ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร: ปศุสัตว์

ข่าวทั่วไป Thursday March 21, 2013 14:21 —สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร

สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ

ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ยังคงเงียบเหงา ราคาสุกรที่เกษตรกรขายได้ลดลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากปริมาณสุกรที่ออกสู่ตลาดยังคงมีมาก ขณะที่ความต้องการบริโภคเนื้อสุกรยังคงทรงตัว คาดว่าสัปดาห์หน้าราคาจะลดลง

ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 60.85 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 61.42 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.93 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 61.64 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 59.52 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 60.98 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 61.27 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 1,500 บาท (บวกลบ 59 บาท) ลดลงจากตัวละ 1,600 บาท (บวกลบ 61 บาท) ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 6.25

ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ

ราคาขายส่งสุกรมีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 59.50 บาท ทรงตัวสัปดาห์ที่ผ่านมา

ไก่เนื้อ

สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ

สถานการณ์ตลาดไก่เนื้อสัปดาห์นี้ ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้ลดลงเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากปริมาณผลผลิตไก่เนื้อยังคงออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้น ขณะที่ความต้องการบริโภคยังคงชะลอตัวลง เพราะสถานศึกษาบางแห่งได้เริ่มปิดภาคเรียน แนวโน้มคาดว่าสัปดาห์หน้าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย

สถานการณ์ข่าวในประเทศ

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เผยถึงศักยภาพการผลิตสินค้าด้านปศุสัตว์ของไทยขณะนี้มีจุดแข็งในด้านงานวิจัยและพัฒนาปรับปรุงพันธุ์ และการควบคุมป้องกันโรคที่เกิดขึ้นในสัตว์ซึ่งเป็นสินค้าส่งออกไปยังตลาดสำคัญ โดยเฉพาะตลาดสหภาพยุโรป และตลาดญี่ปุ่น ในภาพรวมของด้านปศุสัตว์ของไทยยังเป็นไปทิศทางที่ดี เป็นการผลิตที่มีคุณภาพสูงเป็นที่ยอมรับของตลาดประเทศคู่ค้าทั้งในกลุ่มประเทศอาเซียน หรือกลุ่มประเทศสหภาพยุโรปที่มีโอกาสขยายตัวได้อีกมากเช่นกัน โดยหัวใจสำคัญที่กระทรวงเกษตรฯ ได้กำหนดเป็นนโยบายในการพัฒนาภาคปศุสัตว์ของประเทศ คือ คุณภาพสินค้าปศุสัตว์ที่ส่งออก ระบบการควบคุมโรคระบาด และมาตรฐานโรงฆ่าสัตว์ ในปี 2556 คาดว่ามีมูลค่าการส่งออกถึง 7-8 หมื่นล้านบาท สำหรับสถานการณ์ไข้หวัดนกที่พบการระบาดที่ประเทศกัมพูชาคาดว่าจะไม่ส่งผลกระทบต่อประเทศไทย เพราะจุดที่พบการระบาดอยู่ห่างจากชายแดนประเทศไทยถึง 300 กม. ขณะนี้กรมปศุสัตว์ได้ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์ และควบคุมการเคลื่อนย้ายสัตว์บริเวณชายแดนอย่างเคร่งครัด เน้นกระบวนการในการป้องกันและควบคุมโรคไข้หวัดนกที่เป็นแผนทั้งปี มีการทำลายเชื้อโรคทุก 3-4 เดือน และที่สำคัญส่วนใหญ่ประเทศเพื่อนบ้านยังคงผลิตสัตว์ปีกไม่เพียงพอกับการบริโภคภายในประเทศ จึงนำเข้าจากประเทศไทยเป็นส่วนมาก

สถานการณ์ข่าวต่างประเทศ

ประเทศกัมพูชา รายงานผู้เสียชีวิตจากไข้หวัดนกเพิ่มขึ้นเป็น 8 ราย ตั้งแต่ต้นปี 2556 ที่ผ่านมา ซึ่งถือเป็นสถานการณ์การระบาดของโรคไข้หวัดนกครั้งร้ายแรงที่สุดของกัมพูชาในรอบ 10 ปี

ในส่วนของประเทศพม่า ได้สำรวจเชื้อไข้หวัดนกในฟาร์มสัตว์ปีกเมื่อเดือนมกราคม 2556 พบว่าเขต Sagaing และ Bago มีการแพร่ระบาดของเชื้อไข้หวัดนกสายพันธุ์รุนแรง H5N1 ซึ่งจากลักษณะการเลี้ยงสัตว์ปีกของชาวพม่า พบว่ามีมาตรการด้านสุขอนามัยไม่เพียงพอ สัตว์ปีกในฟาร์ม เช่น ไก่ เป็ด และเป็ดเทศสามารถติดเชื้อไข้หวัดนกสายพันธุ์ H5N1 จากนกย้ายถิ่นได้ง่ายโดยเฉพาะในช่วงฤดูร้อนที่มีสภาวะอากาศมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงและส่งผลให้ภูมิคุ้มกันของสัตว์ปีกต่ำลง

ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 41.83 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 42.19 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.85 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 42.39 ภาคกลางกิโลกรัมละ 40.39 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 43.92 บาท (ภาคเหนือไม่มีรายงานราคา) ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 10.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ

ราคาขายส่งไก่มีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 38.00 บาท และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 51.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

ไข่ไก่

สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ

ในสัปดาห์นี้ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ค่อนข้างทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากปริมาณไข่ไก่ในตลาดเริ่มลดลง ใกล้เคียงกับความต้องการบริโภคที่ลดลงจากการที่สถานศึกษาได้ทยอยปิดภาคเรียน แนวโน้มคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย

ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 272 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 273 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.37 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือร้อยฟองละ 273 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 281 บาท ภาคกลางร้อยฟอง 257 บาท และภาคใต้ ร้อยฟองละ 309 บาท ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 16.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ

ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 298 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

ไข่เป็ด

ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 316 บาท ลดลงจากร้องฟองละ 317 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.32 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือร้อยฟองละ 305 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 342 บาท ภาคกลาง ร้อยฟองละ 294 บาท และภาคใต้ ร้อยฟองละ 321 บาท

ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ

ราคาขายส่งไข่เป็ดในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 360 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

โคเนื้อ

ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคาโค (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 65.04 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 64.85 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.29 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 58.09 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 69.97 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 65.30 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 61.98 บาท

กระบือ

ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 50.97 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 50.92 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.10 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 62.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 48.77 บาท ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงานราคา

--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 11 - 17 มีนาคม 2556--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ