1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 การตลาด
โครงการรับจำนำข้าวเปลือก ปีการผลิต 2555/56
ผลการดำเนินงาน
จำนวนเกษตรกรที่รับเงินกับ ธ.ก.ส. (ตั้งแต่ วันที่ 1 ตุลาคม 2555 – 1 มีนาคม 2557)
- จำนวนสัญญา 2,909,419 สัญญา
- จำนวนตัน 22,459,090 ตัน
- จำนวนเงิน 351,655.797 ล้านบาท
1) มติ ครม. วันที่ 3 กันยายน 2556 รับทราบราคา ปริมาณ วงเงินการรับจำนำข้าวเปลือกของเกษตรกร และระยะเวลาการรับจำนำโครงการรับจำนำข้าวเปลือก ปีการผลิต 2556/57
2) ชนิดและราคารับจำนำข้าวเปลือก ปี 2556/57 ให้กำหนดชนิดและราคารับจำนำข้าวเปลือก
ปี 2556/57 ณ ความชื้นไม่เกิน 15 % ดังนี้
- ครั้งที่ 1
(1) ข้าวเปลือกหอมมะลิ (42 กรัม) ตันละ 20,000 บาท
(2) ข้าวเปลือกหอมจังหวัด (40 กรัม) ตันละ 18,000 บาท
(ข้าวหอมมะลินอกพื้นที่ 23 จังหวัด)
(3) ข้าวเปลือกปทุมธานี 1 (42 กรัม) ตันละ 16,000 บาท
(4) ข้าวเปลือกเจ้า :-
ข้าวเปลือกเจ้า 100% ตันละ 15,000 บาท
ข้าวเปลือกเจ้า 5% ตันละ 14,800 บาท
ข้าวเปลือกเจ้า 10% ตันละ 14,600 บาท
ข้าวเปลือกเจ้า 15% ตันละ 14,200 บาท
ข้าวเปลือกเจ้า 25% ตันละ 13,800 บาท
(5) ข้าวเปลือกเหนียว :-
ข้าวเปลือกเหนียว 10% เมล็ดยาว (42 กรัม) ตันละ 16,000 บาท
ข้าวเปลือกเหนียว 10% เมล็ดสั้น (40 กรัม) ตันละ 15,000 บาท
ทั้งนี้ ราคารับจำนำข้าวเปลือกหอมมะลิและข้าวเปลือกปทุมธานี 1 ให้ปรับเพิ่ม – ลดตามจำนวนกรัมในอัตรากรัมละ 200 บาท และราคารับจำนำข้าวเปลือกเหนียว ให้ปรับเพิ่ม – ลดตามจำนวนกรัม
โดยเมล็ดยาว ในอัตรากรัมละ 160 บาท และเมล็ดสั้นในอัตรากรัมละ 150 บาท
- ครั้งที่ 2
(1) ข้าวเปลือกปทุมธานี 1 (42 กรัม) ตันละ 16,000 บาท
(2) ข้าวเปลือกเจ้า :-
ข้าวเปลือกเจ้า 100% ตันละ 13,000 บาท
ข้าวเปลือกเจ้า 5% ตันละ 12,800 บาท
ข้าวเปลือกเจ้า 10% ตันละ 12,600 บาท
ข้าวเปลือกเจ้า 15% ตันละ 12,200 บาท
ข้าวเปลือกเจ้า 25% ตันละ 11,800 บาท
(3) ข้าวเปลือกเหนียว :-
ข้าวเปลือกเหนียว 10% เมล็ดยาว (42 กรัม) ตันละ 16,000 บาท
ข้าวเปลือกเหนียว 10% เมล็ดสั้น (40 กรัม) ตันละ 15,000 บาท
ทั้งนี้ ราคารับจำนำข้าวเปลือกปทุมธานี 1 ให้ปรับเพิ่ม – ลดตามจำนวนกรัมในอัตรากรัมละ 200 บาท และราคารับจำนำข้าวเปลือกเหนียว ให้ปรับเพิ่ม – ลดตามจำนวนกรัม โดยเมล็ดยาว ในอัตรากรัมละ
160 บาท และเมล็ดสั้นในอัตรากรัมละ 150 บาท
3) เป้าหมายการรับจำนำ จะรับจำนำข้าวเปลือกคุณภาพดี โดยจะไม่รับจำนำข้าวเปลือกที่มีอายุน้อยกว่า 110 วัน ที่มีคุณภาพต่ำ จำนวน 18 พันธุ์ ตามที่กรมการข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ประกาศ โดยจะไม่ให้เข้าร่วมโครงการฯ ทั้ง 2 ครั้ง
4) วงเงินการรับจำนำ
- ครั้งที่ 1 ไม่เกินรายละ 350,000 บาท
- ครั้งที่ 2 ไม่เกินรายละ 300,000 บาท
5) เป้าหมายการรับจำนำ รวมจำนวน 16.5 ล้านตัน
6) ระยะเวลารับจำนำ
- ครั้งที่ 1 ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2556 – 28 กุมภาพันธ์ 2557 ยกเว้น ภาคใต้จะสิ้นสุดวันที่ 31 กรกฎาคม 2557
- ครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 1 มีนาคม – 30 กันยายน 2557 ยกเว้น ภาคใต้ระว่างวันที่ 1 สิงหาคม – 30 พฤศจิกายน 2557
7) ผลการดำเนินงาน ครั้งที่ 1
จำนวนเกษตรกรที่รับเงินกับ ธ.ก.ส. (ตั้งแต่ วันที่ 1 ตุลาคม 2556 – 1 มีนาคม 2557)
- จำนวนสัญญา 632,947 สัญญา
- จำนวนตัน 4,228,582 ตัน
- จำนวนเงิน 68,482.365 ล้านบาท
ภาวการณ์ซื้อขายข้าวสัปดาห์นี้ ราคาข้าวเปลือกที่เกษตรกรขายได้เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา ข้าวเปลือกเจ้าหอมมะลิ ราคาเพิ่มขึ้น เนื่องจากเป็นข้าวคุณภาพและตลาดมีความต้องการ ส่วนข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% ราคาค่อนข้างทรงตัว เนื่องจากผลผลิตข้าวนาปรังทยอยออกสู่ตลาด และในช่วงนี้ความต้องการของตลาดชะลอตัว
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ราคาข้าวเปลือกเจ้าหอมมะลินาปี ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 14,318 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 14,135 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.30
ราคาข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 7,800 บาท ราคาลดลงจากตันละ 7,814 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.17
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 13,125 บาท ราคาลดลงจากตันละ 13,340 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.61
3) ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี.
ราคาข้าวหอมมะลิไทย ชั้น 1 (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 1,024 ดอลลาร์สหรัฐฯ (33,026 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 1,021 ดอลลาร์สหรัฐฯ (33,008 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.29 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 18 บาท
ราคาข้าวปทุมธานี ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 738 ดอลลาร์สหรัฐฯ (23,802 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 737 ดอลลาร์สหรัฐฯ (23,827 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.14 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 25 บาท
ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 448 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14,449 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 458 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14,807 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.18 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 358 บาท
ราคาข้าวสารเจ้า 25% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 378 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,191 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 381 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,317 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.79 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 126 บาท
ราคาข้าวนึ่ง 5% ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 451 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14,546 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 467 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,098 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.21 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 70 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 32.2522 บาท
สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
เวียดนาม
ภาวะการค้าข้าวของเวียดนามในช่วงนี้ ราคาค่อนข้างทรงตัว เนื่องจากสต็อกข้าวในประเทศมีปริมาณไม่มาก ประกอบกับมีคำสั่งซื้อข้าวจากจีนเพื่อส่งออกตามแนวชายแดน และมีการส่งมอบข้าวให้แก่ฟิลิปปินส์ซึ่งทยอยส่งมอบข้าวจำนวน 500,000 ตัน ที่ได้ทำสัญญาซื้อขายเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2556 โดยคาดว่าจะส่งมอบแล้วเสร็จในเดือนมีนาคมนี้ จากภาวะดังกล่าวทำให้ราคาข้าวค่อนข้างทรงตัว แม้จะมีการคาดการณ์ว่าผลผลิตข้าวจะออกสู่ตลาด
ปริมาณมากในช่วงกลางเดือนมีนาคม โดยในสัปดาห์ที่ผ่านมา ราคาเอฟ.โอ.บี.ข้าวขาว 5% ของเวียดนามอยู่ที่ตันละ 380-400 ดอลลาร์สหรัฐ (ตันละ 12,256-12,900 บาท) สูงขึ้นจากสัปดาห์ก่อนที่ราคาตันละ 380-395 ดอลลาร์สหรัฐ (ตันละ12,402-12,891 บาท)
มีรายงานว่า จากสภาพอากาศหนาวเย็นกว่าปกติในช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ส่งผลกระทบต่อ
การเก็บเกี่ยวผลผลิตข้าวในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงให้ล่าช้าออกไป โดยคาดว่าการเก็บเกี่ยวข้าวจะมีปริมาณมากที่สุดในช่วงกลางเดือนมีนาคมนี้
สมาคมอาหารของเวียดนาม (The Vietnam Food Association; VFA) รายงานการส่งออกข้าวช่วงวันที่ 1-28 กุมภาพันธ์ 2557 มีจำนวน 330,501 ตัน มูลค่า 147.082 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยทั้งปริมาณและมูลค่าลดลงร้อยละ 2.8 และร้อยละ 0.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2556 ที่ส่งออกได้ 340,184 ตัน มูลค่า 147.581
ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ สำหรับการส่งออกตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม-28 กุมภาพันธ์ 2557 มีจำนวน 637,756 ตัน มูลค่า 274.636 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยทั้งปริมาณและมูลค่าลดลงร้อยละ 1.4 และร้อยละ 17 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2556 ที่ส่งออกได้ 744,408 ตัน มูลค่า 331.093 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
ในเดือนกุมภาพันธ์ 2557 เวียดนามส่งออกข้าวขาว 25% จำนวน 163,711 ตัน (คิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 50 ของข้าวที่ส่งออกทั้งหมด) ข้าวหอมจำนวน 75,922 ตัน (คิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 23 ของข้าวที่ส่งออกทั้งหมด) ข้าวขาว 15% จำนวน 30,474 ตัน ข้าวขาว 5%-10% จำนวน 29,281 ตัน โดยตลาดส่งออกที่สำคัญประกอบด้วยตลาดอาเซียน ส่งออกจำนวน 285,539 ตัน (คิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 86 ของข้าวที่ส่งออกทั้งหมด) รองลงมาเป็นตลาดแอฟริกาจำนวน 26,250 ตัน (คิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 8 ของข้าวที่ส่งออกทั้งหมด) ตลาดตะวันออกกลางจำนวน 10,421 ตัน ตลาดยุโรปจำนวน 4,188 ตัน ตลาดอเมริกาจำนวน 3,374 ตัน และตลาดออสเตรเลียจำนวน 729 ตัน
กระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบท รายงานว่า ในช่วง 2 เดือนนี้ (มกราคม-กุมภาพันธ์) ฟิลิปปินส์กลายเป็นประเทศผู้นำเข้าข้าวรายใหญ่สุดแทนที่จีน คิดเป็นร้อยละ 53.5 ของตลาดข้าวเวียดนาม โดยตลาดที่นำเข้าข้าวรายใหญ่รองจากฟิลิปปินส์ คือ จีน และฮ่องกง นำเข้าร้อยละ 16 และร้อยละ 4 ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม สมาคมอาหารฯ ระบุว่า ในปีนี้การส่งออกข้าวของเวียดนามจะยังคงเผชิญกับการแข่งขันอย่างรุนแรงจากข้าวไทย
สื่อทางการเวียดนามรายงานโดยอ้างคำพูดของรัฐมนตรีการค้าเวียดนามที่กล่าวว่า เวียดนามได้ทำข้อตกลงขายข้าวแบบรัฐต่อรัฐ (government-to-government deals) จำนวน 1.5 ล้านตันให้กับฟิลิปปินส์ และอีก 1 ล้านตันให้กับอินโดนีเซีย โดยคาดว่าในปีนี้ เวียดนามจะมีการส่งออกข้าวแบบรัฐต่อรัฐอย่างน้อย 4 ล้านตัน นอกจากนี้
ยังได้มีการทำข้อตกลงส่งออกข้าวปีละประมาณ 400,000 ตัน ให้แก่คิวบาด้วย อย่างไรก็ดี รัฐมนตรีการค้าไม่ได้ให้รายละเอียดเพิ่มเติมถึงการทำข้อตกลงกับอินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ ซึ่งเป็นผู้ซื้อข้าวรายใหญ่ของเวียดนามแต่อย่างใด
ทั้งนี้ เวียดนามต้องรับมือกับการแข่งขันในตลาดส่งออกข้าวที่รุนแรงอย่างมากในปีนี้ เพราะสต็อกข้าวที่มีอยู่เป็นจำนวนมากในไทย และข้าวราคาถูกจากอินเดีย และปากีสถาน ดึงดูดผู้ซื้อที่แต่เดิมเคยเป็นลูกค้าของเวียดนาม อย่างประเทศต่างๆ ในแอฟริกาไป โดยการทำข้อตกลงแบบจีทูจี คิดเป็นสัดส่วนอย่างน้อยร้อยละ 60 ของเป้าหมายการส่งออกข้าวในปีนี้ที่ 6.5-7 ล้านตัน
ทางด้านเทรดเดอร์ ระบุว่า การที่เวียดนามไม่ได้ทำข้อตกลงแบบรัฐต่อรัฐ ในช่วงเดือนแรกๆ ของปีนี้ ทำให้ตลาดส่งออกข้าวของเวียดนามค่อนข้างเงียบเหงา โดยในช่วงครึ่งหลังของเดือนกุมภาพันธ์มีเพียงจีนซึ่งเป็นผู้ซื้อข้าวรายใหญ่สุดเมื่อปีที่แล้วเข้ามาซื้อข้าวในปริมาณไม่มากนัก
ข่าวการทำข้อตกลงจีทูจีฉบับใหม่ของเวียดนาม อาจช่วยสร้างเสถียรภาพให้กับราคาข้าว ที่มีแนวโน้มจะลดลงอีก เนื่องจากตั้งแต่วันที่ 15 มีนาคมเป็นต้นไป ข้าวจะเข้าสู่ฤดูการเก็บเกี่ยวผลผลิตมาก โดยภาคธุรกิจในเวียดนามจะเริ่มเข้ามาซื้อข้าวเพื่อเก็บสำรองกันแล้ว
หนังสือพิมพ์ตันห์เนียน ของเวียดนาม รายงานว่า การส่งออกข้าวหอมของเวียดนามในปีนี้จะเกิน 1 ล้านตัน หรือเพิ่มขึ้นอย่างน้อยร้อยละ 11 จาก 900,000 ตันเมื่อปีที่แล้ว ทั้งนี้ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ในภูมิภาคนี้ยอดขายข้าวหลายชนิดของเวียดนามเติบโตอย่างแข็งแกร่ง เช่น ตลาดสิงคโปร์ ฮ่องกง ไต้หวัน และจีน
ที่มา สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย, Oryza.com
กัมพูชา
สำนักงานบริการพิธีการส่งออกข้าว (Secretariat of One Window Service for Rice Export Formality (SOWS-REF) รายงานว่า ในเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา กัมพูชาส่งออกข้าวจำนวน 27,037 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 12
เมื่อเทียบกับเดือนกุมภาพันธ์ปีที่ผ่านมา ที่ส่งออกจำนวน 24,089 ตัน โดยในช่วง 2 เดือนแรกของปีนี้ (มกราคม-กุมภาพันธ์) กัมพูชาส่งออกข้าวจำนวน 48,573 ตัน ลดลงร้อยละ 2.5 เมื่อเทียบกับจำนวน 49,815 ตัน ในช่วงเดียวกันของปีก่อน
โดยชนิดข้าวที่กัมพูชาส่งออกในช่วงเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2557 ประกอบด้วย ข้าวหอม Phka Malis (Jasmine Rice) จำนวน 24,358 ตัน ข้าวขาว (Long Grain White Rice) จำนวน 13,264 ตัน ข้าวหอม Senkraob/Neangsauy จำนวน 3,620 ตัน ข้าวหอม neang malis จำนวน 3,200 ตัน ข้าวนึ่ง (Parboiled Rice) จำนวน 2,578 ตัน เป็นต้น ทั้งนี้ ประเทศผู้นำเข้าที่สำคัญในเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2557 ประกอบด้วย ประเทศฝรั่งเศส 12,398 ตัน เนเธอร์แลนด์ 5,330 ตัน โปแลนด์ 5,608 ตัน มาเลเซีย 5,221 ตัน จีน 3,076 ตัน เบลเยียม 2,169 ตัน สเปน 1,971 ตัน อิตาลี 1,791 ตัน สาธารณรัฐเชค 1,490 ตัน และกาบอง 1,247 เป็นต้น โดยในช่วง 2 เดือนแรกของปีนี้ กัมพูชาส่งออกข้าวไปยัง 35 ประเทศทั่วโลก
รัฐมนตรีพาณิชย์กัมพูชา คาดว่า กัมพูชาจะส่งออกข้าวได้ตามเป้า 1 ล้านตัน ในปี 2558 โดยในปี 2556 ที่ผ่านมา กัมพูชาส่งออกข้าวได้มากกว่า 400,00 ตัน และมีเวลาอีกสองปี เพื่อให้การส่งออกเป็นไปตามเป้า ซึ่งเชื่อว่า กัมพูชาจะทำได้ตามแผนที่วางไว้
รัฐมนตรีพาณิชย์กัมพูชา กล่าวด้วยว่า ข้าวหอมของกัมพูชา มีชื่อเสียงในเรื่องรสชาติอร่อย ทำให้ได้รับรางวัลข้าวที่ดีที่สุดในโลกสองปีซ้อน ในการแข่งขันรสชาติข้าวโลกที่อินโดนีเซียเมื่อปี 2555 และที่ฮ่องกงเมื่อปี 2556
กัมพูชาซึ่งมีประชากรกว่าร้อยละ 80 เป็นชาวนา ผลิตข้าวเปลือกได้ราว 9 ล้านตันต่อปี และหากไม่นับการบริโภคในท้องถิ่น กัมพูชามีข้าวที่จะส่งออกได้ประมาณ 3 ล้านตันในแต่ละปี
รายงานของรัฐบาลกัมพูชา ระบุว่า ปัจจุบันกัมพูชามีบริษัทส่งออกข้าว 84 บริษัท ที่ส่งออกข้าวไปยัง 66 ประเทศและภูมิภาคต่างๆ ทั่วโลก ผู้ซื้อข้าวรายใหญ่ของกัมพูชา คือ ฝรั่งเศส โปแลนด์ มาเลเซีย เนเธอร์แลนด์ และจีน
ที่มา สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย, Oryza.com
อินโดนีเซีย
สำนักงานสถิติของอินโดนีเซีย รายงานว่า ในปี 2556 ผลผลิตข้าวเปลือกของอินโดนีเซียมีจำนวน 71.29 ล้านตัน เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 3 จากจำนวน 69.05 ล้านตันเมื่อปีก่อนหน้า เนื่องจากมีการขยายพื้นที่เพาะปลูก และผลผลิตต่อพื้นที่เพาะปลูกเพิ่มขึ้น โดยเมื่อปี 2556 อินโดนีเซียมีพื้นที่เพาะปลูกข้าวประมาณ 86.5 ล้านไร่ เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 3 จากจำนวน 84 ล้านไร่ของปีก่อน ขณะที่ผลผลิตต่อพื้นที่เพาะปลูกเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6 จากจำนวน 822 ก.ก.ต่อไร่ในปีก่อน มาเป็น 824 ก.ก.ต่อไร่ในปี 2556 ซึ่งการที่อินโดนีเซียมีผลผลิตเพิ่มขึ้นนี้ จะทำให้ความต้องการนำเข้าข้าวลดลงด้วย โดยกระทรวงเกษตรสหรัฐ คาดว่าเมื่อปี 2556 อินโดนีเซียนำเข้าข้าวประมาณ 650,000 ตัน ลดลงถึงร้อยละ 67 เมื่อเทียบกับจำนวน 1.96 ล้านตันในปีก่อน
ที่มา สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย, Oryza.com
อินเดีย
มีรายงานว่าอินเดียกับซาอุดิอาระเบียร่วมทุน 27 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพื่อสร้างศูนย์กระจายสินค้าข้าวบาสมาติของอินเดียสำหรับผู้บริโภคในตะวันออกกลางที่เมืองดูไบ ทำให้ดูไบกลายเป็นศูนย์เก็บรวบรวมและกระจายสินค้าข้าวบาสมาติที่ใหญ่ที่สุดในตะวันออกกลางและแอฟริกาตอนเหนือ โดยเจ้าชาย Mishaal bin Abdullah bin Turki พระโอรสองค์ที่สองของเจ้าชาย Abdullah bin Turki bin Abdul Aziz Al-Saud ร่วมกับ Mr. V. Raman Kumar ซึ่งเป็นนักลงทุนรายใหญ่ระดับโลก ได้ร่วมทุนกับบริษัท LEAF India (Lakshmi Energy and Food Ltd.) ของอินเดียเพื่อสร้างศูนย์เก็บรวบรวมและกระจายสินค้าข้าวบาสมาติดังกล่าว โดยในขณะนี้บริษัทฯ ได้จัดหาคลังสินค้าสำหรับเก็บข้าวบาสมาติในเขต Jebelali ในเมืองดูไบที่สามารถเก็บข้าวบาสมาติได้ 100,000 ตันแล้ว และมีเป้าหมายที่จะทำการสีข้าวและบรรจุที่คลังสินค้านี้ ด้วยเงินลงทุนประมาณ 27 ล้านเหรียญสหรัฐฯ สำหรับในช่วง 1 ปีข้างหน้าแล้ว
ทั้งนี้ บริษัท Innovo Specialty Foods JLT ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนดังกล่าวจะทำหน้าที่ด้านการตลาดและกระจายข้าวบาสมาติที่บริษัท Pan Gulf Food and Industries เป็นผู้สี ทั่วตลาดตะวันออกกลางและแอฟริกาตอนเหนือ ปัจจุบันสินค้าที่สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์นำเข้าจะเป็นสินค้าอาหารประมาณร้อยละ 20 ของการนำเข้าทั้งหมด และประมาณร้อยละ 90 ของสินค้าอาหารที่นำเข้าจะสามารถรองรับความต้องการของผู้บริโภคได้เพียง 3 เดือนเท่านั้น
อนึ่ง ความต้องการข้าวบาสมาติที่เพิ่มขึ้นส่วนใหญ่มาจากซาอุดิอาระเบีย เยเมน อิหร่าน อิรัก บาห์เรน โอมาน สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และคูเวต ซึ่งมีปริมาณรวมกันกว่า 4 ล้านตันต่อปี
ที่มา สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย, Oryza.com และ Press Trust of India
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 3 - 9 มี.ค. 2557--