1. สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
การผลิต
อธิบดีกรมประมงตรวจโรงเพาะฟักกุ้งทะเล
ที่ฟาร์มโรงเพาะฟักกุ้งทะเลบริษัทโกลบอล เจน (ไทยแลนด์) จำกัด จังหวัดระยอง ดร.วิมล จันทรโรทัย อธิบดี
กรมประมง พร้อมคณะเดินทางไปตรวจเยี่ยมโรงเพาะฟักกุ้งทะเลตามโครงการ รวมพลัง ยับยั้ง EMS ซึ่งเป็นความร่วมมือของเกษตรกรและผู้ประกอบการโรงเพาะฟักกุ้งทะเลที่แสดงเจตจำนงร่วมกันในการปรับปรุงสุขอนามัยฟาร์ม อันจะทำให้กระบวนการผลิตกุ้งทะเลต้นน้ำ(โรงผลิตนอเพลียส)ที่มีคุณภาพ เพื่อลดความเสียหายที่อาจเกิดโรคกุ้ง ตายด่วนในรอบการผลิตใหม่ อธิบดีกรมประมงกล่าวว่า กรมประมงได้หาแนวทางแก้ปัญหากลุ่มอาการโรคตายด่วนในกุ้งทะเล โดยการทำความสะอาดและฆ่าเชื้อโรงเพาะฟัก ทั้งในระบบอากาศ ระบบน้ำ บ่อพ่อพันธุ์-แม่พันธุ์ และอุปกรณ์เครื่องมือ ซึ่งคาดว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จภายใน 3 เดือน สำหรับโรคดังกล่าว ได้แพร่ระบาดในภาคตะวันออกของประเทศไทย โดยมาตรการปรับปรุงสุขอนามัยโรงเพาะฟักลูกกุ้งแรกฟัก ป้อนโรงอนุบาลกุ้งทะเลทั่วประเทศ หากแหล่งกำเนิดดำเนินการตามมาตรฐานที่กำหนดขึ้นตามแผนปฏิบัติป้องกันควบคุมโรคตายด่วน จะช่วยชะลอการระบาดของโรคได้ ทั้งนี้มาตรฐานการปรับปรุงสุขอนามัยโรงเพาะฟักได้ดำเนินการทั่วประเทศเป็นระยะเวลา 3 เดือน นับตั้งแต่เดือนมกราคม — เมษายน 2556 จะแบ่งพื้นที่เป็น 4 โซน ประกอบด้วย โซนที่ 1 ภาคตะวันออก ในพื้นที่ จ.ชลบุรี ระยอง และตราด โซนที่ 2 ภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย ในพื้นที่ จ.ชุมพร นครศรีธรรมราช และสงขลา โซนที่ 3 ภาคใต้ฝั่งอันดามัน จ.ภูเก็ต และโซนที่ 4 ภาคใต้ฝั่งอันดามัน จ.พังงา โดยแต่ละฟาร์มใช้เวลาทำความสะอาดและตรวจมาตรฐานต่างๆ ไม่เกิน 20 วัน และมาตรการดังกล่าวจะเป็นการตรวจสอบสาเหตุโรค และลดปัญหาการเกิดโรคกุ้งตายด่วน ซึ่งขณะนี้ยังไม่สามารถระบุสาเหตุของการเกิดโรคได้
เปลี่ยนถ่ายกระชังลูกใหม่หรือเพิ่มออกซิเจนในน้ำนช่วงดังกล่าวเป็นช่วงที่น้ำตาย โดยเฉพาะในช่วงกลางคืนบวกกับออกซิเจนในน้ำค่อนในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (17 — 23 ธ.ค. 2555) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 785.08 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 270.38 ตัน สัตว์น้ำจืด 514.70 ตัน ประกอบด้วย สัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 2.46 ตัน 1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 3.36 ตัน 1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 47.46 ตัน 1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 0.19 ตัน 1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 79.75 ตัน
การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 39.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 94.94 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 94.71 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.23 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 162.45 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 162.87 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.42 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 162.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 160.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 2.50 บาท
2.5 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.82 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 26.07 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 3.75 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 79.29 บาท ลดลงจาก กิโลกรัมละ 80.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.71 บาท
2.6 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 89.33 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 96.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 6.67 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 182.14 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 179.29 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 2.85 บาท
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.43 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 23 กุมภาพันธ์ - 1 มีนาคม 2556) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 22.62 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 25 กุมภาพันธ์ - 3 มีนาคม 2556--