สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สัปดาห์นี้ราคาสุกรที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากปัญหาโรคทางระบบสืบพันธุ์และระบบทางเดินหายใจ (PRRS) และโรคท้องร่วงในสุกร (PED) ที่ผ่านมา ทำให้มีสุกรบางส่วนเสียหาย ส่งผลให้ปริมาณสุกรออกสู่ตลาดน้อย ขณะที่ความต้องการบริโภคเนื้อสุกรมีอยู่อย่างต่อเนื่อง แนวโน้มคาดว่าราคาจะสูงขึ้น
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 74.85 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 74.27 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.78 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 72.70 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 74.17 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 74.98 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 72.81 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 2,400 บาท (บวกลบ 74 บาท) สูงขึ้นจากตัวละ 2,300 บาท (บวกลบ 74 บาท) ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 4.35
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 76.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 74.50 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 2.68
ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
ภาวะตลาดไก่เนื้อค่อนข้างเงียบเหงา สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้ลดลงจากสัปดาห์ที่ ผ่านมา เนื่องจากปริมาณไก่เนื้อยังคงออกสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ความต้องการบริโภคชะลอตัวลง เพราะสถานศึกษาทยอยปิดภาคเรียน แนวโน้มคาดว่าสัปดาห์หน้าราคาจะลดลง
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 41.73 บาท ลดลงจากกกิโลกรัมละ 42.67 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 2.20 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 41.39 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 41.05 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 44.44 บาท (ภาคเหนือไม่มีรายงานราคา) ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 17.50 บาท ลดลงจากตัวละ 19.50 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 10.26
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 39.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 40.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 2.50 และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 54.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 59.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 8.47
ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ลดลงจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากสถานศึกษาในหลายพื้นที่ทยอยปิดภาคเรียน ทำให้ความต้องการบริโภคเริ่มลดลง แนวโน้มคาดว่าราคาจะลดลงเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 310 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 316 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.90 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 298 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 354 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 292 บาท และภาคใต้ ร้อยฟองละ 351 บาท ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 23.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 311 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 321 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 3.12
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 376 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 357 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 412 บาท ภาคกลาง ร้อยฟองละ 349 บาท และภาคใต้ ร้อยฟองละ 375 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 420 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโค (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 91.08 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 90.79 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.32 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 92.54 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 92.46 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 87.36 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงานราคา
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 56.14 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 56.22 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.14 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 77.12 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 51.94 บาท ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงานราคา
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 17 - 23 มี.ค. 2557--