1.1 การตลาด
โครงการรับจำนำข้าวเปลือก ปีการผลิต 2555/56
1) มติ ครม. วันที่ 2 กรกฎาคม 2556 รับทราบราคา ปริมาณ วงเงินการรับจำนำข้าวเปลือกของเกษตรกร และระยะเวลาการรับจำนำโครงการรับจำนำข้าวเปลือก ปีการผลิต 2555/56
2) ชนิดและราคารับจำนำข้าวเปลือก ปี 2555/56 (ตั้งแต่วันที่ 30 มิถุนายน เป็นต้นไป) ให้กำหนดชนิดและราคารับจำนำข้าวเปลือก ปี 2555/56 ณ ความชื้นไม่เกิน 15 % ดังนี้
(1) ข้าวเปลือกปทุมธานี (42 กรัม) ตันละ 16,000 บาท
(2) ข้าวเปลือกเจ้า :-
ข้าวเปลือกเจ้า 100% ตันละ 15,000 บาท
ข้าวเปลือกเจ้า 5% ตันละ 14,800 บาท
ข้าวเปลือกเจ้า 10% ตันละ 14,600 บาท
ข้าวเปลือกเจ้า 15% ตันละ 14,200 บาท
ข้าวเปลือกเจ้า 25% ตันละ 13,800 บาท
(3) ข้าวเปลือกเหนียว :-
ข้าวเปลือกเหนียว 10% เมล็ดยาว (42 กรัม) ตันละ 16,000 บาท
ข้าวเปลือกเหนียว 10% เมล็ดสั้น (40 กรัม) ตันละ 15,000 บาท
3) เป้าหมายการรับจำนำ จะรับจำนำข้าวเปลือกจากเกษตรกรในปริมาณที่ไม่เกินที่ระบุไว้ในใบรับรองเกษตรกร ที่กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ออกให้ และจำกัดวงเงินรับจำนำรายละไม่เกิน 500,000 บาทต่อรอบ ตามที่ กขช. มีมติเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2556
4) ระยะเวลา
(1) ระยะเวลารับจำนำ 1 กุมภาพันธ์ — 15 กันยายน 2556 ยกเว้น ภาคใต้จะสิ้นสุดวันที่ 30 พฤศจิกายน 2556
(2) ระยะเวลาไถ่ถอน 4 เดือน นับถัดจากเดือนที่รับจำนำ
(3) ระยะเวลาโครงการ 1 ตุลาคม 2555 — 31 มกราคม 2557
5) ผลการดำเนินงาน
จำนวนเกษตรกรที่รับเงินกับ ธ.ก.ส.(ตั้งแต่ วันที่ 1 ตุลาคม — 30 กันยายน 2556)
- จำนวนสัญญา 2,843,167 สัญญา
- จำนวนตัน 21,793,318 ตัน
- จำนวนเงิน 340,830.222 ล้านบาท
โครงการรับจำนำข้าวเปลือก ปีการผลิต 2556/57
1) มติ ครม. วันที่ 3 กันยายน 2556 รับทราบราคา ปริมาณ วงเงินการรับจำนำข้าวเปลือกของเกษตรกร และระยะเวลาการรับจำนำโครงการรับจำนำข้าวเปลือก ปีการผลิต 2556/57
2) ชนิดและราคารับจำนำข้าวเปลือก ปี 2556/57 ให้กำหนดชนิดและราคารับจำนำข้าวเปลือก
ปี 2556/57 ณ ความชื้นไม่เกิน 15 % ดังนี้
- ครั้งที่ 1
(1) ข้าวเปลือกหอมมะลิ (42 กรัม) ตันละ 20,000 บาท
(2) ข้าวเปลือกหอมจังหวัด (40 กรัม) ตันละ 18,000 บาท
(ข้าวหอมมะลินอกพื้นที่ 23 จังหวัด)
(3) ข้าวเปลือกปทุมธานี 1 (42 กรัม) ตันละ 16,000 บาท
(4) ข้าวเปลือกเจ้า :-
ข้าวเปลือกเจ้า 100% ตันละ 15,000 บาท
ข้าวเปลือกเจ้า 5% ตันละ 14,800 บาท
ข้าวเปลือกเจ้า 10% ตันละ 14,600 บาท
ข้าวเปลือกเจ้า 15% ตันละ 14,200 บาท
ข้าวเปลือกเจ้า 25% ตันละ 13,800 บาท
(5) ข้าวเปลือกเหนียว :-
ข้าวเปลือกเหนียว 10% เมล็ดยาว (42 กรัม) ตันละ 16,000 บาท
ข้าวเปลือกเหนียว 10% เมล็ดสั้น (40 กรัม) ตันละ 15,000 บาท
ทั้งนี้ ราคารับจำนำข้าวเปลือกหอมมะลิและข้าวเปลือกปทุมธานี 1 ให้ปรับเพิ่ม — ลดตามจำนวนกรัมในอัตรากรัมละ 200 บาท และราคารับจำนำข้าวเปลือกเหนียว ให้ปรับเพิ่ม — ลดตามจำนวนกรัม
โดยเมล็ดยาว ในอัตรากรัมละ 160 บาท และเมล็ดสั้นในอัตรากรัมละ 150 บาท
- ครั้งที่ 2
(1) ข้าวเปลือกปทุมธานี 1 (42 กรัม) ตันละ 16,000 บาท
(2) ข้าวเปลือกเจ้า :-
ข้าวเปลือกเจ้า 100% ตันละ 13,000 บาท
ข้าวเปลือกเจ้า 5% ตันละ 12,800 บาท
ข้าวเปลือกเจ้า 10% ตันละ 12,600 บาท
ข้าวเปลือกเจ้า 15% ตันละ 12,200 บาท
ข้าวเปลือกเจ้า 25% ตันละ 11,800 บาท
(3) ข้าวเปลือกเหนียว :-
ข้าวเปลือกเหนียว 10% เมล็ดยาว (42 กรัม) ตันละ 16,000 บาท
ข้าวเปลือกเหนียว 10% เมล็ดสั้น (40 กรัม) ตันละ 15,000 บาท
ทั้งนี้ ราคารับจำนำข้าวเปลือกปทุมธานี 1 ให้ปรับเพิ่ม — ลดตามจำนวนกรัมในอัตรากรัมละ 200 บาท และราคารับจำนำข้าวเปลือกเหนียว ให้ปรับเพิ่ม — ลดตามจำนวนกรัม โดยเมล็ดยาว ในอัตรากรัมละ
160 บาท และเมล็ดสั้นในอัตรากรัมละ 150 บาท
3) เป้าหมายการรับจำนำ จะรับจำนำข้าวเปลือกคุณภาพดี โดยจะไม่รับจำนำข้าวเปลือกที่มีอายุน้อยกว่า 110 วัน ที่มีคุณภาพต่ำ จำนวน 18 พันธุ์ ตามที่กรมการข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ประกาศ โดยจะไม่ให้เข้าร่วมโครงการฯ ทั้ง 2 ครั้ง
4) วงเงินการรับจำนำ
- ครั้งที่ 1 ไม่เกินรายละ 350,000 บาท
- ครั้งที่ 2 ไม่เกินรายละ 300,000 บาท
5) เป้าหมายการรับจำนำ รวมจำนวน 16.5 ล้านตัน
6) ระยะเวลารับจำนำ
- ครั้งที่ 1 ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2556 — 28 กุมภาพันธ์ 2557
ยกเว้น ภาคใต้จะสิ้นสุดวันที่ 31 กรกฎาคม 2557
- ครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 1 มีนาคม — 30 กันยายน 2557
ยกเว้น ภาคใต้ระว่างวันที่ 1 สิงหาคม — 30 พฤศจิกายน 2557
ภาวการณ์ซื้อขายข้าวสัปดาห์นี้ ราคาข้าวเปลือกที่เกษตรกรขายได้เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา ข้าวเปลือกเจ้าหอมมะลิ ราคาสูงขึ้นเล็กน้อย เนื่องจากเป็นข้าวคุณภาพ และยังคงเป็นที่ต้องการของตลาด ส่วนข้าวเปลือกเจ้า ราคาลดลง เนื่องจากความต้องการของตลาดชะลอตัว ส่งผลให้ผู้ประกอบการลดปริมาณการสั่งซื้อข้าว
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ราคาข้าวเปลือกเจ้าหอมมะลินาปี ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 15,881 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 15,790 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.58
ราคาข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 8,308 บาท ราคาลดลงจากตันละ 8,372 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.76
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 12,600 บาท ราคาลดลงจากตันละ 12,817 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.69
3) ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี.
ราคาข้าวหอมมะลิไทย ชั้น 1 (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 1,191 ดอลลาร์สหรัฐฯ (36,944 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 1,188 ดอลลาร์สหรัฐฯ (36,803 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.25 และสูงขึ้น
ในรูปเงินบาทตันละ 141 บาท
ราคาข้าวปทุมธานี ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 814 ดอลลาร์สหรัฐฯ (25,250 บาท/ตัน)
ราคาลดลงจากตันละ 829 ดอลลาร์สหรัฐฯ (25,681 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.81 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 431 บาท
ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 445 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,804 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 444 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,755 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.23 และสูงขึ้นในรูปเงินบาท
ตันละ 49 บาท
ราคาข้าวสารเจ้า 25% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 428 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,276 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 427 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,228 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.23 และสูงขึ้นในรูปเงินบาท
ตันละ 48 บาท
ราคาข้าวนึ่ง 5% ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 451 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,990 บาท/ตัน)
ราคาลดลงจากตันละ 461 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14,281 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.17 และลดลงในรูปเงินบาท
ตันละ 291 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 31.0192 บาท
สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
เวียดนาม
สมาคมอาหารของเวียดนาม (Vietnam Food Association: VFA) รายงานว่า ในช่วงวันที่ 1 ม.ค. — 26 ก.ย. เวียดนามส่งออกข้าวได้ 4.96 ล้านตัน มูลค่า 2.12 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (หรือประมาณ 6.58 หมื่นล้านบาท) โดยราคาส่งออกเฉลี่ยตันละ 429 ดอลลาร์สหรัฐฯ (หรือประมาณ 13,307 บาท) และในช่วงวันที่ 1 — 26 ก.ย. ที่ผ่านมา เวียดนามส่งออกข้าวได้ 281,483 ตัน มูลค่า 122 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (หรือประมาณ 3,784 ล้านบาท) โดยราคาส่งออกเฉลี่ยตันละ 434 ดอลลาร์สหรัฐฯ (หรือประมาณ 13,462 บาท) ซึ่งเพิ่มขึ้นจากตันละ 426 ดอลลาร์สหรัฐฯ (หรือประมาณ 13,214 บาท) หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 2 เมื่อเทียบกับเดือนสิงหาคม แต่ลดลงจากตันละ 440 ดอลลาร์สหรัฐฯ (หรือประมาณ 13,648 บาท) หรือลดลงร้อยละ 1 เมื่อเทียบกับเดือนกันยายน ปีที่ผ่านมา
ทั้งนี้ ปัจจุบัน ราคาข้าวเปลือกในประเทศกิโลกรัมละ 4,850 — 4,950 ดอง หรือประมาณตันละ 229 - 234 ดอลลาร์สหรัฐฯ (หรือประมาณตันละ 7,103 — 7,258 บาท) ราคาข้าวสารของข้าวขาว 5% กิโลกรัมละ 6,600 — 6,700 ดอง หรือประมาณตันละ 312 — 317 ดอลลาร์สหรัฐฯ (หรือประมาณตันละ 9,678 — 9,833 บาท) ข้าวขาว 25% กิโลกรัมละ 6,400 — 6,500 ดอง หรือประมาณตันละ 303 — 307 ดอลลาร์สหรัฐฯ (หรือประมาณตันละ 9399 - 9523 บาท)
สื่อท้องถิ่นรายงานว่า เวียดนามมีกำหนดเริ่มโครงการสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนโดยใช้แกลบเป็นเชื้อเพลิงแห่งแรกของประเทศในเดือนธันวาคม โดยวางแผนที่จะสร้างในจังหวัดเฮายาง (Hua Giang) และมีบริษัทร่วมทุนระหว่างเวียดนามกับมาเลเซีย ลงทุนประมาณ 31 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (หรือประมาณ บาท) ซึ่งในอนาคต เวียดนามวางแผนที่จะสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนโดยใช้แกลบเป็นเชื้อเพลิง เพิ่มอีกประมาณ 20 โรง
ทั้งนี้ สถาบันวิจัยพัฒนาลุ่มน้ำโขง (Mekong Delta Development Research Institute) ประมาณการว่า โรงไฟฟ้าดังกล่าวจะใช้แกลบวันละ 250 ตัน ซึ่งปัจจุบันเวียดนามผลิตแกลบได้วันละ 13,700 ตัน และกากที่ได้จากการผลิตไฟฟ้าสามารถนำไปผลิตปูนซีเมนต์และฉนวนกันความร้อนได้
ที่มา Oryza.com
จีน
รัฐบาลจีนกำหนดโควตาการนำเข้าข้าวปี 2557 ปริมาณ 5.32 ล้านตัน ซึ่งเป็นปริมาณที่คงที่นับตั้งแต่จีนนำมาตรการจำกัดปริมาณนำเข้าในรูปแบบของการกำหนดโควตาภาษี (TRQs) มาใช้ ภายใต้ข้อตกลงขององค์การการค้าโลก (WTO) ในส่วนของการจัดสรรโควตา รัฐบาลจีนกำหนดให้ร้อยละ 50 ของโควตาเป็นการนำเข้าโดยรัฐบาล และอีกร้อยละ 50 เป็นการนำเข้าโดยภาคเอกชน โดยมีอัตราภาษีในโควตาร้อยละ 1 และอัตราภาษีนอกโควตาร้อยละ 65
ทั้งนี้ ปัจจุบัน จีนนำเข้าข้าวเพิ่มขึ้นทุกปี โดยเพิ่มขึ้นจาก 540,000 ตัน ในปี 2553/54 เป็น 3.2 ล้านตัน ในปี 2555/56 และล่าสุด มีการคาดการณ์ว่า ในปี 2556/57 จีนจะนำเข้าข้าวประมาณ 3.4 ล้านตัน ซึ่งจะทำให้จีนเป็นผู้นำเข้าข้าวรายใหญ่ที่สุดในโลก เป็นปีที่ 2 ติดต่อกัน รัฐบาลจีนชี้แจงว่า ปริมาณข้าวในสต็อกมีเพียงพอ แต่การนำเข้าที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในปัจจุบันเป็นผลจากราคาในตลาดโลกที่ต่ำลง
ที่มา Oryza.com
อินเดีย
ปัจจุบัน อินเดียมีเนื้อที่เพาะปลูกข้าวฤดูฝน (kharif) 37.6 ล้านเฮคตาร์ เพิ่มขึ้นจาก 36.8 ล้านเฮคตาร์ หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 2 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา แต่ลดลงจาก 38.4 ล้านเฮคตาร์ หรือลดลงร้อยละ 2 เมื่อเทียบกับปี 2554
ก่อนหน้านี้ มีการคาดการณ์ว่า ในปีนี้ อินเดียจะผลิตข้าวได้มากที่สุดเป็นประวัติการณ์ แต่เนื่องด้วยสภาวะอากาศที่แห้งแล้งกว่าปกติ ส่งผลต่อการผลิตข้าวในรัฐพิหารตะวันออก รัฐฌาร์ขัณฑ์ และพื้นที่บางส่วนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ เมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา
ล่าสุด รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรของอินเดีย ได้ออกมากระตุ้นให้นักวิทยาศาสตร์และนักวางแผนนโยบาย ศึกษาและปรับปรุงวิธีการใช้ดิน เมล็ด ปุ๋ย และปัจจัยการผลิตอื่นๆ เพื่อให้ปริมาณการผลิตข้าวในช่วงฤดูหนาว (rabi) มีปริมาณเพียงพอตามเป้าหมายที่ตั้งไว้
ที่มา Oryza.com
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 7 - 13 ตุลาคม 2556--