สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สัปดาห์นี้ราคาสุกรที่เกษตรกรขายได้ลดลงเมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา ภาวะตลาดสุกรยังคงเงียบเหงา เนื่องจากยังอยู่ในช่วงเทศกาลถือศีลกินเจ ประกอบกับบางพื้นที่มีฝนตกชุกและเกิดน้ำท่วม ทำให้เกษตรกรบางรายต้องระบายสุกรออกสู่ตลาดมากขึ้น ส่งผลให้ราคามีแนวโน้มลดลง สัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะลดลงเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 66.35 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 67.46 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.65 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 64.62 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 63.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 67.11 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 70.75 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 1,700 บาท (บวกลบ 65 บาท) ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 67.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้ยังคงทรงตัวเมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากอยู่ในช่วงเทศกาลถือศีลกินเจ ประกอบกับยังคงมีฝนตกชุกและเกิดน้ำท่วมขังในบางพื้นที่ ส่งผลให้ความต้องการ บริโภคค่อนข้างทรงตัว แนวโน้มคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย
สถานการณ์ข่าวต่างประเทศ
แอฟริกาใต้เพิ่มภาษีการนำเข้าสัตว์ปีกจากต่างประเทศในอัตราสูงสุดร้อยละ 82 เพื่อปกป้องอุตสาหกรรมในประเทศและให้ผู้บริโภคเห็นถึงความแตกต่างของราคา โดยอัตราภาษีใหม่นี้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 30 กันยายนนี้ ทั้งนี้สินค้าสัตว์ปีกที่นิยมบริโภคโดยผู้มีรายได้สูงจะมีการจัดเก็บภาษีสูงกว่าสินค้าสัตว์ปีกที่บริโภคโดยผู้มีรายได้ต่ำ นโยบายนี้เป็นการกระตุ้นอุตสาหกรรมสัตว์ปีกและธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสัตว์ปีก ภายในประเทศ ยกตัวอย่าง ไก่ทั้งตัว (whole birds) ภาษีนำเข้า โดยอัตราภาษีสำหรับสัตว์ปีกนั้น เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 27 เป็นร้อยละ 82 ซึ่งเป็นอัตราที่สูงที่สุดตามข้อกำหนดของ WTO หรือ เนื้อไก่ไม่ติดกระดูก ภาษีเพิ่มจากร้อยละ 5 เป็นร้อยละ 12 ส่วนซากไก่และเครื่องใน เป็นสินค้าบริโภคของผู้มีรายได้ต่ำ ภาษีจะเพิ่มจากร้อยละ 27 เป็นร้อยละ 30 และร้อยละ 31 ตามลำดับ ซึ่งอัตราภาษีใหม่นี้จะใช้กับประเทศคู่ค้าทุกประเทศที่ทำการส่งออกสัตว์ปีก ยกเว้นประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปที่มีข้อตกลงทางการค้าระหว่างกัน
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 43.55 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 43.56 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.02 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 42.39 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 45.13 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 42.81 บาท (ภาคเหนือไม่มีรายงานราคา) ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 13.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 37.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 51.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 54.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 5.56
ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
ภาวะตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ลดลงจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากเข้าสู่ช่วงเทศกาลถือศีลกินเจ ส่งผลให้ความต้องการบริโภคลดลง สัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 347 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 350 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.86 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 339 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 368 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 345 บาท และภาคใต้ ร้อยฟองละ 345 บาท ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 25.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 371 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 381 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 2.62
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 375 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 373 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.54 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 365 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 408 บาท ภาคกลาง ร้อยฟองละ 340 บาท และภาคใต้ ร้อยฟองละ 397 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 460 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโค (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 78.24 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 78.28 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.05 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 78.75 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 81.00 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 79.28 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 62.34 บาท
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 54.88 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 55.55 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.21 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 75.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 50.86 บาท ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงานราคา
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 7 - 13 ตุลาคม 2556--