1. สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
การผลิต
กรมประมงเตรียมคลอดแนวทางรับรองปลาเป็ดที่ใช้ทำปลาป่น
การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเป็นอาชีพที่มีความสำคัญอย่างยิ่งที่ผลิตอาหารโปรตีนที่มีราคาต่ำหล่อเลี้ยงคนในชาติ และยังก่อให้เกิดรายได้จากการส่งเป็นสินค้าไปจำหน่ายยังต่างประเทศ ปัจจัยสำคัญสำหรับการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำคือ อาหารสัตว์น้ำ ซึ่งส่วนประกอบของปลาป่น เป็นแหล่งโปรตีนที่สำคัญ ทำให้อาหารมีโปรตีนสูง และคุณภาพดี เหมาะสำหรับการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ปลาป่นของไทยในปัจจุบันร้อยละ 60 - 70 เป็นการนำวัสดุส่วนเหลือ เช่น หัวปลา เศษปลา จากโรงงานอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารนำมาผลิต อันเป็นการเพิ่มมูลค่าของเศษวัสดุ และร้อยละ 30 - 40 เป็นปลาป่น ที่ได้จากปลาเป็ด ซึ่งเป็นปลาขนาดเล็กหรือเศษปลาที่ไม่สามารถนำไปใช้บริโภค โดยในปี 2555 ประเทศไทยผลิตปลาป่นทั้งสิ้นกว่า 5 แสนตัน โดยใช้บริโภคภายในประเทศ และส่วนที่เหลือมีการส่งออกปลาป่นไปจำหน่ายยังต่างประเทศมีปริมาณกว่า 63,000 ตัน มูลค่า 2,136 ล้านบาท ในขณะที่ปลาเป็ดเป็นผลผลิตที่ได้จากการประมงทะเล ซึ่งในวันนี้ถูกจับตามองเป็นอย่างยิ่งในประเด็นที่ต้องทำการประมงอย่างถูกกฎหมาย และมีความรับผิดชอบ ในวันนี้ประเทศไทยมีผลผลิตปลาเป็ด ทั้งสิ้นประมาณ 4 — 5 แสนตัน คิดเป็นร้อยละ 25 - 30 ของผลผลิตแหล่งทะเลทั้งหมด โดยส่วนใหญ่ร้อยละ 55 — 70 เป็นปลาเป็ดแท้ หมายถึง สัตว์น้ำขนาดเล็กที่เจริญเติบโตเต็มที่แล้ว และไม่ใช้ในการบริโภค หากมีการนำสัตว์ดังกล่าวไปก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มสูงขึ้นแล้วจะเป็นการใช้ทรัพยากรสัตว์น้ำอย่างคุ้มค่า
ดร. วิมล จันทรโรทัย อธิบดีกรมประมงกล่าวว่า กรมประมงให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับการทำประมงอย่างถูกต้อง และเป็นที่ยอมรับ โดยได้มีการจัดตั้งศูนย์ประสานงานการออกใบรับรองการจับสัตว์น้ำ เพื่อทำหน้าที่ในการควบคุม ดูแล ไม่ให้มีการทำประมงผิดกฎหมาย (IUU Fishing) โดยมีระบบการออกใบรับรองการจับสัตว์น้ำที่สามารถจะยืนยันแหล่งที่มาของสัตว์น้ำและวิธีการทำการประมงผ่านระบบการบบันทึกในสมุดปูมเรือ แต่เนื่องจากในปัจจุบัน กระแสการทำการประมงอย่างยั่งยืนได้ครอบคลุมถึงการนำปลาเป็ดไปทำปลาป่นเพื่อการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำด้วย กรมประมงจึงเตรียมจัดทำแนวทางการออกใบรับรองให้ครอบคลุมถึงปลาเป็ดว่าได้มาจากการทำประมงที่ถูกต้อง ซึ่งจะได้หารือร่วมกับสมาคมประมง สมาคมอาหารสัตว์ไทย สมาคมปลาป่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อวางกรอบแนวทางปฏิบัติ อันจะเป็นการอนุรักษ์ทรัพยากรประมง และป้องกันการกีดกันทางการค้า โดยเฉพาะการนำปลาเป็ดมาทำ ปลาป่นเพื่อการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ สำหรับมาตรการต่อเนื่องที่กรมประมงได้ดำเนินการเพื่อควบคุมการทำประมงที่ผิดกฎหมาย และการอนุรักษ์ทรัพยากรประมง ได้แก่ มาตรการปิดอ่าวไทยในพื้นที่บางส่วนของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร และสุราษฎร์ธานี พื้นที่ 16.5 ล้านไร่ ระหว่างวันที่ 15 กุมภาพันธ์ — 15 พฤษภาคมของทุกปี และมาตรการ ปิดอ่าวฝั่งอันดามันในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต พังงา กระบี่ และตรัง ระหว่างวันที่ 1 เมษายน — 30 มิถุนายนของทุกปี เพื่อเพิ่มโอกาสให้สัตว์น้ำได้วางไข่ และเลี้ยงตัวในวัยอ่อน และเป็นการป้องกันการทำประมงเกินศักยภาพ ซึ่งมาตรการดังกล่าวทำให้สัตว์น้ำมีผลผลิตเพิ่มขึ้น 2.34 เท่า เมื่อเทียบกับผลผลิตก่อนมาตรการปิดอ่าว
เปลี่ยนถ่ายกระชังลูกใหม่หรือเพิ่มออกซิเจนในน้ำนช่วงดังกล่าวเป็นช่วงที่น้ำตาย โดยเฉพาะในช่วงกลางคืนบวกกับออกซิเจนในน้ำค่อนในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (24 — 30 ธ.ค. 2555) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 635.97 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 264.04 ตัน สัตว์น้ำจืด 371.93 ตัน ประกอบด้วย สัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 2.50 ตัน 1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 3.04 ตัน 1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 50.39 ตัน 1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 0.19 ตัน 1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 74.11 ตัน
การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 40.67 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 39.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.67 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 92.37 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 94.94 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 2.57 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 166.44 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 162.45 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 3.99 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 168.33 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 162.50 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 5.83 บาท
2.5 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.96 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 29.82 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 3.14 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 76.43 บาท ลดลงจาก กิโลกรัมละ 79.29 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 2.86 บาท
2.6 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 89.33 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 180.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 182.14 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 2.14 บาท
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.61 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 7.43 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.18 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 2 - 8 มีนาคม 2556) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 22.62 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 4 - 10 มีนาคม 2556--