1.1 การตลาด
1) ปีการผลิต 2556/57
มาตรการแก้ไขปัญหา
โครงการรับจำนำข้าวเปลือก ปีการผลิต 2556/57
ผลการดำเนินงาน จำนวนเกษตรกรที่รับเงินกับ ธ.ก.ส. (ตั้งแต่ วันที่ 1 ตุลาคม 2556 – 25 มิถุนายน 2557)
- จำนวนสัญญา 1,824,757 สัญญา
- จำนวนตัน 11,644,607 ตัน
- จำนวนเงิน 191,525.948 ล้านบาท
2) ปีการผลิต 2557/58
มาตรการช่วยเหลือเกษตรกร
คณะอนุกรรมการพิจารณามาตรการด้านการผลิตและการตลาดสินค้าข้าว ได้กำหนดกรอบแนวทางในการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2557/58 ดังนี้
2.1) มาตรการหลัก
- ลดต้นทุนด้านปัจจัยการผลิตและบริการ โดยการลดราคาปุ๋ยเคมี ราคาสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช ราคาเมล็ดพันธุ์ ค่าบริการรถเกี่ยวข้าว และค่าเช่าที่นา
2.2) มาตรการเสริม
- ลดดอกเบี้ยเงินกู้ให้แก่เกษตรกร
- สนับสนุนแหล่งเงินทุน ผ่านโครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร
- ส่งเสริมการตลาด ได้แก่ เร่งหาตลาดใหม่ ช่วยเหลือผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บ stock เชื่อมโยงการตลาดข้าวในประเทศและต่างประเทศ และสินเชื่อเกษตรกรเพื่อชะลอการขายข้าวเปลือก (ประกันยุ้งฉาง)
- ส่งเสริมการมีส่วนร่วม ผ่านโครงการประกันภัยข้าว เพื่อประกันความเสี่ยง
2.3) มาตรการระยะต่อไป
- การใช้เทคโนโลยีการปลูกข้าวที่ถูกต้องและเหมาะสม
- การจัดตั้งธนาคารเมล็ดพันธุ์ข้าว
- การกำหนดเขตเศรษฐกิจ (Zoning)
- การจัดหาแหล่งน้ำสนับสนุน
- การจัดตั้งกองทุนข้าวและชาวนาแห่งชาติ
- การจัดตั้งสถาบันเพิ่มศักยภาพการค้าข้าว
ภาวการณ์ซื้อขายข้าวสัปดาห์นี้ ราคาข้าวเปลือกที่เกษตรกรขายได้เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาสูงขึ้น เนื่องจากช่วงนี้ผลผลิตข้าวนาปรังออกสู่ตลาดลดลง ขณะที่ความต้องการข้าวในตลาดยังคงมีอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับมีคำสั่งให้ชะลอการระบายข้าวจากโครงการรับจำนำข้าวเปลือกเพื่อตรวจสอบสต็อก จึงส่งผลให้ราคาข้าวปรับตัวเพิ่มขึ้น
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ราคาข้าวเปลือกเจ้าหอมมะลินาปี ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 13,790 บาท ราคาลดลงจากตันละ 13,920 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.94
ราคาข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 7,332 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 7,239 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.28
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 12,000 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 11,625 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 3.23
3) ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี.
ราคาข้าวหอมมะลิไทย ชั้น 1 (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 1,048 ดอลลาร์สหรัฐฯ (33,765 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 1,047 ดอลลาร์สหรัฐฯ (33,700 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.10 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 65 บาท
ราคาข้าวปทุมธานี ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 613 ดอลลาร์สหรัฐฯ (19,750 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 612 ดอลลาร์สหรัฐฯ (19,699 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.16 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 51 บาท
ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 408 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,145 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 398 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,811 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.51 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 334 บาท
ราคาข้าวสารเจ้า 25% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 362 ดอลลาร์สหรัฐฯ (11,663 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 357 ดอลลาร์สหรัฐฯ (11,419 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.40 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 244 บาท
ราคาข้าวนึ่ง 5% ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 436 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14,047 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้น
จากตันละ 426 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,712 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.35 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 335 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 32.2182 บาท
เวียดนาม
สื่อท้องถิ่นรายงานว่า รัฐบาลเวียดนามออกแผนพัฒนาตลาดข้าวในประเทศและเพิ่มกิจกรรมส่งเสริมการส่งออก โดยประกาศจากทางรัฐบาลที่ 239/TB-VPCP ณ วันที่ 23 มิถุนายน 2557 ให้ความสำคัญกับสถานการณ์
การส่งออกข้าวในอดีตและปัจจุบัน พร้อมทั้งเสนอแนวทางที่จะนำไปสู่การขยายการส่งออกในอนาคต ตามประกาศดังกล่าว กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า (Ministry of Industry and Trade: MoIT) กระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบท (Ministry of Agriculture and Rural Development: MARD) และสมาคมอาหารแห่งเวียดนาม (Vietnam Food Association: VFA) มีหน้าที่ในการพัฒนาตลาดข้าวในประเทศ ระบุตลาดส่งออกข้าวที่สำคัญ และรักษาตลาดส่งออกเดิม โดยทำงานเพื่อให้เกิดความสมดุลระหว่างอุปทานในประเทศกับความต้องการข้าวเพื่อการค้าและการส่งออก นอกจากนี้ หน่วยงานทั้ง 3 แห่ง ยังมีหน้าที่กำหนดนโยบายและวางแผนเพื่อการพัฒนาเครื่องหมายการค้า สำหรับการส่งออกข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าวของเวียดนาม
ทั้งนี้ กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า และสมาคมอาหารแห่งเวียดนาม ได้รับมอบหมายให้ทำสัญญาการส่งออกข้าวแบบรัฐต่อรัฐ (G2G) กับผู้ซื้อรายใหม่ มีการส่งเสริมการทำบันทึกความเข้าใจ (MoU) เกี่ยวกับการค้าข้าว และดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ สมาคมอาหารแห่งเวียดนามได้รับคำสั่งให้ปรับราคาขั้นต่ำให้เหมาะสม โดยพิจารณาจากอุปสงค์และอุปทานในประเทศ ประกาศดังกล่าว ยังกำหนดให้สำนักงานการค้าของเวียดนามในต่างประเทศสนับสนุนการทำงานของกระทรวงต่างๆ ในกิจกรรมส่งเสริมการส่งออก
ที่มา Oryza.com
อินเดีย
หน่วยงานด้านการพัฒนาการส่งออกสินค้าเกษตรและสินค้าอาหาร (Agricultural and Processed Food Products Export Development Authority: APEDA) รายงานว่า ในปี 2556/57 (1 เมษายน 2556 – 31 มีนาคม 2557) อินเดียส่งออกข้าวรวม 10.78 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 10.15 ล้านตัน หรือเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 6 เมื่อเทียบกับปี 2555/56 โดยในแง่ของมูลค่าการส่งออก ในปี 2556/57 อินเดียส่งออกข้าวคิดเป็นมูลค่า 467,930 ล้านรูปี เพิ่มขึ้นจาก 338,580 ล้านรูปี หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 38 เมื่อเทียบกับปี 2555/56 ทั้งนี้ ในปี 2556/57 มูลค่าการส่งออกข้าวของอินเดียในรูปค่าเงินดอลลาร์คิดเป็น 7,742 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (หรือประมาณ 249,433 ล้านบาท) เพิ่มขึ้นจาก 6,216 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (หรือประมาณ 200,268 ล้านบาท) หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 25 เมื่อเทียบกับปี 2555/56
ในปี 2556/57 อินเดียส่งออกข้าวบาสมาติประมาณ 3.76 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 3.46 ล้านตัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 9 เมื่อเทียบกับปี 2555/56 โดยในแง่ของมูลค่าการส่งออก ในปี 2556/57 อินเดียส่งออกข้าวบาสมาติคิดเป็นมูลค่า 293,000 ล้านรูปี เพิ่มขึ้นจาก 194,090 ล้านรูปี หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 51 เมื่อเทียบกับปี 2555/56 และคิดเป็นมูลค่า 4,866 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (หรือประมาณ 156,774 ล้านบาท) เพิ่มขึ้นจาก 3,564 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (หรือประมาณ 114,826 ล้านบาท) หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 37 เมื่อเทียบกับปี 2555/56
ในส่วนของข้าวที่ไม่ใช่ข้าวบาสมาติ ในปี 2556/57 อินเดียส่งออกได้ 7 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 6.69 ล้านตัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 5 เมื่อเทียบกับปี 2555/56 โดยในแง่ของมูลค่าการส่งออก ในปี 2556/57 อินเดียส่งออกข้าวที่ไม่ใช่ข้าวบาสมาติคิดเป็นมูลค่า 174,930 ล้านรูปี เพิ่มขึ้นจาก 144,490 ล้านรูปี หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 21 เมื่อเทียบกับปี 2555/56 และคิดเป็นมูลค่า 2,876 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (หรือประมาณ 92,659 ล้านบาท) เพิ่มขึ้นจาก 2,651 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (หรือประมาณ 85,410 ล้านบาท) หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 8
ในปี 2555 และ 2556 ที่ผ่านมา อินเดียส่งออกข้าวได้มากที่สุดในโลก อย่างไรก็ตาม การส่งออกข้าวของอินเดียในปีนี้ ได้รับผลกระทบจากปรากฏการณ์เอลนีโญและการส่งออกข้าวที่เพิ่มขึ้นของไทย โดยกระทรวงเกษตรสหรัฐฯ คาดการณ์ว่า ในปี 2557 อินเดียส่งออกข้าวประมาณ 10 ล้านตัน ลดลงจาก 10.88 ล้านตัน หรือลดลงร้อยละ 8 เมื่อเทียบกับปี 2556
ที่มา Oryza.com
อินโดนีเซีย
องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) คาดการณ์ว่า ในปี 2557 อินโดนีเซียนำเข้าข้าว 1.1 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 687,500 ตัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 60 เมื่อเทียบกับปี 2556 อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่า ในปี 2557 อินโดนีเซียจะนำเข้าข้าวถึง 1.5 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 700,000 ตัน เนื่องจากได้รับผลกระทบจากปรากฏการณ์เอลนีโญ
องค์การอาหารและการเกษตรแห่งชาติ ประมาณการเพิ่มเติมว่า ในปี 2557 อินโดนีเซียผลิตข้าว 72 ล้านตันข้าวเปลือก (หรือประมาณ 45.36 ล้านตันข้าวสาร) เพิ่มขึ้นจาก 71.3 ล้านตันข้าวเปลือก (หรือประมาณ 45 ล้านตันข้าวสาร) หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1 ทั้งนี้ เนื่องจากฝนตกหนักในช่วงกลางเดือนมกราคมถึงปลายเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ทำให้เกิดน้ำท่วมในบางพื้นที่ และในบางพื้นที่เกิดปัญหาปริมาณน้ำฝนไม่เพียงพอในช่วงต้นเดือนมีนาคมถึงปลายเดือนเมษายน แต่ส่งผลกระทบไม่มากนักต่อการผลิตข้าวในปี 2557
ราคาข้าวเฉลี่ยในเดือนมิถุนายนปรับตัวสูงขึ้นหลังจากในช่วงเดือนเมษายนและพฤษภาคมราคาลดลง ทั้งนี้ ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2556 – มีนาคม 2557 ที่ผ่านมา ราคาข้าวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ ระบุว่า ราคาข้าวในปัจจุบันเฉลี่ยตันละ 8.79 ล้านรูเปีย (หรือประมาณตันละ 734 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณตันละ 23,648 บาท) เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากตันละ 8.76 ล้านรูเปีย (หรือประมาณตันละ 770 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณตันละ 24,808 บาท)
ที่มา Oryza.com
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 23 - 29 มิ.ย. 2557--