1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 การตลาด
1) ปีการผลิต 2556/57
มาตรการแก้ไขปัญหา
โครงการรับจำนำข้าวเปลือก ปีการผลิต 2556/57
ผลการดำเนินงาน จำนวนเกษตรกรที่รับเงินกับ ธ.ก.ส. (ตั้งแต่ วันที่ 1 ตุลาคม 2556 – 29 กรกฎาคม 2557)
- จำนวนสัญญา 1,825,350 สัญญา
- จำนวนตัน 11,650,572 ตัน
- จำนวนเงิน 191,577.477 ล้านบาท
2) ปีการผลิต 2557/58
มติ ครม.คสช. เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2557 และมติที่ประชุม คณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว (นบข.) ครั้งที่ 1/2557 เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2557 เห็นชอบแนวทางการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2557/58 ดังนี้
2.1) มาตรการหลัก
- ลดต้นทุนการผลิต โดยการลดราคาปัจจัยการผลิตและบริการ ไร่ละ 432 บาท แบ่งเป็น ปุ๋ยเคมีไร่ละ 40 บาท สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชไร่ละ 20 บาท ค่าเมล็ดพันธุ์ไร่ละ 122 บาท ค่าบริการรถเกี่ยวข้าวไร่ละ 50 บาท และค่าเช่าที่นาไร่ละ 200 บาท
2.2) มาตรการสนับสนุน
(1) มาตรการเร่งด่วน
(1.1) สนับสนุนแหล่งเงินทุน ได้แก่
- โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร
- ลดดอกเบี้ยเงินกู้ให้เกษตรกร
(1.2) ส่งเสริมการตลาด ได้แก่
- เร่งหาตลาดใหม่
- เชื่อมโยงการตลาดข้าวในประเทศและต่างประเทศ
- ช่วยเหลือผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก
- สินเชื่อเกษตรกรเพื่อชะลอการขายข้าวเปลือก (ประกันยุ้งฉาง)
(1.3) ส่งเสริมการมีส่วนร่วม ได้แก่
- โครงการประกันภัยข้าวนาปี ปีการผลิต 2557
(2) มาตรการระยะยาว
(2.1) ส่งเสริมปัจจัยการผลิต ได้แก่
- การเพิ่มผลผลิตต่อไร่
- การจัดตั้งธนาคารเมล็ดพันธุ์ข้าว
- กำหนดเขตเกษตรเศรษฐกิจ (Zoning)
- จัดหาแหล่งน้ำสนับสนุน
(2.2) ส่งเสริมการมีส่วนร่วม
- การจัดตั้งสถาบันพัฒนาศักยภาพการค้าข้าว
- การจัดตั้งกองทุนข้าวและชาวนาแห่งชาติ
ปรับปรุงข้อมูล ณ วันที่ 2 กค. 57
ราคาสูงขึ้น เนื่องจากเป็นช่วงปลายฤดูเก็บเกี่ยวข้าวนาปรัง ส่งผลให้ปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดลดลง ประกอบกับยังคงมีการตรวจสอบสต๊อกข้าว ทำให้มีการชะลอการระบายข้าวออกสู่ตลาด ขณะที่ตลาดยังคงมีความต้องการข้าวอย่างต่อเนื่อง
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ราคาข้าวเปลือกเจ้าหอมมะลินาปี ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 13,947 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 13,922 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.18
ราคาข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 8,060 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 7,844 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.75
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 12,350 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
3) ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี.
ไม่มีรายงานราคา
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 31.6264 บาท
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
เวียดนาม
การส่งออกข้าวอย่างไม่เป็นทางการผ่านการค้าชายแดนไปยังประเทศจีนกลายเป็นปัญหาสำหรับภาคราชการและผู้ส่งออก โดยแหล่งข่าวทางการรายงานว่า เวียดนามส่งออกข้าวอย่างไม่เป็นทางการประมาณ 2 ล้านตันไปยังประเทศจีน ทั้งนี้ ในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา กระทรวงการค้าและอุตสาหกรรม (Ministry of Trade and Industry) พยายามที่จะทำให้การค้าชายแดนกับจีนถูกกฎหมาย อย่างไรก็ตาม ปัจจุบัน ยังไม่มีความคืบหน้าในเรื่องนี้เท่าใดนัก
ขณะที่ผู้ส่งออกเวียดนามกำลังเผชิญกับปัญหาจากการลักลอบส่งออกข้าว โดยกล่าวว่า ผู้ค้าข้าวที่ลักลอบส่งออกไปยังประเทศจีนผ่านการค้าชายแดน ซื้อข้าวในปริมาณมากจากจังหวัดในพื้นที่ลุ่มแม่น้ำโขง (Mekong River Delta) เพื่อตอบสนองต่อความต้องการซื้อข้าวจากประเทศจีน ซึ่งผู้นำเข้าจากประเทศจีนเสนอราคาข้าวขาว 5% สูงถึงกิโลกรัมละ 11,000 ดองเวียดนาม (หรือประมาณตันละ 514 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณตันละ บาท) ขณะที่ราคาตลาดกิโลกรัมละ 9,500 ดองเวียดนาม (หรือประมาณตันละ 444 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณตันละ บาท)
อุปสงค์ที่เพิ่มขึ้นส่งผลให้ราคาข้าวในพื้นที่ลุ่มแม่น้ำโขงเพิ่มสูงขึ้นด้วย โดยในสัปดาห์นี้ ราคาในท้องถิ่น กิโลกรัมละ 7,000 ดองเวียดนาม (หรือประมาณตันละ 327 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณตันละ บาท) เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 6,700 ดองเวียดนาม (หรือประมาณตันละ 313 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณตันละ บาท) เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา ผู้ส่งออกรายหนึ่งในพื้นที่ลุ่มแม่น้ำโขง ให้ความเห็นว่า การค้าข้าวในปีนี้ผิดปกติ โดยผู้ส่งออกบางรายต้องใช้เวลารอนานหลายวันในการส่งมอบข้าว และการสีข้าวในภูมิภาคนี้ดำเนินการผลิตอย่างเต็มกำลังการผลิตแล้ว
ทั้งนี้ ผู้ส่งออกออกมาเตือนว่า หากยังเป็นเช่นนี้ต่อไปเรื่อยๆ ผู้ส่งออกจะไม่สามารถรวบรวมข้าวได้ครบตามจำนวนตามสัญญาส่งออก โดยประธานสมาคมอาหารแห่งเวียดนาม (Vietnam Food Association: VFA) ระบุว่า
ในปี 2557 ผู้ส่งออกข้าวเวียดนามได้ทำสัญญาซื้อขายข้าวไปแล้วประมาณ 5.3 ล้านตัน ในจำนวนนี้ ทำการส่งมอบแล้ว 3.26 ล้านตัน และมีกำหนดจะทำสัญญาซื้อขายเพิ่มเติมอีก 1 ล้านตัน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการส่งออกที่ตั้งไว้ 6.2 ล้านตัน
ที่มา Oryza.com
ฟิลิปปินส์?
หน่วยงานราชการด้านการเกษตรในฟิลิปปินส์อยู่ระหว่างหาวิธีใหม่ๆ ที่จะเพิ่มปริมาณการผลิตข้าวในประเทศและบรรลุเป้าหมายการพึ่งพาตนเองด้านข้าว โดยล่าสุดมีแผนที่จะสร้างนาขั้นบันไดที่มีกำแพงหินกั้นในพื้นที่ภูเขาต่างๆ ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวมีปริมาณน้ำเพียงพอจากแหล่งน้ำธรรมชาติ และได้รับการสนับสนุนโดยชนพื้นเมืองในพื้นที่นั้นๆ
ในปีที่ผ่านมา กระทรวงเกษตรฟิลิปปินส์ (Department of Agriculture) พยายามที่จะนำแนวคิดเรื่องนาขั้นบันไดกลับมาใช้ในพื้นที่โคตาบาโตเหนือ (North Cotabato) โดยผู้อำนวยการเขต DA-12 กล่าวว่า โครงการดังกล่าวริเริ่มขึ้นเพื่อจัดหาแหล่งผลิตถาวรสำหรับอาหารหลัก ซึ่งจะช่วยให้ชนพื้นเมืองในพื้นที่ต่างๆ สามารถผลิตข้าวในพื้นที่นั้นๆ ได้ แทนที่จะย้ายถิ่นฐานเพื่อหาพืชหัวในการดำรงชีพหรือลงจากภูเขาเพื่อหาซื้อข้าวในพื้นที่ราบ นอกจากนี้ ผู้อำนวยการเขต DA-12 ยังเปิดเผยเพิ่มเติมว่า มีบริษัทเอกชนบางบริษัทเข้าไปช่วยทำการตลาดข้าวเปลือกให้เกษตรกรด้วย
รัฐมนตรีเกษตร ระบุว่า กระทรวงเกษตรอยู่ระหว่างวางแผนที่จะฟื้นฟูการปลูกข้าวขั้นบันไดในพื้นที่อื่นๆ เพิ่มเติม โดยโครงการดังกล่าวจะช่วยให้ประเทศสามารถเพิ่มผลผลิตและบรรลุซึ่งเป้าหมายการพึ่งพาตนเองได้ภายใน 3 ปี ทั้งนี้ คาดว่าโครงการสนับสนุนการปลูกข้าวขั้นบันไดจะเสร็จสิ้นในปีนี้หรือปีถัดไป
ที่มา Oryza.com
อินเดีย
แหล่งข่าวทางการรายงานว่า ในช่วงปี 2556/57 (เมษายน 2556 – มีนาคม 2557) อินเดียส่งออกข้าวคิดเป็นมูลค่า 7.78 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (หรือประมาณ บาท) เพิ่มขึ้นจาก 6.215 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (หรือประมาณ บาท) หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 25 เมื่อเทียบกับปี 2555/56
ในปี 2556/57 ตะวันออกกลางยังคงเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดของอินเดีย โดยมีการส่งออกไปยังอิหร่านและซาอุดิอาระเบียคิดเป็นร้อยละ 40 ของปริมาณส่งออกข้าวทั้งหมดของอินเดีย ในปี 2556/57 อินเดียส่งออกข้าวไปยังอิหร่านคิดเป็นมูลค่า 1.92 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (หรือประมาณ บาท) เพิ่มขึ้นจาก 1.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (หรือประมาณ บาท) หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 60 เมื่อเทียบกับปี 2555/56 สำหรับซาอุดิอาระเบีย ในปี 2556/57 อินเดียส่งออกข้าวคิดเป็นมูลค่า 1.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (หรือประมาณ บาท) เพิ่มขึ้นจาก 753 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (หรือประมาณ บาท) หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 59 เมื่อเทียบกับปี 2555/56 นอกจากนี้ ในปี 2556/57 อินเดียยังส่งออกข้าวไปยังเบนิน (มูลค่า 488 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ บาท) สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (มูลค่า 314 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ บาท) อิรัก (มูลค่า 283 ล้านดอลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ บาท) คูเวต (มูลค่า 266 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ บาท) บังกลาเทศ (มูลค่า 246 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ บาท) เยเมน (มูลค่า 223 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ บาท) เซเนกัล (มูลค่า 196 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ บาท) และแอฟริกาใต้ (มูลค่า 175 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ บาท)
ในปี 2556/57 อินเดียส่งออกข้าวไปไอวอรี่โคสต์และไนจีเรียลดลงอย่างเห็นได้ชัด โดยส่งออกไปไนจีเรียคิดเป็นมูลค่า 78.58 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (หรือประมาณ บาท) ลดลงจาก 339.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (หรือประมาณ บาท) หรือลดลงร้อยละ 77 เมื่อเทียบกับปี 2555/56 และส่งออกไปยังไอวอรี่โคสต์คิดเป็นมูลค่า 98.74 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (หรือคิดเป็น บาท) ลดลงจาก 216.41 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (หรือประมาณ บาท) หรือลดลงร้อยละ 54 เมื่อเทียบกับปี 2555/56 อย่างไรก็ตาม การส่งออกข้าวไปยังเบนินซึ่งมีพรมแดนติดกับไนจีเรีย ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยส่งออกคิดเป็นมูลค่า 488 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (หรือประมาณ บาท) เพิ่มขึ้นจาก 240.93 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (หรือประมาณ บาท) หรือเพิ่มขึ้นกว่า 2 เท่า เมื่อเทียบกับปี 2555/56
ที่มา Oryza.com
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 28 ก.ค. - 3 ส.ค. 2557--