593         -            -            -          -     173,593
รวมทั้งประเทศ            925      1,257,536      36,674     3,069,734    15,242    3,087,700      335,424    442,057   6,950,156

จำนวนเกษตรกรที่รับเงินกับ ธ.ก.ส. 2/

(ข้อมูลสะสมตั้งแต่ 7 ตุลาคม 2554 — 7 กันยายน 2555)

รายการ                       ราย                 สัญญา             จำนวนตัน                  จำนวนเงิน (ล้านบาท)
จำนำยุ้งฉาง                 36,672               36,782          176,940.28                           3,470.56
จำนำประทวน             1,105,912            1,152,316        6,772,167.04                         115,105.27
รวม                    1,142,584            1,189,098        6,949,107.32                         118,575.83

ที่มา: 1/ กรมการค้าภายใน กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์

2/ ธ.ก.ส.

โครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปรัง ปี 2555

มติ ครม. เมื่อวันที่ 22 ก.พ. 55 เห็นชอบกรอบ ชนิด ราคา ปริมาณ ระยะเวลา วิธีการ หลักเกณฑ์ และเงื่อนไข การรับจำนำข้าวเปลือกนาปรัง ปีการผลิต 2555 ดังนี้

1) เป้าหมายรับจำนำ ไม่จำกัดปริมาณข้าวเปลือกที่รับจำนำ

2) ชนิดข้าวที่รับจำนำ ได้แก่ ข้าวเปลือกเจ้า ข้าวเปลือกปทุมธานี และข้าวเปลือกเหนียว

3) ราคารับจำนำ ณ ความชื้นไม่เกิน 15% เช่นเดียวกับโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปี 2554/55 ดังนี้

  • ข้าวเปลือกเจ้า 100% ตันละ 15,000 บาท
  • ข้าวเปลือกเจ้า 5% ตันละ 14,800 บาท
  • ข้าวเปลือกเจ้า 10% ตันละ 14,600 บาท
  • ข้าวเปลือกเจ้า 15% ตันละ 14,200 บาท
  • ข้าวเปลือกเจ้า 25% ตันละ 13,800 บาท
  • ข้าวเปลือกปทุมธานี 1 (42 กรัม) ตันละ 16,000 บาท
  • ข้าวเปลือกเหนียว 10% เมล็ดยาว ตันละ 16,000 บาท
  • ข้าวเปลือกเหนียว 10% เมล็ดสั้น ตันละ 15,000 บาท

ทั้งนี้ราคารับจำนำข้าวเปลือกปทุมธานี 1 ให้ปรับเพิ่ม-ลดตามจำนวนกรัมในอัตรากรัมละ 200 บาท

4) ปริมาณจำนำของเกษตรกรแต่ละราย จะคำนวณตามพื้นที่เพาะปลูกผลผลิตเฉลี่ยรายจังหวัดและผลผลิตรวมของเกษตรกรตามหนังสือ รับรองที่กรมการส่งเสริมการเกษตรออกให้แก่เกษตรกรเป็นข้อมูลประกอบ กรณีผลผลิตของเกษตรกรสูงกว่าปริมาณผลผลิตเฉลี่ย ให้ปรับเพิ่มได้อีกไม่ เกิน 20% (ณ ความชื้น 15%) โดยให้เกษตรกรรับรองว่าข้าวเปลือกของเกษตรกรเองและแจ้งให้อนุกรรมการติดตามและกำกับดูแลการรับจำนำระดับ จังหวัดสุ่มตรวจสอบอย่างน้อย 20% ของเกษตรกรที่มีผลผลิตเกินกว่าผลผลิตเฉลี่ยที่กำหนด

5) การกำหนดพันธุ์ข้าวที่จะเข้าร่วมโครงการ ให้เป็นไปตามมติคณะอนุกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติด้านการผลิตเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2554 ที่เห็นชอบให้เกษตรกรสามารถนำข้าวทุกพันธุ์เข้าร่วมโครงการฯ ได้ รวมทั้งพันธุ์ข้าวที่ปลูกและให้ข้าวสารคุณภาพต่ำ จำนวน 18 พันธุ์ ซึ่งใน โครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปี 25554/55 ไม่ได้ให้เข้าร่วมโครงการ

6) ระยะเวลาดำเนินการ

  • ระยะเวลาการขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าว
                กิจกรรม             ภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคตะวันตก                     ภาคใต้

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ

          การปลูก                1 พฤศจิกายน 2554 — 30 เมษายน 2555        1 มีนาคม 2555 — 15 มิถุนายน 2555
          การเก็บเกี่ยว             1 กุมภาพันธ์ 2555 — 31 สิงหาคม 2555        1 มิถุนายน 2555 — 15 ตุลาคม 2555
          การขึ้นทะเบียน            4 มกราคม 2555 — 31 พฤษภาคม 2555       1 เมษายน 2555 — 15 กรกฎาคม 2555
          การประชาคม             20 มกราคม 2555 — 15 มิถุนายน 2555       1 พฤษภาคม 2555 — 31 กรกฎาคม 2555
          การออกใบรับรอง          20 มกราคม 2555 — 30 มิถุนายน 2555        2 พฤษภาคม 2555 — 15 สิงหาคม 2555
  • ระยะเวลารับจำนำ 1 มีนาคม -15 กันยายน 2555 ภาคใต้ 1 กรกฎาคม — 31 ตุลาคม 2555
  • ระยะเวลาไถ่ถอน ภายใน 4 เดือนถัดจากเดือนที่รับจำนำ
  • ระยะเวลาโครงการ มีนาคม 2555 — มกราคม 2556

7) วิธีการรับจำนำ หลักเกณฑ์การรับจำนำ การเข้าร่วมโครงการของโรงสี การสีแปรสภาพ การเก็บรักษาข้าวสาร การระบายข้าว สาร และการกำกับดูแล เป็นไปเช่นเดียวกับโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2554/55

8) ผลการรับจำนำ

ผลการดำเนินโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปรัง ปี 2555

(ตั้งแต่ วันที่ 1 มีนาคม — 6 กันยายน 2555)

รายการ                  จุดรับจำนำ             จำนวน      --------ปริมาณการรับจำนำข้าวเปลือก (ตัน) 1/--------
                   อคส.   อ.ต.ก.    รวม    ใบประทวน     ข้าวเจ้า    ข้าวปทุมธานี    ข้าวเหนียว    รวมทุกชนิดข้าว
ภาคเหนือ            149      69      218     532,573  5,165,806        5,933     205,647      5,377,386
ภาคะวันออกเฉียงเหนือ  157      39      196     201,227    782,819            1      97,434        880,254
ภาคกลาง            320      91      411     483,074  6,033,539      129,080           -      6,162.619
ภาคใต้               32       6       38       3,903     29,245            -           -         29,245
รวมทั้งประเทศ        658     205      863   1,220,777 12,011,409      135,014     303,081     12,449,504

จำนวนเกษตรกรที่รับเงินกับ ธ.ก.ส. 2/

(ข้อมูลสะสมตั้งแต่ 1 มีนาคม — 3 ตุลาคม 2555)

รายการ                     ราย           สัญญา           จำนวนตัน     จำนวนเงิน (ล้านบาท)
รวมทุกประเภทจำนำ      1,021,018      1,172,287     12,822,920.58           190,013.207

ที่มา: 1/ กรมการค้าภายใน กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์

2/ ธ.ก.ส.

ภาวการณ์ซื้อขายข้าวในสัปดาห์นี้ ราคาข้าวโดยรวมลดลงต่อเนื่องจากสัปดาห์ก่อน เนื่องจากผู้ประกอบการชะลอการสั่งซื้อ และในบางพื้นที่ มีฝนตก ส่งผลให้ข้าวมีความชื้นสูง

การส่งออก ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม — 2 ตุลาคม 2555 ประเทศไทยส่งออกข้าวทั้งหมด จำนวน 5.067 ล้านตันข้าวสาร ลดลงจาก 9.059 ล้านตันข้าวสาร ของการส่งออกข้าวในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาร้อยละ 44.07

(ที่มา : กรมการค้าภายใน)

1.2 ราคา

1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ

ราคาข้าวเปลือกเจ้าหอมมะลินาปี ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 15,984 บาท ราคาลดลงจากตันละ 15,989 บาท ของ สัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.03

ราคาข้าวเปลือกความชื้น 14-15% ที่เกษตรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 10,067 บาท ราคาลดลงจากตันละ 10,099 บาท ของสัปดาห์ ที่ผ่านมาร้อยละ 0.31

ราคาข้าวเปลือกเหนียวเมล็ดยาวนาปี ที่เกษตรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 12,388 บาท ราคาลดลงจากตันละ 12,558 บาท ของ สัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.36

2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ

ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 16,075 บาท ราคาลดลงจากตันละ 16,410 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.04

3) ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี.

ราคาข้าวหอมมะลิไทย ชั้น 1 (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 1,143 ดอลลาร์สหรัฐฯ (34,773 บาท/ตัน) ราคาทรง ตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน แต่ลดลงในรูปเงินบาทตันละ 110 บาท

ราคาข้าวปทุมธานี ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 993 ดอลลาร์สหรัฐฯ (30,209 บาท/ตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน แต่ลดลงในรูปเงินบาทตันละ 96

ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 571 ดอลลาร์สหรัฐฯ (17,371 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตัน ละ 578 ดอลลาร์สหรัฐฯ (17,640 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.21 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 269 บาท

ราคาข้าวสารเจ้า 25% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 561 ดอลลาร์สหรัฐฯ (17,067 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตัน ละ 564 ดอลลาร์สหรัฐฯ (17,212 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.53 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 145 บาท

ราคาข้าวนึ่ง 5% ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 581 ดอลลาร์สหรัฐฯ (17,675 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 591 ดอลลาร์สหรัฐฯ (18,036 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.69 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 361 บาท

หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 30.4224 บาท

2. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในต่างประเทศ

สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ

เวียดนาม

สมาคมอาหารของเวียดนาม (The VietNam Food Association; VFA) รายงาน การส่งออกข้าวตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.-30 ก.ย. 2555 มีจำนวนรวม 5.845 ล้านตัน มูลค่า 2,591 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยทั้งปริมาณและมูลค่าลดลงร้อยละ 0.6 และร้อยละ 8 ตามลำดับ เมื่อ เทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2554 ที่ส่งออกได้ 5.878 ล้านตัน มูลค่า 2,816 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ทั้งนี้ ในช่วง 8 เดือนแรก ผู้ส่งออกได้ทำสัญญาขาย ข้าวไปแล้วรวม 6.8 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 30 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

ทางด้านสถานการณ์ ราคาข้าวส่งออกของเวียดนามราคาอ่อนตัวลง เนื่องจากเกษตรกรเริ่มเก็บเกี่ยวข้าวนาปรังรอบ 2 ซึ่งผลผลิตส่วน ใหญ่จะใช้บริโภคภายในประเทศ ขณะเดียวกันในช่วงนี้ก็ยังไม่มีคำสั่งซื้อจากต่างประเทศเข้ามา โดยราคา เอฟ.โอ.บี. ข้าวขาว 5% ตันละ 445 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,538 บาท/ตัน) ลดลงจากตันละ 450-460 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,842 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.20 และราคา เอฟ. โอ.บี. ข้าวขาว 25% ตันละ 420 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,777 บาท/ตัน) ลดลงจากตันละ 420-430 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,930 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ ก่อนร้อยละ 1.18 ทั้งนี้ ราคาเฉลี่ยข้าวเวียดนามระหว่างเดือนมกราคม — กันยายน 2555 อยู่ที่ประมาณตันละ 456 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14,130 บาท/ ตัน) ลดลงจากราคาเฉลี่ยประมาณตันละ 480 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14,439 บาท/ตัน) ในช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน หรือลดลงตันละ 24 ดอลลาร์ สหรัฐฯ หรือร้อยละ 5

ทางด้านสำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม เปิดเผยว่า ในช่วง 9 เดือนแรกเวียดนามส่งออกข้าวปริมาณ 6.35 ล้านตัน มูลค่า 2.85 ล้าน ดอลลาร์สหรัฐฯ โดยทั้งปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.1 และร้อยละ 3.2 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ขณะที่ สมาคมอาหารคาดว่าในช่วง ไตรมาสสุดท้ายจะมีการส่งออกประมาณ 1.4 ล้านตัน ซึ่งจะทำให้ทั้งปีส่งออกได้มากกว่า 7.5 ล้านตัน โดยตลาดหลักของเวียดนามยังคงเป็นประเทศใน แถบเอเชีย เช่น จีน อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ซึ่งมีสัดส่วนรวมร้อยละ 67 รองลงมาเป็นตลาดในแถบแอฟริกามีสัดส่วนร้อยละ 25 ที่เหลือเป็นภูมิภาคอื่นๆ ทั้งนี้ ชนิดข้าวที่เวียดนามส่งออกแบ่งเป็น ข้าวคุณภาพสูงร้อยละ 51.39 ข้าวคุณภาพปานกลางร้อยละ 9.03 และข้าวคุณภาพต่ำ ร้อยละ 19.68

ปี 2555 เวียดนามส่งออกข้าวไปจีนมากเป็นประวัติการณ์ โดยการส่งออกในช่วงแรก ผู้ส่งออกข้าวเวียดนามส่งออกผ่านระบบการค้าทาง การ ส่วนใหญ่เป็นการส่งออกข้าวคุณภาพสูงและข้าวหอม สำหรับข้าวคุณภาพต่ำยังคงส่งออกผ่านผู้ซื้อท้องถิ่นรายย่อย และเนื่องจากการส่งสินค้าเป็นไป อย่างล่าช้า ทำให้ผู้ส่งออกข้าวเวียดนามได้กำไรต่ำ เพราะผู้ส่งออกซื้อข้าวสำรองในช่วงเวลาที่ราคาข้าวสูงแต่ส่งมอบให้ลูกค้าเมื่อราคาข้าวลดลง ทำ ให้มีสต็อกข้าวคงเหลือเป็นจำนวนมาก ประกอบกับข้าวคุณภาพต่ำของเวียดนามยังเผชิญกับการแข่งขันรุนแรงจากอินเดียและพม่า เนื่องจากราคาข้าวและ ค่าขนส่งของเวียดนามมีราคาสูงกว่า

ที่มา : Riceonline.com, สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย, Riceonline.com

--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 8-14 ตุลาคม 2555--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ