ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร: ยางพารา

ข่าวทั่วไป Monday June 3, 2013 15:53 —สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร

1. สรุปภาวการณ์ผลิต การตลาดและราคาภายในประเทศ

นายชินอิจิ ซาโตะ กรรมการผู้จัดการบริษัทไทยบริดจสโตน จำกัด เปิดเผยว่า ประเทศไทยถือเป็นฐานการผลิตยางรถยนต์ที่สำคัญอันดับ 7 ของโลกและเป็นอันดับหนึ่งในอาเซียน ในขณะเดียวกัน อุตสาหกรรมนี้มีโอกาสสูงมากที่จะได้รับผลประโยชน์จากการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือเออีซี อย่างไรก็ตาม การเข้าสู่เออีซีอย่างเต็มรูปแบบนั้น ผู้ประกอบการผลิตยางรถยนต์จึงต้องสร้างความร่วมมือในการพัฒนาความสามารถในการแข่งขัน จึงได้ร่วมกันจัดตั้ง “สมาคมผู้ผลิตยางรถยนต์ไทย (Thai Automobile Tire Manufacturers Association: TATMA” เป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร ซึ่งจัดตั้งตามพระราชบัญญัติสมาคมการค้าพ.ศ.2509 และจะอยู่ในการควบคุมดูแลของสำนักงานทะเบียนสมาคมการค้าประจำกรุงเทพมหานคร โดยตนเองจะได้รับตำแหน่งนายกสมาคมผู้ผลิตยางรถยนต์ไทยเป็นคนแรกและจะมีการผลัดเปลี่ยนตำแหน่งนายกสมาคมและมีวาระในการดำรงตำแหน่ง 2 ปี

วัตถุประสงค์หลักในการจัดตั้งสมาคมฯ คือ (1) ส่งเสริมการประกอบวิสาหกิจประเภทที่เกี่ยวกับการผลิตยางรถยนต์ (2) ปลูกฝังและเสริมสร้างสัมพันธไมตรีอันดีระหว่างสมาชิก (3) กำหนดและดำเนินมาตรการเชิงนโยบายในเรื่องความปลอดภัยของยางรถยนต์ (4) กำหนดและดำเนินมาตรการเชิงนโยบายในการรักษาสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวเนื่องกับอุตสาหกรรมยางรถยนต์ (5) ปรับปรุงประสิทธิภาพของการผลิตและการบริโภคยางรถยนต์เพื่อช่วงให้สมาชิกสามารถแข่งขันกันอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นทั้งในและต่างประเทศเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้บริโภค (6) ส่งเสริมความร่วมมือและการติดต่อประสานงานอย่างมีประสิทธิภาพกับหน่วยงานราชการทั้งองค์กรภายในประเทศและต่างประเทศ รวมถึงหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมยางรถยนต์ (7) จัดสัมมนาหรือเผยแพร่บทความต่างๆ ในหัวข้อที่เกี่ยวกับอุตสาหกรรมยางรถยนต์ โดยไม่มุ่งเน้นการแสวงหารายได้และ(8) ให้คำแนะนำหรือความเห็นในเรื่องอุตสาหกรรมยางรถยนต์แก่องค์กรสาธารณะ สมาชิกและองค์กรอื่นๆ แต่ห้ามที่จะเกี่ยวข้องกับการเมือง โดยสมาคมฯ จะประกอบด้วยสมาชิกทั้งหมด 6 บริษัท ได้แก่ บริษัทไทยบริดจสโตน จำกัด, บริษัทกู๊ดเยียร์ (ประเทศไทย) จำกัด(มหาชน),บริษัท แม็กซิสอินเตอร์เนชั่นแนล(ประเทศไทย) จำกัด, บริษัท สยามมิชลิน จำกัด, บริษัท ซูมิโตโม รับเบอร์ (ไทยแลนด์) และบริษัท โยโกฮามา ไทร์ แมนูแฟคเจอริ่ง (ประเทศไทย) จำกัด

ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

1. ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 1 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.69 บาท ลดลงจาก 81.97 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 1.28 บาท หรือร้อยละ 1.56

2. ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 2 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.19 บาท ลดลงจาก 81.47 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 1.28 บาท หรือร้อยละ 1.57

3. ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 3 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 79.69 บาท ลดลงจาก 80.97บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 1.28 บาท หรือร้อยละ 1.58

4. ยางก้อนคละ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 37.08 บาท ลดลงจาก 37.76 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 0.68 บาท หรือร้อยละ 1.80

5. เศษยางคละ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.66 บาท ลดลงจาก 33.23 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 0.57 บาท หรือร้อยละ 1.72

6. น้ำยางสดคละ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 76.83 บาท ลดลงจาก 78.49 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 1.66 บาท หรือร้อยละ 2.11

ในสัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคายางแผ่นดิบคุณภาพที่ 4 , ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 5 และ ยางแผ่นดิบคละ

ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. ซื้อขายล่วงหน้าส่งมอบเดือนมิถุนายน 2556

ณ ท่าเรือกรุงเทพ

1. ยางแผ่นรมควันชั้น 1 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 92.80 บาท เพิ่มขึ้นจาก 91.85 บาท ของ สัปดาห์ ที่แล้วกิโลกรัมละ 0.95 บาทหรือร้อยละ 1.03

2. ยางแผ่นรมควันชั้น 3 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 91.65 บาท เพิ่มขึ้นจาก 90.70 บาท ของ สัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 0.95 บาทหรือร้อยละ 1.05

3. น้ำยางข้น ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 61.50 บาท ลดลงจาก 62.30 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 0.80 บาท หรือร้อยละ 1.28

ณ ท่าเรือสงขลา

1. ยางแผ่นรมควันชั้น 1 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 92.55 บาท เพิ่มขึ้นจาก 91.60 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 0.95 บาท หรือร้อยละ 1.04

2. ยางแผ่นรมควันชั้น 3 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 91.40 บาท เพิ่มขึ้นจาก 90.45 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 0.95 บาท หรือร้อยละ 1.05

3. น้ำยางข้น ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 61.25 บาท ลดลงจาก 62.05 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 0.80 บาท หรือร้อยละ 1.29

2. สรุปภาวการณ์ผลิตการตลาดและราคาในตลาดต่างประเทศ

มาเลเซียต้องการขยายการผลิตและส่งออกยางล้อ

Dr.Rebecca Fatima StaMaria อธิบดีของกระทรวงการค้าระหว่างประเทศและอุตสาหกรรม (International Trade and Industry Ministry) เปิดเผยว่า มาเลเซียต้องการขยายการส่งออกยางล้อให้มากขึ้นในอนาคตเนื่องจากการส่งออกยางล้อปี 2555 ขยายตัวร้อยละ 3.3 เมื่อเทียบกับปี 2554 โดยได้ส่งออกยางล้อมากที่สุดไปประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนถึงร้อยละ 30.1 รองลงมาคือประเทศสหรัฐฯ ร้อยละ 19.8 เยอรมันร้อยละ 4.4 ญี่ปุ่นร้อยละ 3.8 ไทยร้อยละ 3.0 บราซิลร้อยละ 2.7 สหราชอาณาจักรร้อยละ 2.6และออสเตรเลียร้อยละ 2.5 นอกจากนี้ ได้มีการวางแผนที่จะนำเทคโนโลยีและกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมาใช้ในการผลิตยางล้อ

ราคาต่างประเทศซื้อขายล่วงหน้าส่งมอบเดือนมิถุนายน 2556

ยางแผ่นรมควันชั้น 3

ราคาซื้อขายล่วงหน้าตลาดสิงคโปร์ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 308.50 เซนต์สหรัฐฯ (92.12 บาท) เพิ่มขึ้นจาก 303.00 เซนต์สหรัฐฯ (90.29 บาท) ในสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 5.50 เซนต์สหรัฐฯ หรือร้อยละ 1.82

ราคาซื้อขายล่วงหน้าตลาดโตเกียว เฉลี่ยกิโลกรัมละ 258.70 เยน (75.79 บาท) ลดลงจาก 279.60 เยน (81.40 บาท) ในสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 20.90 เยน หรือร้อยละ 7.49

--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 27 พ.ค.- 2 มิ.ย.2556--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ