1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 การตลาด
โครงการรับจำนำข้าวเปลือก ปีการผลิต 2555/56
1) มติ ครม. วันที่ 2 กรกฎาคม 2556 รับทราบราคา ปริมาณ วงเงินการรับจำนำข้าวเปลือกของเกษตรกร และระยะเวลาการรับจำนำโครงการรับจำนำข้าวเปลือก ปีการผลิต 2555/56
2) ชนิดและราคารับจำนำข้าวเปลือก ปี 2555/56 (ตั้งแต่วันที่ 30 มิถุนายน เป็นต้นไป) ให้กำหนดชนิดและราคารับจำนำข้าวเปลือก ปี 2555/56 ณ ความชื้นไม่เกิน 15 % ดังนี้
(1) ข้าวเปลือกปทุมธานี (42 กรัม) ตันละ 16,000 บาท
(2) ข้าวเปลือกเจ้า :-
ข้าวเปลือกเจ้า 100% ตันละ 15,000 บาท
ข้าวเปลือกเจ้า 5% ตันละ 14,800 บาท
ข้าวเปลือกเจ้า 10% ตันละ 14,600 บาท
ข้าวเปลือกเจ้า 15% ตันละ 14,200 บาท
ข้าวเปลือกเจ้า 25% ตันละ 13,800 บาท
(3) ข้าวเปลือกเหนียว :-
ข้าวเปลือกเหนียว 10% เมล็ดยาว (42 กรัม) ตันละ 16,000 บาท
ข้าวเปลือกเหนียว 10% เมล็ดสั้น (40 กรัม) ตันละ 15,000 บาท
3) เป้าหมายการรับจำนำ จะรับจำนำข้าวเปลือกจากเกษตรกรในปริมาณที่ไม่เกินที่ระบุไว้ในใบรับรองเกษตรกร ที่กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ออกให้ และจำกัดวงเงินรับจำนำรายละไม่เกิน 500,000 บาทต่อรอบ ตามที่ กขช. มีมติเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2556
4) ระยะเวลา
(1) ระยะเวลารับจำนำ 1 กุมภาพันธ์ – 15 กันยายน 2556 ยกเว้น ภาคใต้จะสิ้นสุดวันที่ 30 พฤศจิกายน 2556
(2) ระยะเวลาไถ่ถอน 4 เดือน นับถัดจากเดือนที่รับจำนำ
(3) ระยะเวลาโครงการ 1 ตุลาคม 2555 – 31 มกราคม 2557
5) ผลการดำเนินงาน
จำนวนเกษตรกรที่รับเงินกับ ธ.ก.ส. (ตั้งแต่ วันที่ 1 ตุลาคม 2555 – 18 พฤศจิกายน 2556)
- จำนวนสัญญา 2,908,024 สัญญา
- จำนวนตัน 22,449,759 ตัน
- จำนวนเงิน 351,463.121 ล้านบาท
หมายเหตุ : มติ ครม. วันที่ 29 ตุลาคม 2556 ให้ช่วยเหลือเยียวยาเกษตรกรที่ไม่สามารถใช้สิทธิ์
ครั้งที่ 2 นำข้าวมาเข้าโครงการรับจำนำข้าวเปลือก ปีการผลิต 2555/56 ได้ทันภายในวันที่ 15 กันยายน 2556 ซึ่งเป็นวันสิ้นสุดโครงการ เป็นกรณีพิเศษ หลักเกณฑ์ วิธีการขอรับเงินและการจ่ายเงินเยียวยา มีดังนี้
(1) เป็นเกษตรกรที่มีหนังสือรับรองเกษตรกรโครงการรับจำนำข้าวเปลือก ปี 2555/56 ครั้งที่ 2 ระบุวันเก็บเกี่ยวไม่เกิน 15 กันยายน 2556 แต่ไม่สามารถเก็บเกี่ยวได้ทันภายในระยะเวลารับจำนำที่กำหนด
(2) เป็นเกษตรกรที่ได้มีการขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโครงการรับจำนำข้าวเปลือก ปี 2555/56 ครั้งที่ 2 ที่ระบุวันเก็บเกี่ยว 16 – 30 กันยายน 2556 ซึ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จะต้องตรวจสอบและออกหนังสือรับรองเกษตรกรให้แก่เกษตรกรเพื่อใช้ในการเยียวยาครั้งนี้ต่อไป โดย ธ.ก.ส.เป็นผู้ตรวจสอบสิทธิ์ในการรับจำนำข้าวเปลือก ปี 2555/56 ครั้งที่ 2 กรณียังไม่ได้ใช้สิทธิ์ให้ ธ.ก.ส.จ่ายเงินเข้าบัญชีให้เกษตรกรโดยตรง ซึ่งรัฐบาลจะชดเชยเงินให้ตันละ 2,500 บาท จำกัดครัวเรือนละ ไม่เกิน 33 ตัน
1) มติ ครม. วันที่ 3 กันยายน 2556 รับทราบราคา ปริมาณ วงเงินการรับจำนำข้าวเปลือกของเกษตรกร และระยะเวลาการรับจำนำโครงการรับจำนำข้าวเปลือก ปีการผลิต 2556/57
2) ชนิดและราคารับจำนำข้าวเปลือก ปี 2556/57 ให้กำหนดชนิดและราคารับจำนำข้าวเปลือก ปี 2556/57 ณ ความชื้นไม่เกิน 15 % ดังนี้
- ครั้งที่ 1
(1) ข้าวเปลือกหอมมะลิ (42 กรัม) ตันละ 20,000 บาท
(2) ข้าวเปลือกหอมจังหวัด (40 กรัม) ตันละ 18,000 บาท
(ข้าวหอมมะลินอกพื้นที่ 23 จังหวัด)
(3) ข้าวเปลือกปทุมธานี 1 (42 กรัม) ตันละ 16,000 บาท
(4) ข้าวเปลือกเจ้า :-
ข้าวเปลือกเจ้า 100% ตันละ 15,000 บาท
ข้าวเปลือกเจ้า 5% ตันละ 14,800 บาท
ข้าวเปลือกเจ้า 10% ตันละ 14,600 บาท
ข้าวเปลือกเจ้า 15% ตันละ 14,200 บาท
ข้าวเปลือกเจ้า 25% ตันละ 13,800 บาท
(5) ข้าวเปลือกเหนียว :-
ข้าวเปลือกเหนียว 10% เมล็ดยาว (42 กรัม) ตันละ 16,000 บาท
ข้าวเปลือกเหนียว 10% เมล็ดสั้น (40 กรัม) ตันละ 15,000 บาท
ทั้งนี้ ราคารับจำนำข้าวเปลือกหอมมะลิและข้าวเปลือกปทุมธานี 1 ให้ปรับเพิ่ม – ลดตามจำนวนกรัมในอัตรากรัมละ 200 บาท และราคารับจำนำข้าวเปลือกเหนียว ให้ปรับเพิ่ม – ลดตามจำนวนกรัม โดยเมล็ดยาว ในอัตรากรัมละ 160 บาท และเมล็ดสั้นในอัตรากรัมละ 150 บาท
หมายเหตุ : มติ กขช. วันที่ 13 กันยายน 2556 เห็นชอบให้เกษตรกรที่ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2556/57 ในช่วงเดือนพฤษภาคม – มิถุนายน 2556 และจะเก็บเกี่ยวข้าวก่อนวันที่ 1 ตุลาคม 2556 ที่ต้องการจะเข้าร่วมโครงการรับจำนำข้าวเปลือก ปี 2556/57 โดยให้เกษตรกรฝากข้าวไว้ที่โรงสีก่อน โดยถือว่าได้ใช้สิทธิในการจำนำข้าวในปีการผลิต 2556/57 ไปแล้วจำนวน 1 ครั้ง และจะขอเข้าร่วมโครงการรับจำนำข้าวเปลือก
ปีการผลิต 2556/57 นาปี (ครั้งที่ 1) อีกไม่ได้
- ครั้งที่ 2
(1) ข้าวเปลือกปทุมธานี 1 (42 กรัม) ตันละ 16,000 บาท
(2) ข้าวเปลือกเจ้า :-
ข้าวเปลือกเจ้า 100% ตันละ 13,000 บาท
ข้าวเปลือกเจ้า 5% ตันละ 12,800 บาท
ข้าวเปลือกเจ้า 10% ตันละ 12,600 บาท
ข้าวเปลือกเจ้า 15% ตันละ 12,200 บาท
ข้าวเปลือกเจ้า 25% ตันละ 11,800 บาท
(3) ข้าวเปลือกเหนียว :-
ข้าวเปลือกเหนียว 10% เมล็ดยาว (42 กรัม) ตันละ 16,000 บาท
ข้าวเปลือกเหนียว 10% เมล็ดสั้น (40 กรัม) ตันละ 15,000 บาท
ทั้งนี้ ราคารับจำนำข้าวเปลือกปทุมธานี 1 ให้ปรับเพิ่ม – ลดตามจำนวนกรัมในอัตรากรัมละ 200 บาท และราคารับจำนำข้าวเปลือกเหนียว ให้ปรับเพิ่ม – ลดตามจำนวนกรัม โดยเมล็ดยาว ในอัตรากรัมละ
160 บาท และเมล็ดสั้นในอัตรากรัมละ 150 บาท
3) เป้าหมายการรับจำนำ จะรับจำนำข้าวเปลือกคุณภาพดี โดยจะไม่รับจำนำข้าวเปลือกที่มีอายุน้อยกว่า 110 วัน ที่มีคุณภาพต่ำ จำนวน 18 พันธุ์ ตามที่กรมการข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ประกาศ โดยจะไม่ให้เข้าร่วมโครงการฯ ทั้ง 2 ครั้ง
4) วงเงินการรับจำนำ
- ครั้งที่ 1 ไม่เกินรายละ 350,000 บาท
- ครั้งที่ 2 ไม่เกินรายละ 300,000 บาท
5) เป้าหมายการรับจำนำ รวมจำนวน 16.5 ล้านตัน
6) ระยะเวลารับจำนำ
- ครั้งที่ 1 ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2556 – 28 กุมภาพันธ์ 2557 ยกเว้น ภาคใต้จะสิ้นสุดวันที่ 31 กรกฎาคม 2557
- ครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 1 มีนาคม – 30 กันยายน 2557 ยกเว้น ภาคใต้ระว่างวันที่ 1 สิงหาคม – 30 พฤศจิกายน 2557
7) ผลการดำเนินงาน ครั้งที่ 1 จำนวนเกษตรกรที่รับเงินกับ ธ.ก.ส. (ตั้งแต่ วันที่ 1 ตุลาคม – 30 พฤศจิกายน 2556)
- จำนวนสัญญา 73,323 สัญญา
- จำนวนตัน 651,935 ตัน
- จำนวนเงิน 9,624,068.487 ล้านบาท
ทั้งข้าวเปลือกเจ้าหอมมะลิและข้าวเปลือกเจ้าราคาค่อนข้างทรงตัว เนื่องจากเป็นช่วงที่ผลผลิตออกสู่ตลาดมาก แต่ความต้องการผลผลิตในตลาดไม่แตกต่างจากที่ผ่านมา ส่งผลให้ผู้ประกอบการชะลอการเพิ่มปริมาณสั่งซื้อ
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ราคาข้าวเปลือกเจ้าหอมมะลินาปี ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 14,650 บาท ราคาลดลงจากตันละ 14,736 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.59
ราคาข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 8,139 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 8,120 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.23
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 12,850 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
3) ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี.
ราคาข้าวหอมมะลิไทย ชั้น 1 (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 1,028 ดอลลาร์สหรัฐฯ (32,822 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 1,048 ดอลลาร์สหรัฐฯ (33,289 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.91 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 467 บาท
ราคาข้าวปทุมธานี ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 726 ดอลลาร์สหรัฐฯ (23,179 บาท/ตัน)
ราคาลดลงจากตันละ 728 ดอลลาร์สหรัฐฯ (23,125 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.27 แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาท
ตันละ 54 บาท
ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 450 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14,367 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 442 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14,040 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.81 และสูงขึ้นในรูปเงินบาท
ตันละ 327 บาท
ราคาข้าวสารเจ้า 25% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 398 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,707 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 404 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,833 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.48 และลดลงในรูปเงินบาท
ตันละ 126 บาท
ราคาข้าวนึ่ง 5% ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 470 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,006 บาท/ตัน)
ราคาลดลงจากตันละ 471 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14,961 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.21 แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาท
ตันละ 45 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 31.9276 บาทฃ
2. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในต่างประเทศ
สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
เวียดนาม
ในช่วงเดือนมกราคมถึงพฤศจิกายนที่ผ่านมา เวียดนามส่งออกข้าวได้ 6.1 ล้านตัน ลดลงจาก 7.1 ล้านตัน หรือลดลงร้อยละ 14 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ซึ่งในเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา องค์การอาหารแห่งชาติ (Vietnam Food Association: VFA) ได้ปรับลดเป้าหมายการส่งออกในปีนี้จาก 7.5 ล้านตัน เหลือเพียง 6.7 ล้านตัน
โดยในปี 2555 เวียดนามเป็นประเทศผู้ส่งออกข้าวอันดับ 2 ของโลก ส่งออกข้าวได้ 7.7 ล้านตัน อย่างไรก็ตาม ในปีนี้ ถึงแม้ว่าราคาส่งออกข้าวของเวียดนามจะอยู่ในเกณฑ์ต่ำ แต่เวียดนามส่งออกข้าวได้น้อย ราคาส่งออกข้าวเดือนมกราคมถึงเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา เฉลี่ยตันละ 431 ดอลลาร์สหรัฐฯ (หรือประมาณตันละ 13,761 บาท) ลดลงจากตันละ 456 ดอลลาร์สหรัฐฯ (หรือประมาณตันละ 14,559 บาท) หรือลดลงร้อยละ 5.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา
ทั้งนี้ องค์การอาหารแห่งชาติ รายงานว่า ในเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา เวียดนามส่งออกข้าวได้น้อยที่สุดนับตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา โดยส่งออกข้าวได้ 410,423 ตัน ลดลงร้อยละ 34 เมื่อเทียบกับเดือนพฤศจิกายนของปีที่ผ่านมา และลดลงร้อยละ 24 เมื่อเทียบกับเดือนตุลาคมที่ผ่านมา โดยราคาส่งออกข้าวเดือนพฤศจิกายน ตันละ 443 ดอลลาร์สหรัฐฯ (หรือประมาณตันละ 14,144 บาท) ลดลงร้อยละ 5 เมื่อเทียบกับเดือนพฤศจิกายนของปีที่ผ่านมา แต่เป็นราคาที่สูงที่สุดนับตั้งแต่เดือนมกราคมปีนี้
ปัจจุบัน ราคาข้าวเปลือกในประเทศกิโลกรัมละ 5,600 – 5,750 ด็อง (หรือตันละ 261 – 268 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณตันละ 8,333 – 8,557 บาท) ราคาข้าวขาว 5% กิโลกรัมละ 7,600 – 7,700 ด็อง (หรือตันละ 354 – 359 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณตันละ 11,302 – 11,462 บาท) และราคาข้าวขาว 25% กิโลกรัมละ 7,300 – 7,400 ด็อง (หรือตันละ 340 – 345 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณตันละ 10,855 – 11,015 บาท)
ที่มา Oryza.com
อินเดีย
สื่อท้องถิ่นรายงานว่า ราคาขายส่งข้าวของอินเดียมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา ราคาอยู่ที่ 2,931 รูปีต่อ 100 กิโลกรัม เพิ่มขึ้นจาก 2,750 รูปีต่อ 100 กิโลกรัม หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 7 เมื่อเทียบกับเดือนตุลาคม และเพิ่มขึ้นจาก 2,441 รูปีต่อ 100 กิโลกรัม หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 20 เมื่อเทียบกับเดือนพฤศจิกายนของปีที่ผ่านมา โดยราคาขายส่งเฉลี่ยในปัจจุบัน เป็นราคาที่สูงที่สุดนับตั้งแต่เดือนมกราคม ปี 2554 และมีความเป็นไปได้ที่จะสูงที่สุดในประวัติการณ์
ทั้งนี้ ราคาขายส่งข้าวของอินเดียในรูปค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ อยู่ที่ตันละ 473 ดอลลาร์สหรัฐฯ (หรือตันละ 15,102 บาท) เพิ่มขึ้นจากตันละ 451 ดอลลาร์สหรัฐฯ (หรือตันละ 14,399 บาท) หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 5 เมื่อเทียบกับเดือนตุลาคม และเพิ่มขึ้นจาก 450 ดอลลาร์สหรัฐฯ (หรือตันละ 14,367 บาท) หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 5 เมื่อเทียบกับเดือนพฤศจิกายนของปีที่ผ่านมา
ผู้ประกอบการท้องถิ่นกล่าวว่า ปัจจุบันอินเดียอยู่ระหว่างการเก็บเกี่ยวข้าวในฤดูมรสุม แต่ราคาข้าวมีแนวโน้มที่จะสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นอีกในปี 2557 เนื่องจากผลผลิตต่ำและการส่งออกยังคงมีอย่างต่อเนื่อง โดยประมาณการว่า ในปี 2556/57 อินเดียจะผลิตข้าวได้น้อยลงร้อยละ 5 เมื่อเทียบกับปี 2555/56 เพราะได้รับอิทธิผลจากพายุที่เคลื่อนเข้าสู่อินเดียอย่างต่อเนื่องในช่วงเดือนตุลาคมถึงเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา ทั้งนี้ เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา รัฐบาลอินเดียยืดระยะเวลาข้อจำกัดการถือครองสต๊อกข้าวเปลือกและข้าวสารภายใต้กฎหมาย ว่าด้วยสินค้าที่สำคัญ (Essential Commodities Act) ไปจนถึงเดือนพฤศจิกายน 2557 เพื่อป้องกันการกักตุนสินค้า อย่างไรก็ตาม ผู้ส่งออกข้าวซึ่งได้รับอนุญาตจากรัฐบาล จะได้รับการยกเว้นข้อจำกัดดังกล่าว ปริมาณสต๊อกข้าวสูงสุดจะถูกกำหนดโดยรัฐบาลของแต่ละรัฐ ซึ่งในปี 2552 รัฐบาลรัฐปันจาบกำหนดปริมาณสต๊อกสูงสุด 500 ตัน สำหรับผู้ค้าส่ง และ 50 ตัน สำหรับผู้ค้าปลีก โดยมีจุดประสงค์เพื่อควบคุมราคา
ที่มา Oryza.com
ไนจีเรีย
สื่อท้องถิ่นรายงานว่า ไนจีเรียอาจปรับลดภาษีนำเข้าข้าวในปี 2557 เพื่อตรวจสอบความเสียหายที่เกิดจากการลักลอบนำเข้าข้าว ซึ่งปัจจุบัน ไนจีเรียต้องการที่จะส่งเสริมภาคการเกษตร เพื่อเตรียมพร้อมในการเปลี่ยนโอนจากระบบเศรษฐกิจที่พึ่งพาน้ำมันเป็นหลักไปสู่ระบบเศรษฐกิจที่พึ่งพาเกษตรกรรม โดยเมื่อเดือนมกราคม 2556 รัฐบาลกำหนดภาษีนำเข้าข้าวร้อยละ 110 ซึ่งเพิ่มขึ้นจากเดิมร้อยละ 40 – 60 อย่างไรก็ตาม การตัดสินใจกำหนดภาษีดังกล่าวมีผลเสียมากกว่าผลดีต่อประเทศ
ปริมาณความต้องการข้าวในประเทศไนจีเรียยังคงสูงเกินกว่าปริมาณการผลิตในประเทศ โดยกระทรวงเกษตรสหรัฐฯ รายงานว่า ในปี 2556/57 ไนจีเรียต้องการข้าวประมาณ 3 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 2.9 ล้านตัน เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา และมากกว่าปริมาณการผลิตในปี 2556/57 ที่ประมาณการไว้ที่ 2.7 ล้านตัน
ทั้งนี้ ในปี 2556 ปริมาณการนำเข้าข้าวของประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งได้แก่ เบนินและคาเมรูน เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งเป็นการส่งสัญญาณถึง การลักลอบนำเข้าข้าวมายังไนจีเรีย โดยสื่อท้องถิ่นรายงานว่า เบนินนำเข้าข้าวนึ่งประมาณ 2 ล้านตัน ทั้งๆที่ โดยปกติความต้องการในประเทศมีเพียงปีละ 230,000 ตัน ผู้ประกอบการในไนจีเรียกล่าวว่า ข้าวส่วนที่เกินดังกล่าวจะถูกส่งไปยังไนจีเรีย ซึ่งเป็นการทำลายระบบการค้าข้าวในประเทศ การลักลอบนำเข้าข้าวเป็นอุปสรรคต่อการบรรลุเป้าหมายการพึ่งพาตนเองด้านการผลิตข้าวที่กำหนดไว้ในปี 2558 และสร้างความเสียหายต่อรายได้ของประเทศ วันละประมาณ 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (หรือประมาณ 3.2 หมื่นล้านบาท)
ที่มา Oryza.com
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 2 - 8 ธันวาคม 2556--