ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร: ข้าว

ข่าวทั่วไป Thursday March 21, 2013 14:07 —สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ

1.1 การตลาด

  • โครงการรับจำนำข้าวเปลือก ปี 2555/56

1) ครม. มีมติเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2555 เห็นชอบให้คงปริมาณและวงเงินโครงการจำนำข้าวเปลือกปีการผลิต 2555/56 ตามมติ กขช. เมื่อวันที่ 3 กันยายน 2555 ที่อนุมัติวงเงินเพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนรับจำนำข้าวเปลือก จำนวน 26 ล้านตัน (นาปี 15 ล้านตัน นาปรัง 11 ล้านตัน) เป็นจำนวนเงิน 405,000 ล้านบาท แยกเป็น นาปี จำนวน 240,000 ล้านบาท นาปรัง จำนวน 165,000 ล้านบาท โดยขอให้รัฐบาลโดยกระทรวงการคลังพิจารณาจัดหาเงินทุนให้แก่ ธ.ก.ส. และรัฐบาลรับภาระชำระคืนต้นเงินและดอกเบี้ยจากการกู้เงินและค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่เกิดขึ้นจริง รวมทั้งผลขาดทุนที่เกิดขึ้นจากโครงการทั้งหมด เพื่อใช้ในการรับจำนำ และในระหว่างการจัดหาเงินทุนดังกล่าว กรณีที่มีความจำเป็นให้ใช้เงินทุน

2) ชนิดและราคารับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2555/56 ให้กำหนดชนิดและราคารับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2555/56 ณ ความชื้นไม่เกิน 15% ดังนี้

                    (1)  ข้าวเปลือกหอมมะลิ (42 กรัม)                         ตันละ 20,000  บาท
                    (2)  ข้าวเปลือกหอมจังหวัด (40 กรัม)                       ตันละ 18,000  บาท

(ข้าวหอมมะลินอกพื้นที่ 23 จังหวัด)

                    (3)  ข้าวเปลือกปทุมธานี (42 กรัม)                         ตันละ 16,000  บาท

(4) ข้าวเปลือกเหนียว :-

                         ข้าวเปลือกเหนียว 10% เมล็ดยาว                       ตันละ 16,000  บาท
                         ข้าวเปลือกเหนียว 10% เมล็ดสั้น                        ตันละ 15,000  บาท

(5) ข้าวเปลือกเจ้า :-

                         ข้าวเปลือกเจ้า 100%                                ตันละ 15,000  บาท
                         ข้าวเปลือกเจ้า 5%                                  ตันละ 14,800  บาท
                         ข้าวเปลือกเจ้า 10%                                 ตันละ 14,600  บาท
                         ข้าวเปลือกเจ้า 15%                                 ตันละ 14,200  บาท
                         ข้าวเปลือกเจ้า 25%                                 ตันละ 13,800  บาท

ทั้งนี้ ราคารับจำนำข้างต้นให้ปรับเพิ่ม-ลดตามจำนวนกรัม ในอัตรากรัมละ 200 บาท

3) เป้าหมายการรับจำนำ ไม่จำกัดปริมาณข้าวเปลือกที่รับจำนำทั้งโครงการ ส่วนปริมาณข้าวเปลือกที่เกษตรกรแต่ละรายจะจำนำได้ไม่จำกัดจำนวนเช่นกัน โดยต้องเป็นข้าวเปลือกที่เกษตรกรเพาะปลูกเองในปีการผลิต 2555/56 และต้องมีหนังสือรับรองเกษตรกรของกรมส่งเสริมการเกษตร ซึ่งผ่านการทำประชาคม และเกษตรกรลงชื่อรับรองตัวเอง พร้อมทั้งเจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมการเกษตร และปลัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายลงชื่อรับรองด้วย ทั้งนี้ ผลผลิตที่ปรับเพิ่มเกินกว่า 20% รวมทั้งเกษตรกรที่มีวงเงินรับจำนำเกิน 500,000 บาท ให้คณะอนุฯ จังหวัดตรวจสอบทุกราย

4) ระยะเวลา

(1) ระยะเวลารับจำนำ 1 ตุลาคม 2555 — 15 กันยายน 2556

(2) ระยะเวลาไถ่ถอน 4 เดือน นับถัดจากเดือนที่รับจำนำ

(3) ระยะเวลาโครงการ 1 ตุลาคม 2555 — 31 มกราคม 2557

5) ผลการดำเนินงาน

จำนวนเกษตรกรที่รับเงินกับ ธ.ก.ส. (ตั้งแต่ วันที่ 1 ตุลาคม — 11 มีนาคม 2556)

                             - จำนวนสัญญา              1,712,171    สัญญา
                             - จำนวนตัน               10,988,852      ตัน
                             - จำนวนเงิน             176,920.511  ล้านบาท
  • ภาวการณ์ซื้อขายข้าวสัปดาห์นี้ ราคาข้าวที่เกษตรกรขายได้ลดลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตข้าวทยอยออกสู่ตลาดมากขึ้น ขณะที่พ่อค้าชะลอการสั่งซื้อเนื่องจากไม่มีคำสั่งซื้อใหม่ๆ เข้ามา ทำให้ปริมาณการซื้อขายมีไม่มาก

1.2 ราคา

1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ

ราคาข้าวเปลือกเจ้าหอมมะลินาปี ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 15,928 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 15,910 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.11

ราคาข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% ที่เกษตรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 10,160 บาท ราคาลดลงจากตันละ 10,362 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.95

ราคาข้าวเปลือกเหนียวเมล็ดยาวนาปี ที่เกษตรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 12,675 บาท ราคาลดลงจากตันละ 12,891 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.67

2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ

ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 15,430 บาท ราคาลดลงจากตันละ 15,890 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.89

3) ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี.

ราคาข้าวหอมมะลิไทย ชั้น 1 (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 1,180 ดอลลาร์สหรัฐฯ (34,734 บาท/ตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน แต่ลดลงในรูปเงินบาทตันละ 118 บาท

ราคาข้าวปทุมธานี ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 1,025 ดอลลาร์สหรัฐฯ (30,171 บาท/ตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน แต่ลดลงในรูปเงินบาทตันละ 103 บาท

ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 579 ดอลลาร์สหรัฐฯ (17,043 บาท/ตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน แต่ลดลงในรูปเงินบาทตันละ 58 บาท

ราคาข้าวสารเจ้า 25% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 575 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,925 บาท/ตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน แต่ลดลงในรูปเงินบาทตันละ 58 บาท

ราคาข้าวนึ่ง 5% ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 573 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,867 บาท/ตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน แต่ลดลงในรูปเงินบาทตันละ 57 บาท

หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 29.4355 บาท

2. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในต่างประเทศ

สถานการณ์ข้าวโลก

1) การผลิต

ผลผลิตข้าวโลก กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ได้คาดคะเนผลผลิตข้าวโลกปี 2555/56 ประจำเดือนมีนาคม 2556 ว่าจะมี 465.808 ล้านตันข้าวสาร (694.4 ล้านตันข้าวเปลือก) เพิ่มขึ้นจาก 465.027 ล้านตันข้าวสาร (693.3 ล้านตันข้าวเปลือก) ของปี 2554/55 ร้อยละ 0.17

2) การค้าข้าวโลก

บัญชีสมดุลข้าวโลก กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ได้คาดคะเนบัญชีสมดุลข้าวโลกปี 2555/56 ณ เดือนมีนาคม 2556 ว่าผลผลิต ปี 2555/56 จะมี 468.071 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 0.40

การใช้ในประเทศจะมี 470.233 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 2.36 การส่งออก/นำเข้าจะมี 37.420 ล้านตันข้าวสาร ลดลงจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 4.20 และสต็อกปลายปีคงเหลือ 103.318 ล้านตันข้าวสาร ลดลงจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 2.05

โดยประเทศที่คาดว่าจะส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่ อาร์เจนตินา ออสเตรเลีย กัมพูชา จีน อียิปต์ อียู กายานา ปากีสถาน สหรัฐฯ และไทย ส่วนประเทศที่คาดว่าจะส่งออกลดลง ได้แก่ บราซิล พม่า อินเดีย อุรุกวัย และเวียดนาม

สำหรับประเทศที่คาดว่าจะนำเข้าเพิ่มขึ้น ได้แก่ คาเมรูน คิวบา อียู ฮ่องกง อิหร่าน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ เม็กซิโก ซาอุดิอาระเบีย แอฟริกาใต้ สหรัฐอาหรับเอมิเรสต์ และสหรัฐฯ ส่วนประเทศที่คาดว่าจะนำเข้าลดลง ได้แก่ บราซิล จีน ไอเวอรี่โคสต์ อินโดนีเซีย อิรัก มาเลเซีย ไนจีเรีย และเซเนกัล

ประเทศที่มีสต็อกคงเหลือปลายปีเพิ่มขึ้น ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น ปากีสถาน และเวียดนาม ส่วนประเทศที่คาดว่าจะมีสต็อกคงเหลือปลายปีลดลง ได้แก่ อินเดีย อินโดนีเซีย และสหรัฐอเมริกา

--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 11 - 17 มีนาคม 2556--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ