สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
ภาวะตลาดสุกรยังคงเงียบเหงา ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ลดลงเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากสภาพอากาศที่เอื้ออำนวยให้สุกรเจริญเติบโตดี ส่งผลให้ปริมาณสุกรออกสู่ตลาดมาก แนวโน้มคาดว่าการบริโภคเนื้อสุกรจะเพิ่มขึ้นและราคาจะปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อยในช่วงเทศกาลตรุษจีน
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 62.93 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 63.22 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.46 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 61.44 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 63.79 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 62.96 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 63.30 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 1,800 บาท (บวกลบ 60 บาท) ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 62.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการบริโภคที่มีมากขึ้น ประกอบกับใกล้เทศกาลตรุษจีนในสัปดาห์หน้า แนวโน้มคาดว่าการบริโภคไก่เนื้อจะเพิ่มขึ้นและราคาจะสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัม 39.15 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 37.87 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 3.38 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 38.19 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 38.96 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 42.43 บาท (ภาคเหนือไม่มีรายงานราคา) ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 11.50 บาท ลดลงจากตัวละ 13.50 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 14.81
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 35.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 37.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 5.41 และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 47.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 49.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 4.08
ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สถานการณ์ไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ลดลงจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิต ไข่ไก่ออกสู่ตลาดยังคงมีมากและสะสม ขณะที่ความต้องการบริโภคลดลง แนวโน้มคาดว่าราคาจะลดลง
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 260 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 267 บาท จากสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 2.62 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 290 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 249 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 250 บาท และภาคใต้ ร้อยฟองละ 292 บาท ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 8.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 262 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 281 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 6.76
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 332 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 341 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 2.64 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 310 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 344 บาท ภาคกลาง ร้อยฟองละ 327 บาท และภาคใต้ ร้อยฟองละ 339 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 390 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 104.01 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 103.32 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.67 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 98.38 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 100.30 ภาคกลางกิโลกรัมละ 99.85 บาท และภาคใต้ 127.71 บาท
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 79.12 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 78.02 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.41 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 90.63 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 76.90 บาท ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงานราคา
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 9 - 15 ก.พ. 2558--