ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร: ข้าว

ข่าวทั่วไป Wednesday November 28, 2012 14:46 —สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ

1.1 การตลาด

  • โครงการรับจำนำข้าวเปลือก ปี 2555/56

1) ครม. มีมติเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2555 เห็นชอบให้คงปริมาณและวงเงินโครงการจำนำข้าวเปลือกปีการผลิต 2555/56 ตามมติ กขช. เมื่อวันที่ 3 กันยายน 2555 ที่อนุมัติวงเงินเพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนรับจำนำข้าวเปลือก จำนวน 26 ล้านตัน (นาปี 15 ล้านตัน นาปรัง 11 ล้านตัน) เป็นจำนวนเงิน 405,000 ล้านบาท แยกเป็น นาปี จำนวน 240,000 ล้านบาท นาปรัง จำนวน 165,000 ล้านบาท โดยขอให้รัฐบาลโดยกระทรวงการคลังพิจารณาจัดหาเงินทุนให้แก่ ธ.ก.ส. และรัฐบาลรับภาระชำระคืนต้นเงินและดอกเบี้ยจากการกู้เงินและค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่เกิดขึ้นจริง รวมทั้งผลขาดทุนที่เกิดขึ้นจากโครงการทั้งหมด เพื่อใช้ในการรับจำนำ และในระหว่างการจัดหาเงินทุนดังกล่าว กรณีที่มีความจำเป็นให้ใช้เงินทุน

2) ชนิดและราคารับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2555/56 ให้กำหนดชนิดและราคารับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2555/56 ณ ความชื้นไม่เกิน 15% ดังนี้

(1) ข้าวเปลือกหอมมะลิ (42 กรัม) ตันละ 20,000 บาท

(2) ข้าวเปลือกหอมจังหวัด (40 กรัม) ตันละ 18,000 บาท

(ข้าวหอมมะลินอกพื้นที่ 23 จังหวัด)

(3) ข้าวเปลือกปทุมธานี (42 กรัม) ตันละ 16,000 บาท

(4) ข้าวเปลือกเหนียว :-

ข้าวเปลือกเหนียว 10% เมล็ดยาว ตันละ 16,000 บาท

ข้าวเปลือกเหนียว 10% เมล็ดสั้น ตันละ 15,000 บาท

(5) ข้าวเปลือกเจ้า :-

ข้าวเปลือกเจ้า 100% ตันละ 15,000 บาท

ข้าวเปลือกเจ้า 5% ตันละ 14,800 บาท

ข้าวเปลือกเจ้า 10% ตันละ 14,600 บาท

ข้าวเปลือกเจ้า 15% ตันละ 14,200 บาท

ข้าวเปลือกเจ้า 25% ตันละ 13,800 บาท

ทั้งนี้ ราคารับจำนำข้างต้นให้ปรับเพิ่ม-ลดตามจำนวนกรัม ในอัตรากรัมละ 200 บาท

3) เป้าหมายการรับจำนำ ไม่จำกัดปริมาณข้าวเปลือกที่รับจำนำทั้งโครงการ ส่วนปริมาณข้าวเปลือกที่เกษตรกรแต่ละรายจะจำนำได้ไม่จำกัดจำนวนเช่นกัน โดยต้องเป็นข้าวเปลือกที่เกษตรกรเพาะปลูกเองในปีการผลิต 2555/56 และต้องมีหนังสือรับรองเกษตรกรของกรมส่งเสริมการเกษตร ซึ่งผ่านการทำประชาคม และเกษตรกรลงชื่อรับรองตัวเอง พร้อมทั้งเจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมการเกษตร และปลัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายลงชื่อรับรองด้วย ทั้งนี้ ผลผลิตที่ปรับเพิ่มเกินกว่า 20% รวมทั้งเกษตรกรที่มีวงเงินรับจำนำเกิน 500,000 บาท

ให้คณะอนุฯ จังหวัดตรวจสอบทุกราย

4) ระยะเวลา

(1) ระยะเวลารับจำนำ 1 ตุลาคม 2555 — 15 กันยายน 2556

(2) ระยะเวลาไถ่ถอน 4 เดือน นับถัดจากเดือนที่รับจำนำ

(3) ระยะเวลาโครงการ 1 ตุลาคม 2555 — 31 มกราคม 2557

5) ผลการดำเนินงาน

จำนวนเกษตรกรที่รับเงินกับ ธ.ก.ส. (ตั้งแต่ วันที่ 1 ตุลาคม — 19 พฤศจิกายน 2555)

  • จำนวนสัญญา 151,567 สัญญา
  • จำนวนเงิน 20,483.199 ล้านบาท
  • โครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปรัง ปี 2555

ผลการดำเนินงาน

จำนวนเกษตรกรที่รับเงินกับ ธ.ก.ส. (ตั้งแต่ วันที่ 1 มีนาคม — 19 พฤศจิกายน 2555)

  • จำนวนเกษตรกร 1,021,027 ราย
  • จำนวนสัญญา 1,303,127 สัญญา
  • จำนวนตัน 14,686,568.72 ตัน
  • จำนวนเงิน 217,591.170 ล้านบาท
  • ภาวการณ์ซื้อขายข้าวสัปดาห์นี้

ราคาข้าวที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับสัปดาห์ก่อน เนื่องจากผลผลิตข้าวฤดูกาลใหม่

ออกสู่ตลาดมากขึ้น และข้าวมีคุณภาพดี เป็นที่ต้องการของตลาด ประกอบกับผู้ประกอบการบางรายต้องการ

สั่งซื้อข้าวเพื่อการส่งมอบ จึงทำให้ราคาข้าวปรับตัวสูงขึ้น

1.2 ราคา

1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ

ราคาข้าวเปลือกเจ้าหอมมะลินาปี ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 15,339 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 15,160 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.18

ราคาข้าวเปลือกความชื้น 14-15% ที่เกษตรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 10,176 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน

ราคาข้าวเปลือกเหนียวเมล็ดยาวนาปี ที่เกษตรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 11,711 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 11,694 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.15

2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ

ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา

3) ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี.

ราคาข้าวหอมมะลิไทย ชั้น 1 (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 1,095 ดอลลาร์สหรัฐฯ (33,366 บาท/ตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 44 บาท

ราคาข้าวปทุมธานี ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 946 ดอลลาร์สหรัฐฯ (28,826 บาท/ตัน)

ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 38 บาท

ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 582 ดอลลาร์สหรัฐฯ (17,734 บาท/ตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 23 บาท

ราคาข้าวสารเจ้า 25% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 567 ดอลลาร์สหรัฐฯ (17,277 บาท/ตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 23 บาท

ราคาข้าวนึ่ง 5% ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 598 ดอลลาร์สหรัฐฯ (18,222 บาท/ตัน)

ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 24 บาท

หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 30.4711 บาท

2. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในต่างประเทศ

สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ

กัมพูชา

สหพันธ์ผู้ผลิตและส่งออกข้าวแห่งกัมพูชา (Alliance of Rice Producers & Exporters of Cambodia; ARPEC) รายงานการส่งออกข้าวในช่วง 10 เดือนแรกของปีมีจำนวน 133,489 ตัน เป็นการส่งผ่านทางท่าเรือ The Sihanoukville Port จำนวน 118,365 ตัน และผ่านทางท่าเรือ Phnom Penh Autonomous Port จำนวน 15,124 ตัน โดยในเดือนตุลาคมมีการส่งออกมากถึง 18,446 ตัน

ตลาดนำเข้าข้าวของกัมพูชา ตลาดหลักคือภูมิภาคยุโรป โดยประเทศฝรั่งเศสมีสัดส่วนการนำเข้าข้าวจากกัมพูชาถึงร้อยละ 26 รองลงมาคือโปแลนด์ร้อยละ 19 สำหรับประเทศที่นำเข้าข้าวร้อยละ 4 ได้แก่ สหราชอาณาจักร โรมาเนีย และรัสเซีย ส่วนตลาดในแถบอาเซียน โดยประเทศมาเลเซียนำเข้ามากสุดคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 11

ที่มา : Riceonline.com, สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย

ไนจีเรีย

รัฐมนตรีกระทรวงเกษตรของไนจีเรีย(Minister of Agriculture and Rural Development) ให้สัมภาษณ์ว่า ในช่วงที่ผ่านมาข้าวที่นำเข้าจากไทยและอินเดียมีคุณภาพแย่และราคาต่ำ เนื่องจากเป็นข้าวเก่าที่เก็บไว้ประมาณ 10-15 ปี จากสต็อกสำรอง (strategic reserves) จึงได้เรียกร้องให้ลดการนำเข้าข้าวและหันมาพึ่งพาผลผลิตข้าวในประเทศแทน พร้อมทั้งประเมินว่า ปริมาณการบริโภคข้าวของชาวไนจีเรียจะเพิ่มขึ้นเป็น 36 ล้านตันต่อปีภายในปี 2593 ซึ่งอาจสร้างภาระให้ต้องใช้เงินถึง 150 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ สำหรับการนำเข้าข้าวจากต่างประเทศ ดังนั้นรัฐบาลจึงควรที่จะมีมาตรการที่เข้มงวดในการนำเข้าข้าว เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจในอนาคต

ไนจีเรียสามารถผลิตข้าวได้ปีละประมาณ 2.7 ล้านตัน และมีการบริโภคปีละประมาณ 5 ล้านตัน โดยในปี 2555 USDA คาดว่า ไนจีเรียจะมีการนำเข้าข้าวประมาณ 3.2 ล้านตัน เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 33 จากปี 2554 ที่มี

การนำเข้า 2.4 ล้านตัน

ที่มา : Riceonline.com, สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย

เกาหลีใต?

สำนักงานสถิติเกาหลี (Statistics Korea) คาดว่าผลผลิตข้าวรวมของเกาหลีใต้จะมากกว่า 4 ล้านตันเพียงเล็กน้อย ซึ่งนับเป็นปริมาณผลผลิตข้าวรายปีต่ำสุดนับตั้งแต่ปี 2523 หรือมีแนวโน้มลดลงร้อยละ 5.2 เมื่อเทียบกับปีก่อนที่ปริมาณ 4.22 ล้านตัน เนื่องจากพื้นที่ปลูกข้าวลดลงร้อยละ 0.5 และผลผลิตลดลงร้อยละ 4.6 (อัตราเฉลี่ยในการผลิตต่อหน่วยพื้นที่ 62.5 ไร่) ผลผลิตข้าวส่วนใหญ่ที่ลดลงเนื่องจากไต้ฝุ่น 3 ลูกที่เข้าเกาหลีใต้เมื่อปลายเดือนสิงหาคมและต้นเดือนกันยายน ซึ่งถือเป็นช่วงเวลาสำคัญที่สุดที่ข้าวเจริญเติบโตเต็มที่

อยางไรก็ตาม กระทรวงเกษตร (the Ministry of Food, Agriculture, Forestry and Fisheries)

ระบุว่าไม่กังวลที่ผลผลิตข้าวจะลดลง เพราะในปัจจุบันอัตราการบริโภคข้าวของประชาชนเกาหลีใต้มีแนวโน้มลดลง โดยคาดว่าจะต่ำกว่าปีละ 70 กิโลกรัมต่อคน ซึ่งในแต่ละปีจะมีความต้องการบริโภคข้าวเพียงประมาณ 4 ล้านตัน เท่านั้น

นอกจากนี้ ในแต่ละปีเกาหลีใต้มีภาระผูกพันกับ WTO ที่จะต้องนำเข้าข้าวจำนวน 350,000 ตัน โดยผ่านการประมูลซื้อจากต่างประเทศ ทั้งนี้ เมื่อประเมินจากตัวเลขผลผลิตและการนำเข้าแล้ว คาดว่าจะยังมีผลผลิตส่วนเกินอีกประมาณ 200,000 ตัน และหากเกิดภาวะจำเป็นจริงๆ ก็ยังมีสต็อกสำรองฉุกเฉินอีกประมาณ 614,000 ตัน ที่พร้อมจะระบายออกสู่ตลาดด้วย

ที่มา : Riceonline.com, สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย

--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 19 - 25 พฤศจิกายน 2555--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ