1.1 การตลาด
โครงการรับจำนำข้าวเปลือก ปีการผลิต 2555/56 ครั้งที่ 2
1) มติ ครม. วันที่ 31 มี.ค. 56 รับทราบกรอบ ชนิดปริมาณ ระยะเวลา วิธีการ หลักเกณฑ์ และเงื่อนไขโครงการจำนำข้าวเปลือกปีการผลิต 2555/56 ครั้งที่ 2 และอนุมัติกรอบวงเงินและแหล่งเงินทุนหมุนเวียนรับจำนำข้าวเปลือก จำนวน 7 ล้านตัน เป็นจำนวนเงิน 105,000 ล้านบาท
2) ชนิดและราคารับจำนำข้าวเปลือก ปี 2555/56 ครั้งที่ 2 ให้กำหนดชนิดและราคารับจำนำข้าวเปลือก ปี 2555/56 ครั้งที่ 2 ณ ความชื้นไม่เกิน 15 % ดังนี้
(1) ข้าวเปลือกปทุมธานี (42 กรัม) ตันละ 16,000 บาท
(2) ข้าวเปลือกเจ้า :-
ข้าวเปลือกเจ้า 100% ตันละ 15,000 บาท
ข้าวเปลือกเจ้า 5% ตันละ 14,800 บาท
ข้าวเปลือกเจ้า 10% ตันละ 14,600 บาท
ข้าวเปลือกเจ้า 15% ตันละ 14,200 บาท
ข้าวเปลือกเจ้า 25% ตันละ 13,800 บาท
(3) ข้าวเปลือกเหนียว :-
ข้าวเปลือกเหนียว 10% เมล็ดยาว ตันละ 16,000 บาท
ข้าวเปลือกเหนียว 10% เมล็ดสั้น ตันละ 15,000 บาท
ทั้งนี้ ราคารับจำนำข้าวเปลือกปทุมธานี 1 ข้างต้น ให้ปรับเพิ่ม — ลด ตามจำนวนกรัม ในอัตรากรัมละ 200 บาท และราคารับจำนำข้าวเปลือกเหนียว ให้ปรับเพิ่ม — ลด ตามจำนวนกรัม โดยเมล็ดยาว ในอัตรากรัมละ 160 บาท และเมล็ดสั้น ในอัตรากรัมละ 150 บาท
3) เป้าหมายการรับจำนำ เนื่องจากผลผลิตส่วนหนึ่งได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง ปริมาณรับจำนำข้าวเปลือกปีการผลิต 2555/56 ครั้งที่ 2 จึงกำหนดจำนวน 7 ล้านตัน จากที่ กษ.ประมาณการไว้เบื้องต้น จำนวน 9.167 ล้านตัน ส่วนปริมาณข้าวเปลือกที่เกษตรกรแต่ละรายจะจำนำได้ ต้องไม่เกินปีละ 2 ครั้ง/แปลง/ราย เกษตรกรสามารถปรับเพิ่มปริมาณรับจำนำได้อีกไม่เกิน 20% โดยให้เกษตรกรรับรองว่าเป็นผลผลิตของตนเอง และให้คณะอนุกรรมการระดับจังหวัด ตรวจสอบเกษตรกรทุกรายที่มีผลผลิตเกินกว่า 20% รวมทั้งเกษตรกรที่มีวงเงินรับจำนำเกินกว่า 500,000 บาท/ราย/ครั้ง
ทั้งนี้ในเรื่องของพันธุ์ข้าวที่รับจำนำ ไม่ให้เกษตรกรนำข้าวเปลือกที่มีอายุน้อยกว่า 110 วัน ที่มีคุณภาพต่ำเข้าร่วมโครงการ และพันธุ์ข้าวตามที่กรมการข้าว จะประกาศกำหนดไม่ให้เข้าร่วมโครงการ
4) ระยะเวลา
(1) ระยะเวลารับจำนำ 1 ก.พ. — 15 ก.ย. 56
(2) ระยะเวลาไถ่ถอน 4 เดือน นับถัดจากเดือนที่รับจำนำ
(3) ระยะเวลาโครงการ 1 ต.ค. 55 — 31 ม.ค. 57
5) ผลการดำเนินงาน จำนวนเกษตรกรที่รับเงินกับ ธ.ก.ส. (ตั้งแต่ วันที่ 1 ตุลาคม — 30 เมษายน 2556)
- จำนวนสัญญา 1,413,654 สัญญา - จำนวนตัน 14,211,467 ตัน - จำนวนเงิน 228,804.614 ล้านบาท
ภาวการณ์ซื้อขายข้าวสัปดาห์นี้ ราคาข้าวที่เกษตรกรขายได้ค่อนข้างทรงตัวเมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากบางพื้นที่ช่วงเก็บเกี่ยวข้าวกระทบฝน ประกอบกับพ่อค้าชะลอการสั่งซื้อข้าว เพราะความต้องการของตลาดปลายทางลดลง
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ราคาข้าวเปลือกเจ้าหอมมะลินาปี ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 15,680 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 15,527 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.99
ราคาข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% ที่เกษตรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 9,676 บาท ราคาลดลงจากตันละ 9,721 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.46
ราคาข้าวเปลือกเหนียวเมล็ดยาวนาปี ที่เกษตรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 12,625 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 12,545 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.64
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 15,350 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 15,310 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.26
3) ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี.
ราคาข้าวหอมมะลิไทย ชั้น 1 (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 1,233 ดอลลาร์สหรัฐฯ (35,850 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 1,255 ดอลลาร์สหรัฐฯ (35,831 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.75 แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 29 บาท
ราคาข้าวปทุมธานี ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 1,007 ดอลลาร์สหรัฐฯ (29,279 บาท/ตัน)
ราคาลดลงจากตันละ 1,024 ดอลลาร์สหรัฐฯ (29,236 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.66 แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 43 บาท
ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 564 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,399 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 574 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,388 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.74 แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 11 บาท
ราคาข้าวสารเจ้า 25% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 559 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,253 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 569 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,245 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.76 แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 8 บาท
ราคาข้าวนึ่ง 5% ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 549 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,962 บาท/ตัน)
ราคาลดลงจากตันละ 560 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,988 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.96 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 26 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 29.0755 บาท
สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
ฟิลิปปินส์
ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร ฟิลิปปินส์ รายงานว่า ดูไบและอินโดนีเซียจะนำเข้าข้าวหอมนิล จำนวน 15 ตัน จากมูลนิธิดอน บอสโกเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ในจังหวัดโคตาบาโตเหนือ ข้าวญี่ปุ่น จำนวน 20 ตัน จากเอสแอลอะกริเทค ในจังหวัดนูวา เอซิยา และข้าวหอมเมล็ดยาว จำนวน 30 ตัน จากสหกรณ์ในจังหวัดโคตาบาโตเหนือ ภายในวันที่ 6 พฤษภาคมนี้ และระหว่างเดินทางไปสำรวจการซ่อมแซมนาข้าวขั้นบันไดที่ได้รับความเสียหายจากเหตุฝนตกหนักเมื่อปีที่ผ่านบนเกาะลูซอน ได้กล่าวต่อในเรื่อง ปริมาณการส่งออกดังกล่าว ถือเป็นการส่งออกตามความสามารถของชาวนาท้องถิ่นในการบริหารจัดการตามคำสั่งซื้อที่ได้รับเข้ามาเป็นจำนวนมาก
สำหรับความต้องการ ข้าว สารของ ฟิลิปปินส์ ในปีนี้ คิดเป็นสัดส่วนเล็กน้อยเมื่อเทียบกับปริมาณ ข้าว สาร 8 ล้านตัน ที่เวียดนาม ตั้งเป้าว่าจะส่งออกในปีนี้ ทั้งที่เมื่อปี 2553 ฟิลิปปินส์ คือผู้ซื้อ ข้าว รายใหญ่ที่สุดในโลก ผู้อำนวยการสำนักงานอาหาร กล่าวว่า ฟิลิปปินส์ ตัดสินใจที่จะซื้อ ข้าว สารเมล็ดหัก 25% ในปริมาณที่เพียงพอสำรองไว้ในสต็อกตั้งแต่ช่วงเดือนกรกฎาคมถึงกันยายน และกล่าวเสริมด้วยว่า ขณะนี้ไม่มีความจำเป็น ที่ฟิลิปปินส์ จะต้องนำเข้า ข้าว เพิ่มขึ้น เนื่องจากคาดการณ์ว่าผลผลิต ข้าว ในปีนี้จะเพิ่มขึ้นเป็นประวัติการณ์อีกครั้ง
ทั้งนี้ ฟิลิปปินส์ ตั้งเป้าการผลิต ข้าว สารที่ยังไม่ได้ผ่านการสีว่าจะมีปริมาณเพิ่มขึ้นร้อยละ 11 หรือมีผลผลิต 20 ล้านตัน ในปีนี้ ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมามากเป็นประวัติการณ์ที่ 18 ล้านตันทางด้าน เวียดนาม เซาท์เธิร์น ฟู้ด หรือ วีนาฟู้ด 2 ซึ่งเป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจได้เสนอขายข้าว ในราคา ตันละ 459.75 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,367 บาท/ตัน) โดยเป็นราคาที่รวมต้นทุน ค่าประกันสินค้า และค่าส่งสินค้าเรียบร้อยแล้ว ซึ่งราคาดังกล่าวจะต่ำกว่าราคาที่ประเทศไทยได้เสนอไปที่ตันละ 568 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,515 บาท/ตัน)
ทั้งนี้ เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาราคา ข้าว สารของ เวียดนาม ได้ดิ่งลงไปอยู่ในระดับต่ำสุดในรอบสองปี และคาดว่าจะลดลงอีก หลังจากปริมาณความต้องการลดลงแต่อุปทานยังคงเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ เวียดนาม เป็นประเทศผู้ส่งออก ข้าว รายใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก ฟิลิปปินส์ ตั้งเป้าว่าในปีนี้จะต้องเก็บเกี่ยวข้าว ให้ได้ในปริมาณที่เพียงพอกับความต้องการภายในประเทศให้ได้ จากเดิมที่เคยนำเข้า ข้าว สารในปริมาณ 500,000 ตันเมื่อปีที่ผ่านมา และมากเป็นประวัติการณ์ที่ปริมาณ 860,000 ตัน ในปี 2554 ส่วนเมื่อปี 2553 ได้นำเข้าข้าว 2.45 ล้านตัน
ที่มา : www.bangkokbiznews.com
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 29 เม.ย. - 5 พ.ค. 2556--