1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 การตลาด
- โครงการรับจำนำข้าวเปลือก ปี 2555/56
1) ครม. มีมติเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2555 เห็นชอบให้คงปริมาณและวงเงินโครงการจำนำข้าวเปลือกปีการผลิต 2555/56 ตามมติ กขช. เมื่อวันที่ 3 กันยายน 2555 ที่อนุมัติวงเงินเพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนรับจำนำข้าวเปลือก จำนวน 26 ล้านตัน (นาปี 15 ล้านตัน นาปรัง 11 ล้านตัน) เป็นจำนวนเงิน 405,000 ล้านบาท แยกเป็น นาปี จำนวน 240,000 ล้านบาท นาปรัง จำนวน 165,000 ล้านบาท โดยขอให้รัฐบาลโดยกระทรวงการคลังพิจารณาจัดหาเงินทุนให้แก่ ธ.ก.ส. และรัฐบาลรับภาระชำระคืนต้นเงินและดอกเบี้ยจากการกู้เงินและค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่เกิดขึ้นจริง รวมทั้งผลขาดทุนที่เกิดขึ้นจากโครงการทั้งหมด เพื่อใช้ในการรับจำนำ และในระหว่างการจัดหาเงินทุนดังกล่าว กรณีที่มีความจำเป็นให้ใช้เงินทุน
2) ชนิดและราคารับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2555/56 ให้กำหนดชนิดและราคารับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2555/56 ณ ความชื้นไม่เกิน 15% ดังนี้
(1) ข้าวเปลือกหอมมะลิ (42 กรัม) ตันละ 20,000 บาท (2) ข้าวเปลือกหอมจังหวัด (40 กรัม) ตันละ 18,000 บาท
(ข้าวหอมมะลินอกพื้นที่ 23 จังหวัด)
(3) ข้าวเปลือกปทุมธานี (42 กรัม) ตันละ 16,000 บาท
(4) ข้าวเปลือกเหนียว :-
ข้าวเปลือกเหนียว 10% เมล็ดยาว ตันละ 16,000 บาท ข้าวเปลือกเหนียว 10% เมล็ดสั้น ตันละ 15,000 บาท
(5) ข้าวเปลือกเจ้า :-
ข้าวเปลือกเจ้า 100% ตันละ 15,000 บาท ข้าวเปลือกเจ้า 5% ตันละ 14,800 บาท ข้าวเปลือกเจ้า 10% ตันละ 14,600 บาท ข้าวเปลือกเจ้า 15% ตันละ 14,200 บาท ข้าวเปลือกเจ้า 25% ตันละ 13,800 บาท
ทั้งนี้ ราคารับจำนำข้างต้นให้ปรับเพิ่ม-ลดตามจำนวนกรัม ในอัตรากรัมละ 200 บาท
3) เป้าหมายการรับจำนำ ไม่จำกัดปริมาณข้าวเปลือกที่รับจำนำทั้งโครงการ ส่วนปริมาณข้าวเปลือกที่เกษตรกรแต่ละรายจะจำนำได้ไม่จำกัดจำนวนเช่นกัน โดยต้องเป็นข้าวเปลือกที่เกษตรกรเพาะปลูกเองในปีการผลิต 2555/56 และต้องมีหนังสือรับรองเกษตรกรของกรมส่งเสริมการเกษตร ซึ่งผ่านการทำประชาคม และเกษตรกรลงชื่อรับรองตัวเอง พร้อมทั้งเจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมการเกษตร และปลัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายลงชื่อรับรองด้วย ทั้งนี้ ผลผลิตที่ปรับเพิ่มเกินกว่า 20% รวมทั้งเกษตรกรที่มีวงเงินรับจำนำเกิน 500,000 บาท ให้คณะอนุฯ จังหวัดตรวจสอบทุกราย
4) ระยะเวลา
(1) ระยะเวลารับจำนำ 1 ตุลาคม 2555 — 15 กันยายน 2556
(2) ระยะเวลาไถ่ถอน 4 เดือน นับถัดจากเดือนที่รับจำนำ
(3) ระยะเวลาโครงการ 1 ตุลาคม 2555 — 31 มกราคม 2557
โครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปรัง ปี 2555
ผลการรับจำนำ
จำนวนเกษตรกรที่รับเงินกับ ธ.ก.ส. (ข้อมูลสะสมตั้งแต่ 1 มีนาคม — 26 ตุลาคม 2555) รายการ ราย สัญญา จำนวนตัน จำนวนเงิน (ล้านบาท) รวมทุกประเภทจำนำ 1,021,018 1,244,509 13,835,658.00 205,000.051
ที่มา : ธ.ก.ส.
ภาวการณ์ซื้อขายข้าวสัปดาห์นี้ ข้าวที่เกษตรกรขายได้ มีราคาทรงตัวเมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตข้าวฤดูกาลใหม่เริ่มทยอยออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้น
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ราคาข้าวเปลือกเจ้าหอมมะลินาปี ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 15,685 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 15,657 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.18
ราคาข้าวเปลือกความชื้น 14-15% ที่เกษตรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 10,154 บาท ราคาลดลงจากตันละ 10,195 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.40
ราคาข้าวเปลือกเหนียวเมล็ดยาวนาปี ที่เกษตรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 12,089 บาท ราคาลดลงจากตันละ 12,374 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.24
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 16,600 บาท ราคาลดลงจากตันละ 16,750 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.82
3) ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี.
ราคาข้าวหอมมะลิไทย ชั้น 1 (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 1,127 ดอลลาร์สหรัฐฯ (34,345 บาท/ตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน แต่ลดลงในรูปเงินบาทตันละ 10 บาท
ราคาข้าวปทุมธานี ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 961 ดอลลาร์สหรัฐฯ (29,287 บาท/ตัน)
ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน แต่ลดลงในรูปเงินบาทตันละ 8 บาท
ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 581 ดอลลาร์สหรัฐฯ (17,706 บาท/ตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน แต่ลดลงในรูปเงินบาทตันละ 5 บาท
ราคาข้าวสารเจ้า 25% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 566 ดอลลาร์สหรัฐฯ (17,249 บาท/ตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน แต่ลดลงในรูปเงินบาทตันละ 5 บาท
ราคาข้าวนึ่ง 5% ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 607 ดอลลาร์สหรัฐฯ (18,498 บาท/ตัน)
ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 5 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 30.4751 บาท
2. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในต่างประเทศ
สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
พม่า
สหพันธข้าวพม่า (The Myanmar Rice Federation) ระบุว่าพม่าวางแผนที่จะส่งออกข้าวเพิ่มขึ้นเป็น 3 ล้านตัน ในป? 2560 ซึ่งเพิ่มขึ้นเท่าตัวจากเป้าหมายการส่งออก ในป? 2555/56 ที่คาดว่าจะส่งออกได? 1.5 ล้านตัน
ทั้งนี้ พม่าจะกลับมาเป็นผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่ให้ได้ภายใน 5 ป? โดยการพัฒนาและปรับปรุงระบบโครงสร้างพื้นฐาน และผลผลิตต่อไร? ซึ่งรัฐบาลกำหนดเป้าหมายที่จะเพิ่มผลผลิตเป็น 640 ก.ก.ต่อไร? จากปัจจุบันผลผลิตอยู?ที่ประมาณ 240 ก.ก.ต่อไร? ทั้งนี้ พม่ามีผลผลิตข้าวประมาณปีละ 11 ล้านตันข้าวสาร
ที่มา : Riceonline.com, สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
ปากีสถาน
สำนักงานสถิติแห่งปากีสถาน (The Pakistan Bureau of Statistics; PBS) รายงานว่าในช่วงไตรมาสแรก (ก.ค.-ก.ย.) ของปีงบประมาณ 2555/56 (ก.ค.-มิ.ย.) ส่งออกข้าวได้ปริมาณลดลงร้อยละ 45 เนื่องจากการส่งออกข้าวบาสมาติลดลงถึงร้อยละ 50 ทั้งนี้ จากรายงานเบื้องต้น พบว่าในช่วงเดือน ก.ค.-ก.ย. ที่ผ่านมา มีการส่งออกข้าวเพียง 344,641 ตัน ลดลงร้อยละ 45 เมื่อเทียบกับจำนวน 624,265 ตัน ในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยเป็นการส่งออกข้าวบาสมาติ จำนวน 132,119 ตัน ลดลงร้อยละ 52 เมื่อเทียบกับจำนวน 277,639 ตัน ในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ขณะที่การส่งออกข้าวที่ไม่ใช่บาสมาติ มีจำนวน 212,522 ตัน ลดลงร้อยละ 39 เมื่อเทียบกับ จำนวน 346,626 ตัน ในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา
ทั้งนี้ในเดือน ก.ย. ที่ผ่านมามีการส่งออกข้าวประมาณ 105,982 ตัน ลดลงร้อยละ 41 เมื่อเทียบกับ จำนวน 180,854 ตัน ในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา
สมาคมผู้ส่งออกข้าวปากีสถาน (The Rice Exporters Association of Pakistan; REAP) ระบุว่าสาเหตุที่ทำให?การส่งออกข้าวลดลง เนื่องจากราคาข้าวในประเทศมีราคาสูง จึงทำให?ผู้ซื้อหันไปซื้อข้าวจากแหล่งอื่นที่ราคาต่ำกว่า อย่างไรก็ตาม คาดว่าในเดือน พ.ย. นี้ สถานการณ?จะดีขึ้น เพราะข้าวในฤดูกาลใหม?จะออกสู?ตลาดมากขึ้น โดยคาดว่าในป?การผลิต 2555/56 จะมีผลผลิตประมาณ 6 ล้านตัน และคาดว่าจะส่งออกได้ถึง 4 ล้านตัน สำหรับปีงบประมาณ 2554/55 ที่ผ่านมา ปากีสถานสามารถส่งออกข้าวได้ จำนวน 3.29 ล้านตัน ลดลงร้อยละ 10 เมื่อเทียบกับ จำนวน 3.67 ล้านตัน ในปีงบประมาณ 2553/54
ที่มา : Riceonline.com, สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
จีน
กรมศุลกากรของจีน (China Customs General Administration; CGA) รายงานว่าการนำเข้าข้าวของจีนในช่วง 9 เดือนแรก มีปริมาณ 1.8 ล้านตัน เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 283.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของป?ที่ผ่านมา ขณะที่การนำเข้าข้าวสาลีมี จำนวน 3.2 ล้านตัน เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 232 เช่นเดียวกัน
ทั้งนี้ การนำเข้าข้าวของจีนพุ่งสูงขึ้นอย่างเห็นได?ชัดในช่วงครึ่งปีหลัง โดยคาดว่ามีการนำเข้าข้าวกว่า 1.3 ล้านตัน ในช่วงเดือน พ.ค.-ก.ย.หรือประมาณร้อยละ 72 ของการนำเข้าข้าวทั้งหมดในปีนี้ โดยจีนนำเข้าข้าวจากประเทศเวียดนาม กัมพูชา และพม่า ส่วนของการส่งออกข้าวนั้น คาดว่าในป?นี้การส่งออกจะลดลงถึงร้อยละ 23 เหลือเพียง 237,200 ตัน เท่านั้น
ที่มา : Oryza.com, สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 29 ตุลาคม - 4 พฤศจิกายน 2555--