1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 การตลาด
โครงการรับจำนำข้าวเปลือก ปีการผลิต 2555/56 ผลการดำเนินงาน
จำนวนเกษตรกรที่รับเงินกับ ธ.ก.ส. (ตั้งแต่ วันที่ 1 ตุลาคม 2555 – 21 พฤษภาคม 2557)
- จำนวนสัญญา 2,913,057 สัญญา
- จำนวนตัน 22,499,845 ตัน
- จำนวนเงิน 352,277.912 ล้านบาท
โครงการรับจำนำข้าวเปลือก ปีการผลิต 2556/57
1) มติ ครม. วันที่ 3 กันยายน 2556 รับทราบราคา ปริมาณ วงเงินการรับจำนำข้าวเปลือกของเกษตรกร และระยะเวลาการรับจำนำโครงการรับจำนำข้าวเปลือก ปีการผลิต 2556/57
2) ชนิดและราคารับจำนำข้าวเปลือก ปี 2556/57 ให้กำหนดชนิดและราคารับจำนำข้าวเปลือก
ปี 2556/57 ณ ความชื้นไม่เกิน 15 % ดังนี้
- ครั้งที่ 1
(1) ข้าวเปลือกหอมมะลิ (42 กรัม) ตันละ 20,000 บาท
(2) ข้าวเปลือกหอมจังหวัด (40 กรัม) ตันละ 18,000 บาท
(ข้าวหอมมะลินอกพื้นที่ 23 จังหวัด)
(3) ข้าวเปลือกปทุมธานี 1 (42 กรัม) ตันละ 16,000 บาท
(4) ข้าวเปลือกเจ้า :-
ข้าวเปลือกเจ้า 100% ตันละ 15,000 บาท
ข้าวเปลือกเจ้า 5% ตันละ 14,800 บาท
ข้าวเปลือกเจ้า 10% ตันละ 14,600 บาท
ข้าวเปลือกเจ้า 15% ตันละ 14,200 บาท
ข้าวเปลือกเจ้า 25% ตันละ 13,800 บาท
(5) ข้าวเปลือกเหนียว :-
ข้าวเปลือกเหนียว 10% เมล็ดยาว (42 กรัม) ตันละ 16,000 บาท
ข้าวเปลือกเหนียว 10% เมล็ดสั้น (40 กรัม) ตันละ 15,000 บาท
ทั้งนี้ ราคารับจำนำข้าวเปลือกหอมมะลิและข้าวเปลือกปทุมธานี 1 ให้ปรับเพิ่ม – ลดตามจำนวนกรัมในอัตรากรัมละ 200 บาท และราคารับจำนำข้าวเปลือกเหนียว ให้ปรับเพิ่ม – ลดตามจำนวนกรัม โดยเมล็ดยาว ในอัตรากรัมละ 160 บาท และเมล็ดสั้นในอัตรากรัมละ 150 บาท
- ครั้งที่ 2
(1) ข้าวเปลือกปทุมธานี 1 (42 กรัม) ตันละ 16,000 บาท
(2) ข้าวเปลือกเจ้า :-
ข้าวเปลือกเจ้า 100% ตันละ 13,000 บาท
ข้าวเปลือกเจ้า 5% ตันละ 12,800 บาท
ข้าวเปลือกเจ้า 10% ตันละ 12,600 บาท
ข้าวเปลือกเจ้า 15% ตันละ 12,200 บาท
ข้าวเปลือกเจ้า 25% ตันละ 11,800 บาท
(3) ข้าวเปลือกเหนียว :-
ข้าวเปลือกเหนียว 10% เมล็ดยาว (42 กรัม) ตันละ 16,000 บาท
ข้าวเปลือกเหนียว 10% เมล็ดสั้น (40 กรัม) ตันละ 15,000 บาท
ทั้งนี้ ราคารับจำนำข้าวเปลือกปทุมธานี 1 ให้ปรับเพิ่ม – ลดตามจำนวนกรัมในอัตรากรัมละ 200 บาท และราคารับจำนำข้าวเปลือกเหนียว ให้ปรับเพิ่ม – ลดตามจำนวนกรัม โดยเมล็ดยาว ในอัตรากรัมละ
160 บาท และเมล็ดสั้นในอัตรากรัมละ 150 บาท
3) เป้าหมายการรับจำนำ จะรับจำนำข้าวเปลือกคุณภาพดี โดยจะไม่รับจำนำข้าวเปลือกที่มีอายุน้อยกว่า 110 วัน ที่มีคุณภาพต่ำ จำนวน 18 พันธุ์ ตามที่กรมการข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ประกาศ โดยจะไม่ให้เข้าร่วมโครงการฯ ทั้ง 2 ครั้ง
4) วงเงินการรับจำนำ
- ครั้งที่ 1 ไม่เกินรายละ 350,000 บาท
- ครั้งที่ 2 ไม่เกินรายละ 300,000 บาท
5) เป้าหมายการรับจำนำ รวมจำนวน 16.5 ล้านตัน
6) ระยะเวลารับจำนำ
- ครั้งที่ 1 ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2556 – 28 กุมภาพันธ์ 2557
ยกเว้น ภาคใต้จะสิ้นสุดวันที่ 31 กรกฎาคม 2557
- ครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 1 มีนาคม – 30 กันยายน 2557
ยกเว้น ภาคใต้ระหว่างวันที่ 1 สิงหาคม – 30 พฤศจิกายน 2557
7) ผลการดำเนินงาน
จำนวนเกษตรกรที่รับเงินกับ ธ.ก.ส. (ตั้งแต่ วันที่ 1 ตุลาคม 2556 – 21 พฤษภาคม 2557)
- จำนวนสัญญา 946,558 สัญญา
- จำนวนตัน 6,290,752 ตัน
- จำนวนเงิน 103,019.198 ล้านบาท
ภาวการณ์ซื้อขายข้าวสัปดาห์นี้ ราคาข้าวเปลือกที่เกษตรกรขายได้เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาค่อนข้างทรงตัว เนื่องจากมีผลผลิตออกสู่ตลาดมาก แต่ความต้องการซื้อขายข้าวในตลาดเพิ่มขึ้นไม่มากนัก เพราะมีการระบายข้าวในสต็อกจากโครงการรับจำนำข้าวเปลือกผ่านการประมูล และตลาดซื้อขายล่วงหน้าอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ผู้ประกอบการชะลอการสั่งซื้อข้าวในตลาด
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ราคาข้าวเปลือกเจ้าหอมมะลินาปี ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 13,803 บาท ราคาลดลงจากตันละ 13,891 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.64
ราคาข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 7,072 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 7,006 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.95
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 11,138 บาท ราคาลดลงจากตันละ 11,150 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.11
3) ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี.
ราคาข้าวหอมมะลิไทย ชั้น 1 (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 1,023 ดอลลาร์สหรัฐฯ (32,999 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 1,022 ดอลลาร์สหรัฐฯ (33,006 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.10 แต่ลดลงในรูปเงินบาทตันละ 7 บาท
ราคาข้าวปทุมธานี ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 580 ดอลลาร์สหรัฐฯ (18,709 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 579 ดอลลาร์สหรัฐฯ (18,699 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.17 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 10 บาท
ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 386 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,451 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 389 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,563 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.77 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 112 บาท
ราคาข้าวสารเจ้า 25% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 345 ดอลลาร์สหรัฐฯ (11,129 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 346 ดอลลาร์สหรัฐฯ (11,174 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.29 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 45 บาท
ราคาข้าวนึ่ง 5% ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 414 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,355 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้น จากตันละ 413 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,338 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.24 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 17 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 32.2573 บาท
เวียดนาม
สื่อท้องถิ่น รายงานว่า ความยินดีที่เวียดนามเคยชนะการประมูลขายข้าวขาว 15% จำนวน 800,000 ตัน ให้แก่ฟิลิปปินส์นั้น ดูเหมือนจะสิ้นสุดลง โดยล่าสุด ผู้ส่งออกข้าวภาคเอกชนของเวียดนามไม่ประสงค์จะเข้าร่วมในการส่งออกข้าวครั้งนี้ เนื่องจากมีความกังวลว่าจะขาดทุน
บริษัทอาหารแห่งเวียดนามใต้ (Vietnam’s Southern Food Corporation) หรือ Vinafood 2 ซึ่งเป็นตัวแทนของผู้ส่งออกข้าวเวียดนาม ชนะการประกวดราคาข้าว ปริมาณ 600,000 ตัน แบ่งข้าวเป็น 3 ล็อต ล็อตละ 200,000 ตัน โดยเสนอราคาที่ตันละ 436.5 ดอลลาร์สหรัฐฯ (หรือประมาณตันละ 14,080 บาท) 437.75 ดอลลาร์สหรัฐฯ (หรือประมาณตันละ 14,121 บาท) และ 439.25 ดอลลาร์สหรัฐฯ (หรือประมาณตันละ 14,169 บาท) ตามลำดับ ขณะที่บริษัทอาหารแห่งเวียดนามเหนือ (Vietnam’s Northern Food Corporation) หรือ Vinafood 1 ชนะการประกวดราคาข้าว ปริมาณ 200,000 ตัน แบ่งข้าวเป็น 2 ล็อต ล็อตละ 100,000 ตัน โดยเสนอราคาที่ตันละ 436 ดอลลาร์สหรัฐฯ (หรือประมาณตันละ 14,064 บาท) และ 439 ดอลลาร์สหรัฐฯ (หรือประมาณตันละ 14,161 บาท) ตามลำดับ
อย่างไรก็ตาม ผู้ส่งออกข้าวภาคเอกชนบางรายปฏิเสธอย่างเป็นทางการที่จะส่งออกข้าวให้ฟิลิปปินส์ โดยให้เหตุผลว่าราคาดังกล่าวต่ำกว่าต้นทุน ผู้ส่งออกรายหนึ่ง กล่าวเพิ่มเติมว่า ข้าวคุณภาพเดียวกันที่ส่งไปยังจีน ได้ราคาดีกว่าและไม่มีเงื่อนไขใดๆ ขณะที่ ข้าวที่ส่งออกไปยังฟิลิปปินส์ภายใต้ข้อตกลงปัจจุบัน มีเงื่อนไขหลายประการ
โดยผู้ส่งออกต้องเสียค่าปรับให้แก่สมาคมอาหารแห่งเวียดนาม (Vietnam Food Association: VFA) ถ้าหากไม่สามารถปฏิบัติได้ตามเงื่อนไข สื่อท้องถิ่นให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ถ้ามีปริมาณข้าวหักเพิ่มขึ้นร้อยละ 1 ผู้ส่งออกจะต้องถูกปรับตันละ 3 ดอลลาร์สหรัฐฯ (หรือประมาณตันละ 97 บาท) นอกจากนี้ ยังมีค่าปรับที่เกี่ยวกับการละเลยและการปฏิบัติผิดเงื่อนไขอื่นๆ อีกด้วย
ผู้ส่งออกรายงานว่า การจัดหาข้าวเพื่อส่งไปให้ฟิลิปปินส์มีต้นทุนสูง ซึ่งจะนำมาสู่การขาดทุน
ตันละ 20 ดอลลาร์สหรัฐฯ (หรือตันละ 645 บาท) ขณะที่ ราคาในประเทศที่เคยลดลงในช่วงต้นเดือนมีนาคมและเมษายนเริ่มคงที่ เนื่องจากนโยบายจัดซื้อข้าวของรัฐบาล อย่างไรก็ตาม ผู้ส่งออกข้าวบางรายที่เริ่มจัดหาข้าวตั้งแต่เดือนมีนาคมที่ผ่านมา แสดงความสนใจที่จะส่งออกข้าวไปยังฟิลิปปินส์
ปัจจุบัน ผู้ส่งออกข้าวส่วนใหญ่กำลังวิพากษ์วิจารณ์บริษัททั้ง 2 แห่ง ที่เสนอราคาต่ำกว่าไทยและกัมพูชาประมาณตันละ 30 ดอลลาร์สหรัฐฯ (หรือประมาณตันละ 968 บาท) โดยมีความกังวลว่า เวียดนามจะสามารถจัดหาข้าวส่งให้ฟิลิปปินส์ได้ครบตามสัญญาหรือไม่
ทั้งนี้ สมาคมอาหารแห่งเวียดนาม (Vietnam Food Association: VFA) เปิดเผยว่า ในช่วงวันที่ 1 มกราคม – 8 พฤษภาคม 2557 เวียดนามส่งออกข้าว 1.82 ล้านตัน ลดลงจาก 2.8 ล้านตัน หรือลดลงร้อยละ 35 เมื่อเทียบกับเดือนมกราคม – พฤษภาคม ของปีที่ผ่านมา ที่ราคาส่งออกเฉลี่ยตันละ 437 ดอลลาร์สหรัฐฯ (หรือประมาณตันละ 14,096 บาท) ลดลงตันละ 2 ดอลลาร์สหรัฐฯ (หรือลดลงประมาณตันละ 64 บาท) เมื่อเทียบกับช่วง 5 เดือนแรกของปีที่ผ่านมา
ที่มา Oryza.com
อินเดีย
รัฐบาลอินเดียคาดการณ์ว่า ในปี 2556/57 (ตุลาคม 2556 – กันยายน 2557) อินเดียผลิตข้าว 106.29 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 105.24 ล้านตัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1 และผลิตธัญพืช 264.38 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 257.13 ล้านตัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 3 เมื่อเทียบกับปี 2555/56
สื่อท้องถิ่นกล่าวว่า ปัจจัยที่ทำให้ผลผลิตข้าวในปี 2556/57 เพิ่มขึ้น เนื่องจากพื้นที่ปลูกข้าวฤดูหนาว (rabi) ขยายตัว และราคาข้าวมีแนวโน้มสูงขึ้น ทั้งนี้ กระทรวงเกษตรเปิดเผยว่า ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2557 อินเดียมีพื้นที่ปลูกข้าวฤดูหนาว 4.1 ล้านเฮคตาร์ (หรือประมาณ 25.63 ล้านไร่) เพิ่มขึ้นจาก 3.31 ล้านเฮคตาร์ (หรือประมาณ 20.69 ล้านไร่) หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 24 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา
กระทรวงเกษตร รายงานเพิ่มเติมว่า ในปี 2555/56 อินเดียมีผลผลิตข้าว 105.24 ล้านตัน (ซึ่งจำแนกเป็นข้าวฤดูฝน 92.37 ล้านตัน และข้าวฤดูหนาว 12.87 ล้านตัน) ลดลงเล็กน้อยจาก 105.31 ล้านตัน (ซึ่งจำแนกเป็นข้าว
ฤดูฝน 92.75 ล้านตัน และข้าวฤดูหนาว 12.56 ล้านตัน) เมื่อเทียบกับปี 2554/55
แหล่งข่าวด้านการค้ากล่าวว่า ผลผลิตข้าวที่สูงเป็นประวัติการณ์ในปีนี้ เป็นการรับรองว่า อินเดียจะไม่กำหนดมาตรการห้ามการส่งออกข้าว โดยอินเดียกลายเป็นผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่ที่สุดในโลกในปี 2555 และปี 2556 ภายหลังจากยกเลิกมาตรการห้ามส่งออกข้าวที่ไม่ใช่ข้าวบาสมาสติเป็นเวลา 4 ปี โดยในปี 2554 สมาคมผู้ส่งออกข้าวแห่งอินเดีย (All India Rice Exporters Association: AIREA) เปิดเผยว่า ในปี 2556/57 อินเดียส่งออกข้าว 10.5 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 10.2 ล้านตัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 3 เมื่อเทียบกับปี 2555/56 นอกจากนี้ ผลผลิตข้าวที่สูงเป็นประวัติการณ์จะเป็นมูลภัณฑ์กันชนทดแทนผลผลิตในปีถัดไปที่อาจลดลงเนื่องจากปรากฏการณ์เอลนีโญ
ขณะที่ กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ คาดการณ์ว่า ในปี 2556/57 อินเดียผลิตข้าว 105 ล้านตัน ลดลงเล็กน้อยจาก 105.24 ล้านตัน โดยมีพื้นที่ปลูก 43.5 ล้านตัน ซึ่งเพิ่มขึ้นจาก 42.41 ล้านตัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 เมื่อเทียบกับปี 2555/56 และคาดการณ์ว่า ในปี 2557 อินเดียส่งออกข้าว 10 ล้านตัน ลดลงจาก 10.87 ล้านตัน หรือลดลง
ร้อยละ 8 เมื่อเทียบกับปี 2556
ที่มา Oryza.com
เมียนมาร์
เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เปิดเผยว่า ขณะนี้ เมียนมาร์อยู่ระหว่างพิจารณาหารือเกี่ยวกับการยกเลิกภาษีส่งออกข้าว โดยการประชุมดังกล่าวมีขึ้น เนื่องจากจีนได้จับกุมพ่อค้าชาวเมียนมาร์ที่พยายามจะส่งออกข้าวโดยใช้ถุงที่ไม่มีการระบุชื่อ เพื่อหลีกเลี่ยงเจ้าหน้าที่ตรวจคุณภาพข้าวของจีน
นอกจากนี้ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ระบุเพิ่มเติมว่า เมียนมาร์อยู่ระหว่างเจรจากับสำนักงานควบคุมคุณภาพตรวจสอบและกักกันโรค (General Administration of Quality Supervision Inspection and Quarantine: AQSIQ) ที่เป็นหน่วยงานอนุมัติการยกเลิกภาษี และการส่งออกข้าวแบบไม่มีโควตา
ทั้งนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ในปี 2556/57 เมียนมาร์ส่งออกข้าวผ่านชายแดนจีน 684,698 ตัน (คิดเป็นมูลค่า 274 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 8,838 ล้านบาท) ขณะที่ ส่งออกไปขายยังประเทศอื่นๆ 381,716 ตัน (คิดเป็นมูลค่า 106 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 3,419 ล้านบาท)
ที่มา Oryza.com
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 19 - 25 พ.ค. 2557--