ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร: ข้าว

ข่าวทั่วไป Tuesday October 30, 2012 15:35 —สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ

1.1 การตลาด

  • โครงการรับจำนำข้าวเปลือก ปี 2555/56

1) ครม. มีมติเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2555 เห็นชอบให้คงปริมาณและวงเงินโครงการจำนำข้าวเปลือกปีการผลิต 2555/56 ตามมติ กขช. เมื่อวันที่ 3 กันยายน 2555 ที่อนุมัติวงเงินเพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนรับจำนำข้าวเปลือก จำนวน 26 ล้านตัน (นาปี 15 ล้านตัน นาปรัง 11 ล้านตัน) เป็นจำนวนเงิน 405,000 ล้านบาท แยกเป็น นาปี จำนวน 240,000 ล้านบาท นาปรัง จำนวน 165,000 ล้านบาท โดยขอให้รัฐบาลโดยกระทรวงการคลังพิจารณาจัดหาเงินทุนให้แก่ ธ.ก.ส. และรัฐบาลรับภาระชำระคืนต้นเงินและดอกเบี้ยจากการกู้เงินและค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่เกิดขึ้นจริง รวมทั้งผลขาดทุนที่เกิดขึ้นจากโครงการทั้งหมด เพื่อใช้ในการรับจำนำ และในระหว่างการจัดหาเงินทุนดังกล่าว กรณีที่มีความจำเป็นให้ใช้เงินทุน

2) ชนิดและราคารับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2555/56 ให้กำหนดชนิดและราคารับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2555/56 ณ ความชื้นไม่เกิน 15% ดังนี้

                    (1) ข้าวเปลือกหอมมะลิ (42 กรัม)                         ตันละ 20,000 บาท
                    (2) ข้าวเปลือกหอมจังหวัด (40 กรัม)                       ตันละ 18,000 บาท

(ข้าวหอมมะลินอกพื้นที่ 23 จังหวัด)

                    (3) ข้าวเปลือกปทุมธานี (42 กรัม)                         ตันละ 16,000 บาท

(4) ข้าวเปลือกเหนียว :-

                        ข้าวเปลือกเหนียว 10% เมล็ดยาว                       ตันละ 16,000 บาท
                        ข้าวเปลือกเหนียว 10% เมล็ดสั้น                        ตันละ 15,000  บาท

(5) ข้าวเปลือกเจ้า :-

                        ข้าวเปลือกเจ้า 100%                                ตันละ 15,000  บาท
                        ข้าวเปลือกเจ้า 5%                                  ตันละ 14,800  บาท
                        ข้าวเปลือกเจ้า 10%                                 ตันละ 14,600  บาท
                        ข้าวเปลือกเจ้า 15%                                 ตันละ 14,200  บาท
                        ข้าวเปลือกเจ้า 25%                                 ตันละ 13,800  บาท

ทั้งนี้ ราคารับจำนำข้างต้นให้ปรับเพิ่ม-ลดตามจำนวนกรัม ในอัตรากรัมละ 200 บาท

3) เป้าหมายการรับจำนำ ไม่จำกัดปริมาณข้าวเปลือกที่รับจำนำทั้งโครงการ ส่วนปริมาณข้าวเปลือกที่เกษตรกรแต่ละรายจะจำนำได้ไม่จำกัดจำนวนเช่นกัน โดยต้องเป็นข้าวเปลือกที่เกษตรกรเพาะปลูกเองในปีการผลิต 2555/56 และต้องมีหนังสือรับรองเกษตรกรของกรมส่งเสริมการเกษตร ซึ่งผ่านการทำประชาคม และเกษตรกรลงชื่อรับรองตัวเอง พร้อมทั้งเจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมการเกษตร และปลัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายลงชื่อรับรองด้วย ทั้งนี้ ผลผลิตที่ปรับเพิ่มเกินกว่า 20% รวมทั้งเกษตรกรที่มีวงเงินรับจำนำเกิน 500,000 บาท

ให้คณะอนุฯ จังหวัดตรวจสอบทุกราย

4) ระยะเวลา

(1) ระยะเวลารับจำนำ 1 ตุลาคม 2555 — 15 กันยายน 2556

(2) ระยะเวลาไถ่ถอน 4 เดือน นับถัดจากเดือนที่รับจำนำ

(3) ระยะเวลาโครงการ 1 ตุลาคม 2555 — 31 มกราคม 2557

  • โครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปี 2554/55

ระยะเวลาดำเนินการ สิ้นสุดแล้วเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2555

ผลการรับจำนำ

ผลการดำเนินโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปี 2554/55

(ตั้งแต่ วันที่ 7 ตุลาคม 2554 — 5 สิงหาคม 2555)

รายการ           จุดรับจำนำ   จำนวน     จำนวน          ปริมาณการรับจำนำข้าวเปลือก (ตัน) 1/
                           ใบประทวน   ยุ้งฉาง       ข้าว        ข้าว       ข้าว       ข้าว      ข้าว        รวม
                                                  เจ้า       ปทุมธานี    หอมมะลิ   หอมจังหวัด   เหนียว    ทุกชนิดข้าว
ภาคเหนือ             210     328,261    2,154   1,465,654     2,790    312,870   269,552  230,436  2,281,301
ภาคะวันออกเฉียงเหนือ   359     753,377   34,520     164,062        84  2,774,830         -  211,621  3,150,597
ภาคกลาง             283     154,816        -   1,266,425    12,368          -    65,872        -  1,344,665
ภาคใต้                73      21,082        -     173,593         -          -         -        -    173,593
รวมทั้งประเทศ         925   1,257,536   36,674   3,069,734    15,242  3,087,700   335,424  442,057  6,950,156

จำนวนเกษตรกรที่รับเงินกับ ธ.ก.ส. 2/

(ข้อมูลสะสมตั้งแต่ 7 ตุลาคม 2554 — 7 กันยายน 2555)

          รายการ                  ราย                 สัญญา                    จำนวนตัน                                        จำนวนเงิน (ล้านบาท)
          จำนำยุ้งฉาง              36,672               36,782                176,940.28                                        3,470.56
          จำนำประทวน          1,105,912            1,152,316              6,772,167.04                                        115,105.27
          รวม                 1,142,584            1,189,098              6,949,107.32                                        118,575.83

ที่มา: 1/ กรมการค้าภายใน กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์

2/ ธ.ก.ส.

  • โครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปรัง ปี 2555

มติ ครม. เมื่อวันที่ 22 ก.พ. 55 เห็นชอบกรอบ ชนิด ราคา ปริมาณ ระยะเวลา วิธีการ หลักเกณฑ์ และเงื่อนไข การรับจำนำข้าวเปลือกนาปรัง ปีการผลิต 2555 ดังนี้

1) เป้าหมายรับจำนำ ไม่จำกัดปริมาณข้าวเปลือกที่รับจำนำ

2) ชนิดข้าวที่รับจำนำ ได้แก่ ข้าวเปลือกเจ้า ข้าวเปลือกปทุมธานี และข้าวเปลือกเหนียว

3)ราคารับจำนำ ณ ความชื้นไม่เกิน 15% เช่นเดียวกับโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี

ปี 2554/55 ดังนี้

          - ข้าวเปลือกเจ้า 100%                               ตันละ 15,000  บาท
          - ข้าวเปลือกเจ้า 5%                                 ตันละ 14,800  บาท
          - ข้าวเปลือกเจ้า 10%                                ตันละ 14,600  บาท
          - ข้าวเปลือกเจ้า 15%                                ตันละ 14,200  บาท
          - ข้าวเปลือกเจ้า 25%                                ตันละ 13,800  บาท
          - ข้าวเปลือกปทุมธานี 1 (42 กรัม)                      ตันละ 16,000 บาท
          - ข้าวเปลือกเหนียว 10% เมล็ดยาว                      ตันละ 16,000 บาท
          - ข้าวเปลือกเหนียว 10% เมล็ดสั้น                       ตันละ 15,000  บาท

ทั้งนี้ราคารับจำนำข้าวเปลือกปทุมธานี 1 ให้ปรับเพิ่ม-ลดตามจำนวนกรัมในอัตรากรัมละ 200 บาท

4) ปริมาณจำนำของเกษตรกรแต่ละราย จะคำนวณตามพื้นที่เพาะปลูกผลผลิตเฉลี่ยรายจังหวัดและผลผลิตรวมของเกษตรกรตามหนังสือรับรองที่กรมการส่งเสริมการเกษตรออกให้แก่เกษตรกรเป็นข้อมูลประกอบ กรณีผลผลิตของเกษตรกรสูงกว่าปริมาณผลผลิตเฉลี่ย ให้ปรับเพิ่มได้อีกไม่เกิน 20% (ณ ความชื้น 15%) โดยให้เกษตรกรรับรองว่าข้าวเปลือกของเกษตรกรเองและแจ้งให้อนุกรรมการติดตามและกำกับดูแลการรับจำนำระดับจังหวัดสุ่มตรวจสอบอย่างน้อย 20% ของเกษตรกรที่มีผลผลิตเกินกว่าผลผลิตเฉลี่ยที่กำหนด

5) การกำหนดพันธุ์ข้าวที่จะเข้าร่วมโครงการ ให้เป็นไปตามมติคณะอนุกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติด้านการผลิตเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2554 ที่เห็นชอบให้เกษตรกรสามารถนำข้าวทุกพันธุ์เข้าร่วมโครงการฯ ได้ รวมทั้งพันธุ์ข้าวที่ปลูกและให้ข้าวสารคุณภาพต่ำ จำนวน 18 พันธุ์ ซึ่งในโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปี 25554/55 ไม่ได้ให้เข้าร่วมโครงการ

6) ระยะเวลาดำเนินการ

  • ระยะเวลาการขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าว
          กิจกรรม              ภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคตะวันตก                 ภาคใต้

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ

          การปลูก            1 พฤศจิกายน 2554 — 30 เมษายน 2555       1 มีนาคม 2555 — 15 มิถุนายน 2555
          การเก็บเกี่ยว        1 กุมภาพันธ์ 2555 — 31 สิงหาคม 2555        1 มิถุนายน 2555 — 15 ตุลาคม 2555
          การขึ้นทะเบียน       4 มกราคม 2555 — 31 พฤษภาคม 2555        1 เมษายน 2555 — 15 กรกฎาคม 2555
          การประชาคม        20 มกราคม 2555 — 15 มิถุนายน 2555        1 พฤษภาคม 2555 — 31 กรกฎาคม 2555
          การออกใบรับรอง     20 มกราคม 2555 — 30 มิถุนายน 2555        2 พฤษภาคม 2555 — 15 สิงหาคม 2555
  • ระยะเวลารับจำนำ 1 มีนาคม -15 กันยายน 2555 ภาคใต้ 1 กรกฎาคม — 31 ตุลาคม 2555
  • ระยะเวลาไถ่ถอน ภายใน 4 เดือนถัดจากเดือนที่รับจำนำ
  • ระยะเวลาโครงการ มีนาคม 2555 — มกราคม 2556

7) วิธีการรับจำนำ หลักเกณฑ์การรับจำนำ การเข้าร่วมโครงการของโรงสี การสีแปรสภาพ การเก็บรักษาข้าวสาร การระบายข้าวสาร และการกำกับดูแล เป็นไปเช่นเดียวกับโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี

ปีการผลิต 2554/55

8) ผลการรับจำนำ

ผลการดำเนินโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปรัง ปี 2555

(ตั้งแต่ วันที่ 1 มีนาคม — 6 กันยายน 2555)

 รายการ                 จุดรับจำนำ          จำนวน            ปริมาณการรับจำนำข้าวเปลือก (ตัน) 1/

อคส. อ.ต.ก. รวม ใบประทวน ข้าวเจ้า ข้าวปทุมธานี ข้าวเหนียว รวมทุกชนิดข้าว

ภาคเหนือ            149      69    218    532,573   5,165,806      5,933    205,647     5,377,386
ภาคะวันออกเฉียงเหนือ  157      39    196    201,227     782,819          1     97,434       880,254
ภาคกลาง            320      91    411    483,074   6,033,539    129,080          -     6,162.619
ภาคใต้               32       6     38      3,903      29,245          -          -        29,245
รวมทั้งประเทศ        658     205    863  1,220,777  12,011,409    135,014    303,081    12,449,504

จำนวนเกษตรกรที่รับเงินกับ ธ.ก.ส. 2/

(ข้อมูลสะสมตั้งแต่ 1 มีนาคม — 19 ตุลาคม 2555)

          รายการ                        ราย           สัญญา            จำนวนตัน      จำนวนเงิน (ล้านบาท)
          รวมทุกประเภทจำนำ         1,021,018      1,216,063      13,429,590.16             198,991.26

ที่มา: 1/ กรมการค้าภายใน กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์

2/ ธ.ก.ส.

ภาวการณ์ซื้อขายข้าวในสัปดาห์นี้ ราคาข้าวที่เกษตรกรขายได้โดยรวมค่อนข้างทรงตัวเมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจาก ผลผลิตข้าวนาปี 2555/56 เริ่มทยอยออกสู่ตลาดมากขึ้น ขณะที่ผู้ประกอบการส่งออกบางส่วนมีคำสั่งซื้อข้าวเข้ามาเพื่อรอการส่งมอบ ทำให้ราคาข้าวปรับสูงขึ้น

การส่งออก ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม — 2 ตุลาคม 2555 ประเทศไทยส่งออกข้าวทั้งหมด จำนวน 5.067 ล้านตันข้าวสาร ลดลงจาก 9.059 ล้านตันข้าวสาร ของการส่งออกข้าวในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาร้อยละ 44.07

(ที่มา : กรมการค้าภายใน)

1.2 ราคา

1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ

ราคาข้าวเปลือกเจ้าหอมมะลินาปี ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 15,657 บาท ราคาลดลงจากตันละ 15,754 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.62

ราคาข้าวเปลือกความชื้น 14-15% ที่เกษตรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 10,195 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 10,100 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.93

ราคาข้าวเปลือกเหนียวเมล็ดยาวนาปี ที่เกษตรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 12,374 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 12,291 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.68

2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ

ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 16,750 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 16,450 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.82

3) ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี.

ราคาข้าวหอมมะลิไทย ชั้น 1 (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 1,148 ดอลลาร์สหรัฐฯ (34,926 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 1,148 ดอลลาร์สหรัฐฯ (34,926 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.44 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 153 บาท

ราคาข้าวปทุมธานี ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 980 ดอลลาร์สหรัฐฯ (29,815 บาท/ตัน)

ราคาลดลงจากตันละ 980 ดอลลาร์สหรัฐฯ (29,815 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.31 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 394 บาท

ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 583 ดอลลาร์สหรัฐฯ (17,737 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 583 ดอลลาร์สหรัฐฯ (17,737 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.10 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 366 บาท

ราคาข้าวสารเจ้า 25% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 568 ดอลลาร์สหรัฐฯ (17,280 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 568 ดอลลาร์สหรัฐฯ (17,280 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.24 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 213 บาท

ราคาข้าวนึ่ง 5% ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 609 ดอลลาร์สหรัฐฯ (18,528 บาท/ตัน)

ราคาสูงขึ้นจากตันละ 609 ดอลลาร์สหรัฐฯ (18,528 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 4.82 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 853 บาท

หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 30.4834 บาท

2. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในต่างประเทศ

2.2 สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ

เวียดนาม

สมาคมอาหารของเวียดนาม (The VietNam Food Association; VFA) รายงานการส?งออกข้าวช่วงวันที่ 1 ม.ค.-16 ต.ค. 2555 มีจำนวนรวม 6.098 ล้านตัน มูลค่า 2,704 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ทั้งปริมาณและมูลค่าลดลงร้อยละ 0.2 และร้อยละ 8 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของป?2554 ที่ส่งออกได?6.111 ล้านตัน มูลค่า 2,942 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ทั้งนี้ในช่วง 8 เดือนแรก ผู้ส่งออกได้ทำสัญญาขายข้าวไปแล้วรวม 6.8 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 30 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา

สถานการณ์ราคาข้าวส่งออกของเวียดนามปรับตัวสูงขึ้น จากข่าวที่มีการทำสัญญาขายข้าวให้อินโดนีเซียจำนวน 300,000 ตัน ทั้งนี้ราคา เอฟ.โอ.บี.ข้าวขาว 5% ตันละ 455 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,870 บาท/ตัน) สูงขึ้นจากตันละ 445-452 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,671 บาท/ตัน) ในสัปดาห?ก่อนร้อยละ 1.38 ขณะที่ราคา เอฟ.โอ.บี.ข้าวขาว 25% ตันละ 425 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,955 บาท/ตัน) สูงขึ้นจากตันละ 410-420 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,651 บาท/ตัน) ในสัปดาหก่อนร้อยละ 2.41

ผู้ส่งออกข้าวเวียดนามระบุว่า ขณะนี้กำลังประสบปัญหาผู้นำเข้าข้าวจีนได?ยกเลิกคำสั่งซื้อหลังจากที่ราคาข้าวมีแนวโน้มสูงขึ้นรวมทั้งปัญหาผู้นำเข้าข้าวจีนได?นำข้าวหอมเวียดนามไปผสมกับข้าวขาวเพื่อขายทำกำไรอีกทอดหนึ่งซึ่งทำให้ข้าวเวียดนามเสียชื่อเสียง

ที่มา : Riceonline.com, และสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย

อินโดนีเซีย

มีรายงานข้าวว่า สำนักพลาธิการของอินโดนีเซีย (The State Logistics Agency) หรือ BULOG กำลังพิจารณาที่จะซื้อข้าวจากเวียดนาม หรืออินเดีย ประมาณ 500,000 ตัน ในช่วง 2 เดือนข้างหน้าและจะจัดหาข้าวในประเทศประมาณ 200,000-250,000 ตัน เพื่อให?ครบตามเป้าที่จะจัดหาข้าว 4.1 ล้านตัน ในปีนี้ โดยคาดว่าจะมีการจัดหาข้าวในประเทศได?ประมาณ 3.6 ล้านตัน ทั้งนี้ BULOG อยู่ระหว่างการเจรจากับเวียดนามและอินเดีย โดยคาดว่าจะมีการนำเข้าประมาณ 500,000-770,000 ตัน

ล่าสุดมีข่าวว่าอินโดนีเซียได?เซ็นสัญญาซื้อข้าวขาว 15% ปริมาณ 3 แสนตัน ราคาตันละ 438 ดอลลาร์สหรัฐฯ เอฟ.โอ.บี. จากบริษัท Vinafood 2 (Vietnam Southern Food Corporation) แล้ว โดยจะเริ่มทำการส่งมอบในตั้งแต่เดือนนี้จนเสร็จสิ้นในเดือน ธ.ค.

ที่มา : Riceonline.com, และสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย

ฟิลิปปินส?

กระทรวงเกษตร (The Department of Agriculture) ระบุว่าในปีหน้าฟิลิปปินส์อาจจะนำเข้าข้าวขาวเพียง 100,000-150,000 ตัน เพราะคาดว่าผลผลิตข้าวจะมีจำนวนเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีนี้ซึ่งเป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการพึ่งพาผลผลิตข้าวในประเทศ (rice self-sufficiency roadmap) ทั้งนี้ในปี 2555 รัฐบาลคาดว่าจะมีผลผลิตข้าวประมาณ 18.46 ล้านตัน และในป? 2556 จะมีผลผลิตมากกว่า 20 ล้านตัน

อย่างไรก็ตาม เมื่อสัปดาห?ก่อนสำนักงานสถิติการเกษตร (The Bureau of Agricultural Statistics; BAS) รายงาน สต็อกข้าวของประเทศ ณ วันที่ 1 ก.ย. มีจำนวน 1.44 ล้านตัน (ซึ่งเพียงพอสำหรับการบริโภค ประมาณ 43 วัน ) ลดลงร้อยละ 40.3 จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ซึ่งมีจำนวน 2.41 ล้านตัน และลดลงร้อยละ 7 จากเดือน ส.ค. ที่มีจำนวน 1.56 ล้านตัน โดยเป็นสต็อกข้าวในคลังขององค์การอาหารแห่งชาติ (The National Food Authority; NFA) มีจำนวน 520,000 ตัน (คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 36 ของสต็อกทั้งหมด) ซึ่งสต็อกของ NFA จำนวนดังกล่าว เพียงพอสำหรับการบริโภคประมาณ 15 วันเท่านั้น (รัฐบาลกำหนดให? NFA ต้องมีสต็อกเพียงพอสำหรับการบริโภค 30 วัน)

ที่มา : Riceonline.com, และสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย

อินเดีย

สถานการณ?ราคาข้าวส่งออกของอินเดียทรงตัว โดยข้าวขาว 5% ตันละ 390-430 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,498 บาท/ตัน) ซึ่งในช่วงนี้มีการส่งมอบข้าวตามสัญญาที่ค้างอยูให้แก่ประเทศในแถบแอฟริกา เช่น ไนจีเรีย แต่อย่างไรก็ตาม ในช่วงนี้ยังไม่มีคำสั่งซื้อใหมๆ จากต่างประเทศเข้ามากระตุ้นตลาด

ทั้งนี้ การเก็บเกี่ยวผลผลิตข้าวได้เริ่มขึ้นตั้งแต่ต้นเดือน ต.ค.2555 โดยคาดว่าในฤดูการผลิตหลักจะมีผลผลิตประมาณ 86 ล้านตัน ซึ่งลดลงประมาณร้อยละ 6.5 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ในขณะที่สต็อกข้าวของรัฐบาล ณ วันที่ 1 ต.ค. มีจำนวน 23.4 ล้านตัน ซึ่งมากกว่าเป้าหมายที่รัฐบาลกำหนดไว?ที่ 7.2 ล้านตัน

ที่มา : Riceonline.com, และสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย

--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 22-28 ตุลาคม 2555--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ