ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร: ข้าว

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday July 30, 2014 15:00 —สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ

1.1 การตลาด

1) ปีการผลิต 2556/57

มาตรการแก้ไขปัญหา

โครงการรับจำนำข้าวเปลือก ปีการผลิต 2556/57

ผลการดำเนินงาน จำนวนเกษตรกรที่รับเงินกับ ธ.ก.ส. (ตั้งแต่ วันที่ 1 ตุลาคม 2556–22 กรกฎาคม 2557)

  • จำนวนสัญญา 1,825,352 สัญญา
  • จำนวนตัน 11,650,599 ตัน
  • จำนวนเงิน 191,577.883 ล้านบาท

2) ปีการผลิต 2557/58

มติ ครม.คสช. เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2557 และมติที่ประชุม คณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว (นบข.) ครั้งที่ 1/2557 เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2557 เห็นชอบแนวทางการช่วยเหลือเกษตรกร

ผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2557/58 ดังนี้

2.1) มาตรการหลัก

  • ลดต้นทุนการผลิต โดยการลดราคาปัจจัยการผลิตและบริการ ไร่ละ 432 บาท แบ่งเป็น ปุ๋ยเคมีไร่ละ 40 บาท สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชไร่ละ 20 บาท ค่าเมล็ดพันธุ์ไร่ละ 122 บาท ค่าบริการรถเกี่ยวข้าวไร่ละ 50 บาท และค่าเช่าที่นาไร่ละ 200 บาท

2.2) มาตรการสนับสนุน

(1) มาตรการเร่งด่วน

(1.1) สนับสนุนแหล่งเงินทุน ได้แก่

  • โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร
  • ลดดอกเบี้ยเงินกู้ให้เกษตรกร

(1.2) ส่งเสริมการตลาด ได้แก่

  • เร่งหาตลาดใหม่
  • เชื่อมโยงการตลาดข้าวในประเทศและต่างประเทศ
  • ช่วยเหลือผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก
  • สินเชื่อเกษตรกรเพื่อชะลอการขายข้าวเปลือก (ประกันยุ้งฉาง)

(1.3) ส่งเสริมการมีส่วนร่วม ได้แก่

  • โครงการประกันภัยข้าวนาปี ปีการผลิต 2557

(2) มาตรการระยะยาว

(2.1) ส่งเสริมปัจจัยการผลิต ได้แก่

  • การเพิ่มผลผลิตต่อไร่
  • การจัดตั้งธนาคารเมล็ดพันธุ์ข้าว
  • กำหนดเขตเกษตรเศรษฐกิจ (Zoning)
  • จัดหาแหล่งน้ำสนับสนุน

(2.2) ส่งเสริมการมีส่วนร่วม

  • การจัดตั้งสถาบันพัฒนาศักยภาพการค้าข้าว

ปรับปรุงข้อมูล ณ วันที่ 2 กค. 57

  • การจัดตั้งกองทุนข้าวและชาวนาแห่งชาติ

ภาวการณ์ซื้อขายข้าวสัปดาห์นี้ ราคาข้าวเปลือกที่เกษตรกรขายได้เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา

ราคาสูงขึ้น เนื่องจากมีผลผลิตออกสู่ตลาดน้อย เพราะเป็นช่วงปลายฤดูเก็บเกี่ยวข้าวนาปรัง และมีการชะลอการระบายข้าวเพื่อตรวจสอบสต๊อก ขณะที่ความต้องการข้าวของตลาดยังคงมีอย่างต่อเนื่อง

1.2 ราคา

1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ

ราคาข้าวเปลือกเจ้าหอมมะลินาปี ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 13,922 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 13,843 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.57

ราคาข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 7,844 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 7,809 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.45

2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ

ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 12,350 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน

3) ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี.

ราคาข้าวหอมมะลิไทย ชั้น 1 (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 1,192 ดอลลาร์สหรัฐฯ (37,800 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 1,177 ดอลลาร์สหรัฐฯ (37,569 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.27 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 231 บาท

ราคาข้าวปทุมธานี ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 626 ดอลลาร์สหรัฐฯ (19,851 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 618 ดอลลาร์สหรัฐฯ (19,726 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.29 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 125 บาท

ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 433 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,731 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 427 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,629 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.41 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 102 บาท

ราคาข้าวสารเจ้า 25% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 385 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,209 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 380 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,129 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.32 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 80 บาท

ราคาข้าวนึ่ง 5% ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 452 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14,334 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้น จากตันละ 446 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14,236 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.35 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 98 บาท

หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 31.7114 บาท

2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ

สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ

อินเดีย

หนังสือพิมพ?วอลล?สตรีท เจอร?นัล (Wall Street Journal) รายงานว่า ปริมาณน้ำฝนในช่วงฤดูมรสุมของอินเดียอยู?ในเกณฑ์ต่ำ ซึ่งเป็นผลจากปรากฏการณ?เอลนีโญ ส่งผลให้รัฐบาลอินเดียตระหนักว่าผลผลิตข้าว ในป? 2557/58 (ตุลาคม 2557 – กันยายน 2558) จะลดลง ทั้งนี้อยู?ระหว่างการพิจารณาปรับลดปริมาณการส่งออกข้าวเพื่อรักษาอุปทานในประเทศ ตั้งแต?อินเดียยกเลิกการห้ามส่งออกข้าวที่ไม่ใช่ข้าวบาสมาติในเดือนกันยายน 2554 อินเดียครองแชมป?ผู้ส่งออกข้าวรายใหญ?ที่สุดมาโดยตลอด แต?ในปีนี้หากอินเดียต้องการรักษาแชมป?ดังกล่าว อาจทำให?อินเดียต้องนำเข้าข้าวจากประเทศอื่น เจ้าหน้าที่ระดับสูงของกระทรวงอาหาร (Food Ministry) ระบุว่า อินเดียไม่ต้องการให้มีการนำเข้าธัญพืช แม้ว่าอินเดียจะมีข้าวเพียงพอในสต็อก แต่อินเดียต้องสำรองข้าวไว?ในกรณีที่สภาพอากาศไม?เอื้ออำนวยต่อการผลิตข้าว ล่าสุด รัฐบาลได?ตัดสินใจแจกจ่ายข้าว จำนวน 5 ล้านตัน จากสต็อกกลาง (Central Pool) ให้แก่ครัวเรือนที่มีความเป็นอยู่เหนือเส้นความยากจน (Above Poverty Line: APL) และครัวเรือนที่มีความเป็นอยู่ต่ำกว่าเส้นความยากจน (Below Poverty Line: BPL)

กรมอุตุนิยมวิทยาอินเดีย เปิดเผยว่า ปริมาณน้ำฝนในช่วงฤดูมรสุมนี้ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยร้อยละ 43 ซึ่งโดยปกติแล้ว ปริมาณน้ำฝนในช่วงฤดูมรสุมระหว่างเดือนมิถุนายน – กันยายน คิดเป็นร้อยละ 70 ของปริมาณน้ำฝนทั้งป?

การปลูกข้าวในช่วงฤดูมรสุมที่เริ่มปลูกในช่วงเดือนมิถุนายนได้รับผลกระทบอย่างหนัก โดยกระทรวงเกษตร รายงานว่า ณ วันที่ 4 กรกฎาคม อินเดียมีพื้นที่ปลูกข้าวประมาณ 28.12 ล้านไร?ลดลงจาก 43.12 ล้านไร?หรือลดลงร้อยละ 35 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา

ล่าสุดเจ้าหน้าที่รัฐบาลปฏิเสธการระงับการส่งออกในทันที โดยระบุว่า การตัดสินใจขึ้นอยู?กับปริมาณน้ำฝนและการแจกจ่ายข้าวตลอดช่วงฤดูกาล ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยข้าว (Central Rice Research Institute)

ให?ความเห็นว่า ผลผลิตข้าวของอินเดียในปีนี้อาจจะต่ำกว่า 100 ล้านตัน ลดลงจาก 106 ล้านตัน ของปีที่ผ่านมา

ที่มา Oryza.com

อินโดนีเซีย

กระทรวงเกษตร ระบุว่า ปี 2557 มีความเป็นไปได?ที่อินโดนีเซียจะมีผลผลิตข้าวส่วนเกินประมาณ 4.2 ล้านตัน แม้จะคาดการณ?ว่าผลผลิตข้าวเปลือกจะลดลงประมาณร้อยละ 2 ก็ตาม ก่อนหน้านี้ สำนักงานสถิติแห่งชาติ (Central Statistics Agency; BRS) ได้ประมาณการณ์ว่าในปีนี้ผลผลิตข้าวเปลือกจะมีประมาณ 69.8 ล้านตัน ลดลงประมาณร้อยละ 2 เมื่อเทียบกับจำนวน 71.28 ล?นตันในปีก่อน ทั้งนี้ รัฐมนตรีช่วยกระทรวงเกษตร ระบุว่ายังไม?มีความจำเป็นที่จะต้องนำเข้าข้าวในปีนี้ เพราะผลผลิตข้าวในประเทศก็เพียงพอสำหรับการบริโภคอยู่แล้ว

ทางด้านนักวิเคราะห์ได้คาดการณ์ว่า อินโดนีเซียอาจจะนำเข้าข้าวเพิ่มขึ้นถึง 1.5 ล้านตัน โดยรัฐบาลจะต้องมีการสำรองข้าวไว?ประมาณ 2.7 ล้านตันเพื่อความมั่นคงด้านอาหาร

กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ (USDA) รายงานว่า ในป?2557 คาดว่าอินโดนีเซียจะมีผลผลิตข้าวประมาณ 37.355 ล้านตันข้าวสาร มีการนำเข้าข้าวประมาณ 1.5 ล้านตัน เพิ่มขึ้นเท่าตัวจากจำนวน 650,000 ตัน เมื่อปีที่ผ่านมา ขณะที่ความต้องการบริโภคจะมีประมาณ 38.65 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 1 จากจำนวน 38.127 ล้านตัน เมื่อปีก่อน

ที่มา Oryza.com

ฟิลิปปินส?

ผู้บริการขององค?การอาหารแห่งชาติ (National Food Authority) ระบุว่า NFA มีแผนที่จะนำเข้าข้าวเพิ่มเติมอีก 400,000 ตัน ในช่วงครึ่งปีหลังซึ่งเมื่อรวมกับที่ได?มีการประมูลซื้อจำนวน 800,000 ตัน จากเวียดนาม

เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา ทำให้ในปีนี้ฟิลิปปินส์นำเข้าข้าวมากถึง 1.2 ล้านตัน โดยในขั้นตอนสุดท้ายจะมีการพิจารณาเรื่องนี้ในที่ประชุมของสภาองค์การอาหารแห่งชาติอีกครั้งหนึ่ง และคาดว่า หากมีการอนุมัติให?นำเข้าข้าว ในส่วนที่จะเพิ่มเติมนี้ จะต้องมีการส่งมอบภายในเดือนกันยายนก่อนที่จะถึงฤดูเก็บเกี่ยวข้าวของฟิลิปปินส์

กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ (USDA) รายงานว่า ในป?2556/57 ฟิลิปปินส?จะนำเข้าข้าวประมาณ 1.45 ล้านตัน ลดลงร้อยละ 28 จากประมาณการก่อนหน้านี้ที่คาดว่าจะนำเข้าประมาณ 2 ล้านตัน แต?เมื่อเทียบกับป?2555/56

ที่ผ่านมา ยังคงสูงกว่าประมาณร้อยละ 3.5 ส่วนในป?2557/58 นั้น คาดว่าอาจจะมีการนำเข้าข้าวเพิ่มขึ้นเป็น 1.6 ล้านตัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 10 ทั้งนี้ ประมาณการณ?นำเข้าข้าวที่เพิ่มขึ้น เป็นผลจากการที่รัฐบาล

มีการสอบสวนกรณีลักลอบนำเข้าข้าว ซึ่งรัฐบาลต้องการที่จะลดการนำเข้าข้าวอย่างผิดกฎหมายให้หมดไป

ขณะเดียวกัน ราคาข้าวในประเทศยังคงปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งเป็นผลมาจากการรับมอบข้าวจากเวียดนามล่าช้า ประกอบกับการนำเข้าข้าวในปี 2556 มีจำนวนลดลง ป?2556/57 คาดว่า ฟิลิปปินส์จะมีผลผลิตข้าวประมาณ 11.813 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 3 จากป?ก?อน สำหรับในป?2557/58 คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 12.2 ล้านตัน

สำนักข่าวบลูมเบิร์ก รายงานว่า ฟิลิปปินส์อยู่ระหว่างพิจารณาเพิ่มปริมาณการนำเข้าข้าวในป?2557 และยกเลิกการให?เงินสนับสนุนแก?เกษตรกรผู้ปลูกข้าว โดยได้มีการประชุมกำหนดรายละเอียดเพิ่มเติมเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคมที่ผ่านมา

ทั้งนี้ สื่อท้องถิ่น ระบุว่า ที่ผ่านมารัฐบาลนำเข้าข้าวประมาณ 1 ล้านตัน (โดยนำเข้าข้าว จำนวน 800,000 ตัน ในเดือนมีนาคม และ 200,000 ตัน ในเดือนมิถุนายน) จากเวียดนาม และข้าวอีก 60,000 ตัน มีกำหนดจะส่งถึง

ฟิลิปปินส์ภายในเดือนกันยายน นอกจากนี้รัฐบาลยังอนุญาตให้ผู้นำเข้าเอกชนนำเข้าข้าว จำนวน 163,000 ตัน ในเดือนกุมภาพันธ?ที่ผ?นมา ภายใต?กรอบปริมาณนำเข้าขั้นต่ำแบบโควตาระบุรายประเทศ (Minimum Access Volume – Country Specific Quota: MAV-CSQ) จากไทย ออสเตรเลีย และอินเดีย

ผู้ช่วยประธานาธิบดีฝ่ายความมั่นคงด้านอาหาร (The Presidential Assistant for Food Security) กล่าวว่า รัฐบาลอยู?ระหว่างวางแผนนำเข้าข้าว 1.4 ล้านตัน ในปีนี้ซึ่งรวมถึงข้าวที่อยู่ระหว่างดำเนินการตั้งแต่ปีที่ผ่านมาด้วย โดยปริมาณที่จะนำเข้าเพิ่มเติมขึ้นอยู?กับผลกระทบของปรากฏการณ?เอลนีโญ ผลผลิตต่อไร่และมูลภัณฑ์กันชน (buffer stocks) นอกจากนี้รัฐบาลยังอยู่ระหว่างพิจารณาเปิดเสรีการนำเข้าข้าว โดยอนุญาตให?ผู้ประกอบการเอกชนสามารถนำเข้าข้าวได้มากขึ้น

ทั้งนี้ รัฐบาลให้ความสนใจกับการยกเลิกเงินสนับสนุนเพื่อลดภาระหนี้สินขององค?การอาหารแห่งชาติ(National Food Authority) ที่คาดว่าจะสูงถึง 1.8 แสนล้านเปโซ (หรือประมาณ 4.1 พันล้านเหรียญสหรัฐ) เมื่อโครงการสิ้นสุดลงปลายป?2559 โดยที่ผ่านมารัฐบาลรับซื้อข้าวจากเกษตรกรในราคาที่สูงและขายข้าวในราคาต่ำผ่านองค์การอาหารแห่งชาติ นักวิเคราะห์ให้ความเห็นเพิ่มเติมว่า มาตรการในป?จจุบันมีปัญหาเนื่องจากรัฐบาล ใช้งบประมาณในการดำเนินงานจำนวนมาก ขณะที่ประชากรฟิลิปปินส์ต้องซื้อข้าวในราคาที่สูงขึ้น

ที่มา Oryza.com

--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 21 - 27 ก.ค. 2557--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ