1.1 การตลาด
โครงการรับจำนำข้าวเปลือก ปีการผลิต 2555/56
1) มติ ครม. วันที่ 2 กรกฎาคม 2556 รับทราบราคา ปริมาณ วงเงินการรับจำนำข้าวเปลือกของเกษตรกร และระยะเวลาการรับจำนำโครงการรับจำนำข้าวเปลือก ปีการผลิต 2555/56
2) ชนิดและราคารับจำนำข้าวเปลือก ปี 2555/56 (ตั้งแต่วันที่ 30 มิถุนายน เป็นต้นไป) ให้กำหนดชนิดและราคารับจำนำข้าวเปลือก ปี 2555/56 ณ ความชื้นไม่เกิน 15 % ดังนี้
(1) ข้าวเปลือกปทุมธานี (42 กรัม) ตันละ 16,000 บาท
(2) ข้าวเปลือกเจ้า :-
ข้าวเปลือกเจ้า 100% ตันละ 15,000 บาท
ข้าวเปลือกเจ้า 5% ตันละ 14,800 บาท
ข้าวเปลือกเจ้า 10% ตันละ 14,600 บาท
ข้าวเปลือกเจ้า 15% ตันละ 14,200 บาท
ข้าวเปลือกเจ้า 25% ตันละ 13,800 บาท
(3) ข้าวเปลือกเหนียว :-
ข้าวเปลือกเหนียว 10% เมล็ดยาว (42 กรัม) ตันละ 16,000 บาท
ข้าวเปลือกเหนียว 10% เมล็ดสั้น (40 กรัม) ตันละ 15,000 บาท
3) เป้าหมายการรับจำนำ จะรับจำนำข้าวเปลือกจากเกษตรกรในปริมาณที่ไม่เกินที่ระบุไว้ในใบรับรองเกษตรกร ที่กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ออกให้ และจำกัดวงเงินรับจำนำรายละ
ไม่เกิน 500,000 บาทต่อรอบ ตามที่ กขช. มีมติเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2556
4) ระยะเวลา
(1) ระยะเวลารับจำนำ 1 กุมภาพันธ์ — 15 กันยายน 2556 ยกเว้น ภาคใต้จะสิ้นสุดวันที่ 30 พฤศจิกายน 2556
(2) ระยะเวลาไถ่ถอน 4 เดือน นับถัดจากเดือนที่รับจำนำ
(3) ระยะเวลาโครงการ 1 ตุลาคม 2555 — 31 มกราคม 2557
5) ผลการดำเนินงาน จำนวนเกษตรกรที่รับเงินกับ ธ.ก.ส.(ตั้งแต่ วันที่ 1 ตุลาคม 2555 — 18 พฤศจิกายน 2556)
- จำนวนสัญญา 2,908,024 สัญญา
- จำนวนตัน 22,449,759 ตัน
- จำนวนเงิน 351,463.121 ล้านบาท
หมายเหตุ : มติ ครม. วันที่ 29 ตุลาคม 2556 ให้ช่วยเหลือเยียวยาเกษตรกรที่ไม่สามารถใช้สิทธิ์
ครั้งที่ 2 นำข้าวมาเข้าโครงการรับจำนำข้าวเปลือก ปีการผลิต 2555/56 ได้ทันภายในวันที่ 15 กันยายน 2556
ซึ่งเป็นวันสิ้นสุดโครงการ เป็นกรณีพิเศษ หลักเกณฑ์ วิธีการขอรับเงินและการจ่ายเงินเยียวยา มีดังนี้
(1) เป็นเกษตรกรที่มีหนังสือรับรองเกษตรกรโครงการรับจำนำข้าวเปลือก ปี 2555/56 ครั้งที่ 2 ระบุวันเก็บเกี่ยวไม่เกิน 15 กันยายน 2556 แต่ไม่สามารถเก็บเกี่ยวได้ทันภายในระยะเวลารับจำนำที่กำหนด
(2) เป็นเกษตรกรที่ได้มีการขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโครงการรับจำนำข้าวเปลือก ปี 2555/56 ครั้งที่ 2 ที่ระบุวันเก็บเกี่ยว 16 — 30 กันยายน 2556 ซึ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จะต้องตรวจสอบและออกหนังสือรับรองเกษตรกรให้แก่เกษตรกรเพื่อใช้ในการเยียวยาครั้งนี้ต่อไป โดย ธ.ก.ส.เป็นผู้ตรวจสอบสิทธิ์ในการรับจำนำข้าวเปลือก ปี 2555/56 ครั้งที่ 2 กรณียังไม่ได้ ใช้สิทธิ์ให้ ธ.ก.ส.จ่ายเงินเข้าบัญชีให้เกษตรกรโดยตรง ซึ่งรัฐบาลจะชดเชยเงินให้ตันละ 2,500 บาท จำกัดครัวเรือนละไม่เกิน 33 ตัน
โครงการรับจำนำข้าวเปลือก ปีการผลิต 2556/57
1) มติ ครม. วันที่ 3 กันยายน 2556 รับทราบราคา ปริมาณ วงเงินการรับจำนำข้าวเปลือกของเกษตรกร และระยะเวลาการรับจำนำโครงการรับจำนำข้าวเปลือก ปีการผลิต 2556/57
2) ชนิดและราคารับจำนำข้าวเปลือก ปี 2556/57 ให้กำหนดชนิดและราคารับจำนำข้าวเปลือก ปี 2556/57 ณ ความชื้นไม่เกิน 15 % ดังนี้
- ครั้งที่ 1
(1) ข้าวเปลือกหอมมะลิ (42 กรัม) ตันละ 20,000 บาท
(2) ข้าวเปลือกหอมจังหวัด (40 กรัม) ตันละ 18,000 บาท
(ข้าวหอมมะลินอกพื้นที่ 23 จังหวัด)
(3) ข้าวเปลือกปทุมธานี 1 (42 กรัม) ตันละ 16,000 บาท
(4) ข้าวเปลือกเจ้า :-
ข้าวเปลือกเจ้า 100% ตันละ 15,000 บาท
ข้าวเปลือกเจ้า 5% ตันละ 14,800 บาท
ข้าวเปลือกเจ้า 10% ตันละ 14,600 บาท
ข้าวเปลือกเจ้า 15% ตันละ 14,200 บาท
ข้าวเปลือกเจ้า 25% ตันละ 13,800 บาท
(5) ข้าวเปลือกเหนียว :-
ข้าวเปลือกเหนียว 10% เมล็ดยาว (42 กรัม) ตันละ 16,000 บาท
ข้าวเปลือกเหนียว 10% เมล็ดสั้น (40 กรัม) ตันละ 15,000 บาท
ทั้งนี้ ราคารับจำนำข้าวเปลือกหอมมะลิและข้าวเปลือกปทุมธานี 1 ให้ปรับเพิ่ม — ลดตามจำนวนกรัมในอัตรากรัมละ 200 บาท และราคารับจำนำข้าวเปลือกเหนียว ให้ปรับเพิ่ม — ลดตามจำนวนกรัม โดยเมล็ดยาว ในอัตรากรัมละ 160 บาท และเมล็ดสั้นในอัตรากรัมละ 150 บาท
หมายเหตุ : มติ กขช. วันที่ 13 กันยายน 2556 เห็นชอบให้เกษตรกรที่ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2556/57 ในช่วงเดือนพฤษภาคม — มิถุนายน 2556 และจะเก็บเกี่ยวข้าวก่อนวันที่ 1 ตุลาคม 2556 ที่ต้องการจะเข้าร่วมโครงการรับจำนำข้าวเปลือก ปี 2556/57 โดยให้เกษตรกรฝากข้าวไว้ที่โรงสีก่อน โดยถือว่าได้ใช้สิทธิ์ ในการจำนำข้าวในปีการผลิต 2556/57 ไปแล้วจำนวน 1 ครั้ง และจะขอเข้าร่วมโครงการรับจำนำข้าวเปลือก ปีการผลิต 2556/57 นาปี (ครั้งที่ 1) อีกไม่ได้
- ครั้งที่ 2
(1) ข้าวเปลือกปทุมธานี 1 (42 กรัม) ตันละ 16,000 บาท
(2) ข้าวเปลือกเจ้า :-
ข้าวเปลือกเจ้า 100% ตันละ 13,000 บาท
ข้าวเปลือกเจ้า 5% ตันละ 12,800 บาท
ข้าวเปลือกเจ้า 10% ตันละ 12,600 บาท
ข้าวเปลือกเจ้า 15% ตันละ 12,200 บาท
ข้าวเปลือกเจ้า 25% ตันละ 11,800 บาท
(3) ข้าวเปลือกเหนียว :-
ข้าวเปลือกเหนียว 10% เมล็ดยาว (42 กรัม) ตันละ 16,000 บาท
ข้าวเปลือกเหนียว 10% เมล็ดสั้น (40 กรัม) ตันละ 15,000 บาท
ทั้งนี้ ราคารับจำนำข้าวเปลือกปทุมธานี 1 ให้ปรับเพิ่ม — ลดตามจำนวนกรัมในอัตรากรัมละ 200 บาท และราคารับจำนำข้าวเปลือกเหนียว ให้ปรับเพิ่ม — ลดตามจำนวนกรัม โดยเมล็ดยาว ในอัตรากรัมละ 160 บาท และเมล็ดสั้นในอัตรากรัมละ 150 บาท
3) เป้าหมายการรับจำนำ จะรับจำนำข้าวเปลือกคุณภาพดี โดยจะไม่รับจำนำข้าวเปลือกที่มีอายุน้อยกว่า 110 วัน ที่มีคุณภาพต่ำ จำนวน 18 พันธุ์ ตามที่กรมการข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ประกาศ โดยจะไม่ให้เข้าร่วมโครงการฯ ทั้ง 2 ครั้ง
4) วงเงินการรับจำนำ
- ครั้งที่ 1 ไม่เกินรายละ 350,000 บาท
- ครั้งที่ 2 ไม่เกินรายละ 300,000 บาท
5) เป้าหมายการรับจำนำ รวมจำนวน 16.5 ล้านตัน
6) ระยะเวลารับจำนำ
- ครั้งที่ 1 ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2556 — 28 กุมภาพันธ์ 2557 ยกเว้น ภาคใต้จะสิ้นสุดวันที่ 31 กรกฎาคม 2557
- ครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 1 มีนาคม — 30 กันยายน 2557
ยกเว้น ภาคใต้ระว่างวันที่ 1 สิงหาคม — 30 พฤศจิกายน 2557
7) ผลการดำเนินงาน ครั้งที่ 1 จำนวนเกษตรกรที่รับเงินกับ ธ.ก.ส. (ตั้งแต่ วันที่ 1 ตุลาคม — 18 พฤศจิกายน 2556)
- จำนวนสัญญา 5,309 สัญญา
- จำนวนตัน 48,446 ตัน
- จำนวนเงิน 732,178.121 ล้านบาท
ภาวการณ์ซื้อขายข้าวสัปดาห์นี้ ราคาข้าวเปลือกที่เกษตรกรขายได้เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ทั้งข้าวเปลือกเจ้าหอมมะลิและข้าวเปลือกเจ้าราคาลดลง เนื่องจากเป็นช่วงที่ผลผลิตออกสู่ตลาดมากขึ้น ประกอบกับความต้องการของตลาดชะลอตัว ส่งผลให้ผู้ประกอบการลดปริมาณการสั่งซื้อข้าว
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ราคาข้าวเปลือกเจ้าหอมมะลินาปี ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 14,762 บาท ราคาลดลงจากตันละ 15,067 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.02
ราคาข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 8,120 บาท ราคาลดลงจากตันละ 8,131 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.13
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 12,730 บาท ราคาสูงขึ้น จากตันละ 12,450 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.25
3) ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี.
ราคาข้าวหอมมะลิไทย ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาข้าวปทุมธานี ส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาข้าวสารเจ้า 25% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาข้าวนึ่ง 5% ส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 31.4002 บาท
2.1 สถานการณ์ข้าวโลก
1) การผลิต
ผลผลิตข้าวโลก กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ได้คาดคะเนผลผลิตข้าวโลกปี 2556/57 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2556 ว่าจะมี 473.178 ล้านตันข้าวสาร (705.8 ล้านตันข้าวเปลือก) เพิ่มขึ้นจาก 468.961 ล้านตันข้าวสาร (699.2 ล้านตันข้าวเปลือก) ของปี 2555/56 ร้อยละ 0.90
2) การค้าข้าวโลก
บัญชีสมดุลข้าวโลก กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ได้คาดคะเนบัญชีสมดุลข้าวโลกปี 2556/57
ณ เดือนพฤศจิกายน 2556 ว่าผลผลิต ปี 2556/57 จะมี 473.178 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 0.90 การใช้ในประเทศจะมี 473.103 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 1.30 การส่งออก/นำเข้าจะมี 39.177 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 1.90 และสต็อกปลายปีคงเหลือ 106.519 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 0.07
โดยประเทศที่คาดว่าจะส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่ ออสเตรเลีย บราซิล กัมพูชา เวียดนาม และไทย ส่วนประเทศที่คาดว่าจะส่งออกลดลง ได้แก่ อินเดีย ปารากวัย และสหรัฐอเมริกา
สำหรับประเทศที่คาดว่าจะนำเข้าเพิ่มขึ้น ได้แก่ บังคลาเทศ จีน อินโดนีเซีย มาเลเซีย เม็กซิโก ไนจีเรีย ฟิลิปปินส์ ซาอุดิอาระเบีย แอฟริกาใต้ สหรัฐอาหรับเอมิเรสต์ เยเมน และสหรัฐฯ ส่วนประเทศที่คาดว่าจะนำเข้าลดลง ได้แก่ บราซิล ไอเวอรี่โคสต์ คิวบา กานา ฮ่องกง อิหร่าน และโมแซมบิค ประเทศที่มีสต็อกคงเหลือปลายปีเพิ่มขึ้น ได้แก่ ญี่ปุ่น ส่วนประเทศที่คาดว่าจะมีสต็อกคงเหลือปลายปีลดลง ได้แก่ จีน อินเดีย อินโดนีเซีย เวียดนาม และสหรัฐอเมริกา
2.2 สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
ฟิลิปปินส์
สภาองค์การอาหารแห่งชาติฟิลิปปินส์ (National Food Authority: NFA) อนุมัติการเพิ่มปริมาณนำเข้าข้าวเป็น 500,000 ตัน เพื่อแก้ไขปัญหาข้าวในสต๊อกมูลภัณฑ์กันชน (buffer stock) ในคราวประชุมด่วนเมื่อวันศุกร์ ที่ผ่านมา โดยจะนำเข้าจากไทย เวียดนาม และกัมพูชา ในช่วงเดือนพฤศจิกายนและธันวาคม
ทั้งนี้ องค์การอาหารแห่งชาติฟิลิปปินส์ได้จัดสรรข้าวจำนวน 298,218 ตัน สำหรับภารกิจช่วยเหลือผู้ประสบภัย หลังพายุไห่เยี่ยนเข้าโจมตีเมื่อวันที่ 7-8 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ซึ่งมีการประมาณการว่า มีผลผลิตข้าวได้รับความเสียหายประมาณ 2 ล้านตัน อย่างไรก็ตาม สต็อกข้าวขององค์การอาหารแห่งชาติมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ก่อนภัยพิบัติดังกล่าว โดยสำนักงานสถิติการเกษตร (Bureau of Agricultural Statistics: BAS) รายงานว่า ฟิลิปปินส์มีสต็อกข้าว ณ วันที่ 1 ตุลาคมที่ผ่านมาจำนวน 1.7 ล้านตัน ลดลงร้อยละ 11 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา และองค์การอาหารแห่งชาติมีสต็อกข้าวประมาณ 390,000 ตัน ลดลงร้อยละ 23 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา โดยปริมาณสต็อกดังกล่าวเพียงพอสำหรับ 2 อาทิตย์
สื่อท้องถิ่นรายงานเพิ่มเติมว่า ราคาข้าวในประเทศเพิ่มสูงขึ้นอีกเป็นประวัติการณ์เนื่องจากการกักตุนสินค้า โดยสำนักงานสถิติการเกษตรรายงานว่า ราคาขายปลีกข้าวขาวคุณภาพดี (well milled rice) ในสัปดาห์ที่สองของเดือนพฤศจิกายน กิโลกรัมละ 38.41 เปโซ (หรือประมาณตันละ 880 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 27,632 บาท) เพิ่มขึ้นร้อยละ 9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ข้าวขาว (regular milled rice) ราคากิโลกรัมละ 35.35 เปโซ (หรือประมาณตันละ 810 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 25,434 บาท) เพิ่มขึ้นร้อยละ 11 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา สื่อท้องถิ่นกล่าวว่า รัฐบาลมีความจำเป็นต้องนำเข้าข้าวเพื่อป้องกันการกักตุนสินค้าและการขึ้นราคาข้าว
ทั้งนี้ ในปี 2556 ฟิลิปปินส์นำเข้าข้าวแล้วประมาณ 210,445 ตัน คิดเป็นร้อยละ 70 ของปริมาณนำเข้าในปีที่ผ่านมา
ที่มา Oryza.com
ญี่ปุ่น
รัฐบาลญี่ปุ่นอยู่ระหว่างการพิจารณาเพิ่มปริมาณการนำเข้าข้าวจากสหรัฐอเมริกาในโควตานำเข้ารายประเทศ (country specific quota: CSQ) ภายใต้ปริมาณนำเข้าขั้นต่ำ (minimum access volume: MAV) เพื่อแลกเปลี่ยนกับการสนับสนุนในการเจรจาความตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (Trans-Pacific Partnership)
ปัจจุบัน ญี่ปุ่นผลิตข้าวได้เพียงพอต่อความต้องการในประเทศ แต่ต้องนำเข้าข้าวปีละ 682,000 ตันภายใต้ข้อตกลงขององค์การการค้าโลก (WTO) โดยตามโควตานำเข้ารายประเทศ (CSQ) ญี่ปุ่นนำเข้าจากสหรัฐอเมริกา 360,000 ตัน และนำเข้าจากออสเตรเลีย 60,000 ตัน ซึ่งเป็นประเทศสมาชิกของความตกลงดังกล่าว และส่วนที่เหลือนำเข้าจากไทยและจีน ทั้งนี้ ในกรณีที่เป็นการนำเข้าเกินกว่าปริมาณนำเข้าขั้นต่ำ (MAV) ญี่ปุ่นได้กำหนดภาษีนำเข้าไว้ที่ประมาณร้อยละ 778
สื่อท้องถิ่นรายงานว่า รัฐบาลญี่ปุ่นจะเพิ่มโควตานำเข้ารายประเทศ (CSQ) ให้แก่สหรัฐอเมริกา โดยไม่มีการปรับเปลี่ยนปริมาณนำเข้าขั้นต่ำ (MAV) ซึ่งหมายความว่า รัฐบาลอาจต้องลดปริมาณนำเข้าจากไทยและจีน
ที่มา Oryza.com
เวียดนาม
สมาคมอาหารแห่งเวียดนาม (Vietnam Food Association: VFA) รายงานว่า ในช่วงวันที่ 1 มกราคม - 14 พฤศจิกายนที่ผ่านมา เวียดนามส่งออกข้าวได้ 5.9 ล้านตัน ซึ่งลดลงจาก 7.1 ล้านตัน หรือลดลงร้อยละ 17.5 เมื่อเทียบกับช่วงวันที่ 1 มกราคม - 30 พฤศจิกายนของปีที่ผ่านมา ทั้งๆที่ราคาส่งออกในปีนี้ต่ำกว่าปีที่ผ่านมา โดยราคา FOB ในช่วงวันที่ 1 มกราคม - 14 พฤศจิกายน เฉลี่ยตันละ 430 ดอลลาร์สหรัฐฯ (หรือประมาณตันละ 13,502 บาท) ลดลงร้อยละ 6 เมื่อเทียบกับราคาเฉลี่ยในช่วงเดือนมกราคม — พฤศจิกายนของปีที่ผ่านมา
ในเดือนพฤศจิกายนนี้ ปริมาณการส่งออกข้าวของเวียดนามชะลอตัว โดยในช่วง 1-14 พฤศจิกายน เวียดนามส่งออกข้าวได้ 142,265 ตัน ลดลงร้อยละ 73 เมื่อเทียบกับเดือนตุลาคมที่ผ่านมา และลดลงร้อยละ 77 เมื่อเทียบกับเดือนพฤศจิกายนของปีที่ผ่านมา ราคาส่งออกในช่วง 1-14 พฤศจิกายน เฉลี่ยตันละ 422 ดอลลาร์สหรัฐฯ (หรือประมาณตันละ 13,251 บาท) ลดลงจากตันละ 435 ดอลลาร์สหรัฐฯ (หรือประมาณตันละ 13,659 บาท) หรือลดลงร้อยละ 3 เมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมา และลดลงจากตันละ 466 ดอลลาร์สหรัฐฯ (หรือประมาณตันละ 14,632 บาท) หรือลดลงร้อยละ 9 เมื่อเทียบกับเดือนพฤศจิกายนของปีที่ผ่านมา
สำหรับสัปดาห์นี้ ราคาข้าวเปลือกและข้าวสารในประเทศคงที่เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยข้าวเปลือก กิโลกรัมละ 5,300 — 5,400 ดอง (หรือประมาณตันละ 249 -253 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณตันละ 7,819 — 7,944 บาท) ข้าวขาว 5% ราคากิโลกรัมละ 7,300 — 7,400 ดอง (หรือประมาณตันละ 342 -347 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณตันละ 10,739 — 10,896 บาท) และข้าวขาว 25% ราคากิโลกรัมละ 7,000 — 7,100 ดอง (หรือประมาณตันละ 328 — 333 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณตันละ 10,299 — 10,456 บาท)
ที่มา Oryza.com
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 18 - 24 พฤศจิกายน 2556--