สถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่สำคัญ
เศรษฐกิจโลกสามารถฟื้นตัวได้อย่างต่อเนื่อง แต่ยังคงมีความผันผวนอยู โดยเฉพาะเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา ที่ยังขาดความชัดเจนในหลายประเด็น ทั้งในเรื่องของการลดปริมาณเงินอัดฉีดสภาพคลองผ่านมาตรการ QE (Quantitative Easing) การแต่งตั้งผู้ว่าการธนาคารกลางสหรัฐฯ คนต่อไป และแนวทางการแก้ไขปัญหาหนี้สาธารณะ โดยสภาคองเกรสสหรัฐฯ จะต้องผ่านร่างกฎหมายเพิ่มเพดานหนี้ภายในวันที่ 17 ตุลาคม 2556 เพื่อรัฐบาลกลางสหรัฐฯ
จะสามารถหลีกเลี่ยงการผิดนัดชำระหนี้ได้ ซึ่งประเด็นนี้เป็นปัจจัยสำคัญที่กระทบต่อความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจ ทำให้ภาคธุรกิจชะลอการลงทุน และอาจส่งผลต่อเนื่องไปยังการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ สำหรับเศรษฐกิจจีน ยังอยู่ในช่วงของการปรับระบบการเงินให้มีเสถียรภาพ แต่ภาคการผลิตก็มีแนวโน้มดีขึ้นจากการใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ของรัฐบาลจีน ขณะเดียวกันเศรษฐกิจของสหภาพยุโรปก็สามารถฟื้นตัวได้อย่างต่อเนื่องเช่นกันแม้ว่าจะยังมี ความอ่อนไหวต่อวิกฤตหนี้สาธารณะที่เกิดขึ้นในช่วงที่ผานมา ส่วนประเทศญี่ปุน มีการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่เร่งตัวขึ้นจากการดำเนินนโยบายกระตุ้นการใช้จ่ายภายในประเทศของรัฐบาลญี่ปุ่น ทำให้ความเชื่อมั่นทางธุรกิจเพิ่มขึ้น สำหรับเศรษฐกิจของอาเซียน 5 (อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ไทย และเวียดนาม) ยังขยายตัวได้ดีต่อเนื่อง ทั้งนี้ ในเดือนตุลาคม 2556 กองทุนการเงินระหวางประเทศ (IMF) ได้ปรับลดการคาดการณ์อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก ในปี 2556 อยู่ที่ร้อยละ 2.9 จากที่คาดการณ์ไว้เดิม ณ เดือนกรกฎาคม 2556 ว่าจะขยายตัวร้อยละ 3.1
ตารางที่ 1 อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกและประเทศต่าง ๆ
หน่วย: ร้อยละ
ประเทศ 2554 2555 2556 เศรษฐกิจโลก 3.9 3.2 2.9 สหรัฐอเมริกา 1.8 2.8 1.6 สหภาพยุโรป 1.6 -0.3 0.0 ญี่ปุ่น -0.6 2.0 2.0 จีน 9.3 7.7 7.6 อาเซียน 5* 4.5 6.2 5.0
ที่มา: World Economic Outlook, October 2013, IMF
หมายเหตุ: * อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ไทย และเวียดนาม
สถานการณ์ด้านราคาสินค้าเกษตรและอาหารในตลาดโลก เมื่อพิจารณาจากดัชนีราคาอาหารซึ่งจัดทำโดยองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) พบว่า ดัชนีราคาอาหารเฉลี่ยในเดือนกรกฎาคม l กันยายน 2556 อยู่ที่ระดับ 202.1 ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาซึ่งอยู่ที่ระดับ 213.8 หรือลดลงร้อยละ 5.5 โดยกลุ่มสินค้าที่มีราคาลดลง ได้แก่ พืชอาหารและธัญพืช น้ำมันจากพืชและสัตว์ และน้ำตาล ขณะที่กลุ่มสินค้าที่มีราคาเพิ่มขึ้น ได้แก่ เนื้อสัตว์ และผลิตภัณฑ์นม
ราคาน้ำมันดิบดูไบเฉลี่ยเฉลี่ยเดือนกรกฎาคม l สิงหาคม 2556 อยูที่ 105.0 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้น จากช่วงเดียวกันของปี 2555 ซึ่งอยู่ที่ ซึ่งอยู่ที่ 103.8 ดอลลาร์สหรัฐตอบาร์เรล หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2 เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับปัญหาทางการเมืองในประเทศผู้ผลิตน้ำมันที่สำคัญ โดยเฉพาะสถานการณ์ในอียิปต์ที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น ทำให้อุปทานน้ำมันดิบในภูมิภาคตะวันออกกลางและแอฟริกาอุปทานน้ำมันดิบในภูมิภาคตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือมีความตึงตัว อย่างไรก็ตาม ปัญหาทางการเมืองในอียิปต์เกิดขึ้นเพียงในระยะสั้นและไม่ยืดเยื้อ ประกอบกับการเก็งกำไรในตลาดน้ำมันมีแนวโน้มลดลง ทำให้ราคาน้ำมันปรับตัวเพิ่มขึ้นไม่มากนัก สำหรับในช่วงไตรมาส 4 ป 2556 คาดวาราคาน้ำมันดิบจะยังคงผันผวนจากความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลก รวมถึงความขัดแย้งต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นอีกในกลุ่มประเทศผู้ผลิตน้ำมันหลักของโลกในตะวันออกกลางและแอฟริกา
1) อัตราแลกเปลี่ยนบาทต่อดอลลาร์สหรัฐ เฉลี่ยเดือนกรกฎาคม l กันยายน 2556 อยูที่ 31.5 บาท ต่อดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่าลงเพียงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ซึ่งเฉลี่ยอยู่ที่ 31.4 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ หรืออ่อนค่าลงร้อยละ 0.4
2) อัตราแลกเปลี่ยนบาทต่อยูโร เฉลี่ยเดือนกรกฎาคม l กันยายน 2556 อยูที่ 41.7 บาทต่อยูโร มีทิศทาง อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ซึ่งเฉลี่ยอยูที่ 39.3 บาทต่อยูโร หรืออ่อนค่าลงร้อยละ 6.2
การเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทมีความอ่อนไหวต่อภาวะเศรษฐกิจโลกเป็นอย่างมาก โดยในช่วงต้นปี 2556 ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่องจากช่วงปลายปี 2555 ซึ่งเป็นผลจากมาตรการอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจของสหรัฐฯ สหภาพยุโรป และญี่ปุ่น ทำให้มีสภาพคลองเพิ่มขึ้น ส่งผลให้มีเงินทุนไหลเข้ามาในภูมิภาคเอเชียรวมทั้ง ประเทศไทยมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ในช่วงเดือนพฤษภาคม l กันยายน 2556 ค่าเงินบาทกลับมาอ่อนค่าลงเรื่อย ๆ เนื่องจากธนาคารกลางของสหรัฐฯ (Federal Reserve: FED) ได้ประกาศว่าอาจจะผ่อนคลายนโยบาย QE 3 โดยการทยอยลดมูลค่าการซื้อพันธบัตรลงในอนาคต เพราะเศรษฐกิจของสหรัฐฯ มีสัญญาณการปรับตัวดีขึ้น ทำให้มีการเคลื่อนย้ายเงินทุนกลับไปยังสหรัฐฯ
ในช่วงไตรมาส 3 ปี 2556 เศรษฐกิจไทยในภาพรวมมีแนวโนมชะลอตัวลงค่อนข้างมาก โดยการใช้จ่ายภาคเอกชนชะลอตัวลงจากการเร่งซื้อรถยนต์ในช่วงที่ผ่านมาจากมาตรการคืนภาษีรถยนต์คันแรก ประกอบกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่างๆ ของภาครัฐเริ่มทยอยหมดลง และปัญหาหนี้สินของภาคครัวเรือนที่เพิ่มขึ้นมาก สำหรับการลงทุนภาคเอกชนก็ยังไม่มีปัจจัยที่จะทำให้ต้องเร่งการลงทุนในช่วงนี้ ขณะที่โครงการลงทุนของรัฐก็ล่าช้าออกไป ส่วนการส่งออกก็มีทิศทางชะลอตัวลงเช่นกัน อย่างไรก็ตาม ภาคการท่องเที่ยวยังคงขยายตัวได้ดีอย่างต่อเนื่อง เมื่อพิจารณาถึงอัตรา เงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยเดือนกรกฎาคม l กันยายน 2556 อยู่ที่ร้อยละ 1.7 ต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 2.9 ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชยไดปรับลดกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อในปี 2556 ใหอยูในช่วงรอยละ 2.1 - 2.6 จากที่เคยคาดการณ์ไว้ทั้งปีในช่วงร้อยละ 2.8 - 3.4 เพื่อให้ตัวเลขดังกล่าวสอดคล้องกับสถานการณ์ราคาสินค้าต่างๆ ในปัจจุบัน
เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจการเกษตร
- ดัชนีผลผลิตสินคาเกษตร เฉลี่ยในช่วงเดือนกรกฎาคม l สิงหาคม 2556 อยู่ที่ 105.7 ลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2555 ซึ่งอยูที่ 108.9 หรือลดลงร้อยละ 2.9 ขณะที่ดัชนีราคาสินค้าเกษตรที่เกษตรกรขายได้ อยูที่ 152.9 มีทิศทางเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่ผานมา ซึ่งอยูที่ 148.6 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.9
- ดัชนีผลผลิตหมวดพืชผล เฉลี่ยในช่วงเดือนกรกฎาคม l สิงหาคม 2556 อยู่ที่ 98.7 ลดลงร้อยละ 1.8 จากช่วงเดียวกันของปี 2555 ซึ่งอยูที่ 100.5 ขณะที่ดัชนีราคาหมวดพืชผลที่เกษตรกรขายได้ อยู่ที่ 159.0 ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ซึ่งอยู่ที่ 164.8 หรือลดลงร้อยละ 3.5
- ดัชนีผลผลิตหมวดปศุสัตว เฉลี่ยในช่วงเดือนกรกฎาคม l สิงหาคม 2556 อยูที่ 121.8 เพิ่มขึ้นรอยละ 3.7 จากช่วงเดียวกันของปี 2555 ซึ่งอยู่ที่ 117.4 ขณะที่ดัชนีราคาหมวดปศุสัตวที่เกษตรกรขายได้ อยู่ที่ 131.9 เพิ่มขึ้น จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ซึ่งอยู่ที่ 114.5 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.2
- ดัชนีผลผลิตหมวดประมง เฉลี่ยในช่วงเดือนกรกฎาคม l สิงหาคม 2556 อยูที่ 133.2 ลดลงร้อยละ 20.2 จากช่วงเดียวกันของปี 2555 ซึ่งอยูที่ 166.9 ขณะที่ดัชนีราคาหมวดประมงที่เกษตรกรขายได้ อยู่ที่ 147.9 เพิ่มขึ้น จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ซึ่งอยูที่ 89.1 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 66.1
ผ่านมา เนื่องจากพื้นที่เพาะปลูกพืชสำคัญ เชน ขาว มันสำปะหลัง และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ได้รับความเสียหายจากสถานการณ์ภัยแล้งที่เกิดขึ้นมาตั้งแต่ช่วงปลายปี 2555 ต่อเนื่องมาจนถึงเดือนพฤษภาคม 2556 รวมทั้งภาวะฝนทิ้งช่วงในบางพื้นที่ของประเทศในเดือนมิถุนายน 2556 ทำให้ผลผลิตพืชหลายชนิดลดลง ขณะที่พืชเศรษฐกิจหลักอื่น ๆ อาทิ ยางพารา และปาล์มน้ำมัน ยังคงให้ผลผลิตสูงขึ้นตามเนื้อที่เปิดกรีดใหม่และเนื้อที่ให้ผลที่เพิ่มขึ้น สำหรับการผลิตสาขาประมงยังคงหดตัวต่อเนื่องจากปัญหาโรคตายด่วน (Early Mortality Syndrome: EMS) ซึ่งทำให้ผลผลิตกุ้งทะเลเพาะเลี้ยงลดลงค่อนข้างมาก อย่างไรก็ตาม การผลิตสินค้าปศุสัตว์ที่สำคัญ ได้แก่ ไก่เนื้อ สุกร ไข่ไก่ และน้ำนมดิมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เนื่องจากสภาพอากาศที่เอื้ออำนวยและระบบการจัดการฟาร์มที่ดี สำหรับรายละเอียดในแต่ละสาขา มีดังนี้
ในไตรมาส 3 ปี 2556 สาขาพืชหดตัวร้อยละ 0.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2555 โดยพืชสำคัญที่มีผลผลิตลดลง ได้แก่ ข้าวนาปี ข้าวนาปรัง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มันสำปะหลัง ถั่วเหลือง รวมถึงผลไม้ เช่น ทุเรียน มังคุด และเงาะ สำหรับผลผลิตข้าวนาปีและนาปรังลดลง เนื่องจากเกิดปัญหาสภาพอากาศร้อนและแห้งแล้ง ในช่วงของการเจริญเติบโตของต้นข้าว ขณะที่ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ผลผลิตไดรับความเสียหายจากภัยแลงและฝนทิ้งชวงเช่นกัน ในส่วนของมันสำปะหลัง ผลผลิตลดลงจากการปรับเปลี่ยนเนื้อที่ไปปลูกอ้อยโรงงานและยางพาราทดแทน ประกอบกับเนื้อที่เพาะปลูกบางส่วนได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง ผลผลิตถั่วเหลืองลดลงจากการที่ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น เมล็ดพันธุ์มีราคาแพง ทำใหไมจูงใจตอการเพาะปลูก ด้านผลไม้ที่สำคัญ เช่น ทุเรียน มังคุด และเงาะ มีผลผลิตลดลง เนื่องจากสภาพอากาศไม่เอื้ออำนวย สำหรับพืชสำคัญที่มีผลผลิตเพิ่มขึ้น ไดแก สับปะรด ยางพารา ปาล์มน้ำมัน และลำไย โดยผลผลิตสับปะรดเพิ่มขึ้นจากแรงจูงใจทางด้านราคา ทำให้เกษตรกรดูแลเอาใจใสมากขึ้น ขณะที่ยางพารามีเนื้อที่กรีดได้เพิ่มขึ้นจากยางพาราปลูกใหม่ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา สำหรับปาล์มน้ำมัน มีเนื้อที่ใหผลเพิ่มขึ้นจากต้นปาล์มที่ปลูกใหม่ในปี 2553 รวมถึงสภาพดินฟ้าอากาศที่เอื้ออำนวยและเกษตรกรมีการดูแลรักษาใส่ปุ๋ยอย่างสม่ำเสมอ ส่วนลำไยมีผลผลิตเพิ่มขึ้นจากต้นที่ปลูกใหม่เริ่มทยอยให้ผลอย่างต่อเนื่อง
ด้านราคาพืชสำคัญที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยในชวงเดือนกรกฎาคม l กันยายน 2556 ที่มีทิศทางลดลง ได้แก่ ข้าวเปลือกเจ้า ข้าวโพดเลี้ยงสัตว ยางพารา ปาล์มน้ำมัน และผลไม้ที่สำคัญ เช่น ลำไย ทุเรียน และมังคุด โดยราคาข้าวที่ลดลง เนื่องจากความต้องการของตลาดชะลอตัวจากการที่ผู้ประกอบการลดปริมาณคำสั่งซื้อ ประกอบกับอยู่ในช่วง ต้นฤดูเก็บเกี่ยว ทำให้ผลผลิตข้าวมีคุณภาพค่อนข้างต่ำ ราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลดลง เนื่องจากผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของโลกออกสู่ตลาดมากขึ้น และผู้ประกอบการที่รับซื้อขาวโพดรายใหญ่ลดปริมาณการรับซื้อขาวโพดเลี้ยงสัตวลง ขณะที่ราคายางพาราลดลงตามภาวะเศรษฐกิจโลก อีกทั้งสต็อกยางทั้งในและต่างประเทศยังคงมีอยู่มาก ส่วนราคาปาล์มน้ำมันลดลง เนื่องจากปริมาณสต็อกในประเทศอยู่ในระดับสูง ประกอบกับความต้องการทั้งในและนอกประเทศลดลง ด้านผลไม้สำคัญ เช่น ลำไย ทุเรียน และมังคุด มีราคาลดลง เนื่องจากในช่วงนี้มีความต้องการของตลาดต่างประเทศลดลง สำหรับพืชสำคัญที่มีราคาเพิ่มขึ้น ได้แก่ มันสำปะหลัง เนื่องจากความตองการของตลาดทั้งในและนอกประเทศยังมีอย่างต่อเนื่อง รวมถึงความกังวลของผู้ประกอบการต่อผลผลิตที่คาดว่าจะลดลงจากปัญหาภัยแล้ง ส่วนราคาสับปะรดเพิ่มขึ้น เนื่องจากโรงงานแปรรูปยังมีความต้องการอย่างต่อเนื่อง
ด้านการส่งออก ในช่วงเดือนกรกฎาคม - สิงหาคม 2556 สินค้าพืชและผลิตภัณฑที่มีปริมาณและมูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่ ข้าวรวม ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มันสำปะหลังและผลิตภัณฑ์ และน้ำมันปาล์ม ขณะที่ยางพารา มีปริมาณส่งออกเพิ่มขึ้น แต่มูลค่าการส่งออกลดลง ส่วนสินค้าที่มีปริมาณและมูลค้าการส่งออกลดลง ได้แก่ น้ำตาลและผลิตภัณฑ์ ผลไม้และผลิตภัณฑ์
สาขาปศุสัตวในช่วงไตรมาส 3 ปี 2556 มีการขยายตัวรอยละ 2.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของป 2555 โดยปริมาณการผลิตสินค้าหลักทั้งไก่เนื้อ สุกร ไข่ไก่ และน้ำนมดิบ ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากการขยายการผลิตในช่วงที่ผานมา ประกอบกับระบบการผลิตที่ไดมาตรฐาน การเฝ้าระวังโรคระบาดอยางต่อเนื่อง รวมถึงสภาพอากาศที่
เย็นลง ส่งผลให้สัตว์เจริญเติบโตได้ดีกว่าช่วงครึ่งแรกของปีที่มีอากาศร้อน สำหรับปริมาณผลผลิตไก่เนื้อออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้นจากการขยายการเลี้ยงและการนำเข้าเลี้ยงทดแทนส่วนที่เสียหาย นอกจากนี้ ความต้องการบริโภคที่เพิ่มขึ้นและราคาไก่เนื้อที่อยูในเกณฑ์ดียังจูงใจให้มีการปลดแม่ไก่ไข่ที่มีอายุครบออกจำหน่ายเป็นไก่เนื้อมากขึ้น ส่วนการผลิตสุกร เข้าสูภาวะปกติหลังจากที่ได้รับผลกระทบจากโรคทางระบบสืบพันธุ์และระบบทางเดินหายใจ (Porcine Reproductive and Respiratory Syndrome: PRRS) การควบคุมการผลิตที่มีมาตรฐาน และความต้องการบริโภคที่เพิ่มขึ้น ทำให้มีปริมาณผลผลิตสุกรเพิ่มขึ้น ขณะที่ปริมาณผลผลิตไข่ไก่ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากปริมาณแม่ไก่ไข่ยืนกรงรุนใหม่ที่มีจำนวนมาก แม้ว่าจะมีการปลดแม่ไก่ไข่ยืนกรงออกบางส่วน สำหรับการผลิตน้ำนมดิบมีปริมาณเพิ่มขึ้นจากการบริหารจัดการฟาร์มที่ดี แม่โครีดนมมีจำนวนเพิ่มขึ้น และอัตราการใหน้ำนมโดยเฉลี่ยของแม่โคที่สูงขึ้น
ด้านราคาสินค้าปศุสัตว์ เฉลี่ยเดือนกรกฎาคม l กันยายน 2556 มีราคาเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน ของปี 2555 เนื่องจากราคาปัจจัยการผลิตในช่วงที่ผ่านมาอยู่ในระดับสูง ทั้งราคาน้ำมัน ราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์ และค่าแรงงาน ทำให้ต้นทุนการผลิตปศุสัตว์เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ราคาไก่เนื้อและน้ำนมดิบสูงขึ้นเล็กน้อย ในขณะที่ราคาสุกรและไข่ไก่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นจากมาตรการรักษาเสถียรภาพด้านราคา
ด้านการส่งออก ในช่วงเดือนกรกฎาคม - สิงหาคม 2556 มูลคาการส่งออกสินคาปศุสัตวโดยรวมลดลง เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2555 โดยการส่งออกเนื้อไก่และผลิตภัณฑ์ลดลงต่อเนื่อง ทั้งการส่งออกเนื้อไก่แปรรูป ไปยังญี่ปุน และสหภาพยุโรป ซึ่งเป็นผลจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจญี่ปุ่นและสหภาพยุโรป นอกจากนี้ การส่งออกเนื้อสุกรและผลิตภัณฑ์ลดลง เนื่องจากระดับราคาสุกรในประเทศสูงขึ้น
สาขาประมงในช่วงไตรมาส 3 ของปี 2556 ลดลงร้อยละ 6.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2555 โดยการผลิตกุ้งทะเลเพาะเลี้ยงบางส่วนยังประสบปัญหาโรคตายด่วน หรือโรค EMS (Early Mortality Syndrome) ซึ่งเกิดขึ้นต่อเนื่องมาจากช่วงต้นปี 2556 ทำให้ผลผลิตกุ้งเสียหายและออกสู่ตลาดลดลง อีกทั้งเกษตรกรผู้ผลิตยังไม่มั่นใจในสถานการณ์โรคระบาดจึงทำการผลิตไม่เต็มที่ สำหรับผลผลิตจากการทำประมงทะเล มีปริมาณสัตวน้ำที่นำขึ้นจาก ท่าเทียบเรือในภาคใต้เพิ่มขึ้นเล็กน้อย ขณะที่ผลผลิตประมงน้ำจืดมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเช่นกัน
ราคากุ้งขาวแวนนาไม ขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม ที่เกษตรกรขายได้ในช่วงเดือนกรกฎาคม l กันยายน 2556 เฉลี่ยอยู่ที่กิโลกรัมละ 203 บาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2555 ซึ่งมีราคาเฉลี่ยอยูที่ 126 บาทต่อกิโลกรัม หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 61.11 เนื่องจากผลผลิตกุ้งที่ลดลงจากปัญหาโรคระบาด ประกอบกับความต้องการส่งออกที่มี อย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ราคากุ้งปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างมาก
ด้านการส่งออกสินค้าประมงของไทยในช่วงเดือนกรกฎาคม l สิงหาคม 2556 สินค้าประมงที่สำคัญ ได้แก่ ปลาและผลิตภัณฑ์ ปลาหมึกและผลิตภัณฑ์ กุ้งและผลิตภัณฑ์ มีปริมาณและมูลค่าส่งออกลดลง โดยเฉพาะกุ้งและผลิตภัณฑ์ ที่ปริมาณและมูลค่าการส่งออกลดลงอย่างมาก เนื่องจากแหล่งผลิตที่สำคัญของไทยประสบปัญหาโรคตายด่วนหรือโรค EMS ทำให้ขาดแคลนวัตถุดิบปอนโรงงานอาหารแปรรูปเพื่อการส่งออก ขณะที่ความต้องการซื้อของผูบริโภค ในตลาดผู้นำเข้าหลัก คือ สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป และญี่ปุ่น ยังคงมีอย่างต่อเนื่อง
สาขาบริการทางการเกษตรในชวงไตรมาส 3 ปี 2556 หดตัวรอยละ 0.3 เมื่อเทียบกับชวงเดียวกันของปี ที่ผ่านมา เนื่องจากปัญหาภัยแลงและฝนทิ้งช่วงที่เกิดขึ้นในหลายพื้นที่ของประเทศ ส่งผลให้พื้นที่เพาะปลูกและพื้นที่ เก็บเกี่ยวพืชสำคัญ เช่น ข้าว มันสำปะหลัง และข้าวโพดลดลง ทำให้การจ้างบริการเตรียมดิน ไถ่พรวนดิน และเก็บเกี่ยวผลผลิตลดลงตามไปด้วย
สาขาป่าไม้ในไตรมาส 3 ปี 2556 ขยายตัวร้อยละ 1.2 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา เนื่องจากการผลิตและการส่งออกไม้และผลิตภัณฑที่สำคัญ ได้แก่ ไม้ซุง ไม้สักแปรรูป และไม้ยูคาลิปตัส ขยายตัวเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นไปตามความต้องการใช้ไม้ในอุตสาหกรรมการผลิตกระดาษและเฟอร์นิเจอร์ ขณะเดียวกันผลิตภัณฑ์จากป่า อาทิ น้ำผึ้งธรรมชาติ ยางไม้ธรรมชาติ ครั่ง และรังนกแอ่น ก็มีทิศทางเพิ่มขึ้นเชนกัน เพราะความต้องการผลิตภัณฑ์จากป่า โดยเฉพาะน้ำผึ้งและครั้ง ทั้งจากตลาดในประเทศและต่างประเทศเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม การผลิตและการส่งออกถ่านไม้หดตัวลงจากสภาพอากาศโดยทั่วไปที่มีความชื้นสูง ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการตัดฟนเผาถ่าน
ภาวะเศรษฐกิจการเกษตรในภาพรวมทั้งปี 2556 คาดว่าจะขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปี 2555 อยู่ในช่วงร้อยละ 0.5 b 1.5 โดยปรับตัวลดลงจากที่เคยคาดการณ์ไว้เดิม ณ เดือนมิถุนายน 2556 ว่าจะขยายตัวอยู่ในชวงร้อยละ 1.5 l 2.5 เนื่องจากสถานการณภัยแลงที่เกิดขึ้นยาวนาน ทำใหผลผลิตพืชที่สำคัญหลายชนิดไดรับความเสียหาย เช่น ข้าวนาปรัง มันสำปะหลัง และขาวโพดเลี้ยงสัตว นอกจากนี้ ยังเกิดปญหาน้ำทวมในบางพื้นที่ของประเทศในช่วงปลายปี 2556 ส่งผลให้พื้นที่ทางการเกษตรบางส่วนได้รับความเสียหายดวย อย่างไรก็ตาม คาดว่าพืชหลายชนิดมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เช่น ข้าวนาปี ยางพารา ปาล์มน้ำมัน ลำไย ทุเรียน และมังคุด ขณะที่ผลผลิตปศุสัตวมีทิศทางเพิ่มขึ้นจากการพัฒนาระบบการผลิตที่ได้มาตรฐานและการขยายการผลิตเพื่อรองรับความต้องการของตลาดในประเทศและต่างประเทศ สำหรับสาขาประมงยังคงหดตัวอยางต่อเนื่องจากปัญหาการระบาดของโรค EMS ในกุ้งทะเลเพาะเลี้ยง ซึ่งเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งไม่สามารถปรับตัวได้ทันภายในปี 2556 อย่างไรก็ตาม กรมประมงร่วมกับภาคเอกชนได้ดำเนินมาตรการเชิงรุกเพื่อยับยั้งความเสียหายจากโรคระบาดดังกล่าว และคาดว่าการผลิตกุ้งจะเข้าสูภาวะปกติในช่วงปี 2557
คาดวาสาขาพืชในปี 2556 จะขยายตัวอยู่ในช่วงร้อยละ 2.0 b 3.0 เนื่องจากผลผลิตพืชที่สำคัญหลายชนิดยังคงมีทิศทางเพิ่มขึ้น เช่น ข้าวนาปี ยางพารา ปาล์มน้ำมัน และผลไม้ต่าง ๆ แม้ว่าพื้นที่ทางการเกษตรบางส่วน จะประสบปัญหาภัยแลงและน้ำท่วม รวมถึงมีการแพร่ระบาดของแมลงศัตรูพืชบาง แต่ในภาพรวมแล้วสาขาพืชยังคงขยายตัวได้ต่อเนื่อง สำหรับสถานการณ์ด้านราคาพืชหลายชนิด ได้แก่ ข้าวนาปีหอมมะลิ มันสำปะหลัง สับปะรด รวมทั้งผลไม้ เช่น ลำไย ทุเรียน และเงาะ มีแนวโน้มอยู่ในเกณฑ์ดี เพราะความต้องการจากตลาดในประเทศและต่างประเทศ ที่เพิ่มขึ้น ด้านการส่งออก คาดว่าพืชและผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการส่งออกลดลง ได้แก่ ข้าวรวม ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ยางพารา ปาล์มน้ำมัน น้ำตาลและผลิตภัณฑ์ ผลไม้และผลิตภัณฑ์ ซึ่งเป็นไปตามการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ขณะที่คาดวามูลคาการส่งออกมันสำปะหลังและผลิตภัณฑจะเพิ่มขึ้น เนื่องจากยังมีความต้องการอย่างต่อเนื่องในประเทศจีน ซึ่งเป็นผู้นำเข้ารายใหญ่
สาขาปศุสัตวในปี 2556 คาดวาจะขยายตัวอยู่ในช่วงร้อยละ 1.2 b 2.2 เมื่อเทียบกับป 2555 เนื่องจากการพัฒนาฟาร์มปศุสัตวให้เป็นระบบการเลี้ยงที่ได้มาตรฐาน การเฝ้าระวังโรคระบาดอย่างต่อเนื่อง และการขยายการเลี้ยงเพื่อตอบสนองต่อความต้องการบริโภคในประเทศและต่างประเทศ ทำให้ปริมาณการผลิตสินค้าปศุสัตวส่วนใหญ่ มีแนวโนมเพิ่มขึ้น ในขณะที่การส่งออกจะขยายตัวได้เล็กน้อย โดยการส่งออกเนื้อไก่และผลิตภัณฑ์ไปยังตลาดญี่ปุน และสหภาพยุโรปมีทิศทางลดลง แต่การส่งออกสินค้าปศุสัตวทั้งเนื้อไก่และผลิตภัณฑ์ เนื้อสุกรและผลิตภัณฑ์ ไปยังตลาดอาเซียนและตะวันออกกลางจะขยายตัวได้จากความเชื่อมั่นในมาตรฐานการผลิตและคุณภาพสินค้าของไทย อย่างไร ก็ตาม ยังคงต้องเฝ้าระวังภาวะโรคระบาดและภัยธรรมชาติ ที่อาจส่งผลต่อปริมาณการผลิตปศุสัตว์ในช่วงปลายปี รวมถึงการควบคุมระดับผลผลิตที่ออกสู่ตลาดไม่ให้เกิดภาวะสินค้าล้นตลาดเพื่อรักษาเสถียรภาพราคา โดยราคาปศุสัตว์ในปี 2556 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามต้นทุนการผลิตที่ยังคงอยู่ในระดับสูง ทั้งจากราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์และค้าแรงงาน
สาขาประมงในปี 2556 คาดวาจะหดตัวลงจากปี 2555 อยู่ในช่วงร้อยละ (-7.1) b (- 6.1) เป็นผลมาจากปัญหาโรคตายด่วนหรือโรค EMS ในกุ้งทะเลเพาะเลี้ยง ซึ่งกรมประมงรวมกับภาคเอกชนได้ดำเนินมาตรการเชิงรุก เพื่อยับยั้งความเสียหายจากโรคระบาดดังกล่าว โดยการป้องกันและการบริหารจัดการในระหว่างการเลี้ยง รวมไปถึงมาตรการ Clean-up โรงเพาะฟักลูกกุ้ง ส่งผลให้สถานการณ์การระบาดเริ่มคลี่คลายลงบ้างแล้ว และคาดว่าการผลิตจะมีแนวโน้มเข้าสูภาวะปกติในช่วงปี 2557 สำหรับผลผลิตจากการทำประมงทะเลมีแนวโนมลดลง เนื่องจากสภาพอากาศ ที่แปรปรวน ในสวนของผลผลิตประมงน้ำจืดในปี 2556 คาดวามีแนวโน้มขยายตัวเล็กน้อย สำหรับราคาสินค้าประมงที่เกษตรกรขายได้ คาดว่าจะอยู่ในเกณฑ์ดี หากสามารถผลิตสินค้าได้ตรงตามความต้องการของตลาด เพราะความต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศยังมีอย่างต่อเนื่อง
สาขาบริการทางการเกษตรในปี 2556 คาดวาจะขยายตัวอยูในช่วงร้อยละ 0.8 b 1.8 เนื่องจากการขยายพื้นที่เพาะปลูกพืชที่สำคัญ เช่น ข้าว ออยโรงงาน และมันสำปะหลัง ประกอบกับการขาดแคลนแรงงานในภาคเกษตร รวมทั้งค่าจ้างแรงงานภาคเกษตรที่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้เกษตรกรหันมาใช้บริการทางการเกษตร อาทิ รถแทรกเตอร์ รถเกี่ยวนวดข้าว และรถตัดอ้อย เพื่อทดแทนแรงงานคนเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ภัยแล้งที่เกิดขึ้นในช่วงครึ่งแรกของปี 2556 รวมทั้งปัญหาน้ำท่วมในช่วงปลายปี ทำให้การบริการทางการเกษตรเพิ่มขึ้นไม่มากนัก
สาขาป่าไม้ ในปี 2556 คาดวาจะขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปี 2555 อยู่ในช่วงร้อยละ 1.0 - 2.0 เพราะการผลิตสาขาป่าไม้ในช่วง 3 ไตรมาสที่ผ่านมาของปี 2556 สามารถขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง และในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปี 2556 คาดว่าการผลิตสาขาป่าไม้ จะยังคงขยายตัวได้ เนื่องจากโดยปกติในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปี การผลิตและ การส่งออกผลิตภัณฑ์สาขาป่าไม้จะขยายตัวได้ดีกว่าทุกไตรมาส ประกอบกับกรมอุตุนิยมวิทยาได้พยากรณ์ว่าฝนในปีนี้ จะหยุดเร็วกว่าปี 2555 ถือว่าเป็นปัจจัยหนึ่งที่เอื้ออำนวยต่อการผลิตสาขาป่าไม้
ตารางที่ 2 อัตราการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมภาคเกษตร
หน่วย: ร้อยละ
สาขา 2556 ครึ่งแรกของปี ทั้งปี
(ก.ค.-ก.ย.)
ภาคเกษตร -1.2 0.5 - 1.5 สาขาพืช -0.8 2.0 - 3.0 สาขาปศุสัตว์ 2.2 1.2 - 2.2 สาขาประมง -6.6 (-7.1)-(-6.1) สาขาบริการทางการเกษตร -0.3 0.8 - 1.8 สาขาป่าไม้ 1.2 1.0 - 2.0
ที่มา: ประมาณการโดยสำนักนโยบายและแผนพัฒนาการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
ตารางที่ 3 ผลผลิตของสินค้าเกษตรที่สำคัญ ปี 2555 - 2556 (ปีปฏิทิน)
ไตรมาส 3 หน่วยล้านตัน สินค้า ทั้งปี การเปลี่ยนแปลง ก.ค.-ก.ย. การเปลี่ยนแปลง 2555 2556* (ร้อยละ) 2555 2556* (ร้อยละ) ข้าวนาปี 26.13 28.53 9.19 2.92 2.35 -19.62 ข้าวนาปรัง 12.24 9.98 -18.43 2.31 1.79 -22.28 ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 4.94 4.67 -5.59 2.05 1.93 -5.74 มันสำปะหลัง 29.29 28.54 -2.56 2.79 2.69 -3.75 สับปะรดโรงงาน 2.33 2.06 -11.64 0.23 0.26 13.94 ถั่วเหลือง (พันตัน) 97.10 80.22 -17.38 13.55 11.06 -18.44 ยางพารา 3.63 3.86 6.56 1.09 1.15 6.31 ปาล์มน้ำมัน 11.33 12.42 9.65 3.08 3.15 2.13 ลำไย(พันตัน) 853.54 863.90 1.21 561.12 628.66 12.04 ทุเรียน(พันตัน) 524.39 562.71 7.31 138.17 67.13 -51.41 มังคุด(พันตัน) 524.39 562.71 7.31 138.17 67.13 -51.41 เงาะ(พันตัน) 334.09 329.01 -1.52 78.34 73.86 -5.72 ไก่เนื้อ(ล้านตัว) 1,055.93 1,104.05 4.56 266.31 280.56 5.35 สุกรมีชีวิต(ล้านตัว) 12.83 13.07 1.90 3.25 3.30 1.69 ไข่ไก่(ล้านฟอง) 10,939.15 11,420.50 4.40 2,736.98 2,931.64 7.11 น้ำนมดิบ 1.06 1.13 5.72 0.25 0.27 7.96
ที่มา: ศูนยสารสนเทศการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
หมายเหตุ: *ข้อมูลพยากรณ์ ณ เดือนกันยายน 2556
ตารางที่ 4 ราคาที่เกษตรกรขายได้ของสินค้าเกษตรที่สำคัญ
หน่วย: บาท/กก.
สินค้า 2555 2556 การเปลี่ยนแปลง
ไตรมาส 3 ไตรมาส 3
ทั้งปี ก.ค.-ก.ย. ก.ค.-ก.ย. (ร้อยละ) ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% (บาท/ตัน) 10,156 10,261 9,142 -10.91 ข้าวนาปีหอมมะลิ (บาท/ตัน) 15,365 15,481 15,742 1.69 ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ความชื้น 14.5% 9.35 9.53 7.19 -24.55 หัวมันสำปะหลังสดคละ 2.07 2.11 2.14 1.42 สับปะรดโรงงาน 3.30 4.24 4.89 15.33 ยางแผ่นดิบชั้น 3 87.15 79.93 71.36 -10.72 ผลปาล์มน้ำมันทั้งทะลายมีน้ำหนัก>15 กก. 4.91 4.96 3.50 -29.44 ลำไยเกรด A 24.24 23.03 22.83 -0.87 ทุเรียนหมอนทองคละ 31.06 31.09 28.06 -9.75 มังคุดคละ 17.04 16.18 12.71 -21.45 เงาะโรงเรียนคละ 13.39 14.61 17.54 20.05 ไก่รุ่นพันธุ์เนื้อ 42.03 41.01 43.87 6.97 สุกร น้ำหนัก 100 กก. ขึ้นไป 56.67 56.77 68.56 20.77 ไข่ไก่สดคละ(บาท/ร้อยฟอง) 256 255 324 27.06 น้ำนมดิบ 16.61 16.56 17.04 2.90 กุ้งขาวแวนนาไมขนาด 70 ตัว/กก. 127 126 203 61.11 ที่มา : ศูนยสารสนเทศการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
ตารางที่ 5 ปริมาณและมูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรที่สำคัญ
สินค้า ปริมาณ (ล้านตัน) มูลค่า (ล้านบาท) 2555 2556 % 2555 2556 % ทั้งปี ก.ค.-ส.ค. ก.ค.-ส.ค. ทั้งปี ก.ค.-ส.ค. ก.ค.-ส.ค. เกษตรและผลิตภัณฑ์ - - - - 1,349,335.10 238,376.04 199,772.90 -16.19 ข้าวรวม 6.73 1.12 1.20 6.84 142,976.24 23,968.88 24,474.57 2.11 ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 122.35 0.24 20.17 8,304.07 1,181.72 2.16 180.29 8,246.39 มันสำปะหลังและผลิตภัณฑ์ 6.96 1.31 1.34 2.48 65,206.62 12,076.12 12,687.77 5.06 ยางพารา 3.27 0.53 0.58 11.07 336,303.81 52,331.55 44,020.55 -15.88 น้ำมันปาล์ม 0.41 0.05 0.15 221.20 13,931.86 1,777.09 3,567.91 100.77 น้ำตาลและผลิตภัณฑ์ 7.93 1.56 0.50 -68.31 132,136.69 25,843.53 7,559.70 -70.75 สับปะรดบรรจุภาชนะที่ 574.92 89.38 93.49 4.60 16,531.72 2,509.33 2,675.19 6.61 อากาศผ่านเข้า ออกไม่ได้(พันตัน) น้ำสับปะรด(พันตัน) 143.58 24.81 25.51 2.82 5,573.59 918.14 839.53 -8.56 ลำไย(พันตัน) 596.42 189.35 130.77 -30.94 19,896.62 11,269.62 3,093.44 -72.55 ทุเรียน(พันตัน) 365.91 81.71 93.07 13.91 7,167.47 1,543.27 1,931.63 25.16 เนื้อไก่และผลิตภัณฑ์ (พันตัน) 538.10 88.66 84.15 -5.09 67,848.63 11,471.93 11,204.34 -2.33 เนื้อสุกรและผลิตภัณฑ์ (พันตัน) 15.02 2.13 2.11 -1.28 2,763.32 442.44 411.57 -6.98 นมและผลิตภัณฑ์(พันตัน) 131.64 22.47 31.24 39.02 6,069.33 998.88 1,319.55 32.10 ปลาและผลิตภัณฑ์ (พันตัน) 1,174.86 199.39 175.30 -12.08 131,562.11 23,802.02 19,846.99 -16.62 ปลาหมึกและผลิตภัณฑ์ (พันตัน) 69.76 10.43 9.44 -9.51 14,667.42 2,268.05 1,809.99 -20.20 กุ้งและผลิตภัณฑ์(พันตัน) 352.54 65.99 34.65 -47.49 96,630.07 17,761.34 11,850.99 -33.28 ผลิตภัณฑ์จากป่า(พันตัน) 32.21 5.34 4.99 -6.40 2,064.21 242.70 230.85 -4.88
ที่มา : ศูนยสารสนเทศการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร โดยความรวมมือของกรมศุลกากร
หมายเหตุ : สินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์ หมายถึง สินค้าในพิกัดศุลกากร ตอนที่ 1-24, 35.05.10, 35.05.20, 40.01, 40.05,
44.03, 50.01 - 50.03, 52.01
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--