ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร: กาแฟ

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday June 4, 2014 13:54 —สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ

1. การผลิต

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ได้พยากรณ์เนื้อที่ให้ผล ผลผลิต ผลผลิตต่อไร่ ปี 2557 ดังนี้ เนื้อที่ให้ผลผลิตกาแฟจะมีประมาณ 263,602 ไร่ ลดลงจากปี 2556 จำนวน 33,213 ไร่ หรือลดลงร้อยละ 11.19 ผลผลิต 38,458 ตัน เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา 992 ตัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.65 และผลผลิตต่อไร่ต่อเนื้อที่ให้ผล เฉลี่ยไร่ละ 146 กิโลกรัม เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา 20 กิโลกรัมต่อไร่ หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.87 ทั้งนี้เนื้อที่ให้ผลรวมทั้งประเทศลดลง จากเกษตรกรในแหล่งปลูกกาแฟพันธุ์โรบัสตาภาคใต้ได้โค่นต้นกาแฟ ที่ปลูกแซมไม้ผลไม้ยืนต้นออก แต่ภาคกลางที่มีการปลูกกาแฟพันธุ์โรบัสตาและทางภาคเหนือที่เป็นแหล่งปลูกกาแฟพันธุ์อาราบิกานั้น มีเนื้อที่ให้ผลเพิ่มขึ้นจากการปลูกแซม ไม้ผลและไม้ยืนต้นและปลูกในพื้นที่ป่าชุมชนต้นตั้งแต่ปี 2553 เริ่มให้ผลในปีนี้ ผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้นเนื่องจากสภาพอากาศเอื้ออำนวย ไม่กระทบแล้งในช่วงออกดอกเหมือนปีที่ผ่านมา และต้นกาแฟมีความสมบูรณ์ดีเนื่องจากเนื้อที่ให้ผลกาแฟพันธุ์อาราบิกาในแหล่งผลิตทางภาคเหนือ

ภาคเหนือ ซึ่งเป็นแหล่งปลูกกาแฟพันธุ์อาราบิกาเนื้อที่ให้ผลเพิ่มขึ้น จากต้นกาแฟที่ปลูกแซมในสวนยางพารา แมคคาเดเมีย และลิ้นจี่ ในจังหวัดเชียงราย และเชียงใหม่ และในพื้นที่ป่าชุมชนที่ทางภาครัฐสนับสนุนให้เกษตรกรปลูก เช่น จังหวัดตาก และแพร่ ตั้งแต่ปี 2553 ได้ทยอยให้ผลผลิตเป็นปีแรก ผลผลิตต่อไร่ลดลงเนื่องจากปลายปี 2556 ถึง ต้นปี 2557 บางพื้นที่ของภาคเหนือตอนบน เช่น จังหวัดเชียงใหม่ มีสภาพอากาศที่หนาวมากทำให้เมล็ดกาแฟฝ่อ และมีมอดเจาะผลกาแฟระบาด ทำให้ผลผลิตกาแฟเสียหาย

ภาคกลาง พื้นที่ส่วนใหญ่ปลูกกาแฟพันธุ์โรบัสตาเนื้อให้ผลที่เพิ่มขึ้นเล็กน้อย โดยเฉพาะในพื้นที่ อ.ทองผาภูมิ จ. กาญจนบุรี เกษตรกรมีการปลูกกาแฟพันธุ์โรบัสตาเพิ่มขึ้นในพื้นที่รกร้างนับตั้งแต่ปี 2553 จึงเริ่มให้ผลในปีนี้ ผลผลิตต่อไร่ของภาคกลางในปีนี้เพิ่มขึ้นจากสภาพอากาศเอื้ออำนวยต่อการติดดอกออกผล

ภาคใต้ ซึ่งเป็นแหล่งปลูกกาแฟพันธุ์โรบัสตาเนื้อที่ให้ผลลดลงอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากต้นยางพารา ปาล์มน้ำมัน และทุเรียนที่เกษตรกรปลูกแซมในสวนกาแฟไว้เริ่มให้ผลผลิตเกษตรกรจึงโค่นต้นกาแฟออก ถึงแม้ว่าราคากาแฟในปีที่ผ่านมาจะเพิ่มสูงขึ้นแต่ต้นทุนก็เพิ่มขึ้นตามไปด้วย จึงไม่จูงใจให้เกษตรกรปลูกต่อไป โดยจังหวัดที่มีการโค่นต้นกาแฟมาก ได้แก่ จังหวัดชุมพร ระนอง และสุราษฏร์ธานี ผลผลิตต่อไร่ในภาคใต้เพิ่มขึ้นจากสภาพภูมิอากาศเอื้ออำนวยต่อการติดดอกออกผล ไม่กระทบแล้งในช่วงออกดอกเหมือนปีที่ผ่านมา ประกอบกับภาครัฐมีโครงการปรับโครงสร้างสินค้ากาแฟแบบครบวงจร เน้นลดพื้นที่เพาะปลูกและเพิ่มผลผลิตต่อไร่ เพื่อให้ต้นกาแฟได้รับการดูแลอย่างเต็มที่ ในแหล่งผลิตที่สำคัญได้แก่ จังหวัดชุมพรและระนอง

ความต้องการใช้เมล็ดกาแฟของไทยในปี 2556

กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ คาดการณ์ความต้องการใช้เมล็ดกาแฟในปี 2556 ของโรงงานแปรรูปในประเทศ จะมี 70,000 ตัน เพิ่มขึ้นจาก 67,620 ตัน ของปี 2555ร้อยละ 3.52 เนื่องจากการบริโภคในประเทศมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น

ปี                                 ความต้องการใช้เมล็ดกาแฟของโรงงาน (ตัน)
2551                                                          57,500
2552                                                          53,803
2553                                                          58,000
2554                                                          61,480
2555                                                          67,628
2556                                                          70,000
อัตราเพิ่ม/ลด (ร้อยละ)                                              5.06

ที่มา : กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์

การค้า

การส่งออกกาแฟขอไทยในปี 2557 ในช่วง 2 เดือนแรก (มค. – กพ.) ของปี มีปริมาณ 58.99 ตัน มูลค่า 11.90 ล้านบาท ลดลง จาก 88.95 ตัน มูลค่า 18.72 ล้านบาท จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาคิดเป็นร้อยละ 33.68 และ 36.43 ตามลำดับ สำหรับกาแฟสำเร็จรูปมีการส่งออก 237.85 ตัน มูลค่า 47.51 ล้านบาท สูงขึ้นจาก 170.22 ตัน มูลค่า 41.06 ล้านบาท จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาคิดเป็นร้อยละ 39.73 และ 15.71 ตามลำดับ และไทยนำเข้าเมล็ดกาแฟ ปริมาณ 136.25 ตัน มูลค่า 38.64 ล้านบาท ลดลงจากปริมาณ 1,086.66 ตัน และมูลค่า 92.95 ล้านบาท จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาคิดเป็น ร้อยละ87.46 และ 58.43 ตามลำดับ สำหรับกาแฟสำเร็จรูปมีการนำเข้าปริมาณ 1,036.34 ตัน มูลค่า 316.81 ล้านบาท สูงขึ้นจาก 974.75 ตัน มูลค่า 314.96 ล้านบาท จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาคิดเป็นลดลงร้อยละ 6.32 และ 0.59 ตามลำดับ

สรุปภาวการณ์ผลิตการตลาดและราคาในต่างประเทศ

กระทรวงเกษตรสหรัฐอเมริกา (USDA) รายงานผลผลิตกาแฟโลกปี 2555/56 มีปริมาณ 9.04 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 8.63 ล้านตัน ของปี 2554/55 ร้อยละ 4.8 เนื่องจากสภาพอากาศที่เอื้ออำนวย และ คาดคะเนว่าจะมีผลผลิต ในปี 2556/57 ประมาณ 8.76 ล้านตัน ลดลง 0.26 ล้านตัน หรือลดลงร้อยละ 2.91

บราซิล ผู้ผลิตกาแฟอันดับ 1 ของโลก ในปี 2555/56 มีผลผลิต ปริมาณ 3.37 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 0.41 ล้านตัน ในปี 2554/55 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.02 และคาดคะเนว่าจะมีผลผลิต ในปี 2556/57 ประมาณ 3.22 ล้านตัน ลดลง 0.14 ล้านตัน หรือลดลงร้อยละ 4.28

เวียดนาม ผู้ผลิตกาแฟอันดับ 2 ของโลก และเป็นผู้ผลิตกาแฟพันธุ์โรบัสตาอันดับ 1 ของโลก มีผลผลิตกาแฟปี 2555/56 ปริมาณ 1.50 ล้านตัน ลดลงจาก 1.560 ล้านตัน ในปี 2554/55 หรือลดลงร้อยละ 4.04 และคาดคะเนว่าจะมีผลผลิต ในปี 2556/57 ประมาณ 1.49ล้านตัน ลดลง 0.009 ล้านตัน หรือลดลงร้อยละ 0.60

ความต้องการใช้กาแฟ

กระทรวงเกษตรสหรัฐอเมริกา รายงานความต้องการใช้กาแฟของโลกปี 2555/56 มี 8.44 ล้านตัน ลดลงจาก 8.49 ล้านตันของปี 2554/55 ร้อยละ 0.59 และคาดคะเนความต้องการใช้กาแฟของปี 2556/57 ว่าจะมีประมาณ 8.51 ล้านตัน หรือเพิ่มขึ้น ร้อยละ 0.83

การส่งออก

กระทรวงเกษตรสหรัฐอเมริกา คาดคะเนการส่งออกกาแฟโลกปี 2555/56 มี 6.96 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 6.86 ล้านตัน ในปี 2554/55 ร้อยละ 1.46 ประเทศที่ส่งออกมากที่สุดได้แก่ บราซิล โดยคาดว่าจะส่งออกในปี 2555/56 ปริมาณ 1.98 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 1.79 ล้านตัน ของปี 2554/55 ร้อยละ 10.61 เนื่องจากผลผลิตเพิ่มขึ้น รองลงมาได้แก่ ประเทศเวียดนาม คาดว่าจะส่งออก ปริมาณ 1.35 ล้านตัน ลดลงจากปี 2554/55 ร้อยละ 7.53 เนื่องจากผลผลิตลดลง

องค์การกาแฟระหว่างประเทศ (ICO) รายงานการส่งออกกาแฟในช่วง 10 เดือนแรกของปีเพาะปลูก 2555/56 (ตค. 55 – ก.ค. 56 ) มีปริมาณ 5.67 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 5.47 ล้านตัน จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.6

ผลผลิตกาแฟโลกปี 2551/52 -2556/57

หน่วย : ล้านตัน

ประเทศ        ปี 2551/52    ปี 2552/53    ปี 2553/54    ปี 2554/55    ปี 2555/56      อัตราเพิ่ม (ร้อยละ)   ปี 2556/57
1 บราซิล          3.198       2.688         3.27        2.952        3.366             1.98           3.222
2. เวียดนาม       1.018        1.11        1.164         1.56        1.497            11.76           1.488
3. อินโดนีเซีย        0.6        0.63         0.56        0.498         0.63            -1.37           0.552
4. โคลัมเบีย       0.519       0.486        0.512        0.379         0.54            -1.68            0.54
5. เอธิโอเปีย      0.331        0.36        0.368        0.459         0.38             5.33           0.381
6. อินเดีย         0.263        0.29        0.302        0.313        0.315              4.5           0.312
7. ฮอนดูรัส        0.263        0.29        0.302        0.314        0.315              4.5             0.3
8. เปรู           0.194       0.213        0.239        0.336        0.276            12.31           0.246
9. เม็กซิโก         0.24       0.198        0.246        0.312        0.258             6.18           0.228
10. กัวเตมาลา     0.273       0.244         0.24        0.258        0.258            -0.57           0.233
20. ไทย          0.048       0.054        0.051        0.051        0.051             0.64           0.051
27. ลาว          0.021       0.023         0.03        0.027        0.023             3.48           0.024
อื่นๆ              1.206       1.123        0.684        1.169        1.134            -0.83           1.203
รวม              8.174       7.709        8.427        8.628        9.043              3.2            8.78
ที่มา: กระทรวงเกษตรสหรัฐอเมริกา (มิถุนายน 56)

ความต้องการใช้เมล็ดกาแฟของโลก

หน่วย : ล้านตัน

ปี                            ปริมาณ
2550/51                       7.66
2551/52                       7.48
2552/53                       8.23
2553/54                       8.01
2554/55                       8.49
2555/56                       8.44
อัตราเพิ่ม (ร้อยละ)               2.42
2556/57                       8.51
ทีมา : กระทรวงเกษตรสหรัฐอเมริกา (มิถุนายน 56)

ราคาตลาดในประเทศ

-ไม่มีรายงาน เนื่องจากหมดฤดูการเก็บเกี่ยว-

ราคาในตลาดต่างประเทศ มีดังนี้

ราคาเมล็ดกาแฟดิบอาราบิก้า ตลาดนิวยอร์กซื้อขายทันทีเฉลี่ย 230.25 เซนต์/ปอนด์ (164.97 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจาก 234.58 เซนต์/ปอนด์ (165.49 บาท/กิโลกรัม) ร้อยละ 1.85

ราคาเมล็ดกาแฟดิบโรบัสตา ตลาดนิวยอร์กซื้อขายทันที่เฉลี่ย 112.25 เซนต์/ปอนด์ (80.45 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจาก 111.58 เซนต์/ปอนด์ (78.72 บาท/กิโลกรัม) ร้อยละ 0.60

--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 26 พ.ค. - 1 มิ.ย. 2557--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ