ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร: ข้าว

ข่าวทั่วไป Tuesday November 19, 2013 16:11 —สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ

1.1 การตลาด

โครงการรับจำนำข้าวเปลือก ปีการผลิต 2555/56

1) มติ ครม. วันที่ 2 กรกฎาคม 2556 รับทราบราคา ปริมาณ วงเงินการรับจำนำข้าวเปลือกของเกษตรกร และระยะเวลาการรับจำนำโครงการรับจำนำข้าวเปลือก ปีการผลิต 2555/56

2) ชนิดและราคารับจำนำข้าวเปลือก ปี 2555/56 (ตั้งแต่วันที่ 30 มิถุนายน เป็นต้นไป) ให้กำหนดชนิดและราคารับจำนำข้าวเปลือก ปี 2555/56 ณ ความชื้นไม่เกิน 15 % ดังนี้

(1) ข้าวเปลือกปทุมธานี (42 กรัม) ตันละ 16,000 บาท

(2) ข้าวเปลือกเจ้า :-

ข้าวเปลือกเจ้า 100% ตันละ 15,000 บาท

ข้าวเปลือกเจ้า 5% ตันละ 14,800 บาท

ข้าวเปลือกเจ้า 10% ตันละ 14,600 บาท

ข้าวเปลือกเจ้า 15% ตันละ 14,200 บาท

ข้าวเปลือกเจ้า 25% ตันละ 13,800 บาท

(3) ข้าวเปลือกเหนียว :-

ข้าวเปลือกเหนียว 10% เมล็ดยาว (42 กรัม) ตันละ 16,000 บาท

ข้าวเปลือกเหนียว 10% เมล็ดสั้น (40 กรัม) ตันละ 15,000 บาท

3) เป้าหมายการรับจำนำ จะรับจำนำข้าวเปลือกจากเกษตรกรในปริมาณที่ไม่เกินที่ระบุไว้ในใบรับรองเกษตรกร ที่กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ออกให้ และจำกัดวงเงินรับจำนำรายละไม่เกิน 500,000 บาทต่อรอบ ตามที่ กขช. มีมติเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2556

4) ระยะเวลา

(1) ระยะเวลารับจำนำ 1 กุมภาพันธ์ — 15 กันยายน 2556 ยกเว้น ภาคใต้จะสิ้นสุดวันที่ 30 พฤศจิกายน 2556

(2) ระยะเวลาไถ่ถอน 4 เดือน นับถัดจากเดือนที่รับจำนำ

(3) ระยะเวลาโครงการ 1 ตุลาคม 2555 — 31 มกราคม 2557

5) ผลการดำเนินงาน

จำนวนเกษตรกรที่รับเงินกับ ธ.ก.ส.(ตั้งแต่ วันที่ 1 ตุลาคม 2555 — 13 พฤศจิกายน 2556)

  • จำนวนสัญญา 2,907,768 สัญญา
  • จำนวนตัน 22,449,493 ตัน
  • จำนวนเงิน 351,437.976 ล้านบาท

หมายเหตุ : มติ ครม. วันที่ 29 ตุลาคม 2556 ให้ช่วยเหลือเยียวยาเกษตรกรที่ไม่สามารถใช้สิทธิ์

ครั้งที่ 2 นำข้าวมาเข้าโครงการรับจำนำข้าวเปลือก ปีการผลิต 2555/56 ได้ทันภายในวันที่ 15 กันยายน 2556 ซึ่งเป็นวันสิ้นสุดโครงการ เป็นกรณีพิเศษ หลักเกณฑ์ วิธีการขอรับเงินและการจ่ายเงินเยียวยา มีดังนี้

(1) เป็นเกษตรกรที่มีหนังสือรับรองเกษตรกรโครงการรับจำนำข้าวเปลือก ปี 2555/56 ครั้งที่ 2 ระบุวันเก็บเกี่ยวไม่เกิน 15 กันยายน 2556 แต่ไม่สามารถเก็บเกี่ยวได้ทันภายในระยะเวลารับจำนำที่กำหนด

(2) เป็นเกษตรกรที่ได้มีการขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโครงการรับจำนำข้าวเปลือก ปี 2555/56 ครั้งที่ 2 ที่ระบุวันเก็บเกี่ยว 16 — 30 กันยายน 2556 ซึ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จะต้องตรวจสอบและออกหนังสือรับรองเกษตรกรให้แก่เกษตรกรเพื่อใช้ในการเยียวยาครั้งนี้ต่อไป

โดย ธ.ก.ส.เป็นผู้ตรวจสอบสิทธิ์ในการรับจำนำข้าวเปลือก ปี 2555/56 ครั้งที่ 2 กรณียังไม่ได้

ใช้สิทธิ์ให้ ธ.ก.ส.จ่ายเงินเข้าบัญชีให้เกษตรกรโดยตรง ซึ่งรัฐบาลจะชดเชยเงินให้ตันละ 2,500 บาท จำกัดครัวเรือนละไม่เกิน 33 ตัน

โครงการรับจำนำข้าวเปลือก ปีการผลิต 2556/57

1) มติ ครม. วันที่ 3 กันยายน 2556 รับทราบราคา ปริมาณ วงเงินการรับจำนำข้าวเปลือกของเกษตรกร และระยะเวลาการรับจำนำโครงการรับจำนำข้าวเปลือก ปีการผลิต 2556/57

2) ชนิดและราคารับจำนำข้าวเปลือก ปี 2556/57 ให้กำหนดชนิดและราคารับจำนำข้าวเปลือก

ปี 2556/57 ณ ความชื้นไม่เกิน 15 % ดังนี้

  • ครั้งที่ 1

(1) ข้าวเปลือกหอมมะลิ (42 กรัม) ตันละ 20,000 บาท

(2) ข้าวเปลือกหอมจังหวัด (40 กรัม) ตันละ 18,000 บาท

(ข้าวหอมมะลินอกพื้นที่ 23 จังหวัด)

(3) ข้าวเปลือกปทุมธานี 1 (42 กรัม) ตันละ 16,000 บาท

(4) ข้าวเปลือกเจ้า :-

ข้าวเปลือกเจ้า 100% ตันละ 15,000 บาท

ข้าวเปลือกเจ้า 5% ตันละ 14,800 บาท

ข้าวเปลือกเจ้า 10% ตันละ 14,600 บาท

ข้าวเปลือกเจ้า 15% ตันละ 14,200 บาท

ข้าวเปลือกเจ้า 25% ตันละ 13,800 บาท

(5) ข้าวเปลือกเหนียว :-

ข้าวเปลือกเหนียว 10% เมล็ดยาว (42 กรัม) ตันละ 16,000 บาท

ข้าวเปลือกเหนียว 10% เมล็ดสั้น (40 กรัม) ตันละ 15,000 บาท

ทั้งนี้ ราคารับจำนำข้าวเปลือกหอมมะลิและข้าวเปลือกปทุมธานี 1 ให้ปรับเพิ่ม — ลดตามจำนวนกรัมในอัตรากรัมละ 200 บาท และราคารับจำนำข้าวเปลือกเหนียว ให้ปรับเพิ่ม — ลดตามจำนวนกรัม

โดยเมล็ดยาว ในอัตรากรัมละ 160 บาท และเมล็ดสั้นในอัตรากรัมละ 150 บาท

หมายเหตุ : มติ กขช. วันที่ 13 กันยายน 2556 เห็นชอบให้เกษตรกรที่ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต

2556/57 ในช่วงเดือนพฤษภาคม — มิถุนายน 2556 และจะเก็บเกี่ยวข้าวก่อนวันที่ 1 ตุลาคม 2556 ที่ต้องการ

จะเข้าร่วมโครงการรับจำนำข้าวเปลือก ปี 2556/57 โดยให้เกษตรกรฝากข้าวไว้ที่โรงสีก่อน โดยถือว่าได้ใช้สิทธิ์

ในการจำนำข้าวในปีการผลิต 2556/57 ไปแล้วจำนวน 1 ครั้ง และจะขอเข้าร่วมโครงการรับจำนำข้าวเปลือก

ปีการผลิต 2556/57 นาปี (ครั้งที่ 1) อีกไม่ได้

  • ครั้งที่ 2

(1) ข้าวเปลือกปทุมธานี 1 (42 กรัม) ตันละ 16,000 บาท

(2) ข้าวเปลือกเจ้า :-

ข้าวเปลือกเจ้า 100% ตันละ 13,000 บาท

ข้าวเปลือกเจ้า 5% ตันละ 12,800 บาท

ข้าวเปลือกเจ้า 10% ตันละ 12,600 บาท

ข้าวเปลือกเจ้า 15% ตันละ 12,200 บาท

ข้าวเปลือกเจ้า 25% ตันละ 11,800 บาท

(3) ข้าวเปลือกเหนียว :-

ข้าวเปลือกเหนียว 10% เมล็ดยาว (42 กรัม) ตันละ 16,000 บาท

ข้าวเปลือกเหนียว 10% เมล็ดสั้น (40 กรัม) ตันละ 15,000 บาท

ทั้งนี้ ราคารับจำนำข้าวเปลือกปทุมธานี 1 ให้ปรับเพิ่ม — ลดตามจำนวนกรัมในอัตรากรัมละ 200 บาท และราคารับจำนำข้าวเปลือกเหนียว ให้ปรับเพิ่ม — ลดตามจำนวนกรัม โดยเมล็ดยาว ในอัตรากรัมละ 160 บาท และเมล็ดสั้นในอัตรากรัมละ 150 บาท

3) เป้าหมายการรับจำนำ จะรับจำนำข้าวเปลือกคุณภาพดี โดยจะไม่รับจำนำข้าวเปลือกที่มีอายุน้อยกว่า 110 วัน ที่มีคุณภาพต่ำ จำนวน 18 พันธุ์ ตามที่กรมการข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ประกาศ โดยจะไม่ให้เข้าร่วมโครงการฯ ทั้ง 2 ครั้ง

4) วงเงินการรับจำนำ

  • ครั้งที่ 1 ไม่เกินรายละ 350,000 บาท
  • ครั้งที่ 2 ไม่เกินรายละ 300,000 บาท

5) เป้าหมายการรับจำนำ รวมจำนวน 16.5 ล้านตัน

6) ระยะเวลารับจำนำ

  • ครั้งที่ 1 ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2556 — 28 กุมภาพันธ์ 2557

ยกเว้น ภาคใต้จะสิ้นสุดวันที่ 31 กรกฎาคม 2557

  • ครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 1 มีนาคม — 30 กันยายน 2557

ยกเว้น ภาคใต้ระว่างวันที่ 1 สิงหาคม — 30 พฤศจิกายน 2557

ภาวการณ์ซื้อขายข้าวสัปดาห์นี้ ราคาข้าวเปลือกที่เกษตรกรขายได้เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา

ทั้งข้าวเปลือกเจ้าหอมมะลิและข้าวเปลือกเจ้าราคาลดลง เนื่องจากผลผลิตทยอยออกสู่ตลาดมากขึ้น และบางพื้นที่ ช่วงเก็บเกี่ยวข้าวกระทบฝนส่งผลให้ข้าวมีความชื้น

1.2 ราคา

1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ

ราคาข้าวเปลือกเจ้าหอมมะลินาปี ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 15,067 บาท ราคาลดลงจากตันละ 15,370 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.97

ราคาข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 8,131 บาท ราคาลดลงจากตันละ 8,133 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.03

2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ

ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 12,450 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

3) ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี.

ราคาข้าวหอมมะลิไทย ชั้น 1 (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 1,097 ดอลลาร์สหรัฐฯ (36,333 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 1,160 ดอลลาร์สหรัฐฯ (35,992 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.43 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 341 บาท

ราคาข้าวปทุมธานี ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 741 ดอลลาร์สหรัฐฯ (23,189 บาท/ตัน)

ราคาลดลงจากตันละ 750 ดอลลาร์สหรัฐฯ(23,271 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.20 และลดลงในรูปเงินบาท ตันละ 82 บาท

ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 433 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,550 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 439 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,621 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.37 และสูงขึ้นในรูปเงินบาท ตันละ 71 บาท

ราคาข้าวสารเจ้า 25% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 403 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,612 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 408 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,659 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.23 และลดลงในรูปเงินบาท ตันละ 47 บาท ราคาข้าวนึ่ง 5% ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 446 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,957 บาท/ตัน)

ราคาสูงขึ้นจากตันละ 445 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,807 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.23 และสูงขึ้นในรูปเงินบาท ตันละ 150 บาท

หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 31.2942 บาท

2. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในต่างประเทศ

สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ

อินเดีย

สภาพอากาศที่แปรปรวนในปีนี้ อาจส่งผลให้ อินเดียผลิตข้าวได้เพียง 100 ล้านตัน ลดลงจาก 105 ล้านตัน หรือลดลงประมาณร้อยละ 5 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา โดยนักวิทยาศาสตร์จากสถาบันวิจัยข้าวอินเดีย (India’s Central Rice Research Institute: CRRI) ประมาณการว่า มีข้าวในรัฐโอริสสาได้รับผลกระทบจากพายุไซโคลนไพลิน ประมาณ 1 ล้านตัน และยอดความเสียหายจะเพิ่มขึ้นมากกว่านี้ หากรวมความเสียหายจากปริมาณน้ำฝนที่เพิ่มมากขึ้นในรัฐปัญจาบและรัฐหรยาณา อันเป็นอิทธิพลจากพายุไซโคลนไพลินเช่นเดียวกัน

นอกจากนี้ สื่อท้องถิ่นยังคาดการณ์ว่า ในปีนี้ ปริมาณผลผลิตต่อพื้นที่มีแนวโน้มลดลงในพื้นที่ด้านตะวันออกของอินเดีย ได้แก่ รัฐพิหาร รัฐฌาร์ขัณฑ์ รัฐเบงกอลตะวันตก และรัฐอัสสัม เนื่องจากสภาพอากาศที่แห้งกว่าปกติระหว่างฤดูการเพาะปลูก ทั้งนี้ ผู้ค้าข้าวในอินเดียกล่าวเพิ่มเติมว่า ราคาข้าวในตลาดอยู่ในเกณฑ์สูง เนื่องจากปริมาณผลผลิตที่ลดลง และคาดหวังว่า ราคาส่งออกข้าวของอินเดียจะปรับตัวสูงขึ้นในเดือนธันวาคม

ปัจจุบัน อินเดียเป็นประเทศผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่ของโลก โดยในปี 2555/56 (เมษายน 2555 — พฤษภาคม 2556) อินเดียส่งออกได้ 10.15 ล้านตัน ทั้งนี้ ในช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา อินเดียส่งออกข้าวได้ประมาณ 3.52 ล้านตัน

ที่มา Oryza.com

จีน

ศูนย์ข้อมูลธัญพืชและน้ำมันแห่งชาติ (China National Grain and Oils Information Center: CNGOIC) คาดการณ์ว่า ในปี 2556/57 (ตุลาคม 2556 — กันยายน 2557) จีนจะนำเข้าข้าว 5 ล้านตัน เนื่องจากผลิตข้าวได้น้อยและราคาข้าวในประเทศสูง โดยเป็นการปรับเพิ่มตัวเลขประมาณการจากเดิม 4 ล้านตัน หรือปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 25 และสูงกว่าตัวเลขประมาณการโดยกระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ร้อยละ 47

ในปีที่ผ่านมา สภาพอากาศที่แห้งแล้งในช่วงฤดูเก็บเกี่ยวและอุทกภัยได้ส่งผลต่อการผลิตข้าวของจีน โดยกระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ได้ปรับลดตัวเลขประมาณการผลผลิตปี 2556/57 ลง 1 ล้านตัน

อย่างไรก็ตาม ราคาข้าวในตลาดโลกที่ลดลงเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้จีนนำเข้าข้าวมากขึ้น โดยล่าสุด จีนได้ลงนามในข้อตกลงนำเข้าข้าวจากไทยปีละ 1 ล้านตัน เป็นเวลา 5 ปี นอกจากนี้ จีนยังนำเข้าข้าวผ่านการค้าชายแดนจากเมียนมาร์ด้วย

โดยในปี 2555/56 จีนนำเข้าข้าวประมาณ 3.2 ล้านตัน หรือประมาณ 6 เท่าของปริมาณนำเข้าในปี 2553/54

ที่มา Oryza.com

ฟิลิปปินส์

กระทรวงเกษตรฟิลิปปินส์ ประมาณการว่า พื้นที่ปลูกข้าว 67,095 เฮคตาร์ (หรือประมาณ 420,000 ไร่) ได้รับผลกระทบจากพายุไต้ฝุ่นไห่เยี่ยนที่พัดเข้าสู่ฟิลิปปินส์ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยมีปริมาณข้าวเปลือกที่ได้รับความเสียหายประมาณ 131,611 ตัน หรือประมาณร้อยละ 2 ของเป้าหมายการผลิตข้าวในระยะที่ 4 ซึ่งกำหนดไว้ที่ 7 ล้านตัน

ทั้งนี้ กระทรวงเกษตรฟิลิปปินส์ ชี้แจงว่า ทางรัฐบาลมีสต็อกเมล็ดพันธุ์เพียงพอที่จะปลูกทดแทนให้ได้ผลผลิตตามเป้าหมายของปีนี้ที่กำหนดไว้ที่ 20 ล้านตัน อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์ได้ออกมาแสดงความคิดเห็นว่า ผลกระทบจากพายุไต้ฝุ่นส่งผลให้ ในปี 2556/57 (พฤษภาคม 2556 — เมษายน 2557) ฟิลิปปินส์จะนำเข้าข้าวมากกว่าปริมาณที่กระทรวงเกษตรสหรัฐฯได้คาดการณ์ไว้ที่ 1.1 ล้านตันข้าวสาร

ก่อนหน้านี้ สำนักงานสถิติการเกษตร (Bureau of Agricultural Statistics: BAS) เปิดเผยว่า ฟิลิปปินส์มี สต็อกข้าว ณ วันที่ 1 ตุลาคม ประมาณ 1.7 ล้านตัน ลดลงจาก 2 ล้านตัน หรือลดลงร้อยละ 11 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา และลดลงร้อยละ 16 เมื่อเทียบกับเดือนกันยายน โดยจำแนกเป็นสต็อกในภาคครัวเรือน 900,000 ตัน ลดลงจาก 930,000 ตัน หรือลดลงร้อยละ 3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา สต็อกในภาคเอกชน 480,000 ตัน ลดลงร้อยละ 15 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา และสต็อกขององค์การอาหารแห่งชาติ (National Food Authority) 390,000 ตัน ลดลงร้อยละ 23 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา

ที่มา Oryza.com

--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 11 - 17 พฤศจิกายน 2556--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ