1.1 การตลาด
โครงการรับจำนำข้าวเปลือก ปีการผลิต 2555/56
1) มติ ครม. วันที่ 2 กรกฎาคม 2556 รับทราบราคา ปริมาณ วงเงินการรับจำนำข้าวเปลือกของเกษตรกร และระยะเวลาการรับจำนำโครงการรับจำนำข้าวเปลือก ปีการผลิต 2555/56
2) ชนิดและราคารับจำนำข้าวเปลือก ปี 2555/56 (ตั้งแต่วันที่ 30 มิถุนายน เป็นต้นไป) ให้กำหนดชนิดและราคารับจำนำข้าวเปลือก ปี 2555/56 ณ ความชื้นไม่เกิน 15 % ดังนี้
(1) ข้าวเปลือกปทุมธานี (42 กรัม) ตันละ 16,000 บาท
(2) ข้าวเปลือกเจ้า :-
ข้าวเปลือกเจ้า 100% ตันละ 15,000 บาท
ข้าวเปลือกเจ้า 5% ตันละ 14,800 บาท
ข้าวเปลือกเจ้า 10% ตันละ 14,600 บาท
ข้าวเปลือกเจ้า 15% ตันละ 14,200 บาท
ข้าวเปลือกเจ้า 25% ตันละ 13,800 บาท
(3) ข้าวเปลือกเหนียว :-
ข้าวเปลือกเหนียว 10% เมล็ดยาว (42 กรัม) ตันละ 16,000 บาท
ข้าวเปลือกเหนียว 10% เมล็ดสั้น (40 กรัม) ตันละ 15,000 บาท
3) เป้าหมายการรับจำนำ จะรับจำนำข้าวเปลือกจากเกษตรกรในปริมาณที่ไม่เกินที่ระบุไว้ในใบรับรองเกษตรกร ที่กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ออกให้ และจำกัดวงเงินรับจำนำรายละ
ไม่เกิน 500,000 บาทต่อรอบ ตามที่ กขช. มีมติเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2556
4) ระยะเวลา
(1) ระยะเวลารับจำนำ 1 กุมภาพันธ์ – 15 กันยายน 2556 ยกเว้น ภาคใต้จะสิ้นสุดวันที่ 30 พฤศจิกายน 2556
(2) ระยะเวลาไถ่ถอน 4 เดือน นับถัดจากเดือนที่รับจำนำ
(3) ระยะเวลาโครงการ 1 ตุลาคม 2555 – 31 มกราคม 2557
5) ผลการดำเนินงาน
จำนวนเกษตรกรที่รับเงินกับ ธ.ก.ส. (ตั้งแต่ วันที่ 1 ตุลาคม 2555 – 29 มกราคม 2557)
- จำนวนสัญญา 2,909,368 สัญญา
- จำนวนตัน 22,460,974 ตัน
- จำนวนเงิน 351,650.398 ล้านบาท
หมายเหตุ : มติ ครม. วันที่ 29 ตุลาคม 2556 ให้ช่วยเหลือเยียวยาเกษตรกรที่ไม่สามารถใช้สิทธิ์ ครั้งที่ 2 นำข้าวมาเข้าโครงการรับจำนำข้าวเปลือก ปีการผลิต 2555/56 ได้ทันภายในวันที่ 15 กันยายน 2556 ซึ่งเป็นวันสิ้นสุดโครงการ เป็นกรณีพิเศษ หลักเกณฑ์ วิธีการขอรับเงินและการจ่ายเงินเยียวยา มีดังนี้
(1) เป็นเกษตรกรที่มีหนังสือรับรองเกษตรกรโครงการรับจำนำข้าวเปลือก ปี 2555/56 ครั้งที่ 2 ระบุวันเก็บเกี่ยวไม่เกิน 15 กันยายน 2556 แต่ไม่สามารถเก็บเกี่ยวได้ทันภายในระยะเวลารับจำนำที่กำหนด
(2) เป็นเกษตรกรที่ได้มีการขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโครงการรับจำนำข้าวเปลือก ปี 2555/56 ครั้งที่ 2 ที่ระบุวันเก็บเกี่ยว 16 – 30 กันยายน 2556 ซึ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จะต้องตรวจสอบและออกหนังสือรับรองเกษตรกรให้แก่เกษตรกรเพื่อใช้ในการเยียวยาครั้งนี้ต่อไป โดย ธ.ก.ส.เป็นผู้ตรวจสอบสิทธิ์ในการรับจำนำข้าวเปลือก ปี 2555/56 ครั้งที่ 2 กรณียังไม่ได้ ใช้สิทธิ์ให้ ธ.ก.ส.จ่ายเงินเข้าบัญชีให้เกษตรกรโดยตรง ซึ่งรัฐบาลจะชดเชยเงินให้ตันละ 2,121 บาท จำกัดครัวเรือนละไม่เกิน 33 ตัน
โครงการรับจำนำข้าวเปลือก ปีการผลิต 2556/57
1) มติ ครม. วันที่ 3 กันยายน 2556 รับทราบราคา ปริมาณ วงเงินการรับจำนำข้าวเปลือกของเกษตรกร และระยะเวลาการรับจำนำโครงการรับจำนำข้าวเปลือก ปีการผลิต 2556/57
2) ชนิดและราคารับจำนำข้าวเปลือก ปี 2556/57 ให้กำหนดชนิดและราคารับจำนำข้าวเปลือก ปี 2556/57 ณ ความชื้นไม่เกิน 15 % ดังนี้
- ครั้งที่ 1
(1) ข้าวเปลือกหอมมะลิ (42 กรัม) ตันละ 20,000 บาท
(2) ข้าวเปลือกหอมจังหวัด (40 กรัม) ตันละ 18,000 บาท
(ข้าวหอมมะลินอกพื้นที่ 23 จังหวัด)
(3) ข้าวเปลือกปทุมธานี 1 (42 กรัม) ตันละ 16,000 บาท
(4) ข้าวเปลือกเจ้า :-
ข้าวเปลือกเจ้า 100% ตันละ 15,000 บาท
ข้าวเปลือกเจ้า 5% ตันละ 14,800 บาท
ข้าวเปลือกเจ้า 10% ตันละ 14,600 บาท
ข้าวเปลือกเจ้ 15% ตันละ 14,200 บาท
ข้าวเปลือกเจ้า 25% ตันละ 13,800 บาท
(5) ข้าวเปลือกเหนียว :-
ข้าวเปลือกเหนียว 10% เมล็ดยาว (42 กรัม) ตันละ 16,000 บาท
ข้าวเปลือกเหนียว 10% เมล็ดสั้น (40 กรัม) ตันละ 15,000 บาท
ทั้งนี้ ราคารับจำนำข้าวเปลือกหอมมะลิและข้าวเปลือกปทุมธานี 1 ให้ปรับเพิ่ม – ลดตามจำนวนกรัมในอัตรากรัมละ 200 บาท และราคารับจำนำข้าวเปลือกเหนียว ให้ปรับเพิ่ม – ลดตามจำนวนกรัม โดยเมล็ดยาว ในอัตรากรัมละ 160 บาท และเมล็ดสั้นในอัตรากรัมละ 150 บาท
- ครั้งที่ 2
(1) ข้าวเปลือกปทุมธานี 1 (42 กรัม) ตันละ 16,000 บาท
(2) ข้าวเปลือกเจ้า :-
ข้าวเปลือกเจ้า 100% ตันละ 13,000 บาท
ข้าวเปลือกเจ้า 5% ตันละ 12,800 บาท
ข้าวเปลือกเจ้า 10% ตันละ 12,600 บาท
ข้าวเปลือกเจ้า 15% ตันละ 12,200 บาท
ข้าวเปลือกเจ้า 25% ตันละ 11,800 บาท
(3) ข้าวเปลือกเหนียว :-
ข้าวเปลือกเหนียว 10% เมล็ดยาว (42 กรัม) ตันละ 16,000 บาท
ข้าวเปลือกเหนียว 10% เมล็ดสั้น (40 กรัม) ตันละ 15,000 บาท
ทั้งนี้ ราคารับจำนำข้าวเปลือกปทุมธานี 1 ให้ปรับเพิ่ม – ลดตามจำนวนกรัมในอัตรากรัมละ 200 บาท และราคารับจำนำข้าวเปลือกเหนียว ให้ปรับเพิ่ม – ลดตามจำนวนกรัม โดยเมล็ดยาว ในอัตรากรัมละ 160 บาท และเมล็ดสั้นในอัตรากรัมละ 150 บาท
3) เป้าหมายการรับจำนำ จะรับจำนำข้าวเปลือกคุณภาพดี โดยจะไม่รับจำนำข้าวเปลือกที่มีอายุน้อยกว่า 110 วัน ที่มีคุณภาพต่ำ จำนวน 18 พันธุ์ ตามที่กรมการข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ประกาศ โดยจะไม่ให้เข้าร่วมโครงการฯ ทั้ง 2 ครั้ง
4) วงเงินการรับจำนำ
- ครั้งที่ 1 ไม่เกินรายละ 350,000 บาท
- ครั้งที่ 2 ไม่เกินรายละ 300,000 บาท
5) เป้าหมายการรับจำนำ รวมจำนวน 16.5 ล้านตัน
6) ระยะเวลารับจำนำ
- ครั้งที่ 1 ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2556 – 28 กุมภาพันธ์ 2557 ยกเว้น ภาคใต้จะสิ้นสุดวันที่ 31 กรกฎาคม 2557
- ครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 1 มีนาคม – 30 กันยายน 2557 ยกเว้น ภาคใต้ระว่างวันที่ 1 สิงหาคม – 30 พฤศจิกายน 2557
7) ผลการดำเนินงาน ครั้งที่ 1 จำนวนเกษตรกรที่รับเงินกับ ธ.ก.ส. (ตั้งแต่ วันที่ 1 ตุลาคม 2556 – 29 มกราคม 2557)
- จำนวนสัญญา 510,582 สัญญา
- จำนวนตัน 3,459,243 ตัน
- จำนวนเงิน 55,612.757 ล้านบาท
ภาวการณ์ซื้อขายข้าวสัปดาห์นี้ ราคาข้าวเปลือกที่เกษตรกรขายได้เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา ราคาปรับลดลงเล็กน้อยทั้งข้าวเปลือกเจ้าหอมมะลิและข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% เนื่องจากช่วงนี้เป็นช่วงปลายฤดูเก็บเกี่ยวข้าวนาปี ผลผลิตจึงมีคุณภาพลดลง ประกอบกับความต้องการของตลาดชะลอตัว
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ราคาข้าวเปลือกเจ้าหอมมะลินาปี ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 14,243 บาท ราคาลดลงจากตันละ 14,301 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.41
ราคาข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 7,881 บาท ราคาลดลงจากตันละ 7,904 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.29
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ ไม่มีรายงานราคา
3) ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี.
ราคาข้าวหอมมะลิไทย ชั้น 1 (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 1,006 ดอลลาร์สหรัฐฯ (32,865 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 1,010 ดอลลาร์สหรัฐฯ (32,949 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.40 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 84 บาท
ราคาข้าวปทุมธานี ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 711 ดอลลาร์สหรัฐฯ (23,227 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 713 ดอลลาร์สหรัฐฯ (23,260 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.28 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 33 บาท
ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 453 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14,799 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 455 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14,878 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.44 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 79 บาท
ราคาข้าวสารเจ้า 25% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 378 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,349 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 379 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,393 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.26 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 44 บาท
ราคาข้าวนึ่ง 5% ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 460 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,028 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 461 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,075 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.22 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 47 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 32.6686 บาท
2. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในต่างประเทศ
สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
อินเดีย
กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ คาดการณ์ว่า อินเดียจะเป็นผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่ที่สุดในโลกเป็นปีที่ 3 ติดต่อกัน โดยในปี 2556/57 จะส่งออกข้าวประมาณ 10 ล้านตัน
หน่วยงานของสหรัฐฯ เปิดเผยว่า ถึงแม้ว่าในปี 2556/57 อินเดียจะผลิตข้าวลดลง แต่อินเดียจะส่งออกข้าวคิดเป็นร้อยละ 25 ของปริมาณการค้าข้าวโลกที่ประมาณการไว้ที่ 40.2 ล้านตัน ทั้งนี้ ในปี 2556/57 คาดว่า อินเดียผลิตข้าว 103 ล้านตัน ลดลงจาก 104.4 ล้านตัน หรือลดลงประมาณร้อยละ 1 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา เนื่องจากผลกระทบของสภาพอากาศที่แปรปรวน และส่งออกข้าวได้ 10 ล้านตัน ลดลงจาก 10.5 ล้านตัน หรือลดลงร้อยละ 5 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ขณะที่ประเทศผู้ส่งออกข้าวรายอื่นมีแนวโน้มส่งออกเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม ในปี 2556/57 เมื่อเปรียบเทียบปริมาณการส่งออกข้าวแล้ว คาดการณ์ว่า อินเดียจะส่งออกข้าวได้มากกว่าไทยที่ประมาณการส่งออกข้าวไว้ที่ 8.5 ล้านตัน และมากกว่าเวียดนามที่ประมาณการส่งออกข้าวไว้ที่ 7.5 ล้านตัน
แหล่งข่าวท้องถิ่นรายงานว่า ความต้องการข้าวอินเดียในตลาดโลกยังคงอยู่ในเกณฑ์สูง เนื่องจาก ความต้องการข้าวบาสมาติจากประเทศตะวันออกกลาง สหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรป และความต้องการข้าวที่ไม่ใช่ข้าวบาสมาติจากประเทศในแอฟริกาและเอเชีย
ที่มา Oryza.com
จีน
กรมศุลกากรของจีน (China’s Customs General Administration: CGA) รายงานว่า ในปี 2556 จีนนำเข้าข้าว 2.24 ล้านตัน ลดลงจาก 2.36 ล้านตัน หรือลดลงร้อยละ 5 เมื่อเทียบกับปี 2555 และส่งออก 478,370 ตัน
การนำเข้าข้าวของจีนลดลงในช่วงครึ่งหลังของปี 2556 โดยในช่วงเดือนกรกฎาคม – ธันวาคม นำเข้าข้าว 927,500 ตัน ลดลงจาก 1.31 ล้านตัน เมื่อเทียบกับช่วงครึ่งแรกของปี ทั้งนี้ ในปี 2556 จีนนำเข้าข้าวส่วนใหญ่จากเวียดนาม แต่ผู้ค้าข้าวในเวียดนามเปิดเผยว่า ในช่วงเดือนกรกฎาคม – สิงหาคม บริษัทนำเข้าข้าวของจีนหลายรายได้ยกเลิกสัญญาซื้อขาย เนื่องจากราคาข้าวเวียดนามปรับตัวสูงขึ้น
ในเดือนธันวาคม 2556 จีนนำเข้าข้าวประมาณ 208,100 ตัน เพิ่มขึ้นจาก 180,500 ตัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 15 เมื่อเทียบกับเดือนพฤศจิกายน 2556 แต่ลดลงจาก 215,300 ตัน หรือลดลงร้อยละ 3 เมื่อเทียบกับเดือนธันวาคม 2555
อย่างไรก็ตาม ในปี 2556 จีนนำเข้าข้าวน้อยกว่าปริมาณที่กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ คาดการณ์ไว้ที่ 3.2 ล้านตัน ประมาณร้อยละ 30 ซึ่งอาจเป็นเพราะจีนมีการนำเข้าข้าวจากการค้าชายแดนกับประเทศเมียนมาร์ โดยไม่ได้มีการบันทึกข้อมูลสถิติเอาไว้
กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ รายงานว่า ในปี 2556/57 จีนอาจนำเข้าข้าวเพิ่มเป็น 3.4 ล้านตัน โดยหน่วยงานของสหรัฐฯ ประมาณการว่า จีนต้องการข้าว 146 ล้านตัน สำหรับความต้องการใช้ในประเทศ เพิ่มขึ้นจาก 144 ล้านตัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ14 เมื่อเทียบกับปี 2555/56 อย่างไรก็ตาม ในปี 2556/57 จีนมีแนวโน้มผลิตข้าว 141.5 ล้านตัน ลดลงจาก 143 ล้านตัน หรือลดลงร้อยละ 10.5 เมื่อเทียบกับปี 2555/56 เนื่องจากสภาพอากาศที่แปรปรวน
ทั้งนี้ ศูนย์ข้อมูลธัญพืชและน้ำมันแห่งชาติ (China National Grain and Oils Information Center: CNGOIC) กล่าวว่า สาเหตุที่จีนนำเข้าข้าวในปี 2556 เนื่องจาก ราคาข้าวในตลาดโลกลดลง และคาดการณ์ว่าในปี 2557 จีนจะนำเข้าประมาณ 2.24 ล้านตัน
ที่มา Oryza.com
ไนจีเรีย
เครือบริษัทขนาดใหญ่ในแอฟริกาวางแผนลงทุนมูลค่า 50,000 ไนร่าไนจีเรีย (หรือประมาณ 300 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 9,800 ล้านบาท) เพื่อสนับสนุนการบรรลุเป้าหมายพึ่งพาตนเองด้านการผลิตข้าว
ประธานเครือบริษัทดังกล่าว กล่าวว่า รัฐบาลไนจีเรียสนับสนุนให้มีการลงทุนในภาคเกษตร และการลงทุนของบริษัทในการผลิตข้าวจะช่วยเพิ่มผลผลิตข้าวของประเทศในอีก 2-3 ปีข้างหน้า และจะช่วยให้ประเทศหยุดการพึ่งพาการนำเข้าข้าวจากต่างประเทศได้
ปัจจุบัน ไนจีเรียอยู่ระหว่างการพยายามบรรลุเป้าหมายการพึ่งพาตนเองด้านการผลิตข้าว โดยรัฐบาลมีกำหนดห้ามการนำเข้าข้าวในปี 2558 ขณะที่ ตัวแทนเกษตรกรให้ความเห็นว่า การห้ามนำเข้าข้าวเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ยาก เนื่องจากการผลิตข้าวภายในประเทศยังไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้ในประเทศ นอกจากนี้ ยังตระหนักว่า เกษตรกรไนจีเรียยังไม่สามารถผลิตข้าวที่มีคุณภาพเชิงพาณิชย์ได้
กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ คาดการณ์ว่า ในปี 2556/57 ไนจีเรียผลิตข้าวได้ 2.7 ล้านตัน นำเข้าข้าวประมาณ 3 ล้านตัน ขณะที่ มีความต้องการใช้ในประเทศประมาณ 6 ล้านตัน
ที่มา Oryza.com
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 27 ม.ค. - 2 ก.พ. 2557--