ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร: ข้าว

ข่าวทั่วไป Wednesday October 30, 2013 14:21 —สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ

1.1 การตลาด

โครงการรับจำนำข้าวเปลือก ปีการผลิต 2555/56

1) มติ ครม. วันที่ 2 กรกฎาคม 2556 รับทราบราคา ปริมาณ วงเงินการรับจำนำข้าวเปลือกของเกษตรกร และระยะเวลาการรับจำนำโครงการรับจำนำข้าวเปลือก ปีการผลิต 2555/56

2) ชนิดและราคารับจำนำข้าวเปลือก ปี 2555/56 (ตั้งแต่วันที่ 30 มิถุนายน เป็นต้นไป) ให้กำหนดชนิดและราคารับจำนำข้าวเปลือก ปี 2555/56 ณ ความชื้นไม่เกิน 15 % ดังนี้

(1) ข้าวเปลือกปทุมธานี (42 กรัม) ตันละ 16,000 บาท

(2) ข้าวเปลือกเจ้า :-

ข้าวเปลือกเจ้า 100% ตันละ 15,000 บาท

ข้าวเปลือกเจ้า 5% ตันละ 14,800 บาท

ข้าวเปลือกเจ้า 10% ตันละ 14,600 บาท

ข้าวเปลือกเจ้า 15% ตันละ 14,200 บาท

ข้าวเปลือกเจ้า 25% ตันละ 13,800 บาท

(3) ข้าวเปลือกเหนียว :-

ข้าวเปลือกเหนียว 10% เมล็ดยาว (42 กรัม) ตันละ 16,000 บาท

ข้าวเปลือกเหนียว 10% เมล็ดสั้น (40 กรัม) ตันละ 15,000 บาท

3) เป้าหมายการรับจำนำ จะรับจำนำข้าวเปลือกจากเกษตรกรในปริมาณที่ไม่เกินที่ระบุไว้ในใบรับรองเกษตรกร ที่กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ออกให้ และจำกัดวงเงินรับจำนำรายละ

ไม่เกิน 500,000 บาทต่อรอบ ตามที่ กขช. มีมติเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2556

4) ระยะเวลา

(1) ระยะเวลารับจำนำ 1 กุมภาพันธ์ — 15 กันยายน 2556 ยกเว้น ภาคใต้จะสิ้นสุดวันที่ 30 พฤศจิกายน 2556

(2) ระยะเวลาไถ่ถอน 4 เดือน นับถัดจากเดือนที่รับจำนำ

(3) ระยะเวลาโครงการ 1 ตุลาคม 2555 — 31 มกราคม 2557

5) ผลการดำเนินงาน

จำนวนเกษตรกรที่รับเงินกับ ธ.ก.ส.(ตั้งแต่ วันที่ 1 ตุลาคม 2555 — 2 ตุลาคม 2556)

  • จำนวนสัญญา 2,844,107 สัญญา
  • จำนวนตัน 21,818,686 ตัน
  • จำนวนเงิน 340,972.321 ล้านบาท

หมายเหตุ : มติ กขช. วันที่ 9 ตุลาคม 2556 ให้ช่วยเหลือเกษตรกรที่ไม่สามารถนำข้าวมาเข้าโครงการรับจำนำข้าวเปลือก ปีการผลิต 2555/56 ได้ทันภายในวันที่ 15 กันยายน 2556 ซึ่งเป็นวันสิ้นสุดโครงการ โดยแบ่งลักษณะการดำเนินการออกเป็น 2 ส่วน ดังนี้

(1) ข้าวเปลือกที่เก็บเกี่ยวภายในวันที่ 15 กันยายน 2556 ให้เกษตรกรนำข้าวเปลือกมา

เข้าโครงการรับจำนำฯ ได้ตามหลักเกณฑ์เดิม (มีปริมาณข้าวประมาณ 450,000 ตัน)

(2) ข้าวเปลือกที่เก็บเกี่ยวระหว่างวันที่ 16 - 30 กันยายน 2556 ซึ่งเกษตรกรได้ขึ้นทะเบียน

เข้าโครงการรับจำนำฯ ไว้แล้ว แต่ยังไม่ได้ใช้สิทธิ์นั้น รัฐบาลจะชดเชยเงินให้ตันละ 2,500 บาท จำกัดครัวเรือนละไม่เกิน 30 ตัน (มีปริมาณข้าวประมาณ 890,000 ตัน)

โครงการรับจำนำข้าวเปลือก ปีการผลิต 2556/57

1) มติ ครม. วันที่ 3 กันยายน 2556 รับทราบราคา ปริมาณ วงเงินการรับจำนำข้าวเปลือกของเกษตรกร และระยะเวลาการรับจำนำโครงการรับจำนำข้าวเปลือก ปีการผลิต 2556/57

2) ชนิดและราคารับจำนำข้าวเปลือก ปี 2556/57 ให้กำหนดชนิดและราคารับจำนำข้าวเปลือก

ปี 2556/57 ณ ความชื้นไม่เกิน 15 % ดังนี้

  • ครั้งที่ 1

(1) ข้าวเปลือกหอมมะลิ (42 กรัม) ตันละ 20,000 บาท

(2) ข้าวเปลือกหอมจังหวัด (40 กรัม) ตันละ 18,000 บาท

(ข้าวหอมมะลินอกพื้นที่ 23 จังหวัด)

(3) ข้าวเปลือกปทุมธานี 1 (42 กรัม) ตันละ 16,000 บาท

(4) ข้าวเปลือกเจ้า :-

ข้าวเปลือกเจ้า 100% ตันละ 15,000 บาท

ข้าวเปลือกเจ้า 5% ตันละ 14,800 บาท

ข้าวเปลือกเจ้า 10% ตันละ 14,600 บาท

ข้าวเปลือกเจ้า 15% ตันละ 14,200 บาท

ข้าวเปลือกเจ้า 25% ตันละ 13,800 บาท

(5) ข้าวเปลือกเหนียว :-

ข้าวเปลือกเหนียว 10% เมล็ดยาว (42 กรัม) ตันละ 16,000 บาท

ข้าวเปลือกเหนียว 10% เมล็ดสั้น (40 กรัม) ตันละ 15,000 บาท

ทั้งนี้ ราคารับจำนำข้าวเปลือกหอมมะลิและข้าวเปลือกปทุมธานี 1 ให้ปรับเพิ่ม — ลดตามจำนวนกรัมในอัตรากรัมละ 200 บาท และราคารับจำนำข้าวเปลือกเหนียว ให้ปรับเพิ่ม — ลดตามจำนวนกรัม

โดยเมล็ดยาว ในอัตรากรัมละ 160 บาท และเมล็ดสั้นในอัตรากรัมละ 150 บาท

หมายเหตุ : มติ กขช. วันที่ 13 กันยายน 2556 เห็นชอบให้เกษตรกรที่ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2556/57 ในช่วงเดือนพฤษภาคม — มิถุนายน 2556 และจะเก็บเกี่ยวข้าวก่อนวันที่ 1 ตุลาคม 2556 ที่ต้องการจะเข้าร่วมโครงการ

รับจำนำข้าวเปลือก ปี 2556/57 โดยให้เกษตรกรฝากข้าวไว้ที่โรงสีก่อน โดยถือว่าได้ใช้สิทธิ์ในการจำนำข้าวในปีการผลิต 2556/57 ไปแล้วจำนวน 1 ครั้ง และจะขอเข้าร่วมโครงการรับจำนำข้าวเปลือก ปีการผลิต 2556/57 นาปี (ครั้งที่ 1)

อีกไม่ได้

  • ครั้งที่ 2

(1) ข้าวเปลือกปทุมธานี 1 (42 กรัม) ตันละ 16,000 บาท

(2) ข้าวเปลือกเจ้า :-

ข้าวเปลือกเจ้า 100% ตันละ 13,000 บาท

ข้าวเปลือกเจ้า 5% ตันละ 12,800 บาท

ข้าวเปลือกเจ้า 10% ตันละ 12,600 บาท

ข้าวเปลือกเจ้า 15 % ตันละ 12,200 บาท

ข้าวเปลือกเจ้า 25% ตันละ 11,800 บาท

(3) ข้าวเปลือกเหนียว :-

ข้าวเปลือกเหนียว 10% เมล็ดยาว (42 กรัม) ตันละ 16,000 บาท

ข้าวเปลือกเหนียว 10% เมล็ดสั้น (40 กรัม) ตันละ 15,000 บาท

ทั้งนี้ ราคารับจำนำข้าวเปลือกปทุมธานี 1 ให้ปรับเพิ่ม — ลดตามจำนวนกรัมในอัตรากรัมละ 200 บาท และราคารับจำนำข้าวเปลือกเหนียว ให้ปรับเพิ่ม — ลดตามจำนวนกรัม โดยเมล็ดยาว ในอัตรากรัมละ

160 บาท และเมล็ดสั้นในอัตรากรัมละ 150 บาท

3) เป้าหมายการรับจำนำ จะรับจำนำข้าวเปลือกคุณภาพดี โดยจะไม่รับจำนำข้าวเปลือกที่มีอายุน้อยกว่า 110 วัน ที่มีคุณภาพต่ำ จำนวน 18 พันธุ์ ตามที่กรมการข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ประกาศ โดยจะไม่ให้เข้าร่วมโครงการฯ ทั้ง 2 ครั้ง

4) วงเงินการรับจำนำ

  • ครั้งที่ 1 ไม่เกินรายละ 350,000 บาท
  • ครั้งที่ 2 ไม่เกินรายละ 300,000 บาท

5) เป้าหมายการรับจำนำ รวมจำนวน 16.5 ล้านตัน

6) ระยะเวลารับจำนำ

  • ครั้งที่ 1 ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2556 — 28 กุมภาพันธ์ 2557

ยกเว้น ภาคใต้จะสิ้นสุดวันที่ 31 กรกฎาคม 2557

  • ครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 1 มีนาคม — 30 กันยายน 2557

ยกเว้น ภาคใต้ระว่างวันที่ 1 สิงหาคม — 30 พฤศจิกายน 2557

? ภาวการณ์ซื้อขายข้าวสัปดาห์นี้ ราคาข้าวเปลือกที่เกษตรกรขายได้เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา ราคาค่อนข้างทรงตัวทั้งข้าวเปลือกเจ้าหอมมะลิและข้าวเปลือกเจ้า เนื่องจากบางพื้นที่ประสบปัญหาอุทกภัย ทำให้เกษตรกรรีบเก็บเกี่ยวผลผลิต ผลผลิตจึงมีคุณภาพต่ำและความชื้นสูง ประกอบกับผู้ประกอบการชะลอการสั่งซื้อข้าวเพราะตลาดมีความต้องการข้าวลดลง

1.2 ราคา

1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ

ราคาข้าวเปลือกเจ้าหอมมะลินาปี ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 15,840 บาท ราคาลดลงจากตันละ 15,881 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.26

ราคาข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 8,322 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 8,308 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.17

2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ

ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 12,470 บาท ราคาลดลงจากตันละ 12,590 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.95

3) ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี.

ราคาข้าวหอมมะลิไทย ชั้น 1 (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 1,190 ดอลลาร์สหรัฐฯ (37,056 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 1,188 ดอลลาร์สหรัฐฯ (36,803 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.17 และสูงขึ้น

ในรูปเงินบาทตันละ 253 บาท

ราคาข้าวปทุมธานี ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 814 ดอลลาร์สหรัฐฯ (25,347 บาท/ตัน)

ราคาลดลงจากตันละ 829 ดอลลาร์สหรัฐฯ (25,681 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.81 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 334 บาท

ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 445 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,857 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 444 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,755 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.23 และสูงขึ้นในรูปเงินบาท

ตันละ 102 บาท

ราคาข้าวสารเจ้า 25% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 428 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,328 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 427 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,228 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.23 และสูงขึ้นในรูปเงินบาท

ตันละ 100 บาท

ราคาข้าวนึ่ง 5% ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 438 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,639 บาท/ตัน)

ราคาลดลงจากตันละ 461 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14,281 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.99 และลดลงในรูปเงินบาท

ตันละ 642 บาท

หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 31.1392 บาท

2. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในต่างประเทศ

สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ

กัมพูชา

ในเดือนกันยายนที่ผ่านมา กัมพูชาส่งออกข้าวได้ 29,325 ตัน และตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนกันยายน

ที่ผ่านมา กัมพูชาส่งออกข้าวได้ 226,123 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 106 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา

และเพิ่มขึ้นร้อยละ 10 เมื่อเทียบกับปริมาณส่งออกทั้งปีของปีที่ผ่านมา โดยส่วนใหญ่แล้ว กัมพูชาส่งออกข้าวขาว

เมล็ดยาวและข้าวหอมมะลิ ซึ่งในปีนี้ มีปริมาณส่งออก 142,837 ตัน และ 104,975 ตัน ตามลำดับ โดยส่งออก

ไปยังสหภาพยุโรปมากที่สุด รองลงมา ได้แก่ มาเลเซีย ไทย และจีน ซึ่งมีปริมาณส่งออก 32,339 ตัน 23,300 ตัน 15,902 ตัน ตามลำดับ

อย่างไรก็ตาม สื่อท้องถิ่นรายงานว่า ปัจจุบัน หลังจากที่เมียนมาร์ได้รับสิทธิพิเศษด้านภาษีในฐานะ

ประเทศพัฒนาน้อยที่สุด (LDCs) เช่นเดียวกับกัมพูชาในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา เมียนมาร์กลายเป็นคู่แข่ง

ที่สำคัญของกัมพูชา ซึ่งอาจทำให้กัมพูชาบรรลุเป้าหมายที่จะเพิ่มปริมาณการส่งออกได้ยากยิ่งขึ้น จึงมีความจำเป็น

ที่กัมพูชาจะหันมาขยายการส่งออกข้าวหอมแทน

ทั้งนี้ นายเดวิน แวน จากสหพันธ์ผู้ผลิตและผู้ส่งออกข้าวแห่งกัมพูชา (Alliance of Rice Producers and Exporters of Cambodia: ARPEC) กล่าวว่า การขนส่งข้าวของเมียนมาร์จากศูนย์กลางแหล่งผลิตไปยังท่าเรือ

ส่งออกที่สำคัญในกรุงย่างกุ้ง ระยะทาง 800 กิโลเมตร มีค่าใช้จ่ายตันละ 8 ดอลลาร์สหรัฐฯ (หรือประมาณ 249 บาท) เมื่อเทียบกับการขนส่งข้าวของกัมพูชาจากแหล่งผลิตไปยังกรุงพนมเปญ มีค่าใช้จ่าย 15 ดอลลาร์สหรัฐฯ (หรือประมาณ 467 บาท) และจากกรุงพนมเปญส่งต่อไปยังท่าเรือสีหนุวิลล์ (Sihanoukville Port) ระยะทาง 230 กิโลเมตร มีค่าใช้จ่ายตันละ 28 ดอลลาร์สหรัฐฯ (หรือประมาณ 872 บาท) โดยกรณีขนส่งข้าวจากกรุงย่างกุ้งไปยังเมืองรอตเทอร์ดาม ประเทศเนเธอร์แลนด์ ใช้เวลา 25 วัน และค่าขนส่งตันละ 52 ดอลลาร์สหรัฐฯ (หรือประมาณ 1,619 บาท) เมื่อเทียบกับกรณีขนส่งข้าวจากท่าเรือสีหนุวิลล์ไปยังเมืองรอตเทอร์ดาม ใช้เวลา 35 วัน และค่าขนส่งตันละ 75 ดอลลาร์สหรัฐฯ (หรือประมาณ 2,335 บาท) นายเดวินกล่าวเพิ่มเติมว่า ในระยะสั้น กัมพูชาควรลงทุนในระบบชลประทาน เทคโนโลยีการผลิต ส่งเสริมภาคเอกชน พัฒนาระบบและขั้นตอนการส่งออก และลดค่าใช้จ่ายนอกระบบ (informal cost) ส่วนในระยะกลาง กัมพูชาควรพัฒนาความสามารถในการแข่งขัน โดยเฉพาะระบบ

โลจิสติกส์และระบบขนส่ง

ที่มา Oryza.com

เวียดนาม

กระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบทเวียดนาม (Ministry of Rural and Agriculture Development: MARD) คาดการณ์ว่า ในช่วงนี้ ราคาข้าวเวียดนามมีแนวโน้มปรับลดลง เนื่องจากเป็นช่วงที่มีผลผลิตข้าวฤดูใบไม้ร่วง-ฤดูหนาว ออกสู่ตลาดจำนวนมาก โดยประมาณการว่า จะมีข้าวเปลือกจำนวน 90,000 ตัน จากพื้นที่เก็บเกี่ยว 20,000 เฮคตาร์ (หรือประมาณ 125,000 ไร่) ออกสู่ตลาด ซึ่งปัจจุบัน ราคาข้าวเปลือกที่เกษตรกรขายได้ กิโลกรัมละ 4,000 — 4,100 ดอง (หรือประมาณตันละ 190 — 195 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณตันละ 5,916 — 6,072 บาท) ลดลงจากกิโลกรัมละ 4,850 — 4,950 ดอง (หรือประมาณตันละ 230 — 235 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณตันละ 7,162 — 7,318 บาท) หรือลดลงร้อยละ 17 เมื่อเทียบกับราคาในเดือนกันยายนที่ผ่านมา

สมาคมอาหารแห่งเวียดนาม (Vietnam Food Association) รายงานว่า ในเดือนกันยายนที่ผ่านมา เวียดนามส่งออกข้าวได้ 526,561 ตัน ลดลงจาก 620,532 ตัน หรือลดลงร้อยละ 15 เมื่อเทียบกับเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา และลดลงจาก 749,749 ตัน หรือลดลงร้อยละ 30 เมื่อเทียบกับเดือนกันยายนของปีที่ผ่านมา และตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนกันยายนที่ผ่านมา เวียดนามส่งออกข้าวได้ประมาณ 5.2 ล้านตัน ลดลงจาก 5.9 ล้านตัน หรือลดลงร้อยละ12 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยราคาส่งออกเฉลี่ยเดือน มกราคม — กันยายน ตันละ 430 ดอลลาร์สหรัฐฯ (หรือประมาณตันละ 13,390 บาท) ลดลงจากตันละ 456 ดอลลาร์สหรัฐฯ (หรือประมาณตันละ 14,199 บาท) หรือลดลงร้อยละ 6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา แต่ราคาส่งออกเฉลี่ยเดือนกันยายน ตันละ 438 ดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากตันละ 426 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 3 เมื่อเทียบกับเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา

ทั้งนี้ รัฐบาลกำหนดเป้าหมายการส่งออกข้าวในปีนี้ 7.5 ล้านตัน แต่สมาคมอาหารแห่งเวียดนามคาดการณ์ว่าเวียดนามจะส่งออกข้าวได้ประมาณ 7.1 ล้านตัน

ที่มา Oryza.com

ฟิลิปปินส์

กระทรวงเกษตรฟิลิปปินส์ (Department of Agriculture) กำหนดเป้าหมายเพิ่มการใช้เครื่องจักรกล

ในภาคการเกษตรร้อยละ 67 ภายใน 3 ปีข้างหน้า เพื่อพัฒนาการผลิตข้าวและลดต้นทุน โดยปัจจุบัน ฟิลิปปินส์

มีอัตราการใช้เครื่องจักรในครัวเรือนเกษตร (farm power) 1.2 แรงม้าต่อเฮคตาร์ (หรือประมาณ 0.19 แรงม้าต่อไร่) ซึ่งน้อยกว่าไทยที่มีอัตราการใช้เครื่องจักรในครัวเรือนเกษตร 2.7 แรงม้าต่อเฮคตาร์ (หรือประมาณ 0.43 แรงม้าต่อไร่) ทั้งนี้ ภายใต้โครงการข้าวแห่งชาติ (National Rice Program) สมาคมผู้ผลิตและจำหน่ายเครื่องจักรกลทางการเกษตร (The Agricultural Machinery Manufacturers and Distributors Association, Inc.: AMMDA) และอีกหลายหน่วยงาน เริ่มจัดหาเครื่องจักรกลทางการเกษตร เตรียมพร้อมสำหรับพื้นที่ปลูกข้าวในแหล่งต่างๆทั่วประเทศ

ฟิลิปปินส์ตั้งเป้าจะผลิตข้าวให้ได้ 20 ล้านตันในปี 2556 ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปริมาณผลผลิตปีที่แล้ว 18 ล้านตัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 11 และวางแผนที่จะผลิตข้าวให้ได้ปีละ 22.7 ล้านตันภายในปี 2559 เพื่อบรรลุเป้าหมายพึ่งพาตนเองด้านอาหารในอนาคต ถึงแม้ว่า ผู้เชี่ยวชาญบางคนจะออกมากล่าวว่า การบรรลุเป้าหมายดังกล่าวเป็นไปได้ยาก เนื่องจากต้นทุนการผลิตข้าวของฟิลิปปินส์สูง และอัตราเพิ่มของผลผลิตต่อไร่ต่ำ

ที่มา Oryza.com

--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 21 - 27 ตุลาคม 2556--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ