1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 การตลาด
โครงการรับจำนำข้าวเปลือก ปีการผลิต 2556/57
1) มติ ครม. วันที่ 3 กันยายน 2556 รับทราบราคา ปริมาณ วงเงินการรับจำนำข้าวเปลือกของเกษตรกร และระยะเวลาการรับจำนำโครงการรับจำนำข้าวเปลือก ปีการผลิต 2556/57
2) ชนิดและราคารับจำนำข้าวเปลือก ปี 2556/57 ให้กำหนดชนิดและราคารับจำนำข้าวเปลือก ปี 2556/57 ณ ความชื้นไม่เกิน 15 % ดังนี้
- ครั้งที่ 1
(1) ข้าวเปลือกหอมมะลิ (42 กรัม) ตันละ 20,000 บาท
(2) ข้าวเปลือกหอมจังหวัด (40 กรัม) ตันละ 18,000 บาท
(ข้าวหอมมะลินอกพื้นที่ 23 จังหวัด)
(3) ข้าวเปลือกปทุมธานี 1 (42 กรัม) ตันละ 16,000 บาท
(4) ข้าวเปลือกเจ้า :-
ข้าวเปลือกเจ้า 100% ตันละ 15,000 บาท
ข้าวเปลือกเจ้า 5% ตันละ 14,800 บาท
ข้าวเปลือกเจ้า 10% ตันละ 14,600 บาท
ข้าวเปลือกเจ้า 15% ตันละ 14,200 บาท
ข้าวเปลือกเจ้า 25% ตันละ 13,800 บาท
(5) ข้าวเปลือกเหนียว :-
ข้าวเปลือกเหนียว 10% เมล็ดยาว (42 กรัม) ตันละ 16,000 บาท
ข้าวเปลือกเหนียว 10% เมล็ดสั้น (40 กรัม) ตันละ 15,000 บาท
ทั้งนี้ ราคารับจำนำข้าวเปลือกหอมมะลิและข้าวเปลือกปทุมธานี 1 ให้ปรับเพิ่ม – ลดตามจำนวนกรัมในอัตรากรัมละ 200 บาท และราคารับจำนำข้าวเปลือกเหนียว ให้ปรับเพิ่ม – ลดตามจำนวนกรัม
โดยเมล็ดยาว ในอัตรากรัมละ 160 บาท และเมล็ดสั้นในอัตรากรัมละ 150 บาท
- ครั้งที่ 2
(1) ข้าวเปลือกปทุมธานี 1 (42 กรัม) ตันละ 16,000 บาท
(2) ข้าวเปลือกเจ้า :-
ข้าวเปลือกเจ้า 100% ตันละ 13,000 บาท
ข้าวเปลือกเจ้า 5% ตันละ 12,800 บาท
ข้าวเปลือกเจ้า 10% ตันละ 12,600 บาท
ข้าวเปลือกเจ้า 15% ตันละ 12,200 บาท
ข้าวเปลือกเจ้า 25% ตันละ 11,800 บาท
(3) ข้าวเปลือกเหนียว :-
ข้าวเปลือกเหนียว 10% เมล็ดยาว (42 กรัม) ตันละ 16,000 บาท
ข้าวเปลือกเหนียว 10% เมล็ดสั้น (40 กรัม) ตันละ 15,000 บาท
ทั้งนี้ ราคารับจำนำข้าวเปลือกปทุมธานี 1 ให้ปรับเพิ่ม – ลดตามจำนวนกรัมในอัตรากรัมละ 200 บาท และราคารับจำนำข้าวเปลือกเหนียว ให้ปรับเพิ่ม – ลดตามจำนวนกรัม โดยเมล็ดยาว ในอัตรากรัมละ 160 บาท และเมล็ดสั้นในอัตรากรัมละ 150 บาท
3) เป้าหมายการรับจำนำ จะรับจำนำข้าวเปลือกคุณภาพดี โดยจะไม่รับจำนำข้าวเปลือกที่มีอายุน้อยกว่า 110 วัน ที่มีคุณภาพต่ำ จำนวน 18 พันธุ์ ตามที่กรมการข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ประกาศ โดยจะไม่ให้เข้าร่วมโครงการฯ ทั้ง 2 ครั้ง
4) วงเงินการรับจำนำ
- ครั้งที่ 1 ไม่เกินรายละ 350,000 บาท
- ครั้งที่ 2 ไม่เกินรายละ 300,000 บาท
5) เป้าหมายการรับจำนำ รวมจำนวน 16.5 ล้านตัน
6) ระยะเวลารับจำนำ
- ครั้งที่ 1 ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2556 – 28 กุมภาพันธ์ 2557 ยกเว้น ภาคใต้จะสิ้นสุดวันที่ 31 กรกฎาคม 2557
- ครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 1 มีนาคม – 30 กันยายน 2557 ยกเว้น ภาคใต้ระหว่างวันที่ 1 สิงหาคม – 30 พฤศจิกายน 2557
7) ผลการดำเนินงาน
จำนวนเกษตรกรที่รับเงินกับ ธ.ก.ส. (ตั้งแต่ วันที่ 1 ตุลาคม 2556 – 11 มิถุนายน 2557)
- จำนวนสัญญา 1,637,363 สัญญา
- จำนวนตัน 10,538,035 ตัน
- จำนวนเงิน 173,238.078 ล้านบาท
ภาวการณ์ซื้อขายข้าวสัปดาห์นี้ ราคาข้าวเปลือกที่เกษตรกรขายได้เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาสูงขึ้น เนื่องจากช่วงนี้ผลผลิตออกสู่ตลาดลดลง แต่ความต้องการข้าวในตลาดมีอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับมีคำสั่งให้ชะลอการระบายข้าวในสต็อกจากโครงการรับจำนำข้าวเปลือก เพื่อดำเนินการตรวจสอบสต็อกข้าวให้เรียบร้อยก่อน
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ราคาข้าวเปลือกเจ้าหอมมะลินาปี ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 13,780บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 13,774 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.05
ราคาข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 7,212 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 7,133 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.10
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 11,450 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
3) ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี.
ราคาข้าวหอมมะลิไทย ชั้น 1 (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 1,037 ดอลลาร์สหรัฐฯ (33,450 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 1,018 ดอลลาร์สหรัฐฯ (33,103 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.87 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 347 บาท
ราคาข้าวปทุมธานี ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 579 ดอลลาร์สหรัฐฯ (18,676 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 577 ดอลลาร์สหรัฐฯ (18,763 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.35 แต่ลดลงในรูปเงินบาทตันละ 87 บาท
ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 392 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,645 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 390 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,682 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.51 แต่ลดลงในรูปเงินบาทตันละ 37 บาท
ราคาข้าวสารเจ้า 25% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 354 ดอลลาร์สหรัฐฯ (11,419 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 352 ดอลลาร์สหรัฐฯ (11,446 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.57 แต่ลดลงในรูปเงินบาทตันละ 27 บาท
ราคาข้าวนึ่ง 5% ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 420 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,548 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้น จากตันละ 418 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,592 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.48 แต่ลดลงในรูปเงินบาทตันละ 44 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 32.2564 บาท
เวียดนาม
สมาคมอาหารของเวียดนาม (The Vietnam Food Association; VFA) รายงานการส?งออกข?วช?วงวันที่ 1-31 พฤษภาคม 2557 มีจำนวน 585,536 ตัน มูลค่า 248.651 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยทั้งปริมาณและมูลค่าลดลงร้อยละ 9.7 และร้อยละ 9.1 เมื่อเทียบกับช?วงเดียวกันของป?2556 ที่ส่งออกได? 648,359 ตัน มูลค่า 273.449 ล?นดอลลาร์สหรัฐฯ สำหรับการส่งออกตั้งแต?วันที่ 1 มกราคม-31 พฤษภาคม 2557 มีจำนวน 2.336 ล้านตัน มูลค? 1.013 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยทั้งปริมาณและมูลค่าลดลงร้อยละ 16.2 และร้อยละ 16.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของป?2556 ที่ส่งออกได? 2.787 ล้านตัน มูลค่า 1.211 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (FOB) ชนิดข้าวที่เวียดนามส่งออกในเดือนพฤษภาคมประกอบด้วย ข้าวขาว 15% จำนวน 281,411 ตัน
คิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 48 ของข้าวที่ส่งออกทั้งหมด ในขณะที่ข้าวหอมส่งออกจำนวน 109,319 ตัน (สัดส?วนประมาณร้อยละ 19) ข?วขาว 3-10% จำนวน 103,897 ตัน (สัดส่วนประมาณร้อยละ 18) ส่วนที่เหลือเป็นข้าวชนิดอื่นๆ เช่น ข้าวเหนียว เป็นต้น ทั้งนี้ตลาดหลักของเวียดนามยังคงเป?นตลาดเอเชีย โดยมีการส่งออกไปจำนวน 398,200 ตัน (สัดส?วนประมาณร้อยละ 68) ตามด้วยตลาดแอฟริกาจำนวน 87,292 ตัน (สัดส่วนประมาณร้อยละ 15) ตลาดอเมริกาจำนวน 78,223 ตัน ตลาดยุโรปจำนวน 14,536 ตัน เป็นต้น
ทางการรายงานว่า ผลผลิตข้าวในฤดูการผลิตฤดูร้อน (summer autumn rice crop) ในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง คาดว่า จะมีจำนวนเพิ่มขึ้น เนื่องจากสภาพอากาศเอื้ออำนวยส่งผลให?การเกิดโรคและแมลงศัตรูพืชลดน?อยลง
ทำให?เกษตรกรได?ผลผลิตดี ซึ่งในเขตนี้มีพื้นที่เพาะปลูกข้าวประมาณ 10.6 ล้านไร?และคาดว่าจะมีผลผลิตประมาณ 7-8 ล?นตัน โดยราคาข้าวเปลือกสดที่ออกสู?ตลาดในขณะนี้อยู?ที่ประมาณ 4,100-4,500 ดองต?อก.ก. (ประมาณ 193-212 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต?อตัน หรือประมาณ 6,225-6,838 บาทต่อตัน)
ที่มา Oryza.com
ฟิลิปปินส์?
ปี 2557 ทางการฟิลิปปินส?เปิดเผยแผนการของโครงการพึ่งพาผลผลิตข?วในประเทศฉบับใหม?โดยตั้งเป้าผลผลิตข้าวเปลือกไว?ที่ 19.07 ล?นตัน เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 3.4 จากจำนวน 18.44 ล?นตัน ในป?ที่ผ?นมา
โดยกำลังวางแผนที่จะเพิ่มพื้นที่เพาะปลูกข้าวลูกผสมจากป?จจุบันที่มีประมาณ 453,518 ไร?เป็น 1.7 ล?นไร?
ซึ่งกระทรวงเกษตร (Department of Agricultural; DA) เป?นผู?ผลิตเมล็ดพันธุ?ข?วลูกผสมในพื้นที่ประมาณ 450,000 ไร? ส่วนที่เหลือให?เอกชนเข้ามาร่วมลงทุนผลิต โดยกระทรวงเกษตรให?การช?วยเหลือทางด?นเทคนิคแก?เอกชน
ที่เข้าร่วมโครงการ
ภายใต?โครงการนี้ รัฐบาลจะส่งเสริมให?เกษตรกรใช?เมล็ดพันธุ?ข้าวลูกผสมมากขึ้น โดยแจกจ่ายให?เกษตรกร
ที่เพาะปลูกข้าวช่วงฤดูแล้ง ในป?การผลิต 2557/58 (พ.ย. 57-เม.ย.58) และในฤดูการผลิตถัดไปจึงจะเริ่มจำหน?ยเมล็ดพันธุ์ให?แก่เกษตรกร
ทั้งนี้ ทางการได?ตั้งเป้าผลผลิตข้าวเปลือกในป?2558 ไว?ที่จำนวน 20.089 ล?นตัน สำหรับป?2559 ตั้งเป้าไว?ที่จำนวน 20.519 ล้านตัน ทางด้านกระทรวงเกษตรสหรัฐฯ (USDA) ประมาณการณ?ว่า ในป?การผลิต 2557/58
ฟิลิปปินส?จะมีผลผลิตข้าวประมาณ 12.2 ล้านตันข้าวสาร การบริโภคประมาณ 13.2 ล้านตันข้าวสาร และการ นำเข้าประมาณ 1.8 ล?นตันข้าวสาร
ที่มา Oryza.com
อิรัก
กระทรวงการค้าของอิรัก (MINISITRY OF TRADE) ประกาศเป?ดการประมูลซื้อข?วอย?งน?อยจำนวน 30,000 ตัน ซึ่งเป?นข?วเมล็ดยาวจากประเทศสหรัฐฯ อุรุกวัย บราซิล อาร?เจนติน? หรือข?วหอมจากเวียดนาม (VIETNAMESE JASMINE RICE) โดยเป?ดรับข?อเสนอเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2557 และข้อเสนอต้องมีผลไปจนถึงวันที่ 27 มิถุนายน 2557 ส่วนการประมูลเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2557 ที่ผ่านมา กระทรวงการค?ของอิรักได?ประกาศผลการประมูล ซื้อข้าวอย่างน้อยจำนวน 30,000 ตัน ซึ่งจะต?องเป?นข?วเมล็ดยาวจากประเทศสหรัฐฯ อุรุกวัย บราซิล อาร์เจนติน่า หรือข้าวหอมจากเวียดนาม (VIETNAMESE JASMINE RICE) โดยอิรักได?ตกลงซื้อข?วรวมจำนวน 120,000 ตัน โดยซื้อ
ข้าวอุรุกวัยจำนวน 90,000 ตัน ในราคา 717 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต?อตัน (c&f basis หรือประมาณ 23,128 บาทต่อตัน) และข?วสหรัฐจำนวน 30,000 ตัน ในราคา 717.75 เหรียญสหรัฐต?อตัน (c&f basis หรือประมาณ 23,152 บาทต่อตัน)
ที่มา Oryza.com
ไนจีเรีย
สื่อท้องถิ่นรายงานว่า รัฐบาลไนจีเรียอยู?ระหว่างวางแผนพัฒนาพันธุ?ข้าวพันธุ?ผสมที่ให?ผลผลิตสูง เพื่อเพิ่มผลผลิตของประเทศ ซึ่งเป?นไปตามเป้าหมายการพึ่งพาตนเองด้านการผลิตข้าวภายในป?2558 โดยรัฐมนตรีเกษตร
ซึ่งเป็นผู้ลงนามในบันทึกความตกลง (MOU) กับสถาบันเทคโนโลยีด้านการเกษตรแอฟริกา (African Agriculture Technology Foundation: AATF) เกี่ยวกับความร่วมมือด้นเทคโนโลยีการเกษตร ได?ระบุกับสื่อดังกล่าวว่า สถาบันฯ จะให?ความช่วยเหลือแก?รัฐบาลในการสนับสนุนการผลิตข้าวพันธุ์ผสม เพื่อเสริมสร้างธุรกิจการเกษตรข้าวพันธุ?ผสมอย่างยั่งยืนในแอฟริกาตะวันออก แอฟริกาตะวันตก และแอฟริกาใต?
รัฐมนตรีเกษตร กล่าวเพิ่มเติมว่า สถาบันเทคโนโลยีด้านการเกษตรแอฟริกา ซึ่งปัจจุบันก้าวเข้าสู?ปีที่ 3 ของการดำเนินโครงการสนับสนุนการยกระดับการเติบโต (Growth Enhancement Support: GES) ยังให?ความสำคัญกับการใช?เทคโนโลยีที่เหมาะสม เพื่อเพิ่มผลผลิตข้าวและยกระดับความเป็นอยู?ของเกษตรกรรายย่อย โดยโครงการ
ดังกล่าวให?การสนับสนุนกระทรวงเกษตรในการจัดหาปัจจัยการผลิตให?แก่เกษตรกรจำนวน 10 ล้านราย รัฐบาลไนจีเรียมีกำหนดที่จะห้ามการนำเข้าข้าวภายในป?2558 ซึ่งเป็นเป้าหมายที่เป็นไปได?ยาก
โดยกระทรวงเกษตรสหรัฐฯ รายงานว่า ปัจจุบัน ไนจีเรียนำเข้าข้าวป?ละเกือบ 3 ล้านตัน ซึ่งส่วนใหญ?เป็นการลักลอบ นำเข้า เนื่องจากไนจีเรียผลิตข้าวได?ปีละประมาณ 2.7 ล้านตัน ไม่เพียงพอต่อความต้องการใช?ในประเทศที่มีสูงถึง 6 ล้านตัน
ที่มา Oryza.com
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 9 - 15 มิ.ย. 2557--