1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 การตลาด
โครงการรับจำนำข้าวเปลือก ปีการผลิต 2555/56 ครั้งที่ 2
1) มติ ครม. วันที่ 31 มี.ค. 56 รับทราบกรอบ ชนิดปริมาณ ระยะเวลา วิธีการ หลักเกณฑ์ และเงื่อนไขโครงการจำนำข้าวเปลือกปีการผลิต 2555/56 ครั้งที่ 2 และอนุมัติกรอบวงเงินและแหล่งเงินทุนหมุนเวียนรับจำนำข้าวเปลือก จำนวน 7 ล้านตัน เป็นจำนวนเงิน 105,000 ล้านบาท
2) ชนิดและราคารับจำนำข้าวเปลือก ปี 2555/56 ครั้งที่ 2 ให้กำหนดชนิดและราคารับจำนำข้าวเปลือก ปี 2555/56 ครั้งที่ 2 ณ ความชื้นไม่เกิน 15 % ดังนี้
(1) ข้าวเปลือกปทุมธานี (42 กรัม) ตันละ 16,000 บาท
(2) ข้าวเปลือกเจ้า :-
ข้าวเปลือกเจ้า 100% ตันละ 15,000 บาท
ข้าวเปลือกเจ้า 5% ตันละ 14,800 บาท
ข้าวเปลือกเจ้า 10% ตันละ 14,600 บาท
ข้าวเปลือกเจ้า 15% ตันละ 14,200 บาท
ข้าวเปลือกเจ้า 25% ตันละ 13,800 บาท
(3) ข้าวเปลือกเหนียว :-
ข้าวเปลือกเหนียว 10% เมล็ดยาว ตันละ 16,000 บาท
ข้าวเปลือกเหนียว 10% เมล็ดสั้น ตันละ 15,000 บาท
ทั้งนี้ ราคารับจำนำข้าวเปลือกปทุมธานี 1 ข้างต้น ให้ปรับเพิ่ม — ลด ตามจำนวนกรัม ในอัตรากรัมละ 200 บาท และราคารับจำนำข้าวเปลือกเหนียว ให้ปรับเพิ่ม — ลด ตามจำนวนกรัม โดยเมล็ดยาว ในอัตรากรัมละ 160 บาท และเมล็ดสั้น ในอัตรากรัมละ 150 บาท
3) เป้าหมายการรับจำนำ เนื่องจากผลผลิตส่วนหนึ่งได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง ปริมาณรับจำนำข้าวเปลือกปีการผลิต 2555/56 ครั้งที่ 2 จึงกำหนดจำนวน 7 ล้านตัน จากที่ กษ.ประมาณการไว้เบื้องต้น จำนวน 9.167 ล้านตัน ส่วนปริมาณข้าวเปลือกที่เกษตรกรแต่ละรายจะจำนำได้ ต้องไม่เกินปีละ 2 ครั้ง/แปลง/ราย เกษตรกรสามารถปรับเพิ่มปริมาณรับจำนำได้อีกไม่เกิน 20% โดยให้เกษตรกรรับรองว่าเป็นผลผลิตของตนเอง และให้คณะอนุกรรมการระดับจังหวัด ตรวจสอบเกษตรกรทุกรายที่มีผลผลิตเกินกว่า 20% รวมทั้งเกษตรกรที่มีวงเงินรับจำนำเกินกว่า 500,000 บาท/ราย/ครั้ง
ทั้งนี้ในเรื่องของพันธุ์ข้าวที่รับจำนำ ไม่ให้เกษตรกรนำพันธุ์ข้าวเปลือกที่มีอายุน้อยกว่า 110 วัน ที่มีคุณภาพต่ำเข้าร่วมโครงการ และพันธุ์ข้าวตามที่กรมการข้าว จะประกาศกำหนดไม่ให้เข้าร่วมโครงการ
4) ระยะเวลา
(1) ระยะเวลารับจำนำ 1 ก.พ. — 15 ก.ย. 56
(2) ระยะเวลาไถ่ถอน 4 เดือน นับถัดจากเดือนที่รับจำนำ
(3) ระยะเวลาโครงการ 1 ต.ค. 55 — 31 ม.ค. 57
5) ผลการดำเนินงาน
จำนวนเกษตรกรที่รับเงินกับ ธ.ก.ส. (ตั้งแต่ วันที่ 1 ตุลาคม — 30 เมษายน 2556)
- จำนวนสัญญา 1,413,654 สัญญา - จำนวนตัน 14,211,467 ตัน - จำนวนเงิน 228,804.614 ล้านบาท
ภาวการณ์ซื้อขายข้าวสัปดาห์นี้ ราคาข้าวที่เกษตรกรขายได้ปรับสูงขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตข้าวออกสู่ตลาดลดลงจากเดือนที่ผ่านมา ประกอบกับเกษตรกรส่วนใหญ่นำข้าวเข้าร่วมโครงการรับจำนำกับรัฐบาล
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ราคาข้าวเปลือกเจ้าหอมมะลินาปี ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 15,797 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 15,680 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.75
ราคาข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% ที่เกษตรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 9,833 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 9,676 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.46
ราคาข้าวเปลือกเหนียวเมล็ดยาวนาปี ที่เกษตรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 13,386 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 12,625 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 6.03
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 15,350 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
3) ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี.
ราคาข้าวหอมมะลิไทย ชั้น 1 (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 1,223 ดอลลาร์สหรัฐฯ (35,865 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 1,233 ดอลลาร์สหรัฐฯ (36,158 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.81 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 293 บาท
ราคาข้าวปทุมธานี ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 998 ดอลลาร์สหรัฐฯ (29,267 บาท/ตัน)
ราคาลดลงจากตันละ 1,007 ดอลลาร์สหรัฐฯ (29,530 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.89 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 263 บาท
ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 559 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,393 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 564 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,539 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.89 และลดลงในรูปเงินบาท ตันละ 146 บาท
ราคาข้าวสารเจ้า 25% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 554 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,246 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 559 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,393 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.89 และลดลงในรูปเงินบาท ตันละ 147 บาท
ราคาข้าวนึ่ง 5% ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 563 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,510 บาท/ตัน)
ราคาสูงขึ้นจากตันละ 549 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,099 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.55 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 411 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 29.3252 บาท
2. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในต่างประเทศ
สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
เวียดนาม
สมาคมอาหารของเวียดนาม (The Vietnam Food Association; VFA) รายงานว่า การส่งออกข้าว ระหว่างวันที่ 1 - 30 เมษายน 2556 มีปริมาณ 700,710 ตัน คิดเป็นมูลค?301,066 ล้านเหรียญสหรัฐฯ(FOB) และในช่วง
1 มกราคม — 30 เมษายน 2556 เวียดนามส่งออกข้าวได้รวม 2.151 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่ 942.418 ล้านเหรียญสหรัฐฯ(FOB) ซึ่งเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2555 ที่สามารถส่งออกข้าวได?รวม 1.758 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 820.28 ล้านเหรียญสหรัฐฯ(FOB) พบว่า มีปริมาณการส่งออก และมูลค่าเพิ่มขึ้น ร้อยละ 22.3 และร้อยละ 14.89 ตามลำดับ
อย่างไรก็ตาม ราคาข้าวในป?นี้ลดลงถึง 30 เหรียญสหรัฐฯต่อตัน เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของป?ที่ผ่านมา เนื่องจากความ ต้องการขาวในตลาดโลกลดลง ประกอบกับมีแรงกดดันจากการคาดการณ์ของหลายฝ่ายว่า ประเทศไทยจะระบายข้าวออกจากสต็อกรัฐบาล ซึ่งความไม?แน?นอนเกี่ยวกับนโยบายการระบายสต๊อกข้าวของไทย ส่งผลให? อุปสงค์ในตลาดโลกลดลง และที่ผ่านมาประเทศผู้นำเข้า เช่น จีน และแอฟริกา ยกเลิกคำสั่งซื้อข้าวจากเวียดนาม ประมาณ 280,000 ตัน สำหรับในช่วง 4 เดือนแรกของปี 2556 เวียดนามได?ทำสัญญาขายข้าวไปแล้ว ประมาณ 4.23 ล้านตัน เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 10 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของป?ที่ผ่านมา
ทั้งนี้ สมาคมอาหารเวียดนาม คาดการณ?ว่า ในไตรมาสที่ 2 ของปี (เมษายน — มิถุนายน 2556) จะส่งออกข้าวได้ 2.2 ล้านตัน ซึ่งจะทำให?ปริมาณการส่งออกในช่วงครึ่งป?แรกอยู?ที่ประมาณ 3.65 ล้านตัน
นายกสมาคมอาหาร (นาย Truong Thanh Phong) กล่าวว่า การส่งออกข้าวในเดือนพฤษภาคม และมิถุนายนนี้ เวียดนามจะต้องส่งออกข้าวให?ได?ประมาณ 1.5 ล้านตัน เพื่อลดสต็อกข้าวที่มีอยู่เดิมก่อนที่จะเริ่มโครงการรับซื้อข้าวในฤดูการผลิต ช่วงฤดูร้อน (The summer-autumn crop) โดยเวียดนามต้องทำสัญญาขายข้าวให?ได?ประมาณ 2 ล้านตัน ซึ่งในเดือนเมษายนที่ผ่านมาราคาข้าวในตลาดโลกปรับตัวลดลงจากเดือน มีนาคม 10 - 15 เหรียญสหรัฐฯต่อตัน ส่งผลให?ผู้ส่งออกข้าวที่ซื้อข้าวเพื่อเก็บสต็อกไว?ก่อนหน้านี้ ต้องขาดทุนประมาณ 20 - 25 เหรียญสหรัฐฯต่อตัน ดังนั้น สมาคมอาหารฯ จึงได?เสนอให?รัฐบาลยืดเวลาในการเก็บสต็อกข้าวที่ผู?ส่งออกได?ซื้อไว?ในช่วงที่
ผ่านมาออกไปอีก จากเดิมที่กำหนดไว? 3 เดือน ส่วนโครงการซื้อข้าวในฤดูการผลิต ช่วงฤดูร้อน เพื่อเก็บสต็อกไว?นั้น ควรมอบหมายให?แต?ละจังหวัดและหน?วยงานในท้องถิ่น เข้ามามีส่วนร่วมในการเก็บสต็อกด้วย และเมื่อวันที่
3 พฤษภาคมที่ผ่านมา ในที่ประชุม สมาคมอาหารฯ ได?เสนอให?รัฐบาลถ?ยโอนการเก็บสต?อกข้าวในเขตที่ราบปากแม?น้ำโขง (the Mekong Delta) ไปให?ภาคเอกชนดำเนินการแทน เพราะจะสามารถเก็บข้าว และบริหารราคาข้าวภายในประเทศไม่ให?ผันผวนตามราคาในตลาดโลก
ทั้งนี้ มาตรการสนับสนุนการซื้อข้าวเพื่อเก็บสต๊อกเป็นหนึ่งในมาตรการของรัฐบาล เพื่อกำกับปริมาณข้าวในฤดูเก็บเกี่ยวในเขตที่ราบปากแม่น้ำโขง ซึ่งจะทำให?สามารถกำหนดราคาจำหน่ายได?ดีขึ้น และได?มีการเสนอให?รัฐบาลขยายการมีส่วนร่วมของภาคเอกชนมากขึ้นด้วย
ที่มา Riceonline.com , สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
กัมพูชา
สำนักงานบริการพิธีการส?งออกข้าว (The Secretariat of One Window Service for Rice Export Formality (SOWS-REF) รายงานว่า ปริมาณการส่งออกข้าวในช่วง4 เดือนแรกของป?นี้ (มกราคม — เมษายน 2556) มีทั้งสิ้น 118,504 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 130 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของป?ที่ผ่านมา จำนวน 51,446 ตัน
สำหรับชนิดข้าวที่กัมพูชาส่งออก ประกอบด?วย ข?วหอม Phka Malis (Jasmine Rice) จำนวน 55,014 ตัน ข้าวขาว (Long Grain White Rice) จำนวน 54,862 ตัน ข้าวหอม neang malis จำนวน 5,172 ตัน เป็นต้น โดยประเทศผู้นำเข้าที่สำคัญ ประกอบด้วย ฝรั่งเศส จำนวน 18,906 ตัน โปแลนด? จำนวน 17,576 ตัน มาเลเซีย จำนวน 14,776 ตัน จีน จำนวน 11,516 ตัน เป?นต?น
ทั้งนี้ ข้าวขาว 5% ของกัมพูชา ปัจจุบันราคา 485 เหรียญสหรัฐฯต่อตัน ขณะที่ ราคาข้าว 5% ของไทยและเวียดนาม 540 และ380 เหรียญสหรัฐฯต่อตัน ตามลำดับ
ที่มา Oryza.com , สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
ฟิลิปป?นส?
กระทรวงเกษตรฟิลิปป?นส์ (The Department of Agriculture; DA) รายงานว่า ผลผลิตข้าวเปลือกในช่วงไตรมาสแรกของปี?นี้ มีจำนวน 4.21 ล้านตัน ซึ่งต่ำกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว?ที่ 4.27 ล้านตัน แต?เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 4 เมื่อปีที่ผ่านมา ประมาณร้อยละ 5.5 ขณะที่สำนักงานสถิติการเกษตร (The Bureau of Agriculture Statistics; BAS) คาดว? ในไตรมาสแรกของป?นี้ จะมีผลผลิตข้าวเปลือกประมาณ 4.17 ล้านตัน และคาดว่าในช่วงครึ่งป?แรก จะมีผลผลิตข้าวเปลือกประมาณ 7.9 ล้านตัน ซึ่งใกล?เคียงกับป?ที่ผ่านมา
ทั้งนี้ ในป?ที่ผ่านมาฟิลิปปินส?มีผลผลิตข้าวเปลือกประมาณ 10.03 ล้านตัน ในป?นี้ รัฐบาลได้ตั้งเป?ผลผลิตข้าวเปลือกไว?ที่ 20.04 ล้านตัน คิดเป็นข้าวสารประมาณ 13.03 ล้านตัน ซึ่งเพียงพอกับความต้องการบริโภคภายในประเทศที่คาดว่าจะมีประมาณ 11.23 ล้านตัน
ที่มา Oryza.com , สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
อินเดีย
องค?การอาหารแห่งชาติ (FCI) รายงานว่า โครงการจัดหาข้าวของรัฐบาล ในป?การผลิต 2555/56 ซึ่งเริ่มมาตั้งแต?วันที่ 1 ตุลาคม 2555 - 12 เมษายน 2556 สามารถจัดหาข้าวได?แล้วประมาณ 29.94 ล้านตัน เพิ่มขึ้นเล็กน้อย เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของป?ที่ผ่านมาที่ 29.79 ล้านตัน ส่วนสต็อกข้าวในคลังของรัฐบาล ณ วันที่ 1 เมษายน 2556 มีประมาณ 35.46 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาที่ 33.35 ล้านตัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.3 ซึ่งมากกว่าสต็อกข้าวขั้นต่ำที่รัฐบาลกำหนดไว? 14.2 ล้านตัน (ณ วันที่1 เมษายน 2556) ถึง 2.5 เท่า
ด้านคณะกรรมการด้านต้นทุน และราคาสินค้าเกษตร (CACP) ได?แนะนำให? รัฐบาลเพิ่มราคารับซื้อข้าวเปลือก ขั้นต่ำ (MSP) ในป?การผลิต 2556/57 โดยข้าวเกรดธรรมดา ให?เพิ่มราคาจาก 1,250 รูป?ต่อ 100 กิโลกรัม เป็น 1,310 รูป?ต่อ100 กิโลกรัม หรือ 244 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน (หรือ7,155 บาทต่อตัน) และข้าวเกรด A ให?เพิ่มราคาจาก 1,280 รูป?ต?อ100 กิโลกรัม เป็น 1,340 รูป?ต่อ 100 กิโลกรัม หรือ 250 เหรียญสหรัฐต่อตัน (หรือ 7,331 บาทต่อตัน)
รายงาน Rice Weekly Research Report โดย Agriwatch ระบุว่า การส่งออกข้าวของอินเดียในช่วง 6 เดือนแรกของป?การผลิต 2555/56 (ตุลาคม — กันยายน) มีจำนวน 4.79 ล้านตัน แบ่งเป็นข้าวบาสมาติ จำนวน 1.37 ล้านตัน และข้าวขาวที่ไม?ใช?บาสมาติจำนวน 3.42 ล้านตัน
สำหรับในช่วง 3 เดือนแรกของป?นี้ (มกราคม — มีนาคม) อินเดียส่งออกข้าวได้ 2.41 ล้านตัน แบ่งเป็น ข้าวบาสมาติ จำนวน 0.94 ล?นตัน และข้าวขาวที่ไม?ใช?บาสมาติ จำนวน 1.47 ล้านตัน
กระทรวงเกษตรอินเดีย (The Agriculture Minister) รายงานประมาณการผลผลิตของพืชที่สำคัญ โดยคาดว่า ผลผลิตพืชอาหาร ในป?การผลิต 2555/56 จะมีปริมาณรวม 255.36 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากที่รายงานในครั้งที่แล้ว ที่คาดว่า จะมีผลผลิตรวม 250.14 ล้านตัน โดยคาดว่าในจำนวนนี้ จะมีผลผลิตข้าว จำนวน 104.22 ล้านตัน ซึ่งเพิ่มขึ้นจากรายงานในครั้งที่แล้ว ที่คาดว่าจะมีผลผลิตรวม 101.8 ล้านตัน
ที่มา Riceonline.com , สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 6 - 12 พฤษภาคม 2556--