1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 การตลาด
- โครงการรับจำนำข้าวเปลือก ปี 2555/56
1) ครม. มีมติเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2555 เห็นชอบให้คงปริมาณและวงเงินโครงการจำนำข้าวเปลือกปีการผลิต 2555/56 ตามมติ กขช. เมื่อวันที่ 3 กันยายน 2555 ที่อนุมัติวงเงินเพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนรับจำนำข้าวเปลือก จำนวน 26 ล้านตัน (นาปี 15 ล้านตัน นาปรัง 11 ล้านตัน) เป็นจำนวนเงิน 405,000 ล้านบาท แยกเป็น นาปี จำนวน 240,000 ล้านบาท นาปรัง จำนวน 165,000 ล้านบาท โดยขอให้รัฐบาลโดยกระทรวงการคลังพิจารณาจัดหาเงินทุนให้แก่ ธ.ก.ส. และรัฐบาลรับภาระชำระคืนต้นเงินและดอกเบี้ยจากการกู้เงินและค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่เกิดขึ้นจริง รวมทั้งผลขาดทุนที่เกิดขึ้นจากโครงการทั้งหมด เพื่อใช้ในการรับจำนำ และในระหว่างการจัดหาเงินทุนดังกล่าว กรณีที่มีความจำเป็นให้ใช้เงินทุน
2) ชนิดและราคารับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2555/56 ให้กำหนดชนิดและราคารับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2555/56 ณ ความชื้นไม่เกิน 15% ดังนี้
(1) ข้าวเปลือกหอมมะลิ (42 กรัม) ตันละ 20,000 บาท (2) ข้าวเปลือกหอมจังหวัด (40 กรัม) ตันละ 18,000 บาท
(ข้าวหอมมะลินอกพื้นที่ 23 จังหวัด)
(3) ข้าวเปลือกปทุมธานี (42 กรัม) ตันละ 16,000 บาท
(4) ข้าวเปลือกเหนียว :-
ข้าวเปลือกเหนียว 10% เมล็ดยาว ตันละ 16,000 บาท ข้าวเปลือกเหนียว 10% เมล็ดสั้น ตันละ 15,000 บาท
(5) ข้าวเปลือกเจ้า :-
ข้าวเปลือกเจ้า 100% ตันละ 15,000 บาท ข้าวเปลือกเจ้า 5% ตันละ 14,800 บาท ข้าวเปลือกเจ้า 10% ตันละ 14,600 บาท ข้าวเปลือกเจ้า 15% ตันละ 14,200 บาท ข้าวเปลือกเจ้า 25% ตันละ 13,800 บาท
ทั้งนี้ ราคารับจำนำข้างต้นให้ปรับเพิ่ม-ลดตามจำนวนกรัม ในอัตรากรัมละ 200 บาท
3) เป้าหมายการรับจำนำ ไม่จำกัดปริมาณข้าวเปลือกที่รับจำนำทั้งโครงการ ส่วนปริมาณข้าวเปลือกที่เกษตรกรแต่ละรายจะจำนำได้ไม่จำกัดจำนวนเช่นกัน โดยต้องเป็นข้าวเปลือกที่เกษตรกรเพาะปลูกเองในปีการผลิต 2555/56 และต้องมีหนังสือรับรองเกษตรกรของกรมส่งเสริมการเกษตร ซึ่งผ่านการทำประชาคม และเกษตรกรลงชื่อรับรองตัวเอง พร้อมทั้งเจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมการเกษตร และปลัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายลงชื่อรับรองด้วย ทั้งนี้ ผลผลิตที่ปรับเพิ่มเกินกว่า 20% รวมทั้งเกษตรกรที่มีวงเงินรับจำนำเกิน 500,000 บาท
ให้คณะอนุฯ จังหวัดตรวจสอบทุกราย
4) ระยะเวลา
(1) ระยะเวลารับจำนำ 1 ตุลาคม 2555 — 15 กันยายน 2556
(2) ระยะเวลาไถ่ถอน 4 เดือน นับถัดจากเดือนที่รับจำนำ
(3) ระยะเวลาโครงการ 1 ตุลาคม 2555 — 31 มกราคม 2557
5) ผลการดำเนินงาน
จำนวนเกษตรกรที่รับเงินกับ ธ.ก.ส. (ตั้งแต่ วันที่ 1 ตุลาคม — 13 พฤศจิกายน 2555)
- จำนวนสัญญา 63,485 สัญญา - จำนวนเงิน 8,707.295 ล้านบาท
- โครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปรัง ปี 2555
ผลการดำเนินงาน
จำนวนเกษตรกรที่รับเงินกับ ธ.ก.ส. (ตั้งแต่ วันที่ 1 มีนาคม — 13 พฤศจิกายน 2555)
- จำนวนเกษตรกร 1,021,027 ราย - จำนวนสัญญา 1,292,610 สัญญา - จำนวนตัน 14,546,863.82 ตัน - จำนวนเงิน 215,523.737 ล้านบาท
- ภาวการณ์ซื้อขายข้าวสัปดาห์นี้
ราคาข้าวที่เกษตรกรขายได้ปรับตัวลดลงเล็กน้อย เนื่องจากมีคำสั่งซื้อต่างประเทศเข้ามาไม่มากนัก ส่งผล
ให้ภาวการณ์ซื้อขายชะลอตัว
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ราคาข้าวเปลือกเจ้าหอมมะลินาปี ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 15,160 บาท ราคาลดลงจากตันละ 15,452 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.89
ราคาข้าวเปลือกความชื้น 14-15% ที่เกษตรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 10,176 บาท ราคาลดลงจากตันละ 10,184 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.07
ราคาข้าวเปลือกเหนียวเมล็ดยาวนาปี ที่เกษตรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 11,694 บาท ราคาลดลงจากตันละ 11,982 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.41
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 16,500 บาท ราคาลดลงจากตันละ 16,550 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.30
3) ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี.
ราคาข้าวหอมมะลิไทย ชั้น 1 (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 1,095 ดอลลาร์สหรัฐฯ (33,322 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 1,093 ดอลลาร์สหรัฐฯ (33,344 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.18 แต่ลดลงในรูปเงินบาทตันละ 22 บาท
ราคาข้าวปทุมธานี ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 946 ดอลลาร์สหรัฐฯ (28,788 บาท/ตัน)
ราคาสูงขึ้นจากตันละ 944 ดอลลาร์สหรัฐฯ (28,799 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.21 แต่ลดลงในรูปเงินบาทตันละ 11 บาท
ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 582 ดอลลาร์สหรัฐฯ (17,711 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 581 ดอลลาร์สหรัฐฯ (17,725 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.17 แต่ลดลงในรูปเงินบาทตันละ 14 บาท
ราคาข้าวสารเจ้า 25% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 567 ดอลลาร์สหรัฐฯ (17,254 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 566 ดอลลาร์สหรัฐฯ (17,267 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.18 แต่ลดลงในรูปเงินบาทตันละ 13 บาท
ราคาข้าวนึ่ง 5% ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 598 ดอลลาร์สหรัฐฯ (18,198 บาท/ตัน)
ราคาลดลงจากตันละ 604 ดอลลาร์สหรัฐฯ (18,426 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.99 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 229 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 30.4312 บาท
2. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในต่างประเทศ
2.1 สถานการณ์ข้าวโลก
1) การผลิต
ผลผลิตข้าวโลก กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ได้คาดคะเนผลผลิตข้าวโลกปี 2555/56 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2555 ว่าจะมี 464.310 ล้านตันข้าวสาร (692.1 ล้านตันข้าวเปลือก) ลดลงจาก 464.785 ล้านตันข้าวสาร (692.9 ล้านตันข้าวเปลือก) ของปี 2554/55 ร้อยละ 0.10 เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของผลผลิตของประเทศผู้ผลิตที่สำคัญของโลก เช่น บังคลาเทศ กัมพูชา จีน อียิปต์ อินโดนีเซีย ปากีสถาน ฟิลิปปินส์ เวียดนาม สหรัฐอเมริกา และไทย
2) การค้าข้าวโลก
บัญชีสมดุลข้าวโลก กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ได้คาดคะเนบัญชีสมดุลข้าวโลกปี 2555/56
ณ เดือนพฤศจิกายน 2555 ว่าผลผลิต ปี 2555/56 จะมี 464.310 ล้านตันข้าวสาร ลดลงจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 0.10 การใช้ในประเทศจะมี 467.870 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา ร้อยละ 2.24 การส่งออก/นำเข้าจะมี 36.065 ล้านตันข้าวสาร ลดลงจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 5.61 และสต็อกปลายปีคงเหลือ 102.253 ล้านตันข้าวสาร
ลดลงจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 3.36
โดยประเทศที่คาดว่าจะส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่ ออสเตรเลีย กัมพูชา จีน อียิปต์ อียู กายานา ปากีสถาน สหรัฐฯ และไทย ส่วนประเทศที่คาดว่าจะส่งออกลดลง ได้แก่ อาร์เจนตินา บราซิล พม่า อินเดีย อุรุกวัย และเวียดนาม
สำหรับประเทศที่คาดว่าจะนำเข้าเพิ่มขึ้น ได้แก่ บราซิล คาเมรูน อียู ฮ่องกง อิหร่าน อิรัก เกาหลีใต้ เม็กซิโก ซาอุดิอาระเบีย แอฟริกาใต้ สหรัฐอาหรับเอมิเรสต์ และเวียดนาม ส่วนประเทศที่คาดว่าจะนำเข้าลดลง ได้แก่ จีน ไอเวอรี่โคสต์ กานา อินโดนีเซีย มาเลเซีย ไนจีเรีย และเซเนกัล
ประเทศที่มีสต็อกคงเหลือปลายปีเพิ่มขึ้น ได้แก่ จีน และเวียดนาม ส่วนประเทศที่คาดว่าจะมีสต็อกคงเหลือปลายปีลดลง ได้แก่ อินเดีย อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ และสหรัฐอเมริกา
2.2 สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
เวียดนาม
สมาคมอาหารของเวียดนาม (The VietNam Food Association; VFA) รายงานการส่งออกข้าวตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 8 พฤศจิกายน 2555 มีจำนวน 6.640 ล้านตัน โดยในเดือนพฤศจิกายนคาดว่าจะส่งออกข้าวได้ประมาณ 138,570 ตัน
สำหรับปี 2555 เวียดนามคาดการณ์ว่าจะสามารถเป็นผู้ส่งออกข้าวได้เป็นอันดับสอง รองจากอินเดียที่คาดว่าจะสามารถส่งออกข้าวได้ประมาณ 10 ล้านตัน ซึ่งช่วงนี้เวียดนามอยู่ระหว่างการเก็บเกี่ยวข้าว ขณะที่ปริมาณความต้องการข้าวเวียดนามยังคงสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องถึงแม้อยู่ในช่วงครึ่งหลังของปี 2555
ทั้งนี้เวียดนามได้ลงนามในสัญญาขายข้าวแล้วจำนวน 7.2 ล้านตัน ซึ่งอินโดนีเซียประกาศจะซื้อข้าวเวียดนามจำนวน 300,000 ตัน ประกอบกับกระทรวงเกษตรและการพัฒนาชนบท (Vietnam’s Ministry of Agriculture and Rural Development : Mard) ได้ส่งเสริมให้มีการบริโภคข้าวเวียดนาม ทำให้คาดว่า ปี 2555 เวียดนามจะสามารถส่งออกข้าวได้ 7.7 ล้านตัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.5 จากปี 2554
สมาคมอาหารของเวียดนาม รายงานว่า ความต้องการข้าวที่สูงขึ้นประกอบกับอุปทานข้าวตึงตัว ทำให้ราคาข้าวเฉลี่ยในเดือนพฤศจิกายนสูงขึ้นอย่างรวดเร็วถึงตันละ 481 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14,656 บาท/ตัน) หรือสูงขึ้นร้อยละ 8 เมื่อเทียบกับเดือนตุลาคมที่ตันละ 445 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,554 บาท/ตัน) และสูงขึ้นร้อยละ 22 เมื่อเทียบกับเดือนกรกฎาคมที่ตันละ 395 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,409 บาท/ตัน) แต่ลดลงร้อยละ 14 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนที่ตันละ 560 ดอลลาร์สหรัฐฯ (17,200 บาท/ตัน)
ที่มา : Oryza.com
พม่า
สหพันธข้าวพม่า (The Myanmar Rice Federation ; MRF) คาดว่าจะใช?งบประมาณจำนวนกว่า 17.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในการรับซื้อข้าวจากเกษตรกรผ่านการประมูลเพื่อเก็บสำรองไว? ซึ่งจะเริ่มในวันที่ 20 พฤศจิกายนนี้ ข้าวที่จะซื้อเป็นข?วขาว 25% เท่านั้น โดยได้มีการออกหนังสือเชิญชวนผู้สนใจเข้าร่วมผ่านสื่อของรัฐ และภาคเอกชน ทั้งนี้ ผู้เข้าร่วมงานจะเสนอราคาขายข้าวสูงสุดได้เพียง 1,000 ตันต่อราย ซึ่งพม่าสามารถผลิตข้าว
ได้ปีละประมาณ 12 ล้านตัน ใช้บริโภคภายในประเทศประมาณ 10 ล้านตัน และส่งออกปีละประมาณ 1 ล้านตัน
ทั้งนี้ สหพันธ์ข้าวพม่าได้วางแผนที่จะส่งออกข้าวขาว 25% จำนวน 50,000 ตัน ไปยังประเทศในแถบแอฟริกาในเดือนพฤศจิกายนนี้ โดยมีข้าวที่ส่งออกประมาณ 10,000 ตัน ซึ่งเป็นข้าวจากสต็อกปีที่แล้ว ส่วนที่เหลืออีก 40,000 ตัน มาจากองค์การเกษตรแห่งพม่า (Myanmar Agricultural Public Corporation)
ที่มา : Riceonline.com, สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
ฟิลิปปินส์
ฟิลิปปินส์คาดว่าในช่วงไตรมาสแรกของปี 2556 จะผลิตข้าวได้ประมาณ 4,160,000 ตันข้าวเปลือก หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.1 เมื่อเทียบกับไตรมาสแรกของปีก่อน ขณะที่สำนักสถิติการเกษตร (Bureau of Agricultural Statistics : BAS) รายงานการผลิตข้าวเปลือกในช่วงไตรมาสแรกของแต่ละปี พบว่า สามารถผลิตได้ประมาณร้อยละ 25 ของการผลิตข้าวรวมทั้งปี โดยในปี 2555 มีแนวโน้มที่จะผลิตข้าวเปลือกได้สูงกว่าเป้าหมายที่รัฐบาลตั้งไว้ 17.890 ล้านตัน ขณะเดียวกันผลผลิตข้าวเปลือกในไตรมาสที่สี่ของปี 2555 คาดว่าจะมีปริมาณถึง 6.49 ล้านตัน ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.2 จากช่วงเดียวกันของปี 2554 ที่ผลิตได้ 5.94 ล้านตันข้าวเปลือก ส่งผลให้การผลิตข้าวรวมทั้งปีมีปริมาณ 17.980 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 16.8 ล้านตัน ในปี 2554 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 7
ทั้งนี้ ในปี 2556 ฟิลิปปินส์ได้ประกาศเป็นปีข้าวแห่งชาติ และมีเป้าหมายที่จะผลิตข้าวให้เพียงพอกับความต้องการ โดยจะผลิตให้ได้ 20 ล้านตันข้าวเปลือก หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 11
ที่มา : Oryza.com
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 12 - 18 พฤศจิกายน 2555--