ดังนั้น เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลที่ใกล้เคียงกับความเป็นจริงในพื้นที่มากที่สุด และเพื่อการจัดทำข้อมูลเอกภาพร่วมกับจังหวัดในปี 2558 สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 1 จึงลงพื้นที่ตรวจสอบเนื้อที่การเพาะปลูกยางพารา ในพื้นที่ 4 จังหวัดดังกล่าว โดยนำเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศมาเป็นเครื่องมือในการสำรวจ ซึ่งเป็นการวิเคราะห์เนื้อที่เพาะปลูกโดยใช้ข้อมูลระยะไกล (Remote Sensing) ที่ต้องอาศัยข้อมูลเชิงพื้นที่จากภาพถ่ายทางอากาศร่วมกับภาพถ่ายดาวเทียมเป็นเครื่องมือในการจัดทำข้อมูล เช่น การใช้แผนที่ภาพถ่ายออร์โธสีปี 2545 มาตราส่วน 1:4000 ทำการจำแนกข้อมูลพื้นที่การใช้ประโยชน์ที่ดิน ทั้งนี้ แผนที่ภาพถ่ายดังกล่าว ถือเป็นข้อมูลพื้นฐานเชิงพื้นที่ที่มีความละเอียดสูง สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการวางแผนบริหารจัดการเชิงพื้นที่ได้ในระดับหนึ่ง ซึ่งการตรวจสอบเนื้อที่เพาะปลูกยางพาราด้วยระบบ GIS จะทำให้ทราบถึงข้อมูลเนื้อที่ยืนต้นของยางพาราที่อายุ 5 ปีขึ้นไปว่ามีปริมาณเท่าใด รวมทั้งยังสามารถระบุพื้นที่เพาะปลูกยางพาราแหล่งสำคัญๆ ที่กระจายอยู่ตามท้องที่อำเภอต่างๆ ได้อย่างถูกต้องและแม่นยำยิ่งขึ้น อีกทั้งยังสามารถใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการติดตามสถานการณ์การเพาะปลูกยางพาราในปีต่อๆ ไปได้เป็นอย่างดีอีกด้วย ซึ่งท่านที่สนใจข้อมูลสามารถสอบถามได้ที่ศูนย์บริการข้อมูลเศรษฐกิจการเกษตรเขต 1 เชียงใหม่ โทร. 053 121318-9
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--